ศาสตร์และศิลป์ที่สอนในเมืองไทย

รายวิชาที่มหาวิทยาลัยเปิดสอนในเมืองไทย พร้อมคำจำกัดความและขอบเขตของวิชา

Archive for the ‘ภาควิชาวิศวกรรมเคมี’ Category

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี

leave a comment »

มหาวิทยาลัยมหิดล  หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต  สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี.

ชื่อหลักสูตร : หลักสูตรวิศวกรรม ศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี
ชื่อปริญญา
ชื่อเต็ม :

วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วิศวกรรมเคมี)

ชื่อย่อ : วศ.บ. (วิศวกรรมเคมี)
หน่วยงานรับผิดชอบ
ภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
กำหนดการเปิดสอน : หลักสูตรปรับปรุงนี้จะเริ่มใช้กับนักศึกษาตั้งแต่รุ่นปีการศึกษา ๒๕๕๐ เป็นต้นไป

ปรัชญาของหลักสูตร

เพื่อสร้างบัณฑิตให้มีความรู้ ความสามารถในการบูรณาการ และประยุกต์ใช้ความรู้ในสาขาวิศวกรรมเคมี มีความคิดสร้างสรรค์ มีจริยธรรมและจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพวิศวกร โดยตระหนักในคุณค่าศิลปวัฒนธรรม คำนึงถึงคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อม เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดหรือสังคม

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

๑ เพื่อผลิตบัณฑิตสาขาวิชาวิศวกรรมเคมี ที่มีความรู้ความสามารถและทักษะในการประกอบอาชีพ
๒ เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความสามารถในการถ่ายโอนเทคโนโลยี เพื่อการพัฒนาและวิจัยทางวิศวกรรมเคมี
๓ เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความใฝ่รู้ ใฝ่เรียน สามารถเรียนรู้ด้วยตนเอง และมีจิตวิญญาณในการเรียนรู้ตลอดชีพ
๔ เพื่อตอบสนองนโยบายของรัฐ และรองรับการพัฒนาของประเทศ

คุณสมบัติผู้เข้าศึกษา

สำเร็จชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือเทียบเท่าตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ และมี
คุณสมบัติครบตามข้อกำหนดของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาที่กำหนดไว้ สำหรับผู้
มีสิทธิเข้าสอบคัดเลือกเพื่อศึกษาในระดับอุดมศึกษา และ/หรือตามระเบียบที่มหาวิทยาลัยมหิดล
และคณะวิศวกรรมศาสตร์กำหนด

การคัดเลือกผู้เข้าศึกษา

๑ เป็นผู้ผ่านการคัดเลือก ตามระเบียบการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในระดับอุดมศึกษา ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และ/หรือ
๒ เป็นผู้ผ่านการคัดเลือกตามประกาศของมหาวิทยาลัยมหิดล ว่าด้วยการรับสมัครนักเรียนเข้าศึกษาหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต

ระบบการศึกษา

๑ จัดการศึกษาตามระบบหน่วยกิตทวิภาคตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี โดยหนึ่งปีการศึกษาแบ่งเป็น ๒ ภาคการศึกษาปกติ หนึ่งภาคการศึกษาปกติมีระยะเวลาศึกษาไม่น้อยกว่า ๑๕ สัปดาห์ สำหรับการศึกษาภาคฤดูร้อนมีกำหนดระยะเวลาและจำนวนหน่วยกิต ในสัดส่วนเดียวกันเทียบได้กับภาคการศึกษาปกติ
๒ การคิดจำนวนหน่วยกิต
๒.๑ รายวิชาภาคทฤษฎี ที่ใช้เวลาบรรยาย หรืออภิปรายปัญหาไม่น้อยกว่า ๑๕ ชั่วโมงต่อภาคการศึกษาปกติให้มีค่าเท่ากับ ๑ หน่วยกิต
๒.๒ รายวิชาภาคปฏิบัติ ที่ใช้เวลาฝึกหรือทดลองไม่น้อยกว่า ๓๐ ชั่วโมงต่อภาคการศึกษาปกติให้มีค่าเท่ากับ ๑ หน่วยกิต
๒.๓ การฝึกภาคสนาม ที่ใช้เวลาฝึกไม่น้อยกว่า ๔๕ ชั่วโมงต่อภาคการศึกษาปกติให้มีค่าเท่ากับ ๑ หน่วยกิต
๒.๔ การฝึกงาน (ภาคฝึกงานวิชาชีพ) รวมเวลาไม่น้อยกว่า ๒๔๐ ชั่วโมงในภาคการศึกษาฤดูร้อน มีค่าเท่ากับ ๐ หน่วยกิต ประเมินผลเป็นพอใจ (S) หรือไม่พอใจ (U)
๒.๕ การทำโครงงานหรือกิจกรรมเรียนอื่นใดตามที่ได้รับมอบหมาย ที่ใช้เวลาทำโครงงานหรือกิจกรรมนั้นๆไม่น้อยกว่า ๔๕ ชั่วโมงต่อภาคการศึกษาปกติให้มีค่าเท่ากับ ๑ หน่วยกิต

ภาษา

ระยะเวลาการศึกษา

ระยะเวลาการศึกษาตามหลักสูตร ๔ ปีการศึกษา โดยใช้เวลาศึกษาอย่างมากไม่เกิน ๘ ปีการศึกษา

การลงทะเบียนและการรับโอนหน่วยกิต

เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยมหิดล ว่าด้วยการศึกษาระดับอนุปริญญา และปริญญาตรี

การวัดผลและการสำเร็จการศึกษา

เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยมหิดล ว่าด้วยการศึกษาระดับอนุปริญญา และปริญญาตรี และประกาศหรือข้อบังคับของคณะที่เกี่ยวข้อง

อาจารย์ประจำ

ลำดับ ชื่อ-นาม สกุล คุณวุฒิ
ผศ. ณัฐวรรณ  ยศวัฒน วศ.บ. (วิศวกรรมเคมี)
วท.ม. (เทคโนโลยีชีวภาพ)
Ph.D.(Chemical Engineering)
ผศ. ธีรพร  รับคำอินทร์ วท.บ. (เคมี)
M.S.(Metallurgical Engineering)
Ph.D.(Material Engineering and Science)
ผศ. พุทธชาด  เมฆทอง วท.บ. (เคมี)
LL.B.(Law)
M.S.(Energy Technology)
ผศ.เพ็ญพรรณ์  ทะสะโส วศ.บ.(วิศวกรรมเคมี)
วศ.ม. (วิศวกรรมเคมี)
ผศ.วนิดา  คูอมรพัฒนะ วศ.บ. (วิศวกรรมเคมี)
Ph.D.(Chemical Engineering)
ผศ. สุภางค์  จุฬาลักษณานุกูล วท.บ.(เคมี) และ D.E.A(Microbiology)
วท.ม. (วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม)
ผศ. จารุพรรณ  กุลดิลก วศ.บ. (วิศวกรรมเคมี)
M.Sc.(Biochemical Engineering)
Dr.-Ing.(Food Technology and
Bioprocess  Engineering)
ผศ.บวรลักษณ์  อุนคานนท์ วศ.บ. (วิศวกรรมเคมี)
M.S. (Chemical Engineering)
Ph.D(Chemical Engineering)
อ.ยงยุทธ  วัฒนวาณิชย์ วศ.บ.(วิศวกรรมเคมี)
๑๐ อ.สุวิน  อภิชาติพัฒนศิริ วศ.บ. (เทคโนโลยีพลาสติก)
Ph.D.(Metallurgy and Materials)
๑๑ อ. สุทธินันท์  นันทจิต วศ.บ. (วิศวกรรมเคมีอุตสาหการ)
M.S.(Chemical Engineering)
๑๒ Mr.Vinnod   Kumar  Jindal M.S. (Agricultural   Engineering )
Ph.D.(Agricultural   Engineering )
๑๓ Mr.Mohammad  Naghi   Eshtiag Ph.D ( Non – Themal  Porcessing of  foods)

อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมเคมี

อาจารย์ประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์และอาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยมหิดล เช่น คณะวิทยาศาสตร์  คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์  วิทยาลัยดุริยางคศิลป์  วิทยาลัยการจัดการ เป็นต้น

* คือ อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร

อาจารย์พิเศษ

ลำดับ ชื่อ-นาม สกุล คุณวุฒิ
ดร. เรวัตรชัย   พลับประสิทธิ์ วศ.บ. (วิศวกรรมเคมี)
D.E.A. (Chemical Engineering)
Docteur Ing. (Chemical Engineering)
ดร. นพรัตน์   ยศวัฒน วศ.บ. (วิศวกรรมเคมี)
D.E.A. (Genie Chimique)
Docteur Ing. (Genic Chimique)
ดร. ปริยฉัตร   ฉัตรกุล ณ อยุธยา วศ.บ. (วิศวกรรมเคมี)
M.S. (Chemical Engineering)
Ph.D. (Chemical Engineering)
ดร. นิธิ   บัญชาธีรเวท วศ.บ. (วิศวกรรมเคมี)
M.Sc. (Environmental Technology)
Ph.D. (Chemical Engineering)
ดร. กานดิศ   สุดสาคร วศ.บ. (วิศวกรรมเคมี)
M.Sc. (Chemical Engineering)
Ph.D. (Chemical Engineering)

จากหน่วยงานอื่นๆภายนอกมหาวิทยาลัยมหิดล

จำนวนนักศึกษา

ปีการศึกษา ๒๕๕๐ ๒๕๕๑ ๒๕๕๒ ๒๕๕๓ ๒๕๕๔
จำนวนที่คาดว่าจะรับ ๘๐ ๘๐ ๘๐ ๘๐ ๘๐
จำนวนสะสม ๒๗๕ ๒๙๖ ๓๑๗ ๓๒๐ ๓๒๐
จำนวนที่คาดว่าจะจบ ๕๙ ๕๙ ๗๗ ๘๐ ๘๐

สถานที่และอุปกรณ์การสอน

ใช้สถานที่และอุปกรณ์ การสอนที่ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา นครปฐม

ห้องสมุด

ใช้ห้องสมุดที่ สำนักหอสมุดของมหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งมีระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์สำหรับค้นหาฐานข้อมูล สิ่งพิมพ์ ได้แก่ หนังสือ ตำรา วารสาร รายงานวิจัย วิทยานิพนธ์ รวมทั้งฐานข้อมูล ซีดีรอม วีดีทัศน์วิชาการ และแถบบันทึกเสียง โดยมีหนังสือทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษรวมกัน ๓๗๖,๙๓๐ เล่ม เป็นตำราทางด้านวิทยาศาสตร์ภาษาไทย ๓,๐๘๒ เล่มและภาษาอังกฤษ ๑๘,๘๑๗ เล่ม ตำราทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ภาษาไทย ๕,๓๐๗ เล่มและภาษาอังกฤษ ๗,๕๒๕ เล่ม วารสารทางด้านวิทยาศาสตร์ภาษาไทย ๒๕ รายการและภาษาอังกฤษ ๑๒๔ รายการ และวารสารทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ภาษาไทย ๑๖ รายการและภาษาอังกฤษ ๒๕ รายการ

งบประมาณ

ใช้งบประมาณของมหาวิทยาลัยมหิดล โดยมีค่าใช้จ่ายรายหัว ต่อการผลิตบัณฑิตวิศวกรรมศาสตร์ ในปีงบประมาณ ๒๕๔๘ (ตุลาคม ๒๕๔๗-กันยายน ๒๕๔๘) เท่ากับ ๗๓,๙๙๕ บาท

หลักสูตร

จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า ๑๔๙ หน่วยกิต
โครงสร้างหลักสูตร กลุ่มวิชาที่มหาวิทยาลัยกำหนด ของหมวดวิชาศึกษาทั่วไป จำนวน ๑๖ หน่วยกิต
– กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ ๗ หน่วยกิต
– กลุ่มวิชาภาษา ๙ หน่วยกิต
กลุ่มวิชาหลักสูตรกำหนด จำนวน ๑๔ หน่วยกิต
– กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ ๕ หน่วยกิต
– กลุ่มวิชาภาษา ๓ หน่วยกิต
– กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ๖ หน่วยกิตหมวดวิชาเฉพาะ รวม ๑๑๓ หน่วยกิต
– กลุ่มวิชาแกน ๒๕ หน่วยกิต
– กลุ่มวิชาเฉพาะบังคับ ๗๖ หน่วยกิต
– กลุ่มวิชาเฉพาะเลือก ๑๒ หน่วยกิตหมวดวิชาเลือกเสรี รวม ๖ หน่วยกิต
การฝึกงาน (ใช้เวลาไม่น้อยกว่า ๒๔๐ ชั่วโมง) ๐ หน่วยกิต

หมวดวิชาศึกษาทั่วไป รวม ๓๐ หน่วยกิต
กลุ่มวิชาที่มหาวิทยาลัยกำหนด ของหมวดวิชาศึกษาทั่วไป จำนวน ๑๖ หน่วยกิต
กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ จำนวน ๗ หน่วยกิตหน่วยกิต (บรรยาย-ปฏิบัติ)

มมศท ๑๐๑ การศึกษาทั่วไปเพื่อการพัฒนามนุษย์ ๒(๑–๒-๓)
มมศท ๑๐๒ สังคมศึกษาเพื่อการพัฒนามนุษย์ ๓(๒–๒-๕)
มมศท ๑๐๓ ศิลปวิทยาการเพื่อการพัฒนามนุษย์ ๒(๑–๒-๓)
กลุ่มวิชาภาษา จำนวน ๙ หน่วยกิต
วิชาภาษาไทย
หน่วยกิต (บรรยาย-ปฏิบัติ)
ศศภท ๑๐๐ ศิลปะการใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร ๓ (๒–๒-๕)
วิชาภาษาอังกฤษ หน่วยกิต (บรรยาย-ปฏิบัติ)
ศศภอ ๑๐๓ ภาษาอังกฤษระดับ ๑ ๓ (๒–๒-๕)
ศศภอ ๑๐๔ ภาษาอังกฤษระดับ ๒ ๓ (๒–๒-๕)
ศศภอ ๑๐๕ ภาษาอังกฤษระดับ ๓ ๓ (๒–๒-๕)
ศศภอ ๑๐๖ ภาษาอังกฤษระดับ ๔ ๓ (๒–๒-๕)
ศศภอ ๑๐๗ ภาษาอังกฤษระดับ ๕ ๓(๒–๒-๕)
ศศภอ ๑๐๘ ภาษาอังกฤษระดับ ๖ ๓ (๒–๒-๕)
กลุ่มวิชาที่หลักสูตรกำหนด จำนวน ๑๔ หน่วยกิต
กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ จำนวน ๕ หน่วยกิต
หน่วยกิต (บรรยาย-ปฏิบัติ)
วศคร ๓๐๐ ปรัชญา จรรยาบรรณ และกฎหมายสำหรับวิศวกร ๑ (๑-๐-๒)
สมสค ๑๓๐ หลักเศรษฐศาสตร์ ๒ (๒-๐-๔)
สมสค ๑๔๐ จิตวิทยาทั่วไป ๒ (๒-๐-๔)
สมสค ๑๔๒ จิตวิทยาสังคม ๒ (๒-๐-๔)
สมสค ๑๔๔ หลักการสื่อสาร ๒ (๒-๐-๔)
สมสค ๑๖๐ หลักการบริหาร ๒ (๒-๐-๔)
สมสค ๑๖๑ นโยบายและการวางแผน ๒ (๒-๐-๔)
สมมน ๑๐๓ ศิลปวิจักษ์ ๒ (๒-๐-๔)
สมมน ๑๐๕ ปรัชญาสังคม ๒ (๒-๐-๔)
สมมน ๑๐๘ มนุษยสัมพันธ์และการพัฒนาตน ๒ (๒-๐-๔)
สมมน ๑๑๐ มนุษย์กับวัฒนธรรม ๒ (๒-๐-๔)
สมมน ๑๑๒ พลวัตในกลุ่มและการทำงานเป็นทีม ๒ (๒-๐-๔)
สมมน ๑๓๓ วาทศาสตร์ผู้นำแนวใหม่ ๒ (๒-๐-๔)
สมศษ ๑๐๑ กิจกรรมพลศึกษา-ว่ายน้ำ ๑ (๐-๒-๑)
สมศษ ๑๑๔ กิจกรรมพลศึกษา-ลีลาศ ๑ (๐-๒-๑)
สมศษ ๑๑๗ กิจกรรมพลศึกษา-แบดมินตัน ๑ (๐-๒-๑)
สมศษ ๑๑๘ กิจกรรมพลศึกษา-เทนนิส ๑ (๐-๒-๑)
สมศษ ๑๒๕ กิจกรรมพลศึกษา-วอลเล่ย์บอล ๑ (๐-๒-๑)
สมศษ ๑๒๖ กิจกรรมพลศึกษา-เปตอง ๑ (๐-๒-๑)
วศสว ๑๐๑ ดนตรีวิจักษ์ ๒ (๑-๒-๓)
วศสว ๑๐๒ ขับร้องประสานเสียง ๑ (๐-๒-๑)
วศอก ๔๓๐ การจัดการอุตสาหกรรมสำหรับวิศวกร ๓ (๓-๐-๖)
วศอก ๔๓๖ กฎหมายอุตสาหกรรมและกฎหมายพาณิชย์ ๓ (๓-๐-๖)
วศคม ๓๑๔ การจัดการความปลอดภัยและอาชีวอนามัย ๓ (๓-๐-๖)
กลุ่มวิชาภาษา จำนวน ๓ หน่วยกิต หน่วยกิต (บรรยาย-ปฏิบัติ)
ศศภอ๒๐๗ หลักการแปล ๓ (๓-๐-๖)
ศศภอ๓๐๔ การอ่านเชิงวิเคราะห์ ๓ (๒-๒-๕)
ศศภอ๓๐๖ การสนทนาระดับสูง 1 ๓ (๒-๒-๕)
ศศภอ๓๕๐ การเขียนเชิงธุรกิจ ๓ (๓-๐-๖)
ศศภอ๓๕๑ การเขียนสรุปและการจดบันทึกย่อ ๓ (๓-๐-๖)
ศศภอ๔๐๑ การสนทนาระดับสูง 2 ๓ (๒-๒-๕)
ศศภอ๔๐๒ การพูดในที่สาธารณะ ๓ (๒-๒-๕)
ศศภอ๔๐๓ การอ่านเชิงวิชาการ ๓ (๒-๒-๕)
ศศภอ๔๐๔ การเขียนเชิงวิชาการ ๓ (๒-๒-๕)
ศศภท๑๓๒ ทักษะการใช้ภาษาไทย ๓ (๒-๒-๕)
วศคร๒๙๐ ภาษาอังกฤษสำหรับวิศวกร ๓ (๓-๐-๖)
วศคร๔๙๐ การสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษสำหรับวิศวกร ๓ (๓-๐-๖)
ศศภญ ๑๖๑ ภาษาญี่ปุ่นเบื้องต้น ๑ ๓ (๒-๒-๕)
ศศภจ ๑๗๑ ภาษาจีน ๑ ๓ (๒-๒-๕)
กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ จำนวน ๖ หน่วยกิต หน่วยกิต (บรรยาย-ปฏิบัติ)
วศคพ ๑๑๑ การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ๓ (๒-๓-๕)
*วศอก ๓๓๕ การวิเคราะห์ต้นทุนและงบประมาณ ๓ (๓-๐-๖)
หมวดวิชาเฉพาะ รวม ๑๑๓ หน่วยกิต
กลุ่มวิชาแกน รวม ๒๕ หน่วยกิต
หน่วยกิต (บรรยาย-ปฏิบัติ)
วทคม ๑๑๓ เคมีทั่วไป ๓ (๓-๐-๖)
วทคม ๑๑๘ ปฎิบัติการเคมี ๑ (๐-๓-๑)
วทคณ ๑๑๕ แคลคูลัส ๓ (๓-๐-๖)
วทคณ ๑๖๕ สมการอนุพันธ์เชิงสามัญ ๓ (๓-๐-๖)
วทฟส ๑๑๐ ปฎิบัติการฟิสิกส์ ๑ ๑ (๐-๓-๑)
วทฟส ๑๕๑ ฟิสิกส์ทั่วไป ๑ ๓ (๓-๐-๖)
วทฟส ๑๕๒ ฟิสิกส์ทั่วไป ๒ ๓ (๓-๐-๖)
วศคร ๒๐๐ คณิตศาสตร์วิศวกรรม ๓ (๓-๐-๖)
วศอก ๑๐๑ ปฏิบัติการวิศวกรรมพื้นฐาน ๒ (๑-๓-๓)
วศคก ๑๐๒ เขียนแบบวิศวกรรม ๓ (๒-๓-๕)
กลุ่มวิชาเฉพาะบังคับ รวม ๗๖ หน่วยกิต หน่วยกิต (บรรยาย-ปฏิบัติ)
วศคก ๒๒๐ กลศาสตร์วิศวกรรม ๓ (๓-๐-๖)
วศอก ๒๖๑ ความน่าจะเป็นและสถิติ ๓(๓-๐-๖)
วศฟฟ ๒๑๗ วิศวกรรมไฟฟ้าเบื้องต้น ๓ (๓-๐-๖)
วศฟฟ ๒๑๘ ปฏิบัติการวิศวกรรมไฟฟ้าเบื้องต้น ๑ (๐-๓-๑)
วศคม ๒๐๐ วิธีการคณิตศาสตร์ทางวิศวกรรมเคมี ๓ (๒-๓-๕)
วศคม ๒๐๑ หลักและการคำนวณทางวิศวกรรมเคมี ๓ (๓-๐-๖)
วศคม ๒๐๓ อุณหพลศาสตร์ทางวิศวกรรมเคมี ๑ ๓ (๓-๐-๖)
วศคม ๒๐๔ ปฏิบัติการเฉพาะหน่วย 1 ๓ (๓-๐-๖)
* วศคม ๒๑๐ วัสดุวิศวกรรม ๓(๓-๐-๖)
วศคม ๒๖๓ เคมีเชิงฟิสิกส์ ๓ (๒-๓-๕)
วศคม ๒๖๔ เคมีวิเคราะห์ ๒ (๑-๓-๓)
วศคม ๒๖๕ เคมีอินทรีย์ ๓ (๓-๐-๖)
วศคม ๒๖๖ ปฏิบัติการเคมีอินทรีย์ ๑ (๐-๓-๑)
วศคม ๓๐๓ ปฏิบัติการวิศวกรรมเคมี ๑ ๑ (๐-๓-๑)
วศคม ๓๐๔ จลนพลศาสตร์วิศวกรรมเคมีและการออกแบบเครื่องปฏิกรณ์ ๓ (๓-๐-๖)
วศคม ๓๐๖ ปฏิบัติการเฉพาะหน่วย ๒ ๓ (๓-๐-๖)
วศคม ๓๐๗ ปฏิบัติการวิศวกรรมเคมี ๒ ๑ (๐-๓-๑)
วศคม ๓๑๐ อุณหพลศาสตร์ทางวิศวกรรมเคมี ๒ ๓ (๓-๐-๖)
วศคม ๓๑๒ ปฏิบัติการเฉพาะหน่วย ๓ ๓ (๓-๐-๖)
วศคม ๓๑๓ พลศาสตร์ของกระบวนการและการควบคุม ๓ (๓-๐-๖)
วศคม ๓๑๖ เศรษฐศาสตร์ทางวิศวกรรมเคมีและการประเมินต้นทุน ๓ (๓-๐-๖)
วศคม ๓๖๐ เคมีวิเคราะห์กระบวนการ ๓ (๒-๒-๕)
วศคม ๓๗๐ วิศวกรรมเคมีสิ่งแวดล้อม ๓ (๓-๐-๖)
วศคม ๓๘๐ เทคโนโลยีอนุภาค ๓ (๓-๐-๖)
วศคม ๓๙๐ การประยุกต์คอมพิวเตอร์สำหรับวิศวกรรมเคมี ๓ (๒-๓-๕)
วศคม ๔๐๓ ปรากฏการณ์การนำพา ๓ (๓-๐-๖)
วศคม ๔๐๙ การออกแบบโรงงานทางวิศวกรรมเคมี ๓ (๓-๐-๖)
วศคม ๔๙๕ สัมมนาโครงการ ๑ (๐-๓-๑)
วศคม ๔๙๖ โครงงานวิศวกรรมเคมี ๓(๐-๙-๓)
กลุ่มวิชาเฉพาะเลือก รวม ๑๒ หน่วยกิต
ให้เลือกเรียนรวม ๑๒ หน่วยกิต จากรายวิชาดังต่อไปนี้

กลุ่มวิชาวิศวกรรมเคมีและการควบคุมกระบวนการ
หน่วยกิต (บรรยาย-ปฏิบัติ)
วศคม ๔๑๐ การจำลองกระบวนการ ๓ (๓-๐-๖)
วศคม ๔๑๑ การควบคุมกระบวนการเชิงตัวเลข ๓ (๓-๐-๖)
วศคม ๔๑๒ อุปกรณ์กระบวนการเคมี ๓ (๓-๐-๖)
วศคม ๔๑๓ การออกแบบอุปกรณ์ของกระบวนการ ๓ (๓-๐-๖)
กลุ่มวิชาปิโตรเคมี
วศคม ๔๒๒ วิศวกรรมกระบวนการปิโตรเคมี ๓ (๓-๐-๖)
วศคม ๔๒๔ วิศวกรรมปฏิกิริยาใช้ตัวเร่ง ๓ (๓-๐-๖)
วศคม ๔๒๕ เทคโนโลยีตัวเร่งปฏิกิริยา ๓ (๓-๐-๖)
วศคม ๔๒๖ วิศวกรรมปิโตรเลียม ๓ (๓-๐-๖)
กลุ่มวิชาพอลิเมอร์
วศคม ๔๓๖ พอลิเมอร์เบื้องต้น ๓ (๓-๐-๖)
วศคม ๔๓๗ กระบวนการแปรรูปพอลิเมอร์ ๓ (๓-๐-๖)
วศคม ๔๓๘ การทดสอบและวิเคราะห์พอลิเมอร์ ๓ (๓-๐-๖)
วศคม ๔๓๙ สารเติมแต่งพอลิเมอร์ ๓ (๓-๐-๖)
กลุ่มวิชาเทคโนโลยีสิ่งทอ
วศคม ๔๔๐ เทคโนโลยีเส้นใย ๓ (๓-๐-๖)
วศคม ๔๔๑ เทคโนโลยีสิ่งทอ ๓ (๓-๐-๖)
วศคม ๔๔๒ กระบวนการเคมีสิ่งทอ ๓ (๓-๐-๖)
กลุ่มวิชาวิศวกรรมชีวเคมีและอาหาร
วศคม ๔๕๐ จุลชีววิทยาอุตสาหกรรม ๓ (๓-๐-๖)
วศคม ๔๕๑ วิศวกรรมชีวเคมี ๓ (๓-๐-๖)
วศคม ๔๕๓ วิทยาการอาหารสำหรับวิศวกรรมเคมี ๓ (๓-๐-๖)
วศคม ๔๕๔ เทคโนโลยีการหมัก ๓ (๓-๐-๖)
*วศคม ๔๕๕ พื้นฐานจุลชีววิทยาและชีวเคมี ๓ (๓-๐-๖)
กลุ่มวิชาสิ่งแวดล้อมและพลังงาน
วศคม ๔๗๐ การจัดการพลังงานทางวิศวกรรมเคมี ๓ (๓-๐-๖)
วศคม ๔๗๒ การป้องกันและควบคุมมลพิษ ๓ (๓-๐-๖)
กลุ่มวิชาโลหะและเซรามิก
วศคม ๔๘๐ วิศวกรรมการกัดกร่อน ๓ (๓-๐-๖)
วศคม ๔๘๑ โลหการเคมี ๓ (๓-๐-๖)
วศคม ๔๘๒ การแปรใช้ใหม่โลหะและวัสดุวิศวกรรม ๓ (๓-๐-๖)
วศคม ๔๘๓ นาโนเทคโนโลยี ๓ (๓-๐-๖)
วศคม ๔๘๔ กระบวนการเคมีในวัสดุอนินทรีย์ ๓ (๓-๐-๖)
วศคม ๔๘๕ แนะนำเซรามิก ๓ (๓-๐-๖)
กลุ่มวิชาวิศวกรรมศาสตร์
วศคม ๓๑๕ เทคโนโลยีสินค้าอุปโภคบริโภค ๓ (๓-๐-๖)
วศคม ๔๙๐ การจัดการวิศวกรรม ๓ (๓-๐-๖)
วศคก ๒๑๓ กลศาสตร์วัสดุ ๑ ๓ (๓-๐-๖)
วศอก ๓๖๓ การควบคุมคุณภาพ ๓ (๓-๐-๖)
หมวดวิชาเลือกเสรี จำนวน ๖ หน่วยกิต
ให้เลือกเรียนรายวิชาตามที่ภาควิชากำหนด และ/หรือรายวิชาที่มหาวิทยาลัยมหิดลเปิดสอน
ในระดับปริญญาตรีและจัดให้เป็นวิชาเลือกเสรี เป็นจำนวน ๖ หน่วยกิต
การฝึกงาน จำนวน ๐ หน่วยกิต
นักศึกษาที่มีฐานะปีที่ ๓ ให้ลงทะเบียนการฝึกงานในภาคการศึกษาฤดูร้อนในวิชา
วศคม ๓๙๘ การฝึกงาน
ระยะเวลาไม่น้อยกว่า ๒๔๐ ชั่วโมง
๐ (๐-๓๕-๑๐)

ความหมายตัวเลขรหัสวิชา

รหัสรายวิชาประกอบด้วยรหัส ๗ ตัว แบ่งเป็นรหัสตัวอักษร ๔ ตัวและรหัสตัวเลข ๓ ตัว
รหัสตัวอักษร
อักษรสองตัวแรก หมายถึง ชื่อย่อของคณะต่างๆในมหาวิทยาลัยมหิดลที่รับผิดชอบจัดการเรียนการสอน
วศ หรือ EG หมายถึง คณะวิศวกรรมศาสตร์
วท หรือ SC หมายถึง คณะวิทยาศาสตร์
สม หรือ SH หมายถึง คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
จก หรือ MG หมายถึง วิทยาลัยการจัดการ
วศ หรือ MS หมายถึง วิทยาลัยดุริยางคศิลป์
ศศ หรือ AR หมายถึง คณะศิลปศาสตร์

อักษรสองตัวหลัง หมายถึง ชื่อย่อของภาควิชาในคณะที่รับผิดชอบจัดการเรียนการสอนในรายวิชานั้นๆ ดังนี้
คร หรือ ID หมายถึง สหวิทยาการ (Interdisciplinary course) เป็นรายวิชา
ที่เป็นการสอนร่วมกันระหว่างภาควิชาหรือไม่อยู่ใน
ความรับผิดชอบของภาควิชาใดโดยตรง
สค หรือ SS หมายถึง ภาควิชาสังคมศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
มน หรือ HUหมายถึง ภาควิชามนุษยศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์และ มนุษยศาสตร์
ศษ หรือ ED หมายถึง ภาควิชาศึกษาศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์และ มนุษยศาสตร์
คณ หรือ MA หมายถึง ภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์
คม หรือ CH หมายถึง ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์
ฟส หรือ PY หมายถึง ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์
ภอ หรือ EN หมายถึง ภาควิชาภาษาต่างประเทศ คณะศิลปศาสตร์
ภท หรือ TH หมายถึง ภาควิชาภาษาไทย คณะศิลปศาสตร์
ชื่อย่อของภาควิชาในคณะวิศวกรรมศาสตร์มีรหัสตัวอักษร ดังนี้
คก หรือ ME หมายถึง ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล
คม หรือ CH หมายถึง ภาควิชาวิศวกรรมเคมี
ฟฟ หรือ EEหมายถึง ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
อก หรือ IE หมายถึง ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ
คพ หรือ COหมายถึง โครงการจัดตั้งภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
ยธ หรือ CEหมายถึง โครงการจัดตั้งภาควิชาวิศวกรรมโยธา
ชพ หรือ BEหมายถึง โครงการจัดตั้งภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์

รหัสตัวเลข
ตัวเลขตัวที่หนึ่ง(หลักร้อย) แสดงชั้นปีที่เรียน
ตัวเลขตัวที่สอง(หลักสิบ) แสดงลักษณะวิชาหรือแขนงวิชาย่อย
ตัวเลขตัวที่สาม(หลักหน่วย) แสดงลำดับวิชาที่จัดสอน

รหัสเลขหลักสิบ
๐-๑ หมายถึง แขนงวิชาวิศวกรรมเคมีและการควบคุมกระบวนการ
๒ หมายถึง แขนงวิชาปิโตรเคมี
๓ หมายถึง แขนงวิชาวิชาพอลิเมอร์
๔ หมายถึง แขนงวิชาเทคโนโลยีสิ่งทอ
๕ หมายถึง แขนงวิชาวิศวกรรมชีวเคมีและอาหาร
๖ หมายถึง แขนงวิชาเคมี
๗ หมายถึง แขนงวิชาสิ่งแวดล้อมและพลังงาน
๘ หมายถึง แขนงวิชาโลหะและเซรามิก
๙ หมายถึง หัวข้อพิเศษ

หมายเหตุ * รายวิชาเปิดใหม่

แผนการศึกษา

ชั้นปีที่ ภาคการศึกษาที่ ๑ ภาคการศึกษาที่ ๒
๑. มมศท ๑๐๑ การศึกษาทั่วไปเพื่อการพัฒนามนุษย์ ๒(๑–๒-๓) มมศท ๑๐๓ ศิลปวิทยา การเพื่อการพัฒนามนุษย์ ๒(๑–๒-๓)
มมศท๑๐๒ สังคมศึกษาเพื่อการพัฒนามนุษย์ ๓ (๒–๒-๕) ศศภอ ๑๐๔-๑๐๘ ภาษาอังกฤษระดับ ๒-๖ ๓(๒-๒-๕)
ศศภอ ๑๐๓-๑๐๗ ภาษาอังกฤษระดับ ๑-๕ ๓ (๒-๒-๕) ศศภท ๑๐๐ ศิลปะการใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร ๓(๒–๒-๕)
วทคณ๑๑๕ แคลคูลัส ๓ (๓-๐-๖) วทคม ๑๑๓ เคมี ทั่วไป ๓ (๓-๐-๖)
วทฟส ๑๑๐ ปฏิบัติการฟิสิกส์ ๑ ๑ (๐-๓-๑) วทคม ๑๑๘ ปฎิ บัติการเคมี ๑ (๐-๓-๑)
วทฟส ๑๕๑ ฟิสิกส์ทั่วไป ๑ ๓ (๓-๐-๖) วทคณ ๑๖๕ สมการเชิงอนุพันธ์สามัญ ๓ (๓-๐-๖)
วศคก ๑๐๒ เขียนแบบวิศวกรรม ๖ ๓ (๒-๓-๕) วทฟส ๑๕๒ ฟิสิกส์ทั่วไป ๒ ๓ (๓-๐-๖)
วศอก ๑๐๑ ปฏิบัติการวิศวกรรมพื้นฐาน ๒ (๑-๓-๓) วศคพ ๑๑๑ การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ๓ (๒-๓-๕)
วิชาเลือกหมวดศึกษาทั่วไป กลุ่มมนุษยศาสตร์ฯ
(กิจกรรมพลศึกษา/ดนตรี)
๑ (๐-๒-๑)
รวม ๒๑ (๑๔-๑๗-๓๕) รวม ๒๑ (๑๖-๑๒-๓๗)
๒. วศคม ๒๐๑ หลักและการคำนวณทางวิศวกรรมเคมี ๓ (๓-๐-๖) วศคม ๒๐๐ วิธี การคณิตศาสตร์ทางวิศวกรรมเคมี ๓ (๒-๓-๕)
วศคม ๒๖๓ เคมีเชิงฟิสิกส์ ๓ (๒-๓-๕) วศคม ๒๐๓ อุณห พลศาสตร์ทางวิศวกรรมเคมี ๑ ๓ (๓-๐-๖)
วศคม ๒๖๕ เคมีอินทรีย์ ๓ (๓-๐-๖) วศคม ๒๐๔ ปฏิบัติการเฉพาะหน่วย ๑ ๓ (๓-๐-๖)
วศคม ๒๖๖ ปฏิบัติการเคมีอินทรีย์ ๑ (๐-๓-๑) *วศคม ๒๑๐ วิศวกรรมวัสดุ ๓ (๓-๐-๖)
วศคร ๒๐๐ คณิตศาสตร์วิศวกรรม ๓ (๓-๐-๖) วศคม ๒๖๔ เคมีวิเคราะห์ ๒ (๑-๓-๓)
วศอก ๒๖๑ ความน่าจะเป็นและสถิติ ๓ (๓-๐-๖) วศฟฟ ๒๑๗ วิศวกรรมไฟฟ้าเบื้องต้น ๓ (๓-๐-๖)
วศคก ๒๒๐ กลศาสตร์วิศวกรรม ๓ (๓-๐-๖) วศฟฟ ๒๑๘ ปฏิบัติการวิศวกรรมไฟฟ้าเบื้องต้น ๑ (๐-๓-๑)
รวม ๑๙ (๑๗-๖-๓๖) รวม ๑๘ (๑๕-๙-๓๓)
๓. วศคม๓๐๓ ปฏิบัติการวิศวกรรมเคมี ๑ ๑ (๐-๓-๑) วศคม ๓๐๗ ปฏิบัติ การวิศวกรรมเคมี ๒ ๑ (๐-๓-๑)
วศคม๓๐๔ จลนพลศาสตร์วิศวกรรมเคมีและการออกแบบเครื่อง ปฏิกรณ์ ๓ (๓-๐-๖) วศคม ๓๑๒ ปฏิบัติการเฉพาะหน่วย ๓
๓ (๓-๐-๖)
วศคม ๓๐๖ ปฏิบัติการเฉพาะหน่วย ๒ ๓ (๓-๐-๖) วศคม ๓๑๓ พลศาสตร์ของกระบวนการและการควบคุม ๓ (๓-๐-๖)
วศคม๓๑๐ อุณหพลศาสตร์ทาง วิศวกรรมเคมี ๒ ๓ (๓-๐-๖) วศคม ๓๑๖ เศรษฐศาสตร์ทางวิศวกรรมเคมีและการประเมินต้นทุน ๓ (๓-๐-๖)
วศคม๓๘๐ เทคโนโลยีอนุภาค ๓ (๓-๐-๖) วศคม ๓๖๐ เคมีวิเคราะห์กระบวนการ ๓ (๒-๒-๕)
วศคม๓๙๐ การประยุกต์คอมพิวเตอร์สำหรับวิศวกรรมเคมี ๓ (๒-๓-๕) วศคม ๓๗๐ วิศวกรรมเคมีสิ่งแวดล้อม
วศคร ๓๐๐ ปรัชญา จรรยาบรรณ และกฎหมายสำหรับวิศวกร ๑ (๑-๐-๒) วิชาเลือกหมวดศึกษาทั่วไป กลุ่มวิชา                  มนุษยศาสตร์ฯ ๓ (๓-๐-๖)
*วศอ๓๓๕ การวิเคราะห์ต้นทุนและงบประมาณ ๓ (๓-๐-๖)
ภาคการศึกษาฤดูร้อน
วศคม ๓๙๘ การ ฝึกงาน ๐ (๐-๓๕-๑๐)
รวม ๒๐ (๑๘-๖-๓๘) รวม ๑๙ (๑๗-๕-๓๖)
๔. วศคม๔๐๓ ปรากฏการณ์การนำพา ๓ (๓-๐-๖) วศคม ๔๙๖ โครง งานวิศวกรรมเคมี ๓ (๐-๙-๓)
วศคม๔๐๙ การออกแบบโรงงานทางวิศวกรรมเคมี ๓ (๓-๐-๖) วศคม ๔XX วิชา เลือกทางวิศวกรรมเคมี ๓ (๓-๐-๖)
วศคม๔๙๕ สัมมนา โครงาน ๑ (๐-๓-๑) วศคม ๔XX วิชาเลือกทางวิศวกรรมเคมี ๓ (๓-๐-๖)
วศคม ๔XX วิชาเลือกทางวิศวกรรมเคมี
๓ (๓-๐-๖) วศคม ๔XX วิชาเลือกเสรี ๓ (๓-๐-๖)
วศคม ๔XX วิชาเลือกทางวิศวกรรมเคมี ๓ (๓-๐-๖) วิชาเลือกหมวดศึกษาทั่วไป กลุ่มวิชาภาษา ๓ (๓-๐-๖)
วศคม ๔XX วิชาเลือกเสรี ๓ (๓-๐-๖)
รวม ๑๖ (๑๕-๓-๓๑) รวม ๑๕ (๑๒-๙-๒๗)

รายละเอียดรายวิชา

รหัสวิชา รายวิชา หน่วยกิต (บรรยาย-ปฏิบัติ) คำอธิบายรายวิชา Prerequisite :
หมวดวิชาศึกษาทั่วไป
กลุ่มสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
มมศท ๑๐๑ การศึกษาทั่วไปเพื่อการพัฒนามนุษย์ ๒(๑–๒-๓) ความหมาย ความสำคัญ และความสัมพันธ์ของวิชาศึกษาทั่วไปกับวิชาชีพ / วิชาเฉพาะ ความเชื่อมโยงสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมกับคุณสมบัติของจิตใจ ความสามารถในการคิดวิเคราะห์สังเคราะห์อย่างมีวิจารณญาณ คุณสมบัติของบัณฑิตที่พึงประสงค์   การวิเคราะห์เหตุปัจจัยและผลกระทบของเหตุการณ์ / สถานการณ์/ปัญหา     และการสังเคราะห์แนวทางแก้ไข  ป้องกันปัญหา หรือปรับปรุงพัฒนาเหตุการณ์ / สถานการณ์ เพื่อคุณประโยชน์ต่อตนเอง ผู้อื่น และสังคม  การประยุกต์ความรู้เพื่อเสนอแนวทางแก้ไขปัญหากรณีศึกษา
MUGE 101 General Education for Human Development 2(1-2-3) The meaning, significance, and relation of General Education to other vocational / specific subjects; the relation between behavior and mentality; critical thinking; the qualifications of ideal graduates; analysis of causes and consequences of events / situations / problems; synthesis of solutions to, precautions against, or improvements in those events / situations to benefit individuals and their community; and the application of   knowledge to solve the problems of case studies.
มมศท ๑๐๒ สังคมศึกษาเพื่อการพัฒนามนุษย์ ๓ (๒–๒-๕) หลักการและทฤษฎีพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ / เหตุการณ์ / ปัญหาที่สำคัญของสังคมไทยและสังคมโลก อาทิ วิวัฒนาการของอารยธรรมและเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์ ระบบการเมืองการปกครอง ระบบเศรษฐกิจ ระบบสุขภาพ การวิเคราะห์เหตุปัจจัยและผลกระทบของเหตุการณ์/สถานการณ์ / ปัญหา และการสังเคราะห์แนวทางแก้ไข ป้องกันปัญหา หรือแนวทางปรับปรุงพัฒนาเหตุการณ์ /สถานการณ์ / เพื่อคุณประโยชน์ต่อตนเอง ผู้อื่น และสังคม  การประยุกต์ความรู้เพื่อเสนอแนวทางแก้ไขปัญหากรณีศึกษา
MUGE 102 Social Studies for Human Development 2(1-2-3) Basic principles and theory in relation to events / situations / major problems of the Thai and global communities, for example, evolution of civilization; important events in historical, political and public administration systems; the economic and health systems, etc.; analysis of causes and consequences of events / situations / problems; synthesis of solutions to, precautions against, or improvements in those events / situations to benefit individuals and their community; and the application of knowledge to solve the problems of case studies.
มมศท ๑๐๓ ศิลปวิทยาการเพื่อการพัฒนามนุษย์ ๒ (๑–๒-๓) มนุษยภาพในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต  เหตุการณ์ / สถานการณ์ / ปัญหาเกี่ยวกับวิวัฒนาการที่สำคัญทางด้านศิลปะวิทยาการของประเทศไทยและของโลก แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง การวิเคราะห์เหตุปัจจัยและผลกระทบของเหตุการณ์ / สถานการณ์ / ปัญหา และการสังเคราะห์แนวทางแก้ไข  ป้องกันปัญหา หรือแนวทางปรับปรุงพัฒนาเหตุการณ์ / สถานการณ์ / เพื่อคุณประโยชน์ต่อตนเอง ผู้อื่น  และสังคม  การประยุกต์ความรู้เพื่อเสนอแนวทางแก้ไขปัญหากรณีศึกษา
MUGE 103 Arts and Science for Human Development 2(1-2-3) Humankind in the past, present and future; events / situations / problems in relation to the evolution of the arts and sciences in the Thai and global communities; concepts of the sufficiency economy; analysis of causes and consequences of events / situations / problems; synthesis of solutions to, precautions against, or improvements in those events / situations to benefit individuals and their community; and the application of knowledge to solve the problems of case studies.
กลุ่มวิชาภาษา
วิชาภาษาไทย
ศศภท ๑๐๐ ศิลปะการใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร ๓ (๒–๒-๕) ศิลปะการใช้ภาษาไทย  ทักษะการใช้ภาษาไทยในด้านการพูด  การฟัง  การอ่าน  การเขียนและการคิด   เพื่อการสื่อสารได้อย่างถูกต้อง  เหมาะสม
ARTH100 Art  of  Using Thai  Language in Communication Art  of  using Thai  language  and of speaking, listening, reading, writing, and thinking  skills for accurate  and appropriate communication.
วิชาภาษาอังกฤษ
ศศภอ ๑๐๓ ภาษาอังกฤษระดับ ๑ ๓ (๒–๒-๕) ไวยากรณ์ และศัพท์ภาษาอังกฤษในบริบทที่เกี่ยวข้องกับการใช้ภาษาในชีวิตประจำวัน ในลักษณะของบูรณาการทักษะการใช้ภาษาอังกฤษทั้งสี่ทักษะ (การฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน)และการสื่อสารในชั้นเรียน
AREN 103 English Level 1 3(2-2-5) Grammar and vocabulary in the context of daily life language use, dealing with integration in four basic skills (listening, speaking, reading, and writing) and classroom communication.
ศศภอ ๑๐๔ ภาษาอังกฤษระดับ ๒ ๓ (๒–๒-๕) คำศัพท์ สำนวน  ไวยากรณ์ และการใช้ภาษาอังกฤษในบริบททางสังคมปัจจุบัน ทักษะการสนทนาในกลุ่มย่อย ทักษะการเขียนในระดับย่อหน้า และกลยุทธ์ในการอ่าน
AREN 104 English Level 2 3(2-2-5) Vocabulary, expressions, grammar, and contextualized social language; essential communicative skills in small groups; writing practice at a paragraph level; and reading strategies.
ศศภอ  ๑๐๕ ภาษาอังกฤษระดับ ๓ ๓ (๒–๒-๕) การอ่านข้อความและการเขียนทั้งระดับประโยค  และระดับย่อหน้าที่เกี่ยวกับสัดส่วน  ความถี่    และความน่าจะเป็น  รูปร่าง  การวัด  การเปรียบเทียบและการเปรียบต่าง  คำจำกัดความและการ จำแนก  การเขียนอย่างมีเอกภาพ  การใช้คำเชื่อม  การฟังเพื่อจับใจความสำคัญ    การฟังเพื่อรายละเอียดจำเฉพาะ  และการทำการอนุมาน
AREN 105 English Level  3 3(2-2-5) Reading passages and writing at sentence and paragraph levels about proportion, frequency and probability, shape, measurement, comparison and contrast, definition and classification; coherence, unity and transition; listening comprehension; listening for the main idea; listening for specific details; and making inferences.
ศศภอ ๑๐๖ ภาษาอังกฤษระดับ ๔ ๓ (๒–๒-๕) บูรณาการในทักษะทั้งสี่ (การฟัง  การพูด  การอ่านและการเขียน)  การฟังเพื่อจับใจความสำคัญและในรายละเอียด  การอภิปรายตามหัวข้อที่กำหนด  การอ่านบทอ่านในเรื่องที่หลากหลายและทำการสรุปและเขียนอย่างมีระบบในระดับประโยค และระดับย่อหน้าซึ่งเกี่ยวกับประเด็นที่สัมพันธ์กับ               บทอ่าน
AREN 106 English Level 4 3(2-2-5) Integration in four language skills: listening, speaking, reading and writing; listening comprehension for main ideas and detailed information; topic-oriented discussion; reading passages on various topics and making conclusions; and writing systematically about particular issues of those topics at the sentence and paragraphs levels.
ศศภอ ๑๐๗ ภาษาอังกฤษระดับ ๕ ๓ (๒–๒-๕) บูรณาการทักษะการใช้ภาษาอังกฤษเชิงวิชาการทั้งสี่ทักษะ ตั้งแต่ระดับย่อหน้าจนถึงระดับเรียงความ ที่ใช้หัวข้อเรื่องเกี่ยวกับประจำวันและเกี่ยวข้องกับสาขาวิชา โดยเน้นทั้งการอภิปรายและการนำเสนอผลงานแบบปากเปล่า
AREN 107 English Level  5 3(2-2-5) Integrated skills in English for academic purposes starting from paragraphs leading to the essay level, using everyday and field-related topics, with emphasis on both discussion and oral presentations.
ศศภอ ๑๐๘ ภาษาอังกฤษระดับ ๖ ๓ (๒–๒-๕) การอ่านและการเขียนรายงานทางวิชาการ รวมทั้งบทคัดย่องานวิจัยและบทความทางวารสาร กิจกรรมการพูดที่ใช้ในการสนทนาภาษาอังกฤษในสถานการณ์ต่างๆ การนำเสนอปากเปล่า และทักษะการโต้วาที
AREN 108 English Level  6 3(2-2-5) Reading and writing of academic reports, including research abstracts and journal articles; application of speaking activities to English conversation in various contexts; oral presentations; and debating skills.
กลุ่มวิชาที่หลักสูตรกำหนด
กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์   สังคมศาสตร์
วศคร ๓๐๐ ปรัชญา จรรยาบรรณ และกฎหมายสำหรับวิศวกร ๑ (๑-๐-๒) ปรัชญาวิชาชีพวิศวกรรม  กฎหมายควบคุมการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมของประเทศไทย  ความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติวิศวกรในปัจจุบัน  โครงสร้างองค์กร อำนาจและหน้าที่ของสภาวิศวกรที่ทำหน้าที่ควบคุมวิชาชีพวิศวกรรม  สมาชิกสภาวิศวกร ระเบียบและข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมการประกอบวิชาชีพ ความรู้ทางด้านความปลอดภัย  สิ่งแวดล้อม  จรรยาบรรณ  กฎหมายและทักษะทางวิศวกรรมสำหรับการประกอบวิชาชีพ
EGID 300 Philosophy, Ethics and Laws for Engineers 1(1-0-2) Philosophy of engineering professional ; law required for engineering professional in Thailand; knowledge about the current Engineering Act ; organization , potency and duties for the Council of Engineer that responsible for engineering professional; the member of the Council of Engineer; rules and regulations relevant to engineering professional; knowledge in safety , environment, ethics, laws and engineering skills needed for the engineering professional.
สมสค๑๓๐ หลักเศรษฐศาสตร์ ๒ (๒-๐-๔) ทฤษฎีและแนวความคิดขั้นพื้นฐานทางเศรษฐศาสตร์     อุปสงค์    อุปทาน   กลไกราคา      ทฤษฎีพฤติกรรมผู้บริโภค  ทฤษฎีการผลิต  ต้นทุนและประเภทของตลาด รายได้ประชาชาติ      การค้าระหว่างประเทศ ระบบเศรษฐกิจไทย ฯลฯ  โดยเน้นการประยุกต์      ใช้ตามสาขาการศึกษาของนักศึกษา
SHSS130 Principles of Economics 2(2-0-4) Foundation   of   economic   theory   and  concept,   i.e.,   demand   and  supply,  price  mechanism    theory    of    consumer    behavior,   Theory  of  production,  costs  and   types    of    Markets,    national    income,    international    trade,   structure  of  Thai   economic  system,  etc.   Application   will   emphasize   on   the  student  is  field  of  study.
สมสค๑๔๐ จิตวิทยาทั่วไป ๒ (๒-๐-๔) ศึกษาตัวแปรและกระบวนการทางจิตวิทยาที่มีอิทธิพลต่อการแสดงพฤติกรรมของบุคคลเช่น ความรู้สึก  การรับรู้  การเรียนรู้และการขัดเกลาสังคม อารมณ์ แรงจูงใจ  ทัศนคติบุคลิกภาพ  การปรับตัว และสุขภาพจิต
SHSS 140 General Psychology 2(2-0-4) This course deals with psychological variables and mental processes as the determinants of individual behavior. The psychological variables include sensation, perception, learning  and socialization, emotion, motivation, attitude, personality, adjustment and mental health
สมสค๑๔๒ จิตวิทยาสังคม ๒ (๒-๐-๔) ทฤษฎีและแนวความคิดทางจิตวิทยาสังคม การรับรู้ทางสังคม การเรียนรู้ทางสังคม ทัศนคติ ค่านิยม ความเชื่อ บุคลิกภาพ บริบททางสังคมวัฒนธรรม พฤติกรรมกลุ่ม การสื่อความเข้าใจกันในสังคมและความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล
SHSS  142 Social Psychology 2(2-0-4) Theory and concept in social psychology, social perception, social learning, attitude, value, belief, personality, social-cultural contexts, group behavior, communication and interpersonal  relationships.
สมสค ๑๔๔ หลักการสื่อสาร ๒ (๒-๐-๔) มุ่งให้นักศึกษาได้ตระหนักถึงความจำเป็นและความสำคัญของการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพโดยการนำเสนอแบบจำลองและทฤษฎีต่าง ๆ   ทางการสื่อสารเพื่อให้เกิด ความเข้าใจรวบยอดเกี่ยวกับกระบวนการสื่อสารและองค์ประกอบของการสื่อสารและเพื่อลดความล้มเหลวในการสื่อสาร  ทักษะที่จำเป็นในการสื่อสารและจิตวิทยาการสื่อสารจึงเป็นสาระที่เพิ่มขึ้นในวิชานี้
SHSS 144 Principles of Communication 2(2-0-4) This  course  is  designed  to enable students to recognize  the  necessity  and  importance  of effective communication. Various models and theories will be provided for a  comprehensive understanding of communication  process  and  its  elements. The course is also concerned with essential skills required in communication. As well as  communication  psychology  concepts,  in  order  to  minimize  some  communication  breakdown.
สมสค๑๖๐ หลักการบริหาร ๒ (๒-๐-๔) ความรู้พื้นฐานทางด้านการบริหาร  แนวคิด  ทฤษฎี  หลักการและกระบวนการบริหารวัฒนธรรมองค์การและการบริหารสู่ความเป็นเลิศ  จริยธรรมและความรับผิดชอบทาง สังคม   การจัดรูปองค์การ การบริหารยุทธศาสตร์  การทำงานเป็นทีมและการสร้างทีมงานที่มีประสิทธิภาพ  การเปรียบเทียบการบริหารราชการกับการบริหารธุรกิจ  เทคนิคการบริหาร   และการพัฒนาคุณภาพ
SHSS 160 Principles of Administration 2(2-0-4) Foundation  of  administration,  concept,  theory  and  function  of  administration,  organizational  culture  and  management  excellence,  management  ethics  and  social  responsibility,  organization  design,  strategic  management,  teamwork  and  effective  team  building,  comparative  analysis  of  public  administration  and  business  administration,  management  techniques  and  quality  management.
สมสค๑๖๑ นโยบายและการวางแผน ๒ (๒-๐-๔) เนื้อหา ความรู้พื้นฐานด้านนโยบายและการวางแผน ลักษณะทั่วไปของนโยบาย การกำหนดนโยบาย  การวิเคราะห์นโยบาย  หลักการวางแผนและกระบวนการวางแผน  การวางแผน/โครงการ  การบริหารโครงการ  การประเมินผลโครงการ  การวิเคราะห์ความเหมาะสมของแผนงาน/โครงการ  การวางแผนนโยบายกับการวางแผนพัฒนาประเทศการวางแผนกลยุทธ์การใช้ Logical-Framework  และการใช้เทคนิคเพื่อการวางแผน
SHSS161 Policy and Planning 2(2-0-4) Foundation  of  Policy  and  Planning  General  Characteristics  of  Public  Policy,  Formulation,  Policy  analysis,  Principle  and  process  of  planning,  Program/Project  planning,  Policy  Formulation  in  Relation  to  national  development  plan,  Strategic  Planning  and  La  Frame  work.
สมมน๑๐๓ ศิลปวิจักษ์ ๒ (๒-๐-๔) วิวัฒนาการของวิจิตรศิลป์จากสมัยก่อนประวัติศาสตร์ สมัยอารยธรรมอียิปต์ กรีก โรมัน ยุโรปสมัยกลาง สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการสมัยใหม่จนถึงศิลปะยุคปัจจุบัน รวมทั้งศิลปะของไทยในแง่คุณค่าและความประณีตในจิตรกรรมฝาผนัง พระพุทธรูปสมัยต่าง ๆ และรูปแบบสถาปัตยกรรมไทยยุคต่าง ๆ จากวัดในประเทศไทย
SHHU103 Art Appreciation 2(2-0-4) Evolution of fine art from per-historical period to civilizations of ancient Egypt, Greek, and Roman antiquity, Middle Ages, Renaissance, Baroque, Rococo, Neo-classicisn, up to the present time including traditional Thai art in Thai mural painting, styles of Buddha images and Thai architectural styles in Buddhist temples in Thailand
สมมน๑๐๕ ปรัชญาสังคม ๒ (๒-๐-๔) ความหมายและขอบเขตของปรัชญาสังคม  ความแตกต่างระหว่างปรัชญาสังคมกับทฤษฎีการเมืองวิเคราะห์เปรียบเทียบทฤษฎีปรัชญาสังคมที่มีอิทธิพลต่อความคิดปัจจัย เช่น ปรัชญา สังคมของเพลโต ปรัชญาสังคมแบบเสรีนิยม  ปรัชญาสังคมของพวกซ้ายใหม่ และปรัชญาประชาธิไตย วิเคราะห์เปรียบเทียบความคิดพื้นฐานในทฤษฎีต่าง ๆ เช่น เสรีภาพ สิทธิโดยธรรมชาติ  ความเป็นธรรมในสังคม  ผลประโยชน์ของประชาชน  การมีส่วนรวมในการปกครอง  ตลอดจนปัญหาในการนำทฤษฎีปรัชชาสังคมแต่ละประเภทมาใช้
SHHU105 Social Philosophy 2(2-0-4) Meaning, and scope of social philosophy, differences between social philosophy and political theory. Comparative analysis of the social philosophical theories with influence on contemporary thoughts such as Plato’s, liberalism, the New Left, and democracy. Comparative analysis of basic concepts in different theories  such as liberty, natural rights, social justice, public interest, public participation, and problems in the application of those theories.
สมมน๑๐๘ มนุษยสัมพันธ์และการพัฒนาตน ๒ (๒-๐-๔) หลักและวิธีการมนุษยสัมพันธ์และการพัฒนาตนเองตามคำสอนของพุทธศาสนา  เช่น วิธีสร้างมนุษยสัมพันธ์ที่ดีในหมู่เพื่อนร่วมงานและสมาชิกสังคม  ศิลปะการทำงานร่วมกัน   การบริหารงานตามหลักคำสอนพุทธศาสนา    การปลูกสร้างสัมมาทิฐิและอุดมคติในการทำงาน  วิธีปฏิบัติสมาธิตามแนวพุทธศาสนา  ศิลปะการพูดในที่สาธารณะ
SHHU108 Human Relation and Self-Development 2(2-0-4) Principles  and  methods  of  cultivation  human  relations  and  self-development  according  to  Buddhist  perspective.  For  example,  methods  to  develop  a  good  relationship  among  colleagues  and  members  in  society,  the  art  of  teamwork,  the  administration  according  to  the  Buddhist  teachings,  the  cultivation  of  right  view  and  working  ethos,  Buddhist  meditation,  and  art  of  public  speaking.
สมมน๑๑๐ มนุษย์กับวัฒนธรรม ๒ (๒-๐-๔) ความหมายละความสำคัญของวัฒนธรรม วิถีชีวิต โลกทัศน์ ขนบธรรมเนียมประเพณี ความเชื่อ ระบบค่านิยม  เทคโนโลยีพื้นบ้านของคนไทยกลุ่มต่าง ๆ ในชนบท  และชนกลุ่มน้อยที่อยู่ในประเทศไทย ความเข้าใจในคุณค่าของวัฒนธรรม ระบบความเชื่อ ประเพณีและรูปแบบการดำเนินชีวิตของคนในชนบท  สร้างความเข้าใจและความสามารถเข้าถึงจิตใจของชาวบ้าน ซึ่งเป็นประโยชน์สำหรับการทำงาน ทั้งโดยส่วนตัวและต่อการพัฒนาประเทศชาติโดยรวม
SHHU110 Human and Culture 2(2-0-4) Meanings and significance of cultures, ways of life, worldviews, traditions, customs, beliefs, value systems, fork technology of different groups of Thai people in the rural area and minority groups in Thailand. Understanding of culture’s value, belief systems, customs, and patterns of living of rural people. Creating sympathy and understanding of rural people’s needs will benefit own work and national development as a whole.
สมมน๑๑๒ พลวัตของกลุ่มและการทำงานเป็นทีม ๒(๒-๐-๔) ทฤษฎีต่าง ๆ เกี่ยวกับการทำงานเป็นกลุ่ม  พฤติกรรมการรวมกลุ่ม กระบวนการทำงานเป็นกลุ่ม บทบาท และลักษณะเฉพาะของภาวะผู้นำกลุ่มที่มีประสิทธิภาพ  การสื่อสารภายในกลุ่ม  การสร้างมนุษยสัมพันธ์ และพัฒนาบุคลิกภาพ  การตัดสินใจ  และการแก้ปัญหาความขัดแย้งของกลุ่ม
SHHU112 Group Dynamics and Teamwork 2(2-0-4) Theories of teamwork, group – gathering behaviors, process of working in team, roles and characteristics of leadership, effective teamwork, group communication, human relations, personality development, decision- making and group- conflict solution.
สมมน ๑๓๓ วาทศาสตร์สำหรับภาวะผู้นำ ๒ (๒ – ๐ – ๔) ทฤษฎีและการปฏิบัติแนวใหม่ทางวาทศาสตร์สำหรับผู้นำ ทักษะการฝึกพูดต่อสาธารณและพัฒนาบุคลิกภาพสู่ภาวะผู้นำ สำหรับการเตรียมพร้อมในด้านการนำเสนอความรู้ ความคิดเห็น และความคิด ด้วยทักษะการคิดหลากมิติที่กระตุ้นการพัฒนา และการพัฒนาภูมิปัญญาของแต่ละบุคคลในเรื่องการสื่อความหมายไปยังสาธารณชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
SHHU 133 Rhetoric for Leadership 2(2-0-4) Theories and practices on the new trend of rhetoric for leadership including training skill in public speaking and personal development for leadership in preparing for academic presentations, ideas, and thoughts. Multi-dimensional thinking practices motivating individuals’ intellectual development of effective communication to the public.
สมศษ๑๐๑ กิจกรรมพลศึกษา-ว่ายน้ำ ๒ (๒ – ๐ – ๔) ประวัติความเป็นมาและความรู้ทั่วไปของการว่ายน้ำ ประโยชน์และคุณค่าของการว่ายน้ำ        การสร้างเสริมสมรรถภาพสำหรับการว่ายน้ำ  ทักษะการว่ายน้ำขั้นพื้นฐาน  กติกาการว่ายน้ำ
SHED101 Physical Education Activity-Swimming 2(2-0-4) History and introduction of swimming, significance and values of swimming, potential promotion for swimming, basic skills and rules of swimming.
สมศษ๑๑๔ กิจกรรมพลศึกษา-ลีลาศ ๑ (๐-๒-๑) ประวัติความเป็นมาและความรู้ทั่วไปของการลีลาศ ประโยชน์และคุณค่าของการลีลาศ  การสร้างเสริมสมรรถภาพสำหรับการลีลาศ  ทักษะการลีลาศขั้นพื้นฐาน  มารยาทในการลีลาศ
SHED114 Physical Education Activity-Social Dance 1(0-2-1) History and introduction of social dance, significance and values of social dance, potential promotion for social dancing, players, basic skills and rules of social dance.
สมศษ๑๑๗ กิจกรรมพลศึกษา-แบดมินตัน ๑ (๐-๒-๑) ประวัติความเป็นมาและความรู้ทั่วไปของกีฬาแบดมินตัน ประโยชน์และคุณค่าของกีฬาแบดมินตัน  การสร้างเสริมสมรรถภาพสำหรับการเล่นแบดมินตัน  ทักษะการเล่นแบดมินตันขั้นพื้นฐาน  กติกาการเล่นแบดมินตัน
SHED117 Physical Education Activity-Badminton 1(0-2-1) History and introduction of badminton, significance and values of badminton, potential promotion for badminton playing, basic skills and rules of badminton playing.
สมศษ๑๑๘ กิจกรรมพลศึกษา-เทนนิส ๑ (๐-๒-๑) ประวัติความเป็นมาและความรู้ทั่วไปของกีฬาเทนนิส ประโยชน์และคุณค่าของกีฬาเทนนิส  การสร้างเสริมสมรรถภาพสำหรับการเล่นเทนนิส  ทักษะการเล่นเทนนิสขั้นพื้นฐาน  กติกาการเล่นเทนนิส
SHED118 Physical Education Activity-Tennis 1(0-2-1) History and introduction of tennis, significance and values of tennis, potential promotion of tennis players, basic skills and rules of tennis playing.
สมศษ๑๒๕ กิจกรรมพลศึกษา-วอลเล่ย์บอล ๑ (๐-๒-๑) คุณค่าและประโยชน์ของการออกกำลังกาย หลักการและวิธีการในการออกกำลังกาย ประวัติความเป็นมาและคุณค่าของกีฬาวอลเล่ย์บอล  ทักษะการเล่นขั้นพื้นฐาน การเล่นเป็นทีม กติกามารยาทในการเล่นและดูกีฬา
SHED125 Physical Education Activity-Volleyball 1(0-2-1) Values and benefits of exercise and sports; etiquettes, spirit of athletes and sport spectators in volleyball; history, rules and regulation of volleyball; basic movements, skills, techniques, playing strategies and competitions in volleyball.
สมศษ๑๒๖ กิจกรรมพลศึกษา-เปตอง ๑ (๐-๒-๑) คุณค่าและประโยชน์ของการออกกำลังกาย หลักการและวิธีการออกกำลังกาย ประวัติความเป็นมาและประโยชน์ของกีฬาเปตอง ทักษะพื้นฐานกีฬาเปตอง วิธีการเล่น กฎ กติกา มารยาทในการเล่น การจัดการแข่งขัน การเลือกอุปกรณ์ การรักษาอุปกรณ์ และการจัดทำสนามเปตอง
SHED126 Physical Education Activity-Petaunque 1(0-2-1) Values and benefits of exercise and sports; etiquettes, spirit of players and spectators in Petaunque; history  basic movements, skills, techniques, plying strategies and competition, rules and regulation in Petaunque.
วศสว๑๐๑ ดนตรีวิจักษ์ ๒ (๑-๒-๓) ความหมายของดนตรี ดนตรีกับสุนทรีย์ศาสตร์ การรับรู้และเรียนรู้ดนตรีศิลป์ที่ได้รับการยกย่องทั้งดนตรีสากลและดนตรีไทย  ชีวประวัติของนักดนตรีและนักประพันธ์คนสำคัญ ๆ ที่มีชื่อเสียง การสร้างประสบการณ์ทางการสุนทรียะในการฟังดนตรี เนื้อหาและรูปแบบของดนตรีสไตล์ต่าง ๆ
MSID101 Music Appreciation 2(1-2-3) The meaning of music, relationshop of music and aesthetics. An intensive seminar which deals with all aspects of Western Classical Music and Thai Traditional in included.
วศสว๑๐๒ ขับร้องประสานเสียง ๑ (๐-๒-๑) เกี่ยวกับการขับร้องประสานเสียง ฝึก Musicianship และการถูก Conduct ฝึกการแสดงออกของท่าทางต่าง ๆ เมื่อกำลังขับร้อง ปฏิบัติขับร้องประสานเสียงกับบทเพลงอย่างง่ายจนถึงระดับกลางที่มีความยาวไม่มากเกินไป  ฝึกหัดขับร้องเพลงทั้งสไตล์คลาสสิก แจ๊ส และป๊อปปูล่า นักศึกษาที่เลือกวิชาขับร้องประสานเสียง  จะพบอาจารย์ผู้สอนก่อนที่จะลงทะเบียนเพื่อที่จะทดสอบความสามารถในการร้องเพลงก่อน
MSID 102 Chorus 1(0-2-1) A performance class of choral music dealing with  basic  principles and techniques of group singing, musical style  including Thai popular songs, and rehearsal skill.
วศอก๔๓๐ การจัดการอุตสาหกรรมสำหรับวิศวกร ๓ (๓-๐-๖) หลักการและการปฏิบัติสำหรับจัดโครงสร้างองค์กร  หลักการบริหารองค์กรและพฤติกรรม    องค์กร  การกำหนดนโยบายการบริหารบุคคล   ยุทธศาสตร์การบริหาร  การบริหารโครงการ   การเงินและการตลาดเบื้องต้น  การบริหารการดำเนินงาน และการบริหารคุณภาพโดยรวม
EGIE430 Industrial Management for Engineers 3(3-0-6) Approaches and practices for organization structure, organization management, organization behavior, policy and human resource management, strategic management, project management, introduction to finance and marketing, operations management  and  total quality management.
วศอก๔๓๖ กฎหมายอุตสาหกรรมและกฎหมายพาณิชย์ ๓ (๓-๐-๖) ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมาย และกระบวนการยุติธรรม  กฎหมายคุ้มแรงงาน แรงงานสัมพันธ์  กฎหมายเงินทดแทนและประกันสังคม  ศาลแรงงาน  กฎหมายโรงงานและสิ่งแวดล้อม  กฎหมายธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการลงทุน  ภาษี  การศุลกากร  ทรัพย์สินทางปัญญา  และมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม  การดูงาน
EGIE436 Industrial and Commercial Laws 3(3-0-6) Introduction to laws and justice. Labor Protection and labor relations acts. Compensation and social security acts. Labor court. Industrial and environment laws. Business laws related to investment, taxes, customs, intellectual properties.  Industrial standard.  Field trips. Translation theories and procedure; methods and art of translation; language selection appropriate for each particular type of translation work; problems in translation and solutions to the problems; roles of translators.
วศคม ๓๑๔ การจัดการความปลอดภัยและอาชีวอนามัย ๓ (๓-๐-๖) หลักการจัดการความปลอดภัย ศึกษาธรรมชาติและขั้นตอนการป้องกันอันตรายในกระบวนการผลิตของอุตสาหกรรม  กฏหมายความปลอดภัย การสื่อสารสารเคมีอันตราย การจัดเก็บ การเคลื่อนย้ายและขนส่งสารเคมีอันตราย หลักการการควบคุมสิ่งแวดล้อมในอุตสาหกรรม ความปลอดภัยเกี่ยวกับอุปกรณ์ต่าง ๆ อัคคีภัยและการดับเพลิง แผนตอบสนองฉุกเฉิน หลักการอาชีวอนามัย อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล เสียงและการอนุรักษ์การได้ยิน การประเมินความเสี่ยง
EGCH 314 Safety Management and Occupational Health 3(3-0-6) Principles of safety management; study of natures and preventive of remedial procedures to hazards in industrial production; safety laws; chemical hazard communication; chemical hazard transportation, handling, and storage; principles of industrial environmental control; equipment safety; fire and extinguishment; emergency response plan; principles of occupational health; personal protective equipment; noise and hearing conservation; risk assessment.
กลุ่มวิชาภาษา
ศศภอ ๒๐๗ หลักการแปล ๓ (๓-๐-๖) ทฤษฎีและหลักกระบวนการแปล วิธีการและศิลปะในการแปล การเลือกใช้ภาษาที่เหมาะสมกับงานแปลประเภทต่างๆ ปัญหาต่างๆในการแปล และแนวทางการแก้ไข บทบาทของนักแปล
AREN 207 Principles of Translation 3(3-0-6) Translation theories and procedure; methods and art of translation; language selection appropriate for each particular type of translation work; problems in translation and solutions to the problems; roles of translators.
ศศภอ 304 การอ่านเชิงวิเคราะห์ ๓ (๒-๒-๕) ฝึกฝนทักษะการอ่านแบบต่างๆ การสรุปข้อมูลจากการอ่าน การนำเสนอความคิดเห็นงานที่อ่าน ทั้งในการเขียนเป็นบทความหรือการอภิปรายร่วมกันในกลุ่ม
AREN 304 Analytical Reading 3(2-3-5) Various reading skills; drawing conclusions from the material read; idea presentation about the reading in the forms of written articles as well as group discussion.
ศศภอ ๓๐๖ การสนทนาระดับสูง ๑ ๓ (๒-๒-๕) การฟังและจับใจความของเนื้อเรื่องที่ฟัง และนำเสนอโดยการพูด ฝึกพูด โดยเน้นการออกเสียงให้ถูกต้องตามระบบเสียงภาษาอังกฤษ การออกเสียงพยัญชนะ และสระ การลงเสียงหนัก และการใช้ทำนองเสียงที่ถูกต้องในการพูดหรือสนทนาภาษาอังกฤษ
AREN 306 Advanced Level Conversation I 3(2-3-5) Listening for main ideas and oral presentation of those ideas; pronunciation of English consonants and vowels; speaking practice with an emphasis on correct pronunciation based on English phonology; stress and intonation in English conversation.
ศศภอ ๓๕๐ การเขียนเชิงธุรกิจ ๓ (๓-๐-๖) การเขียนเชิงธุรกิจ การเขียนจดหมาย รายงาน การจดบันทึกข้อความ โทรสารการจัดทำรายงานทางธุรกิจ ศึกษาคำศัพท์และสำนวนที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ
AREN350 Business Writing 3(3-0-6) Business writing, including business letters, minutes, memorandum, fax, business report; study of business-related lexicons and expressions.
ศศภอ ๓๕๑ การเขียนสรุปและการจดบันทึกย่อ ๓ (๓-๐-๖) หลักการเขียนสรุปและการจดบันทึกย่อ การจับประเด็นสำคัญของเรื่องที่อ่านหรือที่ได้ยิน ฝึกฝนการใช้หลักการดังกล่าว ในการเขียนสรุป และจดบันทึกย่อ
AREN351 Summary Writing and Note-Taking 3(3-0-6) Principles of summary writing and note-taking; understanding of main ideas from the material read or heard; practice of summary writing and note-taking based on the principles learned.
ศศภอ ๔๐๑ การสนทนาระดับสูง ๒ ๓ (๒-๒-๕) การฟังและการพูดในสถานการณ์ต่างๆ การโต้ตอบด้วยภาษาอังกฤษ การสร้างและพัฒนาคลังคำศัพท์ การพูดเน้นความถูกต้องทางไวยากรณ์ และความชัดเจนในการเสนอความคิดเห็น
AREN 401 Advanced Level Conversation II 3(2-3-5) Listening and speaking in various situational contexts; interaction in English; word building and development of lexicon; speaking with acceptable grammar; clear presentation of ideas.
ศศภอ ๔๐๒ การพูดในที่สาธารณะ ๓ (๒-๒-๕) การฟังและการพูดเพื่อสื่อความคิดอย่างประสบผลสำเร็จ การเตรียม และการแสดงสุนทรพจน์ การกล่าวปราศรัย การพูดเชิงชักชวน และการนำเสนอผลงานในที่สาธารณะ  การสัมภาษณ์ การโต้วาที การพูดต่อชุมชนเพื่อให้มีผลสำเร็จโดยให้รู้จักใช้ภาษา น้ำเสียง ท่าทางที่เหมาะสมกับแต่ละสถานการณ์
AREN 402 Public Speaking 3(2-3-5) Listening and speaking for successful conveying of thoughts; speech preparation and giving; persuasive speaking; public presentation; public interview; debate; successful public speaking with an emphasis on language, tone of voice and gesture suitable for a particular situation.
ศศภอ ๔๐๓ การอ่านเชิงวิชาการ ๓ (๒-๒-๕) การอ่านงานวิชาการในรูปแบบต่างๆ การสรุปข้อมูลที่ได้จากการอ่าน การนำเสนอความเห็นสำหรับงานที่อ่านทั้งการเขียนและการพูด
AREN 403 Academic Reading 3(2-3-5) Reading numerous forms of academic reading materials; drawing conclusions from the information obtained from the reading; oral as well as written presentation of ideas regarding the material read.
ศศภอ ๔๐๔ การเขียนเชิงวิชาการ ๓ (๓-๐-๖) รูปแบบและลีลาในการเสนอข้อมูลของงานเขียนเชิงวิชาการ การเขียนเชิงวิชาการโดยวิธีค้นคว้า รวบรวม เรียบเรียง และนำเสนอการเขียนงานทางวิชาการส่วนต่างๆ ในรูปแบบของรายงานทางวิชาการ ซึ่งประกอบด้วย บทคัดย่อ บทนำ เนื้อเรื่อง และบทสรุป
AREN 404 Academic Writing 3(3-0-6) Form and style in the presentation of academic materials; writing academic materials through researching, data collection, composition and presentation; writing different parts of academic materials including abstract, introduction, body and conclusion.
ศศภท ๑๓๒ ทักษะการใช้ภาษาไทย ๓ (๒-๒-๕) ทฤษฎีและหลักภาษาไทย  การใช้ภาษาไทยให้เหมาะสมกับกาละเทศะและบุคคล
ARTH 132 Thai Language Skill 3(2-3-5) Theories and principles of Thai language; use of Thai language appropriate to time, situation and person.
วศคร ๒๙๐ ภาษาอังกฤษสำหรับวิศวกร ๓ (๓-๐-๖) ฝึกการอ่านจับใจความจากเนื้อหาทางวิศวกรรมศาสตร์  การวิเคราะห์และสรุปใจความจากการอ่านเพื่อเพิ่มความรู้คำศัพท์และความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษ  ทักษะการเขียนและการฟังเบื้องต้น การเขียนรายงานอย่างง่าย ๆ และการนำเสนอปากเปล่า การฟังเพื่อจับใจความในหัวข้อเทคโนโลยีสมัยใหม่
EGID 290 English for Engineers 3(3-0-6) Practice  in  reading  and  understanding  of  engineering  texts; analysis  and  summarization  of readings  to  improve  vocabulary and the  ability  to  work  with  English; basic  writing  and  listening  skills; simple  report-writing  and  oral  presentation; aural  input  involving  new  technologies  using  a  variety  of  means.
วศคร   ๔๙๐ การสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษสำหรับวิศวกร ๓ (๓-๐-๖) การสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษในเชิง อ่าน เขียน  ฟังและพูด โดยเน้นทางด้านวิศวกรรมศาสตร์  เน้นทักษะการนำเสนอ การเขียนรายงาน การวิเคราะห์ การเขียนในวิชาชีพและบทความในวารสารวิชาการ  การเตรียมตัวสำหรับตลาดงาน  การเขียนจดหมาย  การเขียนประวัติส่วนตัว  ทักษะการสัมภาษณ์
EGID  490 English Communication for Engineers 3(3-0-6) English  communication: reading, writing, listening  and  speaking, with an  emphasis  on Engineering; emphasis  on  presentation  skills; writing  reports; analysis  of  professional  writing  and  journal articles; preparation  for  the  job  market, with letter  writing, preparation  of  resumes (C.V.); interview  skills.
ศศภญ ๑๖๑ ภาษาญี่ปุ่นเบื้องต้น ๑ ๓(๒-๒-๕) ฝึกอ่านและเขียนตัวอักษรฮิรางานะและคาตาคานะ   หลักไวยากรณ์  ภาษาญี่ปุ่นเบื้องต้น   โดยเน้นทักษะการฟัง พูด อ่าน และเขียน ให้รู้จักใช้คำศัพท์และรูปประโยคที่ใช้ในชีวิตประจำวัน
ARJP 161 Elementary Japanese I 3(2-3-5) Practice in reading and writing Hiragana and Katakana characters ;  elementary  Japanese grammatical structures in listening, speaking, reading and writing; Japanese vocabulary and syntactic structures used in daily life.
ศศภจ  ๑๗๑ ภาษาจีน ๑ ๓(๒-๒-๕) ฝึกการออกเสียงภาษาจีนกลางทางด้านสระ พยัญชนะ วรรณยุกต์  และการเขียนภาษาจีนกลางโดยใช้ตัวอักษรโรมัน  (Pinyin Romanization) ทักษะพื้นฐานในการฟัง พูด อ่าน และเขียนภาษาจีนในวงคำศัพท์ภาษาจีน ๓๐๐ คำ
ARCH 171 Chinese 1 3(2-3-5) Pronunciation practice in vowels, consonants, tones, and Mandarin Chinese phonetic alphabet (Pinyin); and basic skills in listening, speaking, reading, and writing within 300 Chinese characters.
กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์   คณิตศาสตร์
วศคพ๑๑๑ การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ๓ (๒-๓-๕) แนะนำแนวคิดคอมพิวเตอร์  ส่วนประกอบต่าง ๆ ของคอมพิวเตอร์  ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์   การโต้ตอบระหว่างฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ แนวคิดการประมวลผล  ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์   (อีดีพี)   แนะนำการออกแบบและการสร้างโปรแกรมโดยใช้ภาษาระดับสูง:  ชนิดข้อมูลและนิพจน์  ข้อความสั่งเชิง วนซ้ำและเชิงควบคุมแบบมีเงื่อนไข   ฟังก์ชัน  ตรรกะแบบบูล  โครงสร้างแถวลำดับและโครงสร้างระเบียน ตัวชี้แนะนำการเรียกซ้ำ
EGCO 111 Computer Programming 3(2-3-5) Introduction  to  computer  concepts,  computer  components,  hardware  and  software, hardware   and  software  interaction,  Electronic  Data  Processing  (EDP) concepts. Introduction   to program   design and implementation using a high-level language:  types and expression, iterative and conditional control statements, functions, Boolean   logic, array and record structures,  pointers,  introduction to recursion.
วศอก   ๓๓๕ การวิเคราะห์ต้นทุนและงบประมาณ ๓ (๓-๐-๖) หลักการทางบัญชีพื้นฐาน  การวิเคราะห์ต้นทุน และค่าใช้จ่ายเพื่อการวางแผน และการควบคุมการผลิต  การจัดสรรต้นทุน  การทำงบประมาณเพื่อใช้ในการวางแผนและควบคุมการดำเนินงาน  รวมถึงการตัดสินใจตามฐานต้นทุน
EGIE 335 Cost Analysis and Budgeting 3(3-0-6) Principles of basic accounting, cost and expenditure analysis for production planning and controlling, capital and cost allocation, budgeting for operation planning and controlling, and including cost-based decision making.
หมวดวิชาเฉพาะ
กลุ่มวิชาแกน
วทคม๑๑๓ เคมีทั่วไป ๓ (๓-๐-๖) ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับทฤษฎีอะตอม  การจัดอิเล็คตรอนของอะตอม  ตารางธาตุ ปัจจุบันชนิดของพันธะเคมี ทฤษฎีการเกิดสารประกอบและคุณสมบัติของสารประกอบต่าง ๆ คุณสมบัติของโลหะและสารกึ่งตัวนำ สสารในสถานะแก๊ส  ของเหลวและของแข็ง  การเปลี่ยนสถานะของสสาร  สมดุลกายภาพ  แผนภาพวัฏภาค  เทอร์โมไดนามิกส์เคมี  อัตราเร็วของปฏิกิริยาและสมดุลเคมี
SCCH 113 General Chemistry 3(3-0-6) Principles of atomic  structure,   electron  configuration,   periodic  table,   chemical bonding, compound  formation  and  their properties, properties of metals and  semimetals, states of   matter   and   phase   change,  chemical thermodynamics, chemical kinetics and chemical equilibrium.
วทคม๑๑๘ ปฎิบัติการเคมี ๑ (๐-๓-๑) เทคนิคทั่วไปทางเคมี การทดลองเกี่ยวกับการวิเคราะห์คุณภาพและวิเคราะห์ปริมาณและการทดลองที่สัมพันธ์กับบางหัวข้อในภาคบรรยาย
SCCH118 Chemistry Laboratories 1(0-3-1) General techniques in chemistry, simple qualitative and quantitative analysis, some experiments that are related to lectures.
วทคณ๑๑๕ แคลคูลัส ๓ (๓-๐-๖) ลิมิต ความต่อเนื่อง อนุพันธ์ของฟังก์ชันพีชคณิต ฟังก์ชันลอการิทึม ฟังก์ชันเอ็กซ์โปเนเชียล ฟังก์ชันตรีโกณมิติ ฟังก์ชันตรีโกนมิติผกพันและฟังก์ชันไฮเพอร์โบลิค การประยุกต์ของอนุพันธ์ รูปแบบอินดีเทอร์มิเนต เทคนิคการอินทิเกรต อินทิกรัลไม่ตรงแบบ การประยุกต์ของการอินทิเกรต การหาค่าอนุพันธ์และอินทิกรัลเชิงตัวเลข แคลคูลัสของฟังก์ชันค่าจริงของ 2 ตัวแปร พีชคณิตของเวกเตอร์ในปริภูมิ 3 มิติ แคลคูลัสของฟังก์ชันค่าเวกเตอร์และการประยุกต์ เส้นตรง ระนาบและผิวในปริภูมิ    3 มิติ
SCMA115 Calculus 3(3-0-6) Limit, continuity, derivatives of algebraic functions, logarithmic functions, exponential functions, trigonometric functions, inverse trigonometric functions and hyperbolic functions, applications of derivatives, indeterminate forms, techniques of integration, introduction to line integrals; improper integrals, application of integration,numerical differentiation and integration,calculus of real-valued functions of several variables, algebra of vectors in three-dimensional spaces, calculus of vector-valued functions and applications, lines, planes and surfaces in three-dimensional spaces.
วทคณ๑๖๕ สมการอนุพันธ์เชิงสามัญ ๓ (๓-๐-๖) ตัวแปรเชิงซ้อน การแนะนำสมการเชิงอนุพันธ์สามัญ สมการเชิงอนุพันธ์เชิงเส้นอันดับหนึ่ง สมการเชิงอนุพันธ์ไม่เชิงเส้นอันดับหนึ่ง การประยุกต์ของสมการอันดับหนึ่ง สมการเชิงอนุพันธ์เชิงเส้นอันดับสอง การประยุกต์ของสมการอันดับสอง สมการเชิงอนุพันธ์เชิงเส้นอันดับสูง ระบบสมการเชิงเส้น เมทริกซ์ดีเทอร์มิแนนต์ ปริภูมิเวกเตอร์ การแปลงเชิงเส้น การแก้ปัญหาพีชคณิตเชิงเส้นโดยวิธีเชิงตัวเลข การประยุกต์ทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ วทคณ ๑๑๕
SCMA165 Ordinary Differential Equations 3(3-0-6) Complex variables, introduction to ordinary differential equations, linear first order differential equations, nonlinear differential equations, applications of first order equations, linear second order differential equations, applications of second order equations, higher order differential equations, systems of linear equations, matrices, determinants, vector spaces, linear transformations, numerical methods for solving linear algebraic problems, application in science and engineering. SCMA 115
วทฟส๑๑๐ ปฏิบัติการฟิสิกส์ ๑ ๑ (๐-๓-๑) การทดลองระดับเบื้องต้น  ออกแบบมาเพื่อควบคู่กับบางหัวข้อในฟิสิกส์ทั่วไป ๑ และ ๒    (วทฟส ๑๕๑, ๑๕๒)   นักศึกษาจำเป็นต้อง ผ่านการสอบภาคปฏิบัติ
SCPY110 Physics Laboratory I 1(0-3-1) Elementary level of experiments are designed to accompany some topics in General Physics I, II (SCPY 151,152) Laboratory examination is required.
วทฟส๑๕๑ ฟิสิกส์ทั่วไป ๑ ๓ (๓-๐-๖) กลศาสตร์ คลื่นและทัศนศาสตร์ กลศาสตร์ของไหล เทอร์โมไดนามิกส์  ไฟฟ้าและแม่เหล็ก
SCPY151 General Physics I 3(3-0-6) Mechanics;  waves and optics; fluid mechanics;  thermodynamics; electricity and magnetism.
วทฟส๑๕๒ ฟิสิกส์ทั่วไป๒ ๓ (๓-๐-๖) อีเล็กทรอนิกส์  ทฤษฎีสัมพันธภาพ   กลศาสตร์ควอนตัม ฟิสิกส์ของอะตอมและฟิสิกส์ของนิวเคลียร์ วทฟส ๑๕๑
SCPY152 General Physics II 3(3-0-6) Electronics ; relativity;  quantum mechanics;  atomic physic;  nuclear  physics. SCPY 151
วศคร  ๒๐๐ คณิตศาสตร์วิศวกรรม ๓ (๓-๐-๖) การประยุกต์ทางด้านวิศวกรรมของสมการเชิงอนุพันธ์สามัญ ระบบสมการเชิงอนุพันธ์ คณิตศาสตร์อนุมาน ลำดับและอนุกรมของจำนวน การกระจายอนุกรมเทย์เลอร์ของฟังก์ชันมูลฐาน ผลเฉลยแบบอนุกรมของสมการเชิงอนุพันธ์ การแปลง       ลาปลาซ เวกเตอร์อินทิกรัลแคลคูลัส การอินทิเกรตเส้น การอินทิเกรตปริมาตร พิกัดเชิงขั้ว แคลคูลัสของฟังก์ชันค่าจริงหลายตัวแปร ทฤษฎีของกรีน การอินทิเกรตพื้นที่ผิว ทฤษฎีการลู่ออกของเกาส์  ทฤษฎีของสโตกส์ การประยุกต์ใช้ทางด้านวิศวกรรม วทคณ ๑๖๕
EGID 200 Engineering Mathematics 3(3-0-6) Engineering applications of ordinary differential equations, System of linear differential equations, Mathematical induction; Sequences and series of numbers, Taylor series expansions of elementary functions, Power series solutions of differential equations, Laplace transformation, Vector integral calculus, Line integral, Volume integral, Polar coordinate, Calculus of real-valued functions of several variables, Green’s theorem, Surface integrals, Divergence theorem of Gauss, Stokes’s theorem, Engineering applications. SCMA 165
วศคก๑๐๒ เขียนแบบวิศวกรรม ๓ (๒-๓-๕) เครื่องมืออุปกรณ์การเขียนแบบและวิธีการใช้   การเขียนตัวอักษร  เทคนิคเรขาคณิต  ประยุกต์  ทฤษฎี การฉายภาพออโธกราฟฟิค  การเขียนภาพออโธกราฟฟิค  การเขียนแบบภาพตัด  การเขียนแบบภาพช่วย  การเขียนแบบภาพสามมิติ  การเขียนแบบภาพสเกตซ์  การกำหนดขนาดและรายละเอียด  คำย่อและสัญลักษณ์ในงานเขียนแบบ   การอ่านแบบวิศวกรรม
EGME102 Engineering Drawing 3(2-3-5) Use of drawing instruments and engineering lettering;  applied  geometry;  theory of  orthographic  projection  and orthographic drawing;   sectional  views drawing;  auxiliary  views  drawing;  pictorial  drawing;  freehand sketching;  dimensioning;  abbreviations  and  symbols;  interpreting  engineering  drawing.
วศอก๑๐๑ ปฏิบัติการวิศวกรรมพื้นฐาน ๒ (๑-๓-๓) กระบวนการทางวิศวกรรมการผลิตขั้นพื้นฐาน   อุปกรณ์หรือเครื่องมือที่ใช้ในการปฏิบัติงานทางด้านการตัดแต่งขึ้นรูปโลหะ การปรับแต่ง การเชื่อมประสาน และงานโลหะแผ่น  ความปลอดภัยในการทำงานและการใช้เครื่องมือ
EGIE101 Basic Engineering Practice 2(1-3-1) Basic  engineering  processes, equipments or tools used in machining, fifting operation welding and  sheet metal , safety and tools using.
กลุ่มวิชาเฉพาะบังคับ
วศคก๒๒๐ กลศาสตร์วิศวกรรม ๓ (๓-๐-๖) ระบบแรงต่าง ๆ ผลลัพธ์  สมดุล  สถิตยศาสตร์ของไหลจลนศาสตร์และจลนพลศาสตร์ของอนุภาคและวัตถุเกร็ง  กฎการเคลื่อนที่ข้อที่สองของนิวตัน วทฟส ๑๕๑
EGME220 Engineering Mechanics 3(3-0-6) Force systems; resultant; equilibrium; fluid statics; kinematics and kinetics of particles and rigid bodies; Newton’s second law of motion.
วศอก๒๖๑ ความน่าจะเป็นและสถิติ ๓ (๓-๐-๖) การจำแนกประเภทของวิธีการทางสถิติ การเก็บรวบรวมนำเสนอและวิเคราะห์ข้อมูล  ความน่าจะเป็น ตัวแปรสุ่ม  การแจกแจงความน่าจะเป็นแบบไม่ต่อเนื่องและแบบต่อเนื่อง  การสุ่มตัวอย่างและการแจกแจงการสุ่มตัวอย่าง  ทฤษฎีการประมาณค่า  การทดสอบข้อสมมุติฐานทางสถิต การวิเคราะห์ความแปรปรวน  การวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นและสหสัมพันธ์  การประยุกต์ใช้สถิติกับงานวิศวกรรม
EGIE261 Probability and Statistics 3(3-0-6) Statistical classification. Graphical presentation of data. Analysis of data. Theory of probability. Random variable. Continuous and discrete probability distribution. Random samples and sampling distribution. Estimation theory. Test  of  hypotheses. Analysis of variances. Regression and correlation. Application of statistics in engineering.
วศฟฟ ๒๑๗ วิศวกรรมไฟฟ้าเบื้องต้น ๓ (๒-๓-๕) การวิเคราะห์วงจรไฟฟ้ากระแสตรงและกระแสสลับพื้นฐาน แรงดัน กระแส และกำลัง ระบบกำลังไฟฟ้าสามเฟส การวิเคราะห์วงจรแม่เหล็ก เครื่องกลไฟฟ้าเบื้องต้น เครื่องกำเนิด มอเตอร์ และการประยุกต์ใช้งาน วิธีการส่งกำลัง เครื่องมือทางไฟฟ้าและอุปกรณ์ไฟฟ้าเบื้องต้น วทฟส  ๑๕๒
EGEE217 Fundamental of Electrical Engineering 3(2-3-5) Basic DC and AC circuit analysis, voltage, current and power, three phase electrical power system, magnetic circuit analysis, introduction to electrical machinery, generators, motors, and their applications, method of power transmission, introduction to some basic electrical instruments and electronic devices.
วศฟฟ๒๑๘ ปฏิบัติการวิศวกรรมไฟฟ้าเบื้องต้น ๑ (๐-๓-๑) การฝึกปฏิบัติการเกี่ยวกับเครื่องมือไฟฟ้าพื้นฐานรวมถึงการวัดอุปกรณ์ไฟฟ้า เพื่อแสดงหัวข้อต่างๆ ในรายวิชา วศฟฟ ๒๑๗ วทฟส ๑๕๒
EGEE218 Electrical Engineering Lab 1(0-3-1) A laboratory works on basic electrical equipment and measurements to illustrate the topics covered in EGEE 217
วศคม ๒๐๐ วิธีการคณิตศาสตร์ทางวิศวกรรมเคมี ๓ (๒-๓-๕) การประยุกต์หลักการวิศวกรรมเคมี เพื่อแก้ปัญหาทางวิศวกรรม การสร้างปัญหาในรูปแบบสมการอนุพันธ์ธรรมดา และสมการอนุพันธ์ย่อย วิธีการวิเคราะห์ทางคณิตศาสตร์และวิธีเชิงตัวเลข ในการแก้ปัญหาแบบค่าเริ่มต้นและค่าขอบเขตในปรากฏการณ์นำพา วิศวกรรมปฏิกิริยาเคมี และอุณหพลศาสตร์ทางวิศวกรรมเคมี วศคม  ๒๐๑
EGCH200 Mathematical Methods in Chemical Engineering 3(2-3-5) Application of chemical engineering principles to typical chemical engineering problems,  problems formulation in terms of ordinary or partial differential equations,  analytical and numerical methods of solution to initial and boundary value problems arising in transport phenomena, chemical reaction engineering, and chemical engineering thermodynamics. EGCH 201
วศคม๒๐๑ หลักและการคำนวณทางวิศวกรรมเคมี ๓ (๓-๐-๖) การแนะนำทางวิศวกรรมเคมี มวลสารสัมพันธ์และการคำนวณสมดุลมวลสาร การหมุนเวียน การป้อนเวียนข้ามและการเป่าทิ้ง การใช้ข้อมูลเคมีและสมดุลวัฎภาค      สมดุลพลังงาน  การใช้ข้อมูลอุณหพลศาสตร์  การศึกษากระบวนการตัวอย่าง วทคม ๑๑๓
EGCH 201 Chemical  Engineering Principles and Calculations 3(3-0-6) General introduction  to  chemical  engineering : Stoichiometry  and material  balance  calculation;  recycling;  bypassing  and purging;  use  of chemical  and  phase equilibrium  data; energy balances; use of thermodynamic data; study of typical processes.
วศคม๒๐๓ อุณหพลศาสตร์ทางวิศวกรรมเคมี ๑ ๓ (๓-๐-๖) กฎข้อที่ ๑ ของอุณหพลศาสตร์  กฎข้อที่ ๒ ของอุณหพลศาสตร์  วัฏจักรคาร์โน      พลังงาน  ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเอนโทรปี  ทฤษฎีพื้นฐานการถ่ายเทความร้อน และการเปลี่ยนแปลงพลังงาน วศคม ๒๐๑
EGCH203 Chemical Engineering Thermodynamics I 3(3-0-6) First law of thermodynamics; second law of thermodynamics and Carnot cycle; energy; entropy; basic heat transfer and energy conversion. EGCH 201
วศคม๒๐๔ ปฏิบัติการเฉพาะหน่วย ๑ ๓ (๓-๐-๖) คุณสมบัติทางกายภาพของของไหล  สถิตยศาสตร์ของของไหลและการประยุกต์  ชนิดของการไหลและการไหลในท่อ  แฟกเตอร์ความเสียดทาน  การนำส่งของ  ของไหลและการวัดอัตราการไหล  แรงต้านทานการไหล   กลศาสตร์ของอนุภาคในของไหล  เครื่องสูบ  เครื่องอัดลม  หลักการแยก  การออกแบบเครื่องมือและการประยุกต์ปฏิบัติการเฉพาะหน่วย เรื่องการแยกโดยใช้แรงโน้มถ่วงและแรงเหวี่ยง  การตกตะกอน วศคม ๒๐๑
EGCH204 Unit Operations I 3(3-0-6) Physical  properties  of fluid; fluid static and application; type of fluid flow and flow in conduits;  friction factor,  transportation of  fluid and  flow measurement; drag force; mechanics of particle in fluid; pump; compressor; principle of separation; equipment design  and applications of unit operations: gravity  and centrifugal separations, sedimentation. EGCH 201
วศคม ๒๑๐ วัสดุวิศวกรรม ๓ (๓-๐-๖) โครงสร้างผลึก แผนภาพเฟสสมดุลและการแปลความหมาย ความหมายและการทดสอบสมบัติของวัสดุ การศึกษาโครงสร้างมหภาคและจุลภาคที่สัมพันธ์กับสมบัติของวัสดุวิศวกรรม  กระบวนการผลิตสำหรับผลผลิตที่ใช้วัสดุวิศวกรรม เช่น โลหะ  พลาสติก ยางมะตอย  ไม้  คอนกรีต และวัสดุผสม  กรณีศึกษาของการเลือกใช้วัสดุ
EGCH 210 Engineering Materials 3(3-0-6) Crystal structure;  Phase equilibrium diagrams and their interpretation;  Testing and meaning of material properties;  Study of macro and microstructures in relationship with properties of engineering materials;  Production processes for products using engineering materials;  metals, plastics, asphalt,  wood,  concrete and composites as engineering materials;  Case studies on material selection.
วศคม๒๖๓ เคมีเชิงฟิสิกส์ ๓ (๒-๓-๕) สารละลายนอนอิเลคโทรไลต์ และอิเลคโทรไลต์  เซลล์เคมีไฟฟ้า  ระบบคอลลอยด์  เคมีพื้นผิว  การดูดซับทางเคมี การดูดซับทางกายภาพ ไซเทิร์ม ของการดูดซับ  วิทยากระแส  และแมโครโมเลกุล วทคม ๑๑๓
EGCH263 Physical Chemistry 3(2-3-5) Non-electrolyte and electrolyte solutions, electrochemical cells, colloid system, surface chemistry, chemisorption, physisorption, adsorption isotherm, rheology and macromolecules
วศคม๒๖๔ เคมีวิเคราะห์ ๓ (๑-๓-๓) หลักทั่วไปในเคมีวิเคราะห์ การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติและการคำนวณที่ใช้ในปริมาณวิเคราะห์และความเข้มข้นของสารละลาย วิธีต่างๆ ที่ใช้ในปริมาณวิเคราะห์ คือ วิธีวิเคราะห์ปริมาณโดยน้ำหนัก  วิธีวิเคราะห์โดยปริมาตร  เช่น  การไทเทรต  กรด-เบส   การไทเทรตรีดอกซ์  การไทเทรตที่มีการตกตะกอน  และการไทเทรตที่เกิดสารประกอบเชิงซ้อน วทคม ๑๑๓
EGCH264 Analytical Chemistry 3(1-3-3) Introduction to general principles in analytical chemistry , statistical analysis of data and calculations in quantitative analysis and solution concentration. Methods used in quantitative analysis are gravimetric analysis, volumetric analysis such as acid-base titration, redox titration, precipitation titration and complexometric titration.
วศคม๒๖๕ เคมีอินทรีย์ ๓ (๓-๐-๖) การจำแนก โครงสร้าง การเรียกชื่อ สเตอริโอเคมี สมบัติ วิธีการเตรียม และปฏิกิริยาของสารประกอบอินทรีย์ประเภทต่าง ๆ ได้แก่ ไฮโดรคาร์บอน เฮไลด์ อัลกอฮอล์      ฟีนอล อีเทอร์ อัลดีไฮด์ คีโตน อะมีน กรดคาร์บอกซิลิกและอนุพันธ์ สารประกอบจำพวกคาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน และกรดอะมิโน วทคม ๑๑๓
EGCH 265 Organic Chemistry 3(3-0-6) Classification, structure, nomenclature, stereochemistry, properties, preparation and reactions of organic compounds : hydrocarbons, halides, alcohols, phenols, ethers, aldehydes,  ketones, amine, carboxylic acids and their derivatives, carbohydrates,  proteins, lipids and amino acids.
วศคม๒๖๖ ปฏิบัติการเคมีอินทรีย์ ๑ (๐-๓-๑) การตกผลึก จุดหลอมเหลว จุดเดือดและการกลั่น การสกัดสารและโครมาโตกราฟฟี การวิเคราะห์ธาตุในสารอินทรีย์  การละลายในสารอินทรีย์ ไฮโดรคาร์บอน             อัลกอฮอล์และฟีนอล อัลดีไฮด์และคีโตน อะมีน กรดคาร์บอกซิลิคและอนุพันธ์ วศคม ๒๖๕
EGCH 266 Organic Chemistry Lab 1(0-3-1) Crystallization, melting point, boiling point and distillation, extraction and chromatography, elemental analysis in organic compounds, solubility of organic compounds, hydrocarbons, alcohols and phenols, aldehydes and ketones, amine, carboxylic acids and their derivatives.
วศคม ๓๐๓ ปฏิบัติการวิศวกรรมเคมี  ๑ ๑ (๐-๓-๑) ปฏิบัติการเกี่ยวกับกลศาสตร์ของไหลและการถ่ายโอนโมเมนตัม วศคม ๒๐๔
EGCH303 Chemical Engineering Lab I 1(0-3-1) Operations of fluid mechanics and  momentum transfer.
วศคม ๓๐๔ จลนพลศาสตร์วิศวกรรมเคมี และ การออกแบบเครื่องปฏิกรณ์ ๓ (๓-๐-๖) การประยุกต์อุณหพลวัต และจลนเคมีเบื้องต้น  เพื่อวิเคราะห์และออกแบบเครื่องปฏิกรณ์เคมี แนวคิดพื้นฐานในการออกแบบเครื่องปฏิกรณ์เคมีแบบเอกพันธุ์ และ  วิวิธพันธุ์ ผลกระทบของคุณลักษณะการไหลที่มีต่อสมการมวลและพลังงาน วศคม ๒๐๓
EGCH 304 Chemical Engineering Kinetics and Reactor Design 3(3-0-6) Application of thermodynamic and chemical kinetic fundamentals to the analysis and design of chemical reactors, basic idea of homogeneous and heterogeneous reactor design, affects of  flow characteristic to mass and energy equations.
วศคม ๓๐๖ ปฏิบัติการเฉพาะหน่วย ๒ ๓ (๓-๐-๖) หลักพื้นฐานเกี่ยวกับการนำความร้อน  การพาความร้อนและการแผ่รังสีความร้อน  สัมประสิทธิ์การถ่ายโอนความร้อนแบบฟิลม์และทั้งหมดและแฟคเตอร์เพาลิ่ง  หลักพื้นฐานเกี่ยวกับการระเหยที่ความดันบรรยากาศและภายใต้สูญญากาศ  การปรับความชื้นและการอบแห้ง  การคำนวณออกแบบและกำหนดเงื่อนไขการทำงานของปฏิบัติการเฉพาะหน่วย  เรื่องการแลกเปลี่ยนความร้อน  การระเหย  การเพิ่มความชื้น  การลดความชื้น  การหล่อเย็นและการอบแห้ง  การใช้โปรแกรมสำเร็จรูป วศคม ๒๐๔
EGCH306 Unit Operations II 3(3-0-6) Fundamental of heat conduction, heat convection and heat radiation; film and overall heat transfer coefficient and fouling factors; fundamental of atmospheric and vacuum evaporation,dehydration,  and drying; design  calculation and determination of operating  conditions of unit operations: heat  exchange, evaporation, humidifying, dehumidifying, cooling and drying; computer software application.
วศคม ๓๐๗ ปฏิบัติการวิศวกรรมเคมี  ๒ ๑ (๐-๓-๑) ปฏิบัติการเกี่ยวกับการถ่ายโอนมวลสารและความร้อน  จลนพลศาสตร์วิศวกรรมเคมี เครื่องปฏิกรณ์เคมี อุปกรณ์วัดและการควบคุมกระบวนการ วศคม ๓๑๒
EGCH307 Chemical Engineering Lab II 1(0-3-1) Operations of heat and mass transfers, chemical engineering kinetics, chemical reactor, instrument and process control.
วศคม ๓๑๐ อุณหพลศาสตร์ทางวิศวกรรมเคมี ๒ ๓ (๓-๐-๖) อุณหพลศาสตร์ของระบบหลายองค์ประกอบ หลายสถานะ  ศักย์ทางเคมีและสมดุลวัฏภาค กฎของราอูลท์สำหรับระบบอุดมคติ  การคำนวณแบบแฟลช  ฟูแกซิตี้ และสัมประสิทธิ์ฟูแกซิตี้  อุณหพลศาสตร์สำหรับระบบจริง  กฎของราอูลท์และการคำนวณแบบแฟลชสำหรับระบบจริง สมดุลและเสถียรภาพของระบบ สมดุลของเหลว-ของเหลว สมดุลวัฏภาคที่ความดันสูง อิทธิพลของความร้อนต่อการผสม   สมดุลเคมีและระบบการเกิดปฏิกิริยาเคมี  และสมดุลของระบบหลายปฏิกิริยาเคมี วศคม ๒๐๓
EGCH310 Chemical Engineering Thermodynamics II 3(3-0-6) Thermodynamics of multicomponent-multiphase systems, chemical potential and criterion for equilibrium, Raoult’s law for an ideal system, VLE calculations for an ideal system, equilibrium flash calculations for ideal systems, fugacity and fugacity coefficients, thermodynamics of non-ideal multicomponent systems, modified Raoult’s law and flash calculations for an non-ideal system, Equilibrium and stability, liquid-liquid equilibrium, high pressure VLE, heat effect of mixing, Chemically reacting systems and chemical equilibria, equilibria of multiple reaction systems.
วศคม ๓๑๒ ปฏิบัติการเฉพาะหน่วย ๓ ๓ (๓-๐-๖) แบบจำลองทางกายภาพสำหรับปฏิบัติการถ่ายโอนมวล  การถ่ายโอนมวล – ความร้อน  การประยุกต์แบบจำลองในการออกแบบกระบวนการแยกเรื่องการสกัด  การกลั่น  การดูดซึม  การดูดซับ  และการตกผลึก  การใช้โปรแกรมสำเร็จรูป วศคม ๓๐๖
EGCH312 Unit Operations III 3(3-0-6) Physical models for mass transfer and  heat-mass operations; application of these models in the design of separation processes: extraction, distillation, absorption, adsorption and crystallization; computer software application.
วศคม๓๑๓ พลศาสตร์ของกระบวนการและการควบคุม ๓ (๓-๐-๖) แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ของระบบวิศวกรรมเคมี เทคนิคการหาผลเฉลยและพลศาสตร์ของระบบวิศวกรรมเคมี แนะนำระบบควบคุมอัตโนมัติ แนวคิดการควบคุมแบบป้อนกลับ การวิเคราะห์เสถียรภาพ ผลตอบสนองเชิงความถี่ และการออกแบบ ระบบควบคุม แนะนำการวัดและลักษณะเฉพาะของอุปกรณ์ควบคุม วศคม ๒๐๐
EGCH313 Process Dynamics and Control 3(3-0-6) Mathematical modeling of chemical engineering systems, solution techniques and dynamics of these systems; introduction to automatic control, feedback control concept; stability analysis;  frequency response and control system designs;  introduction to measurement and control instrument characteristics.
วศคม๓๑๖ เศรษฐศาสตร์ทางวิศวกรรมเคมีและการประเมินต้นทุน ๓ (๓-๐-๖) การแปรข้อมูลทางบัญชีและการเงินในอุตสาหกรรมเคมี การประเมินค่าใช้จ่ายในกระบวนการเคมีและการประเมินทางเศรษฐศาสตร์ในการออกแบบโรงงานวิศวกรรมเคมี การประเมินเปรียบเทียบกระบวนการวิศวกรรมเคมีเพื่อใช้พิจารณาด้านทางเลือกกระบวนการเคมีและการลงทุนในอุตสาหกรรมเคมี วศคม ๓๑๑
EGCH316 Chemical Engineering Economics and Cost Estimation 3(3-0-6) Interpreting the accounting data and financial statements in chemical industry, chemical process cost estimation and economic evaluation in chemical engineering plant design, economic evaluation for selection of alternative chemical processes and investment in chemical industry.
วศคม๓๖๐ เคมีวิเคราะห์กระบวนการ ๓ (๒-๒-๕) แนะนำเคมีวิเคราะห์กระบวนการ วิธีการทางสเปกโทรสโกปี  อัลตราไวโอเลตและ   วิสิเบิลสเปกโทรสโกปี  อินฟราเรดสเปกโทรสโกปี  อะตอมมิกแอบซอร์พชันสเปกโทรสโกปี  วิธีการทางโครมาโทรกราฟี  แก๊สโครมาโทกราฟี  ลิควิดโครมาโทรกราฟี วศคม ๒๖๔
EGCH360 Process Analytical Chemistry 3(2-2-5) Introduction to process analytical, spectroscopic method, ultraviolet and visible spectroscopy, infrared spectroscopy, atomic absorption spectroscopy, chromatographic method,  gas chromatography,  liquid chromatography.
วศคม๓๗๐ วิศวกรรมเคมีสิ่งแวดล้อม ๓ (๓-๐-๖) ผลกระทบของสิ่งแวดล้อมที่เป็นมลพิษ  มาตรฐานคุณภาพของสิ่งแวดล้อม  แหล่งกำเนิดและคุณลักษณะน้ำเสียอุตสาหกรรมและวิธีการบำบัดน้ำเสีย ทฤษฎีและการออกแบบถังตกตะกอนและเครื่องกรอง     แหล่งกำเนิดของมลพิษอากาศ    วิธีการควบคุมอนุภาคและก๊าซ  การจัดการกากของแข็งและของเสียอันตรายและวิธีการกำจัด วศคม ๒๐๔
EGCH 370 Environmental Chemical Engineering 3(3-0-6) Impacts of environmental pollution; environmental quality standards; sources and characteristics of industrial wastewater and treatment methods; theory and design of sedimentation tank and filters; sources of air pollutants; control methods of particulate and gaseous emissions; solid and hazardous wastes management and disposal methods.
วศคม๓๘๐ เทคโนโลยีอนุภาค ๓ (๓-๐-๖) คุณลักษณะต่าง ๆ ของอนุภาคของแข็ง คุณสมบัติวิทยากระแส การวัดแรงเฉือนพลศาสตร์ การเขย่า การรวมตัว การลำเลียงและขนถ่ายอนุภาคของแข็ง  การออกแบบถังเก็บ ปรากฎการณ์ฟลูอิดไดซ์เซชั่นและเทคโนโลยีฟลูอิดไดช์เบด การลดขนาด การผสมและการกวน การแยกโดยใช้แรงเหวี่ยง  การกรองแบบถุงกรอง การตกตะกอนด้วยไฟฟ้าสถิตย์ วศคม ๒๐๔
EGCH 380 Particle Technology 3(3-0-6) Characterization of particulate solids;  rheological properties; measurement of dynamic shear; vibration; agglomeration; solid conveying and handling;  storage design;  fluidization phenomena  and  fluidized bed technology; size reduction; mixing and agitation; centrifugation; bag filtration; electrostatic  precipitation.
วศคม๓๙๐ การประยุกต์คอมพิวเตอร์สำหรับวิศวกรรมเคมี ๓ (๒-๒-๓) การแก้ปัญหาทางวิศวกรรมเคมีโดยอาศัยโปรแกรมการคำนวณต่างๆ การนำเสนอข้อมูลโดยวิธีทางภาพและแผนภูมิ การสร้างแผนผังของกระบวนการทางวิศวกรรมเคมีโดยใช้โปรแกรมการออกแบบทางวิศวกรรมเคมี วศคม ๒๐๐
EGCH390 Computer Applications in Chemical Engineering 3(2-2-3) Chemical engineering problem solving using various computational software, graphical representation of data, process and instrumental diagram using chemical engineering design tools.
วศคม ๔๐๓ ปรากฏการณ์การนำพา ๓ (๓-๐-๖) ความหนืด สภาพนำความร้อน สภาพแพร่ของสาร สมการโมเมนตัม พลังงานและมวลสาร สมการแปลงสภาพของระบบไอโซเทอร์มัล นอนไอโซเทอร์มัล และของระบบสารหลายองค์ประกอบ การนำพาโมเมนตัม พลังงาน และมวลสารแบบปั่นป่วน วศคม ๓๑๒
EGCH403 Transport Phenomena 3(3-0-6) Viscosity, thermal conductivity, diffusivity, the equations of momentum, energy and mass, equation of change for isothermal system, non-isothermal system, and multi-component, momentum energy and mass transport in turbulent flow.
วศคม ๔๐๙ การออกแบบโรงงานทางวิศวกรรมเคมี ๓ (๓-๐-๖) การบริหารจัดการโครงการ  การประเมินเงินลงทุนทั้งหมดและค่าใช้จ่ายในการผลิตรายปี  ข้อมูลในการออกแบบ  โครงสร้างของผังกระบวนการที่ประกอบด้วยกระแสวัตถุดิบและผลผลิต โครงสร้างของผังกระบวนการที่มีกระแสป้อนเวียน  ระบบการแยกสาร  ระบบเครือข่ายเครื่องแลกเปลี่ยนพลังงานความร้อนและระบบสาธารณูปโภค  การพิจารณาทางด้านสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย  พลังงานที่ใช้ในการออกแบบโรงงาน  โครงการออกแบบกระบวนการผลิตของโรงงานเคมีที่ซับซ้อน นักศึกษาชั้นปีที่ ๓
EGCH409       Chemical Engineering Plant Design 3(3-0-6) Project management;  estimating capital and  operating costs; input information;  input–output structure and flowsheet;  recycle structure and flowsheet;  separation system;  heat–exchanger networks and utilities;  environmental and  safety considerations; energy used in plant design; process design project of a complex chemical plant.
วศคม ๔๙๕ สัมมนาโครงการ ๑ (๐-๓-๑) การอภิปรายหัวข้อต่างๆที่เกี่ยวกับการพัฒนาทางวิศวกรรมเคมีปัจจุบัน  การสืบค้นวรรณกรรมเพื่อเลือกหัวข้อโครงงาน   การจัดทำรายงานข้อเสนอโครงงานและการนำเสนอปากเปล่า นักศึกษาชั้นปีที่ ๔
EGCH495 Project Semimar 1(0-3-1) Discussion of various topics relevant for recent chemical engineering development, literature survey for selection of project  topics,  preparation of project proposal and oral  presentation
วศคม๔๙๖ โครงงานวิศวกรรมเคมี ๓ (๐-๙-๓) การจัดกลุ่มศึกษาโครงงานวิจัยในหัวข้อทางวิศวกรรมเคมีที่ได้รับอนุมัติภายใต้การควบคุมของคณาจารย์ภาควิชา   การนำเสนอผลงานโครงงานและการส่งรายงานโครงงานเป็นรูปเล่ม นักศึกษาชั้นปีที่ ๔
EGCH496 Chemical Engineering Project 3(0-9-3) Group research project in approved chemical engineering topics under direction of departmental staffs,  project  presentation and project report submission.
กลุ่มวิชาเฉพาะเลือก
วศคม ๔๑๐ การจำลองกระบวนการ ๓ (๓-๐-๖) วิธีการแก้ปัญหาทางวิศวกรรมโดยการจัดเตรียมแบบจำลองและการเลียนแบบในรูปอนุพันธ์สามัญและอนุพันธ์ย่อย   การระบุแบบจำลองและการจัดเตรียมแบบจำลองเชิงตัวเลข วศคม ๓๑๓
EGCH410       Process Simulation 3(3-0-6) Engineering approaches to model setups and simulations, setups involving ordinary derivatives and partial derivatives,  model identifications and numerical simulations.
วศคม ๔๑๑ การควบคุมกระบวนการเชิงตัวเลข ๓ (๓-๐-๖) แนวคิดและเทคนิคของการควบคุมกระบวนการเคมีด้วยดิจิทัลคอมพิวเตอร์ การออกแบบการควบคุมเชิงเลขสำหรับกระบวนการผลิตทางอุตสาหกรรมและการปรับปรุงระบบจริงโดยใช้ขั้นตอนวิธีดิจิทัล รวมทั้งไมโครโพรเซสเซอร์และการประยุกต์ วศคม ๓๑๓
EGCH411 Digital Process Control 3(3-0-6) Concepts and techniques of digital computer control for chemical processes; design of digital controls for the process industry and improving existing systems using digital algorithms; and microprocessors and applications.
วศคม๔๑๒ อุปกรณ์กระบวนการเคมี ๓ (๓-๐-๖) ลักษณะ ชนิดและข้อจำกัดของอุปกรณ์วัดและควบคุมที่ใช้ในอุตสาหกรรมกระบวนการเคมี  อุปกรณ์วัดอุณหภูมิความดัน  อัตราการไหล  ระดับความเป็นกรดด่าง  ความขุ่นและส่วนประกอบ  แอกทูเอเตอร์ที่ใช้ในอุตสาหกรรมกระบวนการผลิต            องค์ประกอบและเทคนิคการอินเตอร์เฟซ วศคม ๓๑๓
EGCH412 Chemical Process Instrumentation 3(3-0-6) Characteristics, types and limits of measuring instruments used in chemical process industry; temperature, pressure, pressure, flow, level, pH, turbidity and composition transducers; actuators used in process industries; interfacing components techniques.

วศคม ๔๑๓ การออกแบบอุปกรณ์ของกระบวนการ ๓ (๓-๐-๖) เกณฑ์และมาตรฐานในการออกแบบอุปกรณ์ แนวความคิดมูลฐานของทฤษฎีการออกแบบกระบวนการและการพิจารณาตัดสินใจ  การเลือกชนิดวัสดุสำหรับสร้างอุปกรณ์  อุปกรณ์และเครื่องมือวัด  ระบบท่อ  การเลือกวาล์ว  อุปกรณ์ควบคุมอุณหภูมิ  ความดัน  การไหล  ระดับและอื่น ๆ  การคำนวณออกแบบเชิงมโนทัศน์  และการออกแบบอุปกรณ์เชิงกล เช่น  ถังและหอความดัน EGCH 313
EGCH 413 Process Equipment Design 3(3-0-6) Criteria and standards in equipment design;  fundamental concepts of process design and decision theories; selection of construction materials; measuring equipment and devices; piping system; selection of valves; control instruments for temperature, pressure, flow, level, and others;  conceptual  design calculations; and mechanical design of process equipment, such as pressure vessel and column.
วศคม ๔๒๒ วิศวกรรมกระบวนการปิโตรเคมี ๓ (๓-๐-๖) การสำรวจและผลิตปิโตรเลียม  โรงงานกลั่นน้ำมัน  โรงงานแยกก๊าซธรรมชาติ  โรงงานปิโตรเคมีขั้นต้น เช่น โรงงานโอเลฟิลส์และโรงงานอะโรแมติก  ความสัมพันธ์เกื้อกูลกันระหว่างโรงงานกลั่นน้ำมันและโรงงานปิโตรเคมีขั้นต้น  การใช้ประโยชน์ของผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีขั้นต้น  โรงงานปิโตรเคมีขั้นต่อเนื่อง  เช่น โรงงานโพลิเอทิลีน  โรงงานคิวมีน  โรงงานฟีนอล นักศึกษาชั้นปีที่ ๔
EGCH422 Petrochemical Process Engineering 3(3-0-6) Petroleum Exploration and Production, Refinery plant,  Natural gass Separation plant, Upstream Petrochemicals i.e. Olefins plant and Aromatics plant, Refinery – Petrochemicals Synergy, Petrochemical products utilization, Petrochemical derivative plants i.e. Polyethylene plant, Cumene plant, Phenol plant.
วศคม ๔๒๔ วิศวกรรมปฏิกิริยาใช้ตัวเร่ง ๓ (๓-๐-๖) โครงสร้างและหน้าที่ของตัวเร่งปฏิกิริยา พื้นฐานของกระบวนการการผลิตตัวเร่งปฏิกิริยาและวิศวกรรมปฏิกิริยาตัวเร่ง การประยุกต์ใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาในปิโตรเคมีและกระบวนการทางวิศวกรรมเคมี การออกแบบเครื่องปฏิกรณ์ใช้ตัวเร่ง นักศึกษาชั้นปีที่ ๔
EGCH 424 Catalytic Reaction Engineering 3(3-0-6) Catalyst structures and functions; fundamentals of catalyst manufacturing processes and catalyst rection engineering; applications of catalysts in petrochemical and chemical engineering processes; catalyst reactor design.
วศคม๔๒๕ เทคโนโลยีตัวเร่งปฏิกิริยา ๓ (๓-๐-๖) การเลือกวัสดุที่ใช้ทำตัวเร่ง  คุณสมบัติของตัวเร่ง  ตัวเร่งปฏิกิริยาที่มีตัวรองรับ  ตัวเร่งปฏิกิริยาโลหะผสม วิธีการเตรียมตัวเร่ง เทคนิคในการบ่งชี้คุณลักษณะของตัวเร่ง  ปัจจัยที่มีผลต่อการแพร่ระหว่างอนุภาค  กระบวนการนำพาทั้งระหว่างอนุภาคและภายในอนุภาคของตัวเร่งปฏิกิริยา  การลดลงของกัมมันต์ทางเคมีและทางกายภาพ  จลนพลศาสตร์ของปฏิกิริยาแบบเอกพันธุ์ และวิวิธพันธุ์แบบมีตัวเร่ง ความเป็นพิษ  การเลือกปฏิกิริยา  และความเสถียรของตัวเร่งปฏิกิริยา นักศึกษาชั้นปีที่ ๔
EGCH425 Catalyst Technology 3(3-0-6) The selecting the catalytic materials, properties of catalysts, supported catalysts, alloy catalysts, preparative methods for catalysts, techniques for catalyst characterization, effect of intraparticle diffusion, and internal and external transport processes in catalysts, chemical deactivation, physical deactivation and sintering, kinetics of homogeneous and heterogeneous catalytic reactions, poisoning, reaction selectivity and stability of catalysts.
วศคม ๔๒๖ วิศวกรรมปิโตรเลียม ๓ (๓-๐-๖) ต้นกำเนิดของปิโตรเลียม  การสำรวจปิโตรเลียม  การขุดเจาะน้ำมัน  การผลิตน้ำมันและก๊าซ  คุณสมบัติทางกายภาพและเคมีของปิโตรเลียมและผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม  การกลั่นปิโตรเลียม  การประเมินคุณภาพ  เศรษฐศาสตร์  ความปลอดภัย  รวมทั้งการพิจารณาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม นักศึกษาชั้นปีที่ ๔
EGCH426 Petroleum   Engineering 3(3-0-6) The origin of petroleum,  exploring for petroleum,  drilling for oil,  production of oil and gas  chemical and physical properties of petroleum and petroleum products,  the petroleum refinery quality assessment economics, safety and environmental considerations.
วศคม  ๔๓๖ พอลิเมอร์เบื้องต้น ๓ (๓-๐-๖) ประวัติของพอลิเมอร์  การจำแนก   น้ำหนักโมเลกุล  พอลิเมอร์ไรเซชัน  กระบวนการ  พอลิเมอร์ไรเซชัน ปฏิกิริยาของพอลิเมอร์  สารเติมแต่ง  พอลิเมอร์เชิงการค้า นักศึกษาชั้นปีที่ ๔
EGCH 436 Fundamental of Polymers 3(3-0-6) History of polymers, classification, molecular weight, polymerization, polymerization processes, polymer reactions, additives, commodity polymers.
วศคม๔๓๗ กระบวนการแปรรูปพอลิเมอร์ ๓ (๓-๐-๖) แนะนำวิทยากระแส  การผสม  การทำเป็นสารประกอบ กระบวนการรีด กระบวนการเป่าฟิล์ม  กระบวนการเป่า  กระบวนการฉีด  กระบวนการขึ้นรูปร้อน  กระบวนการอัด  กระบวนการหล่อเหวี่ยง  กระบวนการเคลือบ นักศึกษาชั้นปีที่ ๔
EGCH 437 Polymer Processing 3(3-0-6) Introduction to rheology, mixing, compounding, extrusion process, blow film process, blow molding process, injection molding process, thermoforming process, compression molding process, rotational molding process, coating process.
วศคม๔๓๘ การทดสอบและวิเคราะห์พอลิเมอร์ ๓ (๓-๐-๖) การทดสอบคุณสมบัติเชิงกล  คุณสมบัติทางเคมี  และคุณสมบัติทางกายภาพ  การวิเคราะห์พอลิเมอร์โดยวิธีทางเคมี และทางสเปกโทรสโกปี นักศึกษาชั้นปีที่ ๔
EGCH 438 Polymer Testing and Analysis 3(3-0-6) Testing of mechanical, chemical and physical properties of polymers, analysis of polymers using chemical and spectroscopic methods.
วศคม๔๓๙ สารเติมแต่งพอลิเมอร์ ๓ (๓-๐-๖) โครงสร้างและสมบัติของสารเติมแต่งต่อไปนี้  สารต้านทานการเสื่อมสภาพ  พลาสติกไซเซอร์  สารเติม สารหล่อลื่น สารปรับสมบัติการรับแรงกระแทก  สารให้สี  สารชะลอการติดไฟ  สารต้านไฟฟ้าสถิตย์ นักศึกษาชั้นปีที่ ๔
EGCH 439 Polymer Additives 3(3-0-6) Structures and properties of the following additives: stabilizers, plasticizers, fillers, lubricants, impact modifiers, colorants, flame retardants, antistatic agents.
วศคม ๔๔๐ เทคโนโลยีเส้นใย ๓ (๓-๐-๖) การผลิตและสมบัติของพอลิเมอร์ที่ใช้เตรียมเส้นใย ปฏิกิริยาพอลิเมอร์ไรซ์แบบรวมตัวและกลั่นตัวกรรมวิธีการผลิตเส้นใยจากพอลิเมอร์ต่าง ๆ วิธีการแปลงพอลิเมอร์เป็นเส้นใย ใช้งานการดัดแปลงปรับปรุงเส้นใยวิทยากระแส วิธีการอัดเส้นใยโดยการหลอมโดยใช้สารทำละลายและปั่นเปียก การดึง รีด และปรับสภาพด้วยความร้อน นักศึกษาชั้นปีที่ ๔
EGCH440 Fiber Technology 3(3-0-6) Manufacture and properties of polymers used in fiber preparation; addition and condensation polymerizations; fiber manufacturing from various polymers; conversion methods of polymer to fiber to be processed and fiber modification;  rheology;  melt spinning;  dry spinning  wet spinning and emulsion spinning; drawing; and  heat setting or thermal modifications.
วศคม ๔๔๑ เทคโนโลยีสิ่งทอ ๓ (๓-๐-๖) เทคโนโลยีการผลิตเส้นใยสิ่งทอ  เส้นด้าย  ผ้าทอและผ้าถัก  การทดสอบสิ่งทอและสภาพของโรงงานสิ่งทอ นักศึกษาชั้นปีที่ ๔
EGCH441 Textile Technology 3(3-0-6) Manufacturing technologies of  textile fibers,  yarns,  woven fabrics,  and knitted fabrics, textile testing and nature of textile mills.
วศคม ๔๔๒ กระบวนการเคมีสิ่งทอ ๓ (๓-๐-๖) การแนะนำอุตสาหกรรมสิ่งทอ การเตรียมด้ายก่อนทอ (การลงแป้ง), เครื่องเตรียมผ้าก่อนย้อม การเผาขนผ้า การลอกแป้ง  การกำจัดไขมันและสิ่งสกปรก  การฟอกขาว  การทำให้ฝ้ายเงามันและติดสีเพิ่มขึ้นด้วยด่าง  ทำให้ฝ้ายหดสั้นลงและติดสีเพิ่มขึ้นด้วยด่าง  การเผาขนผ้า  การทำให้คงรูปด้วยความร้อน)  การย้อม  การพิมพ์และการตกแต่งสำเร็จทางกลและทางเคมี นักศึกษาชั้นปีที่ ๔
EGCH442 Textile Chemical Processing 3(3-0-6) Introduction to textile industries; yarn preparation (sizing), textile machineries for fabric preparation;  desizing; couring; bleaching; mercerizing and causticising; heat setting; dyeing; printing;  chemical and mechanical  finishes.
วศคม ๔๕๐ จุลชีววิทยาอุตสาหกรรม ๓ (๓-๐-๖) ชนิดจุลินทรีย์สำคัญในอุตสาหกรรมอาหาร ยาและเคมี    การจำแนกประเภทและระบุชนิดของจุลินทรีย์  การทำการไร้เชื้อจุลินทรีย์โดยวิธีทางเคมีและทางกายภาพ       ปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์    การประยุกต์ใช้จุลินทรีย์สำคัญใน    อุตสาหกรรมอาหาร ยาและเคมี     สภาวะที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ นักศึกษาชั้นปีที่ ๔
EGCH450 Industrial Microbiology 3(3-0-6) Type of  microorganisms  important in food,  medicine and chemical industries,  Classification and identification of microorganisms,  Physical and chemical method used to sterilise microorganisms, Factors affecting microbial growth, The application of microorganisms  important in food,  medicine and chemical industries,  The optimum conditions for microbial growth.
วศคม ๔๕๑ วิศวกรรมชีวเคมี ๓ (๓-๐-๖) จลนพลศาสตร์ของการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์  การเร่งปฏิกิริยาด้วยเอ็นไซม์   การตรึงจุลชีพที่เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา  หลักการของการออกแบบถังปฏิกรณ์ชีวภาพ  สมดุลมวลและพลังงาน การไหลของของไหลและการกวน การถ่ายเทความร้อนและมวลสาร หน่วยปฏิบัติการ   การแยกผลผลิตชีวภาพ  เศรษฐกิจของผลผลิตชีวภาพ นักศึกษาชั้นปีที่ ๔
EGCH451 Biochemical Engineering 3(3-0-6) Microbial growth kinetics, enzyme catalysis, immobilised biocatalysis, principles of bioreactor design, material and energy balances, fluid flow and mixing, heat and mass transfer,  unit operations, bioproduct separation, bioproduct economics.
วศคม ๔๕๓ วิทยาการอาหารสำหรับวิศวกรรมเคมี ๓ (๓-๐-๖) การเตรียมอาหาร  การปนเปื้อน การถนอม และ การเสื่อมสภาพของอาหารประเภทต่างๆ   อาหารและเอ็นไซม์ผลิตโดยจุลินทรีย์  อาหารถูกสุขลักษณะและการควบคุมคุณภาพอาหาร
EGCH453 Food  Science for Chemical Engineering 3(3-0-6) Food preparation, contamination, preservation and spoilage of different kinds of food, food and enzymes produced by microorganism,  food sanitation and  food quality control. นักศึกษาชั้นปีที่ ๔
วศคม ๔๕๔ เทคโนโลยีการหมัก ๓ (๓-๐-๖) การแนะนำกระบวนการหมัก จลนพลศาสตร์ของการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์      การแยกประเภท  และการปรับปรุงของจุลินทรีย์สำคัญในอุตสาหกรรม  สารอาหารเลี้ยงเชื้อจุลินทรีย์สำหรับอุตสาหกรรมการหมัก เครื่องมือและการควบคุม  การให้อากาศและการกวน การได้กลับคืนและการทำให้บริสุทธิ์ของผลผลิตทางการหมัก เศรษฐกิจของการหมัก
EGCH454 Fermentation Technology 3(3-0-6) An introduction to fermentation processes, microbial growth kinetics, the isolation, preservation and improvement of industrially important microorganisms, media for industrial fermentations, instrumentation and control, aeration and agitation, the recovery and purification of fermentation products, fermentation economics. นักศึกษาชั้นปีที่ ๔
วศคม ๔๕๕ พื้นฐานจุลชีววิทยาและชีวเคมี ๓ (๓-๐-๖) พื้นฐานชีวเคมี     กรดอะมิโน   เป็ปไทด์และโปรตีน   เอ็นไซม์    คาร์โบไฮเดรต            ไกลโคไบโอโลจี    นิวคลีโอไทด์และกรดนิวคลีอิค  ไขมัน ชนิดของจุลินทรีย์ที่สำคัญในอาหาร การจำแนกประเภทและการระบุของจุลินทรีย์  การใช้วิธีทางกายภาพและทางเคมีในการทำไร้เชื้อจุลินทรีย์  การประยุกต์จุลินทรีย์ที่สำคัญในอาหาร
EGCH 455 Fundamentals of Microbiology and Biochemistry 3(3-0-6) Fundamentals of biochemistry; amino acid, peptides, and protein; Enzymes; Carbohydrates; Glycobiology; Nucleotides and nucleic acids; Lipid; Types of  important microorganisms in food;  Classification and identification of microorganisms;  Physical and chemical method used to sterilise microorganisms; Applications of important microorganisms in food
วศคม ๔๗๐ การจัดการพลังงานทางวิศวกรรมเคมี ๓ (๓-๐-๖) สถานการณ์พลังงาน แหล่งและปริมาณสำรองของพลังงาน รูปแบบการใช้พลังงานและการอนุรักษ์พลังงานในโรงงานอุตสาหกรรมและอาคาร การตรวจวัดและวิเคราะห์ระบบพลังงานความร้อนและระบบพลังงานไฟฟ้า การจัดการการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและให้เกิดประโยชน์สูงสุด
EGCH470 Energy Management  in  Chemical Engineering 3(3-0-6) Energy situation, resources and reserves, overview of the significance of energy use and of energy conservation in building and industry, energy audit and analysis in thermal system and electrical system, energy management for highest efficiency and utilization. นักศึกษาชั้นปีที่ ๔
วศคม๔๗๒ การป้องกันและควบคุมมลพิษ ๓ (๓-๐-๖) หลักพื้นฐานในการควบคุมมลพิษ  วิธีการบำบัดและกำจัดน้ำเสีย อนุภาค  และก๊าซ รวมทั้งมลพิษอากาศ กากของแข็งและของเสียอันตราย ความเข้าใจเกี่ยวกับการป้องกันการเกิดมลพิษประกอบด้วย  การลดมลพิษที่แหล่งกำเนิด  การนำกลับมาใช้ใหม่ ฉลากผลิตภัณฑ์ การประเมินวงจรผลิตภัณฑ์  วิธีการตรวจประเมิน  ระบบการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมและมาตรฐาน  ISO 14000
EGCH 472 Pollution Prevention and Control 3(3-0-6) Principles of pollution control; treatment and disposal methods for waste water, particulate and gaseous emissions, air pollutants, solid wastes and hazardous wastes;  pollution prevention concept including source reduction, reuse/recycle, life-cycle assessment , audit methodology; environmental management and  ISO 14000. นักศึกษาชั้นปีที่ ๔
วศคม๔๘๐ วิศวกรรมการกัดกร่อน ๓ (๓-๐-๖) ความหมายและความสำคัญของการกัดกร่อน   ทฤษฎีการกัดกร่อนโดยหลักการ    อุณหพลศาสตร์และจลนพลศาสตร์ทางเคมีไฟฟ้า การเกิดขั้วและอัตราการกัดกร่อน พาสซิวิตี การป้องกันแอโนดและแคโทด  แผนภาพ Pourbaix   การกัดกร่อนของโลหะและวัสดุ  รูปแบบต่างๆของการกัดกร่อน  การทดสอบการกัดกร่อน  การป้องกันการกัดกร่อน  ผลของกรดแร่ต่อการกัดกร่อนและการกัดกร่อน ณ อุณหภูมิสูง
EGCH  480 Corrosion Engineering 3(3-0-6) Definitions and Importance of corrosion, corrosion  theories by  thermodynamic principles and electrochemical kinetics, polarization and corrosion rate, passivity, cathodic and anodic protections, Pourbaix diagrams, corrosion of metals and materials, different forms of corrosion, corrosion testing, corrosion prevention, effect of mineral acids and other environments,  high temperature corrosion. นักศึกษาชั้นปีที่ ๔
วศคม๔๘๑ โลหการเคมี ๓ (๓-๐-๖) หลักการโลหการเคมีของการสกัดโลหะ  ซึ่งครอบคลุมถึงแหล่งกำเนิดโลหะในโลก  แร่โลหะที่สำคัญ   การแต่งแร่  อุณหพลศาสตร์และจลนพลศาสตร์ของปฏิกิริยา     การสกัด กระบวนการสกัดโลหะแบบต่างๆ ได้แก่ โลหการความร้อน (Pyrometallurgy)  โลหการสารละลาย (Hydrometallurgy)  และโลหการไฟฟ้า (Electrometallurgy)   ตัวอย่างการสกัดโลหะในทางอุตสาหกรรม   และการประยุกต์ใช้ในการนำโลหะกลับมาใช้หมุนเวียน และการกำจัดกากหรือของเสียจากโรงงาน    อุตสาหกรรม
EGCH481 Chemical Metallurgy 3(3-0-6) Principles of chemical metallurgy including the  source  of  metals  from  earth,  minerals  and  mineral  processing;  thermodynamics  and  kinetics  of  extraction  reaction; various  types of extraction processes including pyrometallurgy, hydrometallurgy and electrometallurgy;  examples  of  metal  extraction  in  industry  and  applications  in  metal recycling as well as the  treatment  of  waste  or  industrial  byproducts. นักศึกษาชั้นปีที่ ๔
วศคม๔๘๒ การแปรใช้ใหม่โลหะและวัสดุวิศวกรรม ๓ (๓-๐-๖) หลักการเบื้องต้นและแนวปฏิบัติในการนำโลหะและวัสดุวิศวกรรมกลับมาใช้หมุนเวียน  งานวิจัยเบื้องต้นและประยุกต์และวิธีการในอุตสาหกรรมเพื่อการแปรใช้ใหม่วัสดุชนิดต่างๆ ได้แก่ เศษโลหะ   ชิ้นส่วนในอุตสาหกรรมยานยนต์  โลหะมีค่า  ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์และผิวที่ชุบด้วยไฟฟ้า
EGCH  482 Recycling of Metals and Engineering Materials 3(3-0-6) Fundamental and practical aspects of recycling metals and engineering materials, Fundamental and applied research and industrial practices in the recycling of a wide variety of materials including scrap recycling, automotive recycling, precious metal recycling and electronics or plating. นักศึกษาชั้นปีที่ ๔
วศคม๔๘๓ นาโนเทคโนโลยี ๓ (๓-๐-๖) นาโนเทคโนโลยีเบื้องต้น  ผงและวัสดุระดับนาโน  นาโนอิเล็กทรอนิกส์  การยึดประกอบของโครงสร้างนาโนแบบควบคุมอะตอมและการประยุกต์ใช้อุปกรณ์  แนวทางทางเคมีของผลึก นาโนสารกึ่งตัวนำ  นาโนเทคโนโลยีในวัสดุคาร์บอน  การยึดประกอบระดับไมโครและนาโน  แสงกับนาโนเทคโนโลยี  ชีวระดับนาโน  การประยุกต์ใช้ในอนาคต  กรณีศึกษา
EGCH483 Nanotechnology 3(3-0-6) Introduction to nanotechnology,  Nanopowders and nanomaterials,  Nanoelectronics, Fabrication of atomically controlled nanostructures and their device application, Chemical approaches to semiconductor nanocrystals,  Nanotechnology in carbon materials,  Micro- and nano-fabrication,  Light and nanotechnology,  Nanobiometrics,  Future applications,  Case studies. นักศึกษาชั้นปีที่ ๔
วศคม๔๘๔ กระบวนการเคมีในวัสดุอนินทรีย์ ๓ (๓-๐-๖) กระบวนการทางเคมี  อุณหเคมี และเคมีไฟฟ้า ที่สำคัญต่อวัสดุอนินทรีย์  ทฤษฎีทาง        อุณหพลศาสตร์และจลนพลศาสตร์ กระบวนการทางเคมีสำหรับเซรามิกบริสุทธิ์ โลหะบริสุทธิ์ และสารกึ่งตัวนำ  การเสื่อมสภาพทางเคมีของวัสดุ  กระบวนการที่เกี่ยวข้องกับคอลลอยด์  การซินเทอร์  ออกซิเดชั่น  การกัดกร่อน  แบตเตอรี่  เซลล์เชื้อเพลิง  เซลล์แสงอาทิตย์ และเครื่องรับรู้ทางเคมี  กรณีศึกษา
EGCH484 Chemical Processes in Inorganic Materials 3(3-0-6) Chemical, thermochemical, and electrochemical processes are important to inorganic materials ;  Thermodynamic and kinetic theory ;  Chemical processes for purifying ceramics, metals, and semiconductors ;  the chemical degradation of materials ;  Processes related to colloid, sintering, oxidation, corrosion, batteries, fuel cells, solar cells, and chemical sensors ;  Case studies. นักศึกษาชั้นปีที่ ๔
วศคม๔๘๕ แนะนำเซรามิก ๓ (๓-๐-๖) วัตถุดิบเซรามิก  สมบัติทางวิศวกรรมของเซรามิก โครงสร้างจุลภาคและส่วนประกอบทางเคมี  เซรามิกที่เป็นออกไซด์และไม่ใช่ออกไซด์  ซิลิเกต  แก้ว  เคลือบ  การเผา  การซินเทอร์  การกลายเป็นเฟสแก้ว  อุตสาหกรรมและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องทางเซรามิก
EGCH  485 Introduction to Ceramics 3(3-0-6) Ceramic raw materials,  Engineering properties of ceramic,  Microstructure and chemical composition,  Oxide and non-oxide ceramics,  Silicates,  Glasses,  Glazes,  Firing,  Sintering,  Vitrification,  Industry and technology related to ceramics. นักศึกษาชั้นปีที่ ๔
วศคม ๓๑๕ เทคโนโลยีสินค้าอุปโภคบริโภค ๓ (๓-๐-๖) เทคโนโลยีกระบวนการผลิตสินค้าอุปโภคบริโภค ทำการศึกษาตั้งแต่วัตถุดิบ เครื่องมือที่ใช้ในกระบวนการผลิต สภาวะการดำเนินงานของเครื่องมือ  และผลิตภัณฑ์ที่ได้ รวมทั้งการจัดการและควบคุมด้าน คุณภาพน้ำ พลังงาน และสิ่งแวดล้อมในอุตสาหกรรมต่างๆ อาทิ เช่น สบู่และผงซักฟอก น้ำมันพืช แป้งและน้ำตาล เยื่อกระดาษและกระดาษ แก้ว ซีเมนต์ เซรามิกส์ คลอ-อัลคาไลน์ กรดซัลฟูริก น้ำหอม สารปรุงแต่งกลิ่นและรสชาดอาหาร นม ไวน์และเบียร์ และยารักษาโรค เป็นต้น
EGCH 315 Consumer Product Technology 3(3-0-6) Processing technology for consumer products; the study of raw materials, processing equipment, equipment conditions, and products; including: management and control of water quality, energy, and environmental in industries such as; soap and detergents, vegetable oil, starch and sugar, pulp and paper, glass, cement, ceramics, chlor-alkali, sulfuric acid, fragrances,  flavors and food additives, milk, wine and beer and medicine.
วศคม๔๙๐ การจัดการวิศวกรรม ๓ (๓-๐-๖) หลักการจัดการ  ระเบียบวิธีเพิ่มผลผลิต มนุษยสัมพันธ์ ความปลอดภัย กฎหมายพาณิชย์ หลักเศรษฐศาสตร์วิศวกรรม  การเงิน  การตลาด  การบริหารโครงการ
EGCH490 Engineering Management 3(3-0-6) Principle of management, methods of increasing productivity, human relation, safety, commercial laws, basis of engineering economy, finance, marketing, project management.
วศคก ๒๑๓ กลศาสตร์ของวัสดุ ๑ ๓ (๓-๐-๖) แรงและความเค้น  ความสัมพันธ์ของความเค้นและความเครียด  คุณสมบัติทางกลของวัสดุ  ความเค้นในคาน  ผังแรงเฉือนและโมเมนต์ดัด  การโก่งของคาน  การบิด  การโก่งของเสา   การเปลี่ยนสภาพของความเค้นและความเครียด วงกลมของโมห์และความเค้นผสม  เกณฑ์ความเสียหาย
EGME213 Mechanic of Materials I 3(3-0-6) Forces and stresses; stresses and strains relationship; mechanical property of material; stresses in beams, shear force and bending moment diagrams; deflection of beams, torsion; buckling of columns; stress and strain transformation; Mohr’s circle and combined stresses, failure criterion. วศคก ๒๒๐
วศอก ๓๖๓ การควบคุมคุณภาพ ๓ (๓-๐-๖) แนวความคิดพื้นฐานของคุณภาพ  การจัดการทางด้านการควบคุมคุณภาพ  การควบคุมคุณภาพโดยอาศัยหลักทางสถิติและความเชื่อมั่นทางวิศวกรรม  การตรวจสอบคุณภาพด้วยวิธีสุ่มตัวอย่างเพื่อการยอมรับ  การจูงใจและมนุษยสัมพันธ์เพื่อการปรับปรุงกระบวนการผลิตและผลิตผล    แนวความคิดกิจกรรมกลุ่มย่อยเพื่อการปรับปรุงคุณภาพ แนวความคิดในการประยุกต์ใช้การควบคุมคุณภาพต่ออุตสาหกรรมการผลิตและการบริการ
EGIE 363 Quality Control 3(3-0-6) Basic concepts of quality. Quality control management. Statistical quality control and engineering reliability. Acceptance sampling inspection. Motivation and human relation for process improvement and  productivity. The small group activity concept for quality improvement. Application concepts of quality control in production and service industries. วศอก ๒๖๑
รายวิชาภาคการศึกษาฤดูร้อน
การฝึกงาน
วศคม ๓๙๘ การฝึกงาน ๐ (๐-๓๕-๑๐) การฝึกงานทางวิศวกรรมเคมีในโรงงานหรือหน่วยงานต่าง ๆ ของภาครัฐและเอกชน ตามที่ภาควิชาเห็นชอบ โดยมีกำหนดระยะเวลาการฝึกงานไม่น้อยกว่า 240 ชั่วโมงและนักศึกษาต้องส่งรายงานเมื่อเสร็จสิ้นการฝึกงานดังกล่าว ซึ่งการประเมินผลจะให้เกรดออกมาเป็นพอใจ (Satisfactory,”S”)หรือ ไม่พอใจ (Unsatisfactory, “U”)
EGCH398 Engineering Training 0(0-35-10) Practical training in industrial or government sectors during summer session for not less than 240 hours must be arranged and supervised by the department. A written report must be submitted to the department. The training evaluation must be graded as satisfactory, “S” or unsatisfactory, “U”. นักศึกษาชั้นปีที่ ๓

การสอบวัดคุณสมบัติ

การประกันคุณภาพหลักสูตร

หลักสูตรได้กำหนดระบบและวิธีการประกันคุณภาพ หลักสูตรในแต่ละประเด็น ดังนี้
๑ ประเด็นการบริหารหลักสูตร
-มีระบบกลไกในระดับคณะและภาควิชาในการดูแลรับผิดชอบการบริหารจัดการ
และควบคุมการดำเนินการจัดการศึกษาให้เป็นไปตามหลักสูตรอย่างเป็นระบบ
โดยมีการกำหนดแผนงานและมีการจัดงบประมาณเพื่อพัฒนางานด้านการศึกษา
อย่างพอเพียงที่จะเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด
-ดำเนินการประกันคุณภาพหลักสูตร ให้มีประสิทธิภาพและสอดคล้องตาม
นโยบายและ มาตรฐานคุณภาพของมหาวิทยาลัยมหิดล
-ดำเนินการประกันคุณภาพหลักสูตรตามตัวบ่งชี้คุณภาพของสำนักงานรับรอง
มาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน)
-มีการประเมินและทบทวนเพื่อปรับปรุงให้หลักสูตรมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องใน
ทุก ๕ ปีเพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและสอดรับกับความ
ต้องการของสังคมหรือผู้ใช้บัณฑิต
๒ ประเด็นทรัพยากรประกอบการเรียนการสอน
-จัดทรัพยากรและระบบสารสนเทศ เพื่อสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนและ
การพัฒนาคุณภาพการศึกษา
-จัดให้มีสื่อวัสดุ อุปกรณ์การศึกษา และพัฒนาแหล่งเรียนรู้ ให้หลากหลายและ
เพียงพอสำหรับการจัดการเรียนการสอนของหลักสูตร
-จัดปัจจัยสนับสนุนเพื่อสร้างโอกาสในการพัฒนาศักยภาพนักศึกษา
-สร้างสภาพแวดล้อม และบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้และส่งเสริมให้เกิด
ความคิดสร้างสรรค์ การสร้างนวัตกรรม และการเกื้อกูลซึ่งกันและกันเพื่อการจัด
การศึกษาที่มีประสิทธิภาพ
๓ ประเด็นการสนับสนุนและการให้คำแนะนำนักศึกษา
-จัดให้มีระบบอาจารย์ที่ปรึกษาในระดับภาควิชา เพื่อทำหน้าที่แนะนำและ
ช่วยเหลือนักศึกษาทางด้านการเรียนการสอนและ/หรือการให้คำแนะนำในด้าน
อื่น ๆ ที่นักศึกษาอาจมีปัญหา
-จัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา ทั้งด้านวิชาการ และจริยธรรม
คุณธรรม ซึ่งการสนับสนุนกิจกรรมต่าง ๆ ของนักศึกษา มีทั้งในระดับภาควิชา
คณะ และมหาวิทยาลัย
๔ ประเด็นความต้องการของตลาดแรงงาน สังคม และ / หรือความพึงพอใจของ
ผู้ใช้บัณฑิต

-มีการประเมินผลความสำเร็จของการจัดหลักสูตร ว่าสามารถผลิตบัณฑิตที่มี
คุณลักษณะตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตร และมีความสามารถเป็นที่ต้องการ
ของตลาดแรงงานและ/ หรือสามารถศึกษาต่อในขั้นสูงต่อไปได้
-มีระบบการติดตาม ประเมินผลคุณภาพบัณฑิต ทั้งในส่วนของตัวบัณฑิต และ
ผู้ใช้บัณฑิตเพื่อดูระดับความพึงพอใจของนายจ้าง / ผู้ประกอบการ / ผู้ใช้บัณฑิต