ศาสตร์และศิลป์ที่สอนในเมืองไทย

รายวิชาที่มหาวิทยาลัยเปิดสอนในเมืองไทย พร้อมคำจำกัดความและขอบเขตของวิชา

Archive for the ‘ภาควิชาวิศวกรรมโยธา’ Category

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา

with one comment

มหาวิทยาลัยมหิดล หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา.

ชื่อหลักสูตร : หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา
ชื่อปริญญา
ชื่อเต็ม :

วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วิศวกรรมโยธา)

ชื่อย่อ : วศ.บ. (วิศวกรรมโยธา)
หน่วยงานรับผิดชอบ
โครงการจัดตั้งภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
กำหนดการเปิดสอน : หลักสูตรปรับปรุงนี้จะเริ่มใช้กับนักศึกษาตั้งแต่รุ่นปีการศึกษา ๒๕๕๐  เป็นต้นไป

ปรัชญาของหลักสูตร

หลักสูตรมุ่งสร้างมหาบัณฑิตให้มีความรู้ มีความเข้าใจเกี่ยวกับวิทยาการจัดการเพื่อสุขภาพด้านการวิเคราะห์ การวางแผน การประเมินผล การจัดการทรัพยากรมนุษย์ ภายใต้ระบบการเรียน การสอนทางไกล

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิทยาการจัดการเพื่อสุขภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตบุคลากรให้มีคุณสมบัติดังนี้
๑. มีความรู้และความเข้าใจในหลักการจัดการด้านสุขภาพระดับสูงทั้งภาคทฤษฎีและ ปฏิบัติ
๒.มีศักยภาพเป็นผู้นำหรือผู้บริหารยุคใหม่ที่มีวิสัยทัศน์ องค์ความรู้ ที่สอดคล้องกับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นพลวัตรทางด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทั้งระดับสังคมโลกและสังคมไทย
๓.สามารถนำเอาความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับ โดยเฉพาะแนวคิดและทฤษฎีด้านการบริหารจัดการ การจัดการการตลาด การจัดการสาธารณสุข เศรษฐศาสตร์สาธารณสุข สังคมและวัฒนธรรม สาธารณสุข ไปประยุกต์และปฏิบัติต่อการทำงานด้านการวางแผน การตัดสินใจ การดำเนิน กิจกรรม ตลอดจนสร้างความร่วมมือและประสานงานกับองค์กรภาครัฐ เอกชน ประชาชนได้อย่าง เหมาะสม
๔.มีความสามารถในการถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์การทำงาน การสร้างแรงจูงใจแก่บุคลากรภายในหน่วยงาน เพื่อปรับเปลี่ยนและพัฒนาศักยภาพองค์กรของตนเองอย่างเหมาะสมต่อสถานการณ์ เศรษฐกิจของสังคมยุคปัจจุบันและอนาคต

คุณสมบัติผู้เข้าศึกษา

สำเร็จ ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือเทียบเท่าตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ และมีคุณสมบัติครบตามข้อกำหนดของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ที่กำหนดไว้สำหรับผู้มีสิทธิเข้าสอบคัดเลือกเพื่อศึกษาในระดับอุดมศึกษา และ/หรือตามระเบียบที่มหาวิทยาลัยมหิดลและคณะวิศวกรรมศาสตร์กำหนด

การคัดเลือกผู้เข้าศึกษา

๑  เป็นผู้ผ่านการคัดเลือก ตามระเบียบการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในระดับอุดมศึกษาของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และ/หรือ
๒ เป็นผู้ผ่านการคัดเลือกตามประกาศของมหาวิทยาลัยมหิดล ว่าด้วยการรับสมัครนักเรียนเข้าศึกษาหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิ

ระบบการศึกษา

. ระบบการศึกษาและการจัดการการศึกษา

๑.๑  จัดการศึกษาตามระบบหน่วยกิตทวิภาคตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี โดยหนึ่งปีการ        ศึกษาแบ่งเป็น ๒ ภาคการศึกษาปกติ หนึ่งภาคการศึกษาปกติมีระยะเวลา ศึกษาไม่น้อยกว่า ๑๕ สัปดาห์สำหรับการศึกษาภาคฤดูร้อนมีกำหนดระยะเวลาและ จำนวนหน่วยกิต ในสัดส่วนเดียวกันเทียบได้กับภาคการศึกษาปกติ

๑.๒  การ คิดจำนวนหน่วยกิต

๑.๒.๑  รายวิชาภาคทฤษฎี ที่ใช้เวลาบรรยาย หรืออภิปรายปัญหาไม่น้อยกว่า ๑๕ ชั่วโมง  ต่อภาคการ ศึกษาปกติให้มีค่าเท่ากับ  ๑ หน่วยกิต

๑.๒.๒ รายวิชาภาคปฏิบัติ ที่ใช้เวลาฝึกหรือทดลองไม่น้อยกว่า ๓๐ ชั่วโมงต่อภาคการศึกษาปกติ  ให้มีค่าเท่ากับ  ๑ หน่วยกิต

๑.๒.๓ การฝึกภาคสนาม ที่ใช้เวลาฝึกไม่น้อยกว่า ๔๕ ชั่วโมงต่อภาคการศึกษาปกติให้มีค่าเท่ากับ  ๑ หน่วยกิต

๑.๒.๔ การฝึกงาน (ภาคฝึกงานวิชาชีพ) รวม เวลาไม่น้อยกว่า ๒๔๐ ชั่วโมงในภาคการศึกษาฤดูร้อน  มีค่าเท่ากับ ๐ หน่วยกิต

๑.๒.๕ การทำโครงงาน หรือกิจกรรมเรียนอื่นใดตามที่ได้รับมอบหมาย ที่ใช้เวลาทำโครงงานหรือกิจกรรมนั้นๆไม่น้อยกว่า ๔๕ ชั่วโมงต่อภาคการศึกษาปกติให้มีค่าเท่ากับ ๑ หน่วยกิต

ภาษา

ระยะเวลาการศึกษา

ระยะเวลาการศึกษาตามหลักสูตร ๔ ปีการศึกษา  โดยใช้เวลาศึกษาอย่างมากไม่เกิน ๘ ปีการศึกษา

การลงทะเบียนและการรับโอนหน่วยกิต

๑. เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยมหิดล ว่าด้วยการศึกษาระดับอนุปริญญา และปริญญาตรี

การวัดผลและการสำเร็จการศึกษา

๑. การวัดผล
เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยมหิดล ว่าด้วยการศึกษาระดับอนุปริญญา และปริญญาตรี  และประกาศหรือข้อบังคับของคณะที่เกี่ยวข้อง

อาจารย์ประจำ

ลำดับ ชื่อ-นาม สกุล คุณวุฒิ
๑. ผู้ช่วยศาสตราจารย์กวี  ไกรระวี วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต  (โยธา)
M.S. (Civil Engineering)
๒. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ปิยะ รัตนสุวรรณ วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต  (โยธา)
วิศวกรรม ศาสตรมหาบัณฑิต  (โยธา)
๓. ผู้ช่วยศาสตราจารย์สมพงษ์  ชื่นอิ่ม วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (ชล ประทาน)
วิศวกรรม ศาสตรมหาบัณฑิต (ชล ประทาน)
๔. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ธัชวีร์  ลีละวัฒน์ วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต  (โยธา)
M.Sc. (Concrete Technology, Construction and Management)
Ph.D.  (Concrete  Technology)
๕. อาจารย์บันลือ   เอมะรุจิ วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต  (โยธา)
M.Sc. (Geomorphological Surveys)
M.Sc. (Forest Engineering)
Ph.D.  (Environmental Systems Engineering)
๖. อาจารย์พนม ชัยสิทธิ์ วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต  (โยธา)
วิศวกรรม ศาสตรมหาบัณฑิต (โยธา)
๗. อาจารย์วรรณสิริ  พันธ์อุไร วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต  (โยธา)
M.S. (Civil Engineering)
Ph.D. (Civil Engineering and Environmental Engineering)
อาจารย์ประวีณ  ชมปรีดา วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต  (โยธา)
M.S. (Civil Engineering)
Ph.D. (Civil Engineering and Environmental Engineering)
อาจารย์สุวรรณา  กิจผาติ วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต  (อุตสาหการ)
วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต  (สิ่งแวดล้อม)
D. Eng. (Environmental Engineering)
๑๐ อาจารย์อารียา  ฤทธิมา วิทยาศาสตรบัณฑิต  (เทคโนโลยีชนบท)
วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต  (ชลประทาน)
วิศวกรรมศาสตรดุษฏีบัณฑิต  (ชลประทาน)
๑๑ Mrs.Ranjna  Jindal
(ผู้เชี่ยวชาญชาวต่างประเทศ)
B.Sc. (Hons.) Physics, Maths and Statistics
M.Sc. Nuclear Physics
M.Sc. Environmental Engineering
D.Tech Sc. Environmental Engineering
๑๒ อาจารย์สมชาย  ปฐมศิริ วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต  (โยธา)
วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
(โยธา-ขนส่งและจราจร)
M.B.A. (Executive Program)
Ph.D. (Transportation Engineering)

อาจารย์พิเศษ

ลำดับ ชื่อ-นาม สกุล คุณวุฒิ
๑. นายชาญชัย          เดชะเสฏฐดี วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (โยธา)
M.Eng. (Hydraulic)
M.B.A.
๒. นายพงษ์เทพ        พันธุ์ธีรานุรักษ์ วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (โยธา)
M.Sc. in Construction Management
๓. นายวีระพงษ์        ศรีนวกุล วิศวกรรมศาสตร บัณฑิต (โยธา)
๔. นายสุโนช             เข่งคุ้ม B.S. in Geology
M.Sc.(Honor) in Quaternary Geology

จำนวนนักศึกษา

ปีการศึกษา ๒๕๕๐ ๒๕๕๑ ๒๕๕๒ ๒๕๕๓ ๒๕๕๔
จำนวนที่คาดว่าจะรับ ๖๐ ๖๐ ๖๐ ๖๐ ๖๐
จำนวนที่คาดว่าจะจบ ๖๐ ๓๙ ๕๗ ๖๐ ๖๐
จำนวนสะสม ๒๑๖ ๒๑๖ ๒๓๗ ๒๔๐ ๒๔๐

สถานที่และอุปกรณ์การสอน

ใช้สถานที่และอุปกรณ์การสอนที่ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา นครปฐม

ห้องสมุด

ใช้ห้องสมุดที่สำนัก หอสมุดของมหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งมีระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์สำหรับค้นหาฐานข้อมูล สิ่งพิมพ์ ได้แก่ หนังสือ  ตำรา วารสาร รายงานวิจัย วิทยานิพนธ์ รวมทั้งฐานข้อมูล ซีดีรอม วีดีทัศน์วิชาการ และแถบบันทึกเสียง โดยมีหนังสือทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษรวมกัน  ๓๗๖,๙๓๐ เล่ม เป็นตำราทางด้านวิทยาศาสตร์ภาษาไทย ๓,๐๘๒ เล่ม และภาษาอังกฤษ ๑๘,๘๑๗ เล่ม ตำราทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ภาษาไทย ๕,๓๐๗ เล่ม และภาษาอังกฤษ ๗,๕๒๕ เล่ม วารสารทางด้านวิทยาศาสตร์ภาษาไทย ๒๕ รายการ และภาษาอังกฤษ ๑๒๔ รายการ  และวารสารทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ภาษาไทย ๑๖ รายการ และภาษาอังกฤษ ๒๕ รายการ

งบประมาณ

ใช้ งบประมาณของมหาวิทยาลัยมหิดลโดยมีค่าใช้จ่ายรายหัวต่อการผลิตบัณฑิตวิศวกรรม ศาสตร์  สาขาวิศวกรรมโยธา  ในปีงบประมาณ ๒๕๔๘ (๑ ตุลาคม ๒๕๔๗ ถึง ๓๐ กันยายน ๒๕๔๘)  เท่ากับ  ๗๓, ๙๙๕  บาท

หลักสูตร
โครงสร้างหลักสูตร

จำนวน หน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า
๑๔๘ หน่วยกิต
โครงสร้างหลักสูตร หมวดวิชาศึกษาทั่วไป รวม ๓๐ หน่วยกิต
กลุ่มวิชาที่มหาวิทยาลัยกำหนด ของหมวดวิชาศึกษาทั่วไป จำนวน ๑๖ หน่วยกิต
– กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ ๗ หน่วยกิต
– กลุ่มวิชาภาษา ๙ หน่วยกิต
กลุ่มวิชาที่หลักสูตรกำหนด จำนวน ๑๔ หน่วยกิต
– กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ ๕ หน่วยกิต
– กลุ่มวิชาภาษา ๓ หน่วยกิต
– กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ๖ หน่วยกิตหมวดวิชาเฉพาะ รวม ๑๑๒ หน่วยกิต
– กลุ่มวิชาแกน ๒๕ หน่วยกิต
– กลุ่มวิชาเฉพาะบังคับ ๖๓ หน่วยกิต
– กลุ่มวิชาเฉพาะเลือก ๒๔ หน่วยกิต


หมวดวิชาเลือกเสรี รวม ๖ หน่วยกิต
การฝึกงาน (ใช้เวลาไม่น้อยกว่า ๒๔๐ ชั่วโมง) ๐ หน่วยกิต

รายวิชาในหลักสูตร
หมวดวิชาศึกษาทั่วไป รวม ๓๐ หน่วยกิต
กลุ่มวิชาที่มหาวิทยาลัยกำหนด ของหมวดวิชาศึกษาทั่วไป จำนวน ๑๖ หน่วยกิต
กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ ๗ หน่วยกิต
หน่วยกิต (บรรยาย-ปฏิบัติ)

มมศท ๑๐๑ การศึกษาทั่วไปเพื่อการพัฒนามนุษย์ ๒(๑–๒-๓)
มมศท ๑๐๒ สังคมศึกษาเพื่อการพัฒนามนุษย์ ๓(๒–๒-๕)
มมศท ๑๐๓ ศิลปวิทยาการเพื่อการพัฒนามนุษย์ ๒(๑–๒-๓)
กลุ่มวิชาภาษา จำนวน ๙ หน่วยกิต
วิชาภาษาไทย
ให้เรียน ๓  หน่วยกิต จากรายวิชาดังต่อไปนี้
หน่วยกิต (บรรยาย-ปฏิบัติ)
ศศภท ๑๐๐ ศิลปะการใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร ๓ (๒–๒-๕)
วิชาภาษาอังกฤษ
ให้เรียนรายวิชาต่อไปนี้ จำนวน ๖ หน่วยกิต ตามระดับคะแนน ที่คณะศิลปศาสตร์จัดสอบวัดความรู้
หน่วยกิต (บรรยาย-ปฏิบัติ)
ศศภอ ๑๐๓ ภาษาอังกฤษระดับ ๑ ๓ (๒–๒-๕)
ศศภอ ๑๐๔ ภาษาอังกฤษระดับ ๒ ๓ (๒–๒-๕)
ศศภอ ๑๐๕ ภาษาอังกฤษระดับ ๓ ๓ (๒–๒-๕)
ศศภอ ๑๐๖ ภาษาอังกฤษระดับ ๔ ๓ (๒–๒-๕)
ศศภอ ๑๐๗ ภาษาอังกฤษระดับ ๕ ๓(๒–๒-๕)
ศศภอ ๑๐๘ ภาษาอังกฤษระดับ ๖ ๓ (๒–๒-๕)
กลุ่มวิชาที่หลักสูตรกำหนด จำนวน ๑๔ หน่วยกิต
กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ ๕ หน่วยกิต
ให้เรียน ๑ หน่วยกิต จากรายวิชาดังต่อไปนี้
หน่วยกิต (บรรยาย-ปฏิบัติ)
วศคร ๓๐๐ ปรัชญา จรรยาบรรณ และกฎหมายสำหรับวิศวกร ๑ (๑-๐-๒)
ให้เลือกเรียน ๔ หน่วยกิต จากรายวิชาดังต่อไปนี้
สมสค ๑๓๐ หลักเศรษฐศาสตร์ ๒ (๒-๐-๔)
สมสค ๑๔๐ จิตวิทยาทั่วไป ๒ (๒-๐-๔)
สมสค ๑๔๒ จิตวิทยาสังคม ๒ (๒-๐-๔)
สมสค ๑๔๔ หลักการสื่อสาร ๒ (๒-๐-๔)
สมสค ๑๖๐ หลักการบริหาร ๒ (๒-๐-๔)
สมสค ๑๖๑ นโยบายและการวางแผน ๒ (๒-๐-๔)
สมมน ๑๐๓ ศิลปวิจักษ์ ๒ (๒-๐-๔)
สมมน ๑๐๕ ปรัชญาสังคม ๒ (๒-๐-๔)
สมมน ๑๐๘ มนุษยสัมพันธ์และการพัฒนาตน ๒ (๒-๐-๔)
สมมน ๑๑๐ มนุษย์กับวัฒนธรรม ๒ (๒-๐-๔)
สมมน ๑๑๒ พลวัตของกลุ่มและการทำงานเป็นทีม ๒ (๒-๐-๔)
สมมน ๑๓๓ วาทศาสตร์สำหรับภาวะผู้นำ ๒ (๒-๐-๔)
สมศษ ๑๐๑ กิจกรรมพลศึกษา-ว่ายน้ำ ๑ (๐-๒-๑)
สมศษ ๑๑๔ กิจกรรมพลศึกษา-ลีลาศ ๑ (๐-๒-๑)
สมศษ ๑๑๗ กิจกรรมพลศึกษา-แบดมินตัน ๑ (๐-๒-๑)
สมศษ ๑๑๘ กิจกรรมพลศึกษา-เทนนิส ๑ (๐-๒-๑)
สมศษ ๑๒๕ กิจกรรมพลศึกษา-วอลเล่ย์บอล ๑ (๐-๒-๑)
สมศษ ๑๒๖ กิจกรรมพลศึกษา-เปตอง ๑ (๐-๒-๑)
วศสว ๑๐๑ ดนตรีวิจักษ์ ๒ (๑-๒-๓)
วศสว ๑๐๒ ขับร้องประสานเสียง ๑ (๐-๒-๑)
วศอก ๔๓๐ การจัดการอุตสาหกรรมสำหรับวิศวกร ๓ (๓-๐-๖)
วศอก ๔๓๖ กฎหมายอุตสาหกรรมและกฎหมายพาณิชย์ ๓ (๓-๐-๖)
กลุ่มวิชาภาษา จำนวน ๓ หน่วยกิต
ให้เลือกเรียน ๓ หน่วยกิต จากรายวิชาดังต่อไปนี้
หน่วยกิต (บรรยาย-ปฏิบัติ)
ศศภอ ๒๐๗ หลักการแปล ๓ (๓-๐-๖)
ศศภอ ๓๐๔ การอ่านเชิงวิเคราะห์ ๓ (๒-๒-๕)
ศศภอ ๓๐๖ การสนทนาระดับสูง 1 ๓ (๒-๒-๕)
ศศภอ ๓๕๐ การเขียนเชิงธุรกิจ ๓ (๓-๐-๖)
ศศภอ ๓๕๑ การเขียนสรุปและการจดบันทึกย่อ ๓ (๓-๐-๖)
ศศภอ ๔๐๑ การสนทนาระดับสูง 2 ๓ (๒-๒-๕)
ศศภอ ๔๐๒ การพูดในที่สาธารณะ ๓ (๒-๒-๕)
ศศภอ ๔๐๓ การอ่านเชิงวิชาการ ๓ (๒-๒-๕)
ศศภอ ๔๐๔ การเขียนเชิงวิชาการ ๓ (๒-๒-๕)
ศศภท ๑๓๒ ทักษะการใช้ภาษาไทย ๓ (๒-๒-๕)
วศคร ๒๙๐ ภาษาอังกฤษสำหรับวิศวกร ๓ (๓-๐-๖)
วศคร ๔๙๐ การสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษสำหรับวิศวกร ๓ (๓-๐-๖)
ศศภญ ๑๖๑ ภาษาญี่ปุ่นเบื้องต้น ๑ ๓ (๒-๒-๕)
ศศภจ ๑๗๑ ภาษาจีน ๑ ๓ (๒-๒-๕)
กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ จำนวน ๖ หน่วยกิต หน่วยกิต (บรรยาย-ปฏิบัติ)
วศคพ ๑๑๑ การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ๓ (๒-๓-๕)
*วศอก ๓๓๕ การวิเคราะห์ต้นทุนและงบประมาณ ๓ (๓-๐-๖)
หมวดวิชาเฉพาะ รวม ๑๑๒ หน่วยกิต
กลุ่มวิชาแกน จำนวน ๒๕ หน่วยกิต
หน่วยกิต (บรรยาย-ปฏิบัติ)
วทคม ๑๑๓ เคมีทั่วไป ๓ (๓-๐-๖)
วทคม ๑๑๘ ปฎิบัติการเคมี ๑ (๐-๓-๑)
วทคณ ๑๑๕ แคลคูลัส ๓ (๓-๐-๖)
วทคณ ๑๖๕ สมการอนุพันธ์เชิงสามัญ ๓ (๓-๐-๖)
วทฟส ๑๑๐ ปฎิบัติการฟิสิกส์ ๑ ๑ (๐-๓-๑)
วทฟส ๑๕๑ ฟิสิกส์ทั่วไป ๑ ๓ (๓-๐-๖)
วทฟส ๑๕๒ ฟิสิกส์ทั่วไป ๒ ๓ (๓-๐-๖)
วศคร ๒๐๐ คณิตศาสตร์วิศวกรรม ๓ (๓-๐-๖)
วศอก ๑๐๑ ปฏิบัติการวิศวกรรมพื้นฐาน ๒ (๑-๓-๓)
วศคก ๑๐๒ เขียนแบบวิศวกรรม ๓ (๒-๓-๕)
กลุ่มวิชาเฉพาะบังคับ จำนวน ๖๓ หน่วยกิต หน่วยกิต (บรรยาย-ปฏิบัติ)
วศอก ๑๐๓ วัสดุวิศวกรรม ๓ (๓-๐-๖)
วศอก ๒๖๑ ความน่าจะเป็นและสถิติ ๓ (๓-๐-๖)
วศคก ๒๒๐ กลศาสตร์วิศวกรรม ๓ (๓-๐-๖)
วศฟฟ ๒๑๗ วิศวกรรมไฟฟ้าเบื้องต้น ๓ (๓-๐-๖)
วศฟฟ ๒๑๘ ปฏิบัติการวิศวกรรมไฟฟ้าเบื้องต้น ๑ (๐-๓-๑)
วศยธ ๒๐๑ กำลังวัสดุ ๑ ๓ (๓-๐-๖)
วศยธ ๒๒๑ กลศาสตร์ของไหลสำหรับวิศวกรรมโยธา ๓ (๓-๐-๖)
วศยธ ๒๓๑ ธรณีวิทยา ๓ (๓-๐-๖)
วศยธ ๒๔๑ วิศวกรรมสำรวจ ๓ (๓-๐-๖)
วศยธ ๒๔๒ ปฏิบัติการวิศวกรรมสำรวจ ๑ (๐-๓-๑)
วศยธ ๒๔๓ การฝึกงานสำรวจ ๑ (๐-๔๐-๑๒)
วศยธ ๒๗๑ วัสดุก่อสร้าง ๓ (๓-๐-๖)
วศยธ ๒๗๒ การจัดการวิศวกรรม ๓ (๓-๐-๖)
วศยธ ๒๗๓ ปฏิบัติการทดสอบวัสดุก่อสร้าง ๑ (๐-๓-๑)
วศยธ ๓๑๑ การวิเคราะห์โครงสร้าง ๑ ๓ (๓-๐-๖)
วศยธ ๓๑๒ การวิเคราะห์โครงสร้าง ๒ ๓ (๓-๐-๖)
วศยธ ๓๑๓ การออกแบบคอนกรีตเสริมเหล็ก ๓ (๓-๐-๖)
วศยธ ๓๒๑ วิศวกรรมชลศาสตร์ ๓ (๓-๐-๖)
วศยธ ๓๒๒ ปฏิบัติการวิศวกรรมชลศาสตร์ ๑ (๐-๓-๑)
วศยธ ๓๓๑ ปฐพีกลศาสตร์ ๓ (๓-๐-๖)
วศยธ ๓๓๒ ปฏิบัติการปฐพีกลศาสตร์ ๑ (๐-๓-๑)
วศยธ ๓๖๒ ระบบและการจัดการสิ่งแวดล้อม ๓ (๓-๐-๖)
วศยธ ๓๙๑ คอมพิวเตอร์สำหรับวิศวกรรมโยธา ๒ (๑-๓-๓)
วศยธ ๓๙๕ สัมมนาโครงงาน ๑ (๐-๓-๑)
วศยธ ๔๐๒ การออกแบบโครงสร้างไม้และเหล็ก ๓ (๓-๐-๖)
วศยธ ๔๙๖ โครงงานวิศวกรรมโยธา ๓ (๐-๙-๓)
กลุ่มวิชาเฉพาะเลือก จำนวน ๒๔ หน่วยกิต หน่วยกิต (บรรยาย-ปฏิบัติ)
วศยธ ๒๐๒ กำลังวัสดุ ๒ ๓ (๓-๐-๖)
วศยธ ๓๒๓ อุทกวิทยา ๓ (๓-๐-๖)
วศยธ ๓๓๓ วิศวกรรมฐานราก ๓ (๓-๐-๖)
วศยธ ๓๔๑ วิศวกรรมสำรวจชั้นสูง ๓ (๓-๐-๖)
วศยธ ๓๔๒ การสำรวจด้วยภาพถ่ายทางอากาศ ๓ (๓-๐-๖)
วศยธ ๓๔๓ การสำรวจเส้นทาง ๓(๒-๓-๕)
วศยธ ๓๗๒ การจัดการงานก่อสร้าง ๓ (๓-๐-๖)
วศยธ ๓๗๓ การวางผังเมือง ๓ (๓-๐-๖)
วศยธ ๓๗๔ การออกแบบทางสถาปัตยกรรม ๓ (๓-๐-๖)
วศยธ ๔๐๑ การออกแบบคอนกรีตเสริมเหล็กชั้นสูง ๓ (๓-๐-๖)
วศยธ ๔๐๓ การออกแบบคอนกรีตอัดแรง ๓ (๓-๐-๖)
วศยธ ๔๐๔ การวิเคราะห์โครงสร้างด้วยวิธีแมตตริกส์ ๓ (๓-๐-๖)
วศยธ ๔๐๖ การออกแบบสะพาน ๓ (๓-๐-๖)
วศยธ ๔๐๗ การออกแบบโครงสร้างเหล็กชั้นสูง ๓ (๓-๐-๖)
วศยธ ๔๒๑ วิศวกรรมแหล่งน้ำ ๓ (๓-๐-๖)
วศยธ ๔๕๑ วิศวกรรมการทาง ๓ (๓-๐-๖)
วศยธ ๔๕๒ วิศวกรรมขนส่ง ๓ (๓-๐-๖)
วศยธ ๔๕๓ การออกแบบผิวทาง ๓ (๓-๐-๖)
วศยธ ๔๖๑ วิศวกรรมสุขาภิบาล ๓ (๓-๐-๖)
วศยธ ๔๗๒ เทคโนโลยีแอสฟัลต์ ๓ (๓-๐-๖)
วศยธ ๔๗๓ การจัดการความปลอดภัยงานก่อสร้าง ๓ (๓-๐-๖)
วศยธ ๔๗๕ เทคโนโลยีคอนกรีต ๓ (๓-๐-๖)
หมวดวิชาเลือกเสรี รวม ๖ หน่วยกิต
ให้เลือกเรียนรายวิชาที่มหาวิทยาลัยมหิดลเปิดสอนในระดับปริญญาตรีและจัดให้ เป็นวิชาเลือกเสรี
และ/หรือตามที่ภาควิชากำหนด เป็นจำนวน ๖ หน่วยกิต
การฝึกงาน รวม ๐ หน่วยกิต
นักศึกษาที่มีฐานะปีที่ ๓ ให้ลงทะเบียนการฝึกงานในภาคการศึกษาฤดูร้อนในวิชา
ระยะเวลาไม่น้อยกว่า ๒๔๐ ชั่วโมง หน่วยกิต (บรรยาย-ปฏิบัติ)
วศยธ ๓๙๙ การฝึกงาน ๐ (๐-๓๕-๑๐)
ความหมายรหัสรายวิชาในหลักสูตร
รหัสรายวิชาประกอบด้วยรหัส ๗ ตัว แบ่งเป็นรหัสตัวอักษร ๔ ตัวและรหัสตัวเลข ๓ ตัว
รหัสตัวอักษร
อักษรสองตัวแรก หมายถึง ชื่อย่อของคณะต่างๆในมหาวิทยาลัยมหิดล ที่รับผิดชอบจัดการเรียนการสอน
วศ หรือ EG หมายถึง คณะวิศวกรรมศาสตร์
วท หรือ SC หมายถึง คณะวิทยาศาสตร์
สม หรือ SH หมายถึง คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
จก หรือ MG หมายถึง วิทยาลัยการจัดการ
วศ หรือ MS หมายถึง วิทยาลัยดุริยางคศิลป์
ศศ หรือ AR หมายถึง คณะศิลปศาสตร์
อักษรสองตัวหลัง หมายถึง ชื่อย่อของภาควิชาในคณะที่รับผิดชอบจัดการเรียนการสอนในรายวิชานั้นๆ ดังนี้
คร หรือ ID หมายถึง สหวิทยาการ (Interdisciplinary course) เป็นรายวิชาที่เป็นการสอนร่วมกันระหว่างภาควิชา
หรือไม่อยู่ในความรับผิดชอบของภาควิชาใดโดยตรง
สค หรือ SS หมายถึง ภาควิชาสังคมศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
มน หรือ HU หมายถึง ภาควิชามนุษยศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
ศษ หรือ ED หมายถึง ภาควิชาศึกษาศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
คณ หรือ MA หมายถึง ภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์
คม หรือ CH หมายถึง ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์
ฟส หรือ PY หมายถึง ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์
ภอ หรือ EN หมายถึง ภาควิชาภาษาต่างประเทศ คณะศิลปศาสตร์
ภท หรือ TH หมายถึง ภาควิชาภาษาไทย คณะศิลปศาสตร์ชื่อย่อของภาควิชาในคณะวิศวกรรมศาสตร์ มีรหัสตัวอักษร ดังนี้
คก หรือ ME หมายถึง ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล
คม หรือ CH หมายถึง ภาควิชาวิศวกรรมเคมี
ฟฟ หรือ EE หมายถึง ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
อก หรือ IE หมายถึง ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ
คพ หรือ CO หมายถึง โครงการจัดตั้งภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
ยธ หรือ CE หมายถึง โครงการจัดตั้งภาควิชาวิศวกรรมโยธา
ชพ หรือ BE หมายถึง โครงการจัดตั้งภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์

รหัสตัวเลข
ตัวเลขตัวที่หนึ่ง (หลักร้อย) แสดงชั้นปีที่เรียน
ตัวเลขตัวที่สอง (หลักสิบ) แสดงลักษณะวิชาหรือแขนงวิชาย่อย
ตัวเลขตัวที่สาม (หลักหน่วย) แสดงลำดับวิชาที่จัดสอน

รหัสเลขหลักสิบ
๐ – ๑ หมายถึง แขนงวิชาโครงสร้าง
๒ หมายถึง แขนงวิชาชลศาสตร์
๓ หมายถึง แขนงวิชาปฐพีกลศาสตร์
๔ หมายถึง แขนงวิชาวิศวกรรมสำรวจ
๕ หมายถึง แขนงวิชาวิศวกรรมขนส่ง
๖ หมายถึง แขนงวิชาวิศวกรรมสุขาภิบาล
๗ – ๘ หมายถึง แขนงวิชาวิศวกรรมโยธาทั่วไป
๙ หมายถึง หัวข้อพิเศษ

แผนการศึกษา

ชั้นปีที่ ภาคการศึกษาที่ ๑ ภาคการศึกษาที่ ๒
๑. มมศท ๑๐๑ การศึกษาทั่วไปเพื่อการพัฒนามนุษย์ ๒ (๑-๒-๓) มมศท ๑๐๓ ศิลปวิทยาการเพื่อ การพัฒนามนุษย์ ๒ (๑-๒-๓)
มมศท ๑๐๒ สังคมศึกษาเพื่อการพัฒนามนุษย์ ๓ (๒-๒-๕) ศศภอ ๑๐๔-๑๐๘ ภาษาอังกฤษระดับ ๒-๖ ๓ (๒-๒-๕)
ศศภอ ๑๐๓-๑๐๗ ภาษาอังกฤษระดับ ๑-๕ ๓ (๒-๒-๕) วทคม ๑๑๓ เคมีทั่วไป ๓ (๓-๐-๖)
ศศภท ๑๐๐ ศิลปะการใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร ๓ (๒–๒-๕) วทคม ๑๑๘ ปฎิบัติการเคมี ๑ (๐-๓-๑)
วทคณ ๑๑๕ แคลคูลัส ๓ (๓-๐-๖) วทคณ ๑๖๕ สมการเชิงอนุพันธ์ สามัญ ๓ (๓-๐-๖)
วทฟส ๑๑๐ ปฎิบัติการฟิสิกส์ ๑ ๑ (๐-๓-๑) วทฟส ๑๕๒ ฟิสิกส์ทั่วไป ๒ ๓ (๓-๐-๖)
วทฟส ๑๕๑ ฟิสิกส์ทั่วไป ๑ ๓ (๓-๐-๖) วศคก ๑๐๒ เขียนแบบวิศวกรรม ๓ (๒-๓-๕)
วศคพ ๑๑๑ การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ๓ (๒-๓-๕) วศอก ๑๐๑ ปฏิบัติการวิศวกรรม พื้นฐาน ๒ (๑-๓-๓)
วิชาเลือกหมวดศึกษา ทั่วไป กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์ ฯ
(กิจกรรมพลศึกษา/ดนตรี)
๑ (๐-๒-๑)
รวม ๒๑ (๑๕-๑๔-๓๖) รวม ๒๑ (๑๕-๑๕-๓๖)
๒. วศคก ๒๒๐ กลศาสตร์วิศวกรรม ๓ (๓-๐-๖) วศยธ ๒๐๑ กำลังวัสดุ ๑ ๓ (๓-๐-๖)
วศคร ๒๐๐ คณิตศาสตร์วิศวกรรม ๓ (๓-๐-๖) วศยธ ๒๒๑ กลศาสตร์ของไหลสำหรับวิศวกรรมโยธา ๓ (๓-๐-๖)
วศฟฟ ๒๑๗ วิศวกรรมไฟฟ้า เบื้องต้น ๓ (๓-๐-๖) วศยธ ๒๔๑ วิศวกรรมสำรวจ ๓ (๓-๐-๖)
วศฟฟ ๒๑๘ ปฏิบัติการวิศวกรรมไฟฟ้าเบื้องต้น ๑ (๐-๓-๑) วศยธ ๒๔๒ ปฏิบัติการวิศวกรรม สำรวจ ๑ (๐-๓-๑)
วศยธ ๒๗๒ การจัดการวิศวกรรม ๓ (๓-๐-๖) วศยธ ๒๗๑ วัสดุก่อสร้าง ๓ (๓-๐-๖)
วศอก ๑๐๓ วัสดุวิศวกรรม ๓ (๓-๐-๖) วศยธ ๒๗๓ ปฏิบัติการทดสอบวัสดุก่อสร้าง ๑ (๐-๓-๑)
วิชาเลือกหมวดศึกษาทั่วไป กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์ ฯ
(กิจกรรมพลศึกษา/ดนตรี)
๑ (๐-๒-๑) วศยธ ๒๓๑ ธรณีวิทยา ๓ (๓-๐-๖)
วิชาเลือกหมวดศึกษา ทั่วไป กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์ ฯ ๒(๒-๐-๔)
ภาคการศึกษาฤดูร้อน
วศยธ ๒๔๓ การฝึกงานสำรวจ (ออกฝึกภาคสนามไม่ต่ำกว่า ๘๐ ชม.) ๑ (๐-๔๐-๑๒)
รวม ๑๗ (๑๕-๕-๓๒) รวม ๑๙ (๑๗-๖-๓๖)
๓. วศคร ๓๐๐ ปรัชญา จรรยาบรรณ และกฎหมายทางวิศวกรรม ๑ (๑-๐-๒) วศยธ ๓๑๒ การวิเคราะห์โครง สร้าง ๒ ๓ (๓-๐-๖)
วศยธ ๓๑๑ การวิเคราะห์โครงสร้าง ๑ ๓ (๓-๐-๖) วศยธ ๓๑๓ การออกแบบคอนกรีต เสริมเหล็ก ๓ (๓-๐-๖)
วศยธ ๓๓๑ ปฐพีกลศาสตร์ ๓ (๓-๐-๖) วศยธ ๓๒๑ วิศวกรรมชลศาสตร์ ๓ (๓-๐-๖)
วศยธ ๓๓๒ ปฏิบัติการปฐพีกลศาสตร์ ๑ (๐-๓-๑) วศยธ ๓๒๒ ปฏิบัติการ วิศวกรรมชลศาสตร์ ๑ (๐-๓-๑)
วศยธ ๓๖๒ ระบบและการจัดการสิ่งแวดล้อม ๓ (๓-๐-๖) วศยธ ๓๙๕ สัมมนาโครงงาน ๑ (๐-๓-๑)
วศยธ xxx วิชาเฉพาะเลือกทางวิศวกรรมโยธา ๖ (๖-๐-๑๒) วศอก ๒๖๑ ความน่าจะเป็นและ สถิติ ๓ (๓-๐-๖)
วศอก ๓๓๕ การวิเคราะห์ต้นทุนและงบประมาณ ๓ (๓-๐-๖) วศยธ xxx วิชาเฉพาะเลือกทางวิศวกรรมโยธา ๖ (๖-๐-๑๒)
ภาคการศึกษาฤดูร้อน
วศยธ ๓๙๙ การฝึกงาน (ฝึกงานไม่ต่ำกว่า ๒๔๐ ชั่วโมง) ๐ (๐-๓๕-๑๐)
รวม ๒๐ (๑๙-๓-๓๙) รวม ๒๐ (๑๘-๖-๓๘)
๔. วศยธ ๓๙๑ คอมพิวเตอร์สำหรับวิศวกรรมโยธา ๒ (๑-๓-๓) วศยธ ๔๐๒ การออกแบบโครง สร้างไม้และเหล็ก ๓ (๓-๐-๖)
วศยธ xxx วิชาเฉพาะเลือกทางวิศวกรรมโยธา ๖ (๖-๐-๑๒) วศยธ ๔๙๖ โครงงานวิศวกรรม โยธา ๓ (๐-๙-๓)
วิชาเลือกเสรี ๓ (๓-๐-๖) วิชาเฉพาะเลือกทางวิศวกรรมโยธา ๖ (๖-๐-๑๒)
วิชาเลือกหมวดศึกษาทั่วไป กลุ่มภาษา ๓ (๓-๐-๖) หรือ ๓ (๒-๒-๕) วศยธ xxx วิชาเลือกเสรี ๓ (๓-๐-๖)
รวม ๑๔ (๑๒-๓-๒๗) หรือ (๑๒-๕-๒๖) รวม ๑๕ (๑๒-๙-๒๗)

รายละเอียดรายวิชา

รหัสวิชา รายวิชา หน่วยกิต (บรรยาย-ปฏิบัติ) คำอธิบายรายวิชา Prerequisite :
หมวดวิชาศึกษาทั่วไป
กลุ่มสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
มมศท ๑๐๑ การศึกษาทั่วไปเพื่อการพัฒนามนุษย์ ๒ (๑–๒-๓) ความหมาย ความสำคัญ และความสัมพันธ์ของวิชาศึกษาทั่วไปกับวิชาชีพ/วิชาเฉพาะ ความเชื่อมโยงสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมกับคุณสมบัติของจิตใจ  ความสามารถในการคิดวิเคราะห์สังเคราะห์อย่างมีวิจารณญาณ คุณสมบัติของบัณฑิตที่พึงประสงค์    การวิเคราะห์เหตุปัจจัยและผลกระทบของเหตุการณ์/สถานการณ์/ปัญหา  และการสังเคราะห์แนวทางแก้ไขป้องกันปัญหา  หรือปรับปรุงพัฒนาเหตุการณ์/สถานการณ์  เพื่อคุณประโยชน์ต่อตนเอง ผู้อื่น และสังคม การประยุกต์ความรู้เพื่อเสนอแนวทางแก้ไขปัญหากรณีศึกษา
MUGE 101 General Education for Human Development 2(1-2-3) The meaning, significance, and relation of General Education to other vocational/ specific subjects; the relation between behavior and mentality; critical thinking; the qualifications of ideal graduates; analysis of causes and consequences of events/ situations/ problems; synthesis of solutions to, precautions against, or improvements in those events/ situations to benefit individuals and their community; and the application of  knowledge to solve the problems of case studies.
มมศท ๑๐๒ สังคมศึกษาเพื่อการพัฒนามนุษย์ ๓ (๒–๒-๕) หลักการและทฤษฎีพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ / เหตุการณ์ / ปัญหาที่สำคัญของสังคมไทยและสังคมโลก  อาทิ วิวัฒนาการของอารยธรรมและเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์  ระบบการเมืองการปกครอง  ระบบเศรษฐกิจ  ระบบสุขภาพ   การวิเคราะห์เหตุปัจจัยและผลกระทบของเหตุการณ์/สถานการณ์/ปัญหา และการสังเคราะห์แนวทางแก้ไข  ป้องกันปัญหา  หรือแนวทางปรับปรุงพัฒนาเหตุการณ์ / สถานการณ์ /  เพื่อคุณประโยชน์ต่อตนเอง  ผู้อื่น  และสังคม  การประยุกต์ความรู้เพื่อเสนอแนวทางแก้ไขปัญหากรณีศึกษา
MUGE 102 Social Studies for Human Development 3(2-2-5) Basic principles and theory in relation to events/ situations/ major problems of the Thai and global communities, for example, evolution of civilization; important events in historical, political and public administration systems; the economic and health systems, etc.; analysis of causes and consequences of events/ situations/ problems; synthesis of solutions to, precautions against, or improvements in those events/ situations to benefit individuals and their community; and the application of knowledge to solve the problems of case studies.
มมศท๑๐๓ ศิลปวิทยาการเพื่อการพัฒนามนุษย์ ๒ (๑–๒-๓) มนุษยภาพในอดีต  ปัจจุบันและอนาคต  เหตุการณ์ / สถานการณ์ / ปัญหาเกี่ยวกับวิวัฒนาการที่สำคัญทางด้านศิลปวิทยาการของประเทศไทยและของโลก แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง  การวิเคราะห์เหตุปัจจัยและผลกระทบของเหตุการณ์ / สถานการณ์ / ปัญหา และการสังเคราะห์แนวทางแก้ไข ป้องกันปัญหา หรือแนวทางปรับปรุงพัฒนาเหตุการณ์ / สถานการณ์ / เพื่อคุณประโยชน์ต่อตนเอง  ผู้อื่น  และสังคม   การประยุกต์ความรู้เพื่อเสนอแนวทางแก้ไขปัญหากรณีศึกษา
MUGE103 Arts and Science for Human Development 2(1-2-3) Humankind in the past, present and future; events/ situations/ problems in relation to the evolution of the arts and sciences in the Thai and global communities; concepts of the sufficiency economy; analysis of causes and consequences of events/ situations/ problems; synthesis of solutions to, precautions against, or improvements in those events/ situations to benefit individuals and their community; and the application of knowledge to solve the problems of case studies.
กลุ่มวิชาภาษา
ศศภท ๑๐๐ ศิลปะการใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร ๓ (๒–๒-๕) ศิลปะการใช้ภาษาไทย  ทักษะการใช้ภาษาไทยในด้านการพูด  การฟัง  การอ่าน  การเขียนและการคิด   เพื่อการสื่อสารได้อย่างถูกต้อง  เหมาะสม
ARTH 100 Art  of  Using Thai  Language in Communication 3(2-2-5) Art  of  using Thai  language  and of speaking, listening, reading, writing, and thinking  skills for accurate  and appropriate communication.
ศศภอ ๑๐๓ ภาษาอังกฤษระดับ ๑ ๓ (๒–๒-๕) ไวยากรณ์ และศัพท์ภาษาอังกฤษในบริบทที่เกี่ยวข้องกับการใช้ภาษาในชีวิตประจำวัน ในลักษณะของบูรณาการทักษะการใช้ภาษาอังกฤษทั้งสี่ทักษะ (การฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน)และการสื่อสารในชั้นเรียน
AREN 103 English Level 1 3(2-2-5) Grammar and vocabulary in the context of daily life language use, dealing with integration in four basic skills (listening, speaking, reading, and writing) and classroom communication.
ศศภอ ๑๐๔ ภาษาอังกฤษระดับ ๒ ๓ (๒–๒-๕) คำศัพท์ สำนวน  ไวยากรณ์ และการใช้ภาษาอังกฤษในบริบททางสังคมปัจจุบัน ทักษะการสนทนาในกลุ่มย่อย ทักษะการเขียนในระดับย่อหน้า และกลยุทธ์ในการอ่าน
AREN 104 English Level 2 3(2-2-5) Vocabulary, expressions, grammar, and contextualized social language; essential communicative skills in small groups; writing practice at a paragraph level; and reading strategies.
ศศภอ  ๑๐๕ ภาษาอังกฤษระดับ ๓ ๓ (๒–๒-๕) การอ่านข้อความและการเขียนทั้งระดับประโยค  และระดับย่อหน้าที่เกี่ยวกับสัดส่วน  ความถี่    และความน่าจะเป็น  รูปร่าง  การวัด  การเปรียบเทียบและการเปรียบต่าง  คำจำกัดความและการ จำแนก  การเขียนอย่างมีเอกภาพ  การใช้คำเชื่อม  การฟังเพื่อจับใจความสำคัญ    การฟังเพื่อรายละเอียดจำเฉพาะ  และการทำการอนุมาน
AREN 105 English Level  3 3(2-2-5) Reading passages and writing at sentence and paragraph levels about proportion, frequency and probability, shape, measurement, comparison and contrast, definition and classification; coherence, unity and transition; listening comprehension; listening for the main idea; listening for specific details; and making inferences.
ศศภอ ๑๐๖ ภาษาอังกฤษระดับ ๔ ๓ (๒–๒-๕) บูรณาการในทักษะทั้งสี่ (การฟัง  การพูด  การอ่านและการเขียน)  การฟังเพื่อจับใจความสำคัญและในรายละเอียด  การอภิปรายตามหัวข้อที่กำหนด  การอ่านบทอ่านในเรื่องที่หลากหลายและทำการสรุปและเขียนอย่างมีระบบในระดับประโยค และระดับย่อหน้าซึ่งเกี่ยวกับประเด็นที่สัมพันธ์กับบทอ่าน
AREN 106 English Level 4 3(2-2-5) Integration in four language skills: listening, speaking, reading and writing; listening comprehension for main ideas and detailed information; topic-oriented discussion; reading passages on various topics and making conclusions; and writing systematically about particular issues of those topics at the sentence and paragraphs levels.
ศศภอ ๑๐๗ ภาษาอังกฤษระดับ ๕ ๓ (๒–๒-๕) บูรณาการทักษะการใช้ภาษาอังกฤษเชิงวิชาการทั้งสี่ทักษะ ตั้งแต่ระดับย่อหน้าจนถึงระดับเรียงความ ที่ใช้หัวข้อเรื่องเกี่ยวกับประจำวันและเกี่ยวข้องกับสาขาวิชา โดยเน้นทั้งการอภิปรายและการนำเสนอผลงานแบบปากเปล่า
AREN 107 English Level  5 3(2-2-5) Integrated skills in English for academic purposes starting from paragraphs leading to the essay level, using everyday and field-related topics, with emphasis on both discussion and oral presentations.
ศศภอ ๑๐๘ ภาษาอังกฤษระดับ ๖ ๓ (๒–๒-๕) การอ่านและการเขียนรายงานทางวิชาการ รวมทั้งบทคัดย่องานวิจัยและบทความทางวารสาร กิจกรรมการพูดที่ใช้ในการสนทนาภาษาอังกฤษในสถานการณ์ต่างๆ การนำเสนอปากเปล่า และทักษะการโต้วาที
AREN 108 English Level  6 3(2-2-5) Reading and writing of academic reports, including research abstracts and journal articles; application of speaking activities to English conversation in various contexts; oral presentations; and debating skills.
กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์  สังคมศาสตร์
วศคร๓๐๐ ปรัชญา จรรยาบรรณ และกฎหมายสำหรับวิศวกร ๑ (๑-๐-๒) ปรัชญาวิชาชีพวิศวกรรม กฎหมายควบคุมการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมของประเทศไทย  ความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติวิศวกรในปัจจุบัน  โครงสร้างองค์กร อำนาจและหน้าที่ของสภาวิศวกรที่ทำหน้าที่ควบคุมวิชาชีพวิศวกรรม  สมาชิกสภาวิศวกร ระเบียบและข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมการประกอบวิชาชีพ ความรู้ทางด้านความปลอดภัย  สิ่งแวดล้อม  จรรยาบรรณ  กฎหมายและทักษะทางวิศวกรรมสำหรับการประกอบวิชาชีพ
EGID300 Philosophy, Ethics and Laws for Engineers 1(1-0-2) Philosophy of engineering professional ; law required for engineering professional in Thailand; knowledge about the current Engineering Act ; organization , potency and duties for the Council of Engineer that responsible for engineering professional; the member of the Council of Engineer; rules and regulations relevant to engineering professional; knowledge in safety , environment, ethics, laws and engineering skills needed for the engineering professional.
สมสค๑๓๐ หลักเศรษฐศาสตร์ ๒ (๒-๐-๔) ทฤษฎีและแนวความคิดขั้นพื้นฐานทางเศรษฐศาสตร์  อุปสงค์   อุปทาน  กลไกราคา  ทฤษฎีพฤติกรรมผู้บริโภค  ทฤษฎีการผลิต  ต้นทุน และประเภทของตลาด  รายได้ประชาชาติ   การค้าระหว่างประเทศ ระบบเศรษฐกิจไทย ฯลฯ  โดยเน้นการประยุกต์    ใช้ตามสาขาการศึกษาของนักศึกษา
SHSS130 Principles of Economics 2(2-0-4) Foundation   of   economic   theory   and  concept,   i.e,   demand   and  supply,  price  mechanism    theory    of    consumer    behavior,   Theory  of  production,  costs  and   types    of    Markets,    national    income,    international    trade,   structure  of  Thai   economic  system,  etc.   Application   will   emphasize   on   the  student  is  field  of  study.
สมสค๑๔๐ จิตวิทยาทั่วไป ๒ (๒-๐-๔) ศึกษาตัวแปร และกระบวนการทางจิตวิทยา ที่มีอิทธิพลต่อการแสดงพฤติกรรมของบุคคล เช่น ความรู้สึก  การรับรู้  การเรียนรู้และการขัดเกลาสังคม อารมณ์ แรงจูงใจ  ทัศนคติบุคลิกภาพ  การปรับตัว และสุขภาพจิต
SHSS140 General Psychology 2(2-0-4) This course deals with psychological variables and mental processes as the determinants of individual behavior. The psychological variables include sensation, perception, learning  and socialization, emotion, motivation, attitude, personality, adjustment and mental health
สมสค๑๔๒ จิตวิทยาสังคม ๒ (๒-๐-๔) ทฤษฎีและแนวความคิดทางจิตวิทยาสังคม การรับรู้ทางสังคม การเรียนรู้ทางสังคม ทัศนคติ ค่านิยม ความเชื่อ บุคลิกภาพ บริบททางสังคมวัฒนธรรม พฤติกรรมกลุ่ม การสื่อความเข้าใจกันในสังคมและความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล
SHSS142 Social Psychology 2(2-0-4) Theory and concept in social psychology, social perception, social learning, attitude, value, belief, personality, social-cultural contexts, group behavior, communication and interpersonal  relationships.
สมสค๑๔๔ หลักการสื่อสาร ๒ (๒-๐-๔) มุ่งให้นักศึกษาได้ตระหนักถึงความจำเป็นและความสำคัญของการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพโดยการนำเสนอแบบจำลองและทฤษฎีต่าง ๆ   ทางการสื่อสารเพื่อให้เกิด ความเข้าใจรวบยอดเกี่ยวกับกระบวนการสื่อสารและองค์ประกอบของการสื่อสาร และเพื่อลดความล้มเหลวในการสื่อสาร  ทักษะที่จำเป็นในการสื่อสาร และจิตวิทยาการสื่อสาร จึงเป็นสาระที่เพิ่มขึ้นในวิชานี้
SHSS144 Principles of Communication 2(2-0-4) This  course  is  designed  to enable students to recognize  the  necessity  and  importance  of effective communication. Various models and theories will be provided for a  comprehensive understanding of communication  process  and  its  elements. The course is also concerned with essential skills required in communication. As well as  communication  psychology  concepts,  in  order  to  minimize  some  communication  breakdown.
สมสค๑๖๐ หลักการบริหาร ๒ (๒-๐-๔) ความรู้พื้นฐานทางด้านการบริหาร  แนวคิด  ทฤษฎี  หลักการและกระบวนการบริหารวัฒนธรรมองค์การและการบริหารสู่ความเป็นเลิศ  จริยธรรมและความรับผิดชอบทางสังคม   การจัดรูปองค์การ การบริหารยุทธศาสตร์  การทำงานเป็นทีมและการสร้างทีมงานที่มีประสิทธิภาพ  การเปรียบเทียบการบริหารราชการกับการบริหารธุรกิจ  เทคนิคการบริหาร   และการพัฒนาคุณภาพ
SHSS160 Principles of Administration 2(2-0-4) Foundation  of  administration,  concept,  theory  and  function  of  administration,  organizational  culture  and  management  excellence,  management  ethics  and  social  responsibility,  organization  design,  strategic  management,  teamwork  and  effective  team  building,  comparative  analysis  of  public  administration  and  business  administration,  management  techniques  and  quality  management.
สมสค ๑๖๑ นโยบายและการวางแผน ๒ (๒-๐-๔) เนื้อหา ความรู้พื้นฐานด้านนโยบายและการวางแผน ลักษณะทั่วไปของนโยบาย การกำหนดนโยบาย  การวิเคราะห์นโยบาย  หลักการวางแผนและกระบวนการวางแผน  การวางแผน/โครงการ การบริหารโครงการ การประเมินผลโครงการ  การวิเคราะห์ความเหมาะสมของแผนงาน/โครงการ  การวางแผนนโยบายกับการวางแผนพัฒนาประเทศการวางแผนกลยุทธ์การใช้ Logical-Framework  และการใช้เทคนิคเพื่อการวางแผน
SHSS 161 Policy and Planning 2(2-0-4) Foundation  of  Policy  and  Planning  General  Characteristics  of  Public  Policy,  Formulation,  Policy  analysis,  Principle  and  process  of  planning,  Program/Project  planning,  Policy  Formulation  in  Relation  to  national  development  plan,  Strategic  Planning  and  La  Frame  work.
สมมน๑๐๓ ศิลปวิจักษ์ ๒ (๒-๐-๔) วิวัฒนาการของวิจิตรศิลป์จากสมัยก่อนประวัติศาสตร์ สมัยอารยธรรมอียิปต์ กรีก โรมัน ยุโรปสมัยกลาง สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการสมัยใหม่จนถึงศิลปะยุคปัจจุบัน รวมทั้งศิลปะของไทยในแง่คุณค่าและความประณีตในจิตรกรรมฝาผนัง พระพุทธรูปสมัยต่าง ๆ และรูปแบบสถาปัตยกรรมไทยยุคต่าง ๆ จากวัดในประเทศไทย
SHHU103 Art Appreciation 2(2-0-4) Evolution of fine art from per-historical period to civilizations of ancient Egypt, Greek, and Roman antiquity, Middle Ages, Renaissance, Baroque, Rococo, Neo-classicisn, up to the present time including traditional Thai art in Thai mural painting, styles of Buddha images and Thai architectural styles in Buddhist temples in Thailand
สมมน๑๐๕ ปรัชญาสังคม ๒ (๒-๐-๔) ความหมายและขอบเขตของปรัชญาสังคม  ความแตกต่างระหว่างปรัชญาสังคมกับทฤษฎีการเมืองวิเคราะห์เปรียบเทียบทฤษฎีปรัชญาสังคมที่มีอิทธิพลต่อความคิดปัจจัย เช่น ปรัชญา สังคมของเพลโต ปรัชญาสังคมแบบเสรีนิยม  ปรัชญาสังคมของพวกซ้ายใหม่ และปรัชญาประชาธิไตย วิเคราะห์เปรียบเทียบความคิดพื้นฐานในทฤษฎีต่าง ๆ เช่น เสรีภาพ สิทธิโดยธรรมชาติ  ความเป็นธรรมในสังคม  ผลประโยชน์ของประชาชน  การมีส่วนรวมในการปกครอง  ตลอดจนปัญหาในการนำทฤษฎีปรัชชาสังคมแต่ละประเภทมาใช้
SHHU105 Social Philosophy 2(2-0-4) Meaning, and scope of social philosophy, differences between social philosophy and political theory. Comparative analysis of the social philosophical theories with influence on contemporary thoughts such as Plato’s, liberalism, the New Left, and democracy. Comparative analysis of basic concepts in different theories  such as liberty, natural rights, social justice, public interest, public participation, and problems in the application of those theories.
สมมน๑๐๘ มนุษยสัมพันธ์และการพัฒนาตน ๒ (๒-๐-๔) หลักและวิธีการมนุษยสัมพันธ์ และการพัฒนาตนเองตามคำสอนของพุทธศาสนา    เช่น วิธีสร้างมนุษยสัมพันธ์ที่ดีในหมู่เพื่อนร่วมงานและสมาชิกสังคม  ศิลปะการทำงานร่วมกัน   การบริหารงานตามหลักคำสอนพุทธศาสนา    การปลูกสร้างสัมมาทิฐิและอุดมคติในการทำงาน  วิธีปฏิบัติสมาธิตามแนวพุทธศาสนา  ศิลปะการพูดในที่สาธารณะ
SHHU108 Human Relation and Self-Development 2(2-0-4) Principles  and  methods  of  cultivation  human  relations  and  self-development  according  to  Buddhist  perspective.  For  example,  methods  to  develop  a  good  relationship  among  colleagues  and  members  in  society,  the  art  of  teamwork,  the  administration  according  to  the  Buddhist  teachings,  the  cultivation  of  right  view  and  working  ethos,  Buddhist  meditation,  and  art  of  public  speaking.
สมมน๑๑๐ มนุษย์กับวัฒนธรรม ๒ (๒-๐-๔) ความหมายละความสำคัญของวัฒนธรรม วิถีชีวิต โลกทัศน์ ขนบธรรมเนียมประเพณี ความเชื่อ ระบบค่านิยม  เทคโนโลยีพื้นบ้านของคนไทยกลุ่มต่าง ๆ ในชนบท  และชนกลุ่มน้อยที่อยู่ในประเทศไทย ความเข้าใจในคุณค่าของวัฒนธรรม ระบบความเชื่อ ประเพณีและรูปแบบการดำเนินชีวิตของคนในชนบท สร้างความเข้าใจและความสามารถเข้าถึงจิตใจของชาวบ้าน ซึ่งเป็นประโยชน์สำหรับการทำงาน ทั้งโดยส่วนตัวและต่อการพัฒนาประเทศชาติโดยรวม
SHHU110 Human and Culture 2(2-0-4) Meanings and significance of cultures, ways of life, worldviews, traditions, customs, beliefs, value systems, fork technology of different groups of Thai people in the rural area and minority groups in Thailand. Understanding of culture’s value, belief systems, customs, and patterns of living of rural people. Creating sympathy and understanding of rural people’s needs will benefit own work and national development as a whole.
สมมน๑๑๒ พลวัตของกลุ่มและการทำงานเป็นทีม ๒ (๒-๐-๔) ทฤษฎีต่าง ๆ เกี่ยวกับการทำงานเป็นกลุ่ม  พฤติกรรมการรวมกลุ่ม กระบวนการทำงานเป็นกลุ่ม บทบาท และลักษณะเฉพาะของภาวะผู้นำกลุ่มที่มีประสิทธิภาพ การสื่อสารภายในกลุ่ม การสร้างมนุษยสัมพันธ์ และการพัฒนาบุคลิกภาพ การตัดสินใจ และการแก้ปัญหาความขัดแย้งของกลุ่ม
SHHU112 Group Dynamics and Teamwork 2(2-0-4) Theories of teamwork, group – gathering behaviors, process of working in team, roles and characteristics of leadership, effective teamwork, group communication, human relations, personality development, decision- making and group- conflict solution
สมมน๑๓๓ วาทศาสตร์สำหรับภาวะผู้นำ ๒(๒-๐-๔) ทฤษฎีและการปฏิบัติแนวใหม่ทางวาทศาสตร์สำหรับผู้นำ ทักษะการฝึกพูดต่อสาธารณและพัฒนาบุคลิกภาพสู่ภาวะผู้นำ สำหรับการเตรียมพร้อมในด้านการนำเสนอความรู้ ความคิดเห็น และความคิด ด้วยทักษะการคิดหลากมิติที่กระตุ้นการพัฒนา และการพัฒนาภูมิปัญญาของแต่ละบุคคลในเรื่องการสื่อความหมายไปยังสาธารณชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
SHHU133 Rhetoric for Leadership 2(2-0-4) Theories and practices on the new trend of rhetoric for leadership  including training skill in public speaking and personal  development for leadership in preparing for academic presentations, ideas, and thoughts. Multi-dimensioned  thinking  practices motivating individuals’ intellectual development of effective communication to the public.
สมศษ๑๐๑ กิจกรรมพลศึกษา-ว่ายน้ำ ๑ (๐-๒-๑) ประวัติความเป็นมาและความรู้ทั่วไปของการว่ายน้ำ ประโยชน์และคุณค่าของการว่ายน้ำ  การสร้างเสริมสมรรถภาพสำหรับการว่ายน้ำ  ทักษะการว่ายน้ำขั้นพื้นฐาน กติกาการว่ายน้ำ
SHED101 Physical Education Activity-Swimming 1(0-2-1) History and introduction of swimming, significance and values of swimming, potential promotion for swimming, basic skills and rules of swimming.
สมศษ๑๑๔ กิจกรรมพลศึกษา-ลีลาศ ๑ (๐-๒-๑) ประวัติความเป็นมาและความรู้ทั่วไปของการลีลาศ ประโยชน์และคุณค่าของการลีลาศ  การสร้างเสริมสมรรถภาพสำหรับการลีลาศ  ทักษะการลีลาศขั้นพื้นฐาน  มารยาทใน         การลีลาศ
SHED114 Physical Education Activity-Social Dance 1(0-2-1) History and introduction of social dance, significance and values of social dance, potential promotion for social dancing, players, basic skills and rules of social dance.
สมศษ๑๑๗ กิจกรรมพลศึกษา-แบดมินตัน ๑ (๐-๒-๑) ประวัติความเป็นมาและความรู้ทั่วไปของกีฬาแบดมินตัน ประโยชน์และคุณค่าของกีฬาแบดมินตัน  การสร้างเสริมสมรรถภาพสำหรับการเล่นแบดมินตัน  ทักษะการเล่นแบดมินตันขั้นพื้นฐาน  กติกาการเล่นแบดมินตัน
SHED117 Physical Education Activity-Badminton 1(0-2-1) History and introduction of badminton, significance and values of badminton, potential promotion for badminton playing, basic skills and rules of badminton playing.
สมศษ๑๑๘ กิจกรรมพลศึกษา-เทนนิส ๑ (๐-๒-๑) ประวัติความเป็นมาและความรู้ทั่วไปของกีฬาเทนนิส ประโยชน์และคุณค่าของกีฬาเทนนิส  การสร้างเสริมสมรรถภาพสำหรับการเล่นเทนนิส  ทักษะการเล่นเทนนิสขั้นพื้นฐาน  กติกาการเล่นเทนนิส
SHED118 Physical Education Activity-Tennis 1(0-2-1) History and introduction of tennis, significance and values of tennis, potential promotion of tennis players, basic skills and rules of tennis playing.
สมศษ๑๒๕ กิจกรรมพลศึกษา-วอลเล่ย์บอล ๑ (๐-๒-๑) คุณค่าและประโยชน์ของการออกกำลังกาย หลักการและวิธีการในการออกกำลังกาย ประวัติความเป็นมาและคุณค่าของกีฬาวอลเล่ย์บอล  ทักษะการเล่นขั้นพื้นฐาน การเล่นเป็นทีม  กติกามารยาทในการเล่นและดูกีฬา
SHED125 Physical Education Activity-Volleyball 1(0-2-1) Values and benefits of exercise and sports; etiquettes, spirit of athletes and sport spectators in volleyball; history, rules and regulation of volleyball; basic movements, skills, techniques, playing strategies and competitions in volleyball.
สมศษ๑๒๖ กิจกรรมพลศึกษา-เปตอง ๑ (๐-๒-๑) คุณค่าและประโยชน์ของการออกกำลังกาย หลักการและวิธีการออกกำลังกาย ประวัติความเป็นมาและประโยชน์ของกีฬาเปตอง ทักษะพื้นฐานกีฬาเปตอง วิธีการเล่น กฎ กติกา มารยาทในการเล่น การจัดการแข่งขัน การเลือกอุปกรณ์ การรักษาอุปกรณ์ และการจัดทำสนามเปตอง
SHED126 Physical Education Activity-Petaunque 1(0-2-1) Values and benefits of exercise and sports; etiquettes, spirit of players and spectators in Petaunque; history  basic movements, skills, techniques, plying strategies and competition, rules and regulation in Petaunque.
วศสว๑๐๑ ดนตรีวิจักษ์ ๒ (๑-๒-๓) ความหมายของดนตรี ดนตรีกับสุนทรีย์ศาสตร์ การรับรู้และเรียนรู้ดนตรีศิลป์ที่ได้รับการยกย่องทั้งดนตรีสากลและดนตรีไทย  ชีวประวัติของนักดนตรีและนักประพันธ์คนสำคัญ ๆ ที่มีชื่อเสียง การสร้างประสบการณ์ทางการสุนทรียะในการฟังดนตรี เนื้อหาและรูปแบบของดนตรีสไตล์ต่าง ๆ
MSID101 Music Appreciation 2(1-2-1) The meaning of music, relationshop of music and aesthetics. An intensive seminar which deals with all aspects of Western Classical Music and Thai Traditional in included.
วศสว๑๐๒ ขับร้องประสานเสียง ๑ (๐-๒-๑) เกี่ยวกับการขับร้องประสานเสียง ฝึก Musicianship และการถูก Conduct ฝึกการแสดงออกของท่าทางต่าง ๆ เมื่อกำลังขับร้อง ปฏิบัติขับร้องประสานเสียงกับบทเพลงอย่างง่ายจนถึงระดับกลางที่มีความยาวไม่มากเกินไป  ฝึกหัดขับร้องเพลงทั้งสไตล์คลาสสิก แจ๊ส และป๊อปปูล่า นักศึกษาที่เลือกวิชาขับร้องประสานเสียง  จะพบอาจารย์ผู้สอนก่อนที่จะลงทะเบียนเพื่อที่จะทดสอบความสามารถในการร้องเพลงก่อน
MSID 102 Chorus 1(0-2-1) A performance class of choral music dealing with  basic  principles and techniques of group singing, musical style  including Thai popular songs, and rehearsal skill.
วศอก๔๓๐ การจัดการอุตสาหกรรมสำหรับวิศวกร ๓ (๓-๐-๖) หลักการและการปฏิบัติสำหรับจัดโครงสร้างองค์กร หลักการบริหารองค์กรและพฤติกรรม    องค์กร  การกำหนดนโยบายการบริหารบุคคล   ยุทธศาสตร์การบริหาร  การบริหารโครงการ การเงินและการตลาดเบื้องต้น  การบริหารการดำเนินงาน และการบริหารคุณภาพโดยรวม
EGIE430 Industrial Management for Engineers 3(3-0-6) Approaches and practices for organization structure, organization management, organization behaviour, policy and human resource management, strategic management, project management, introduction to finance and marketing, operations management  and  total quality management.
วศอก๔๓๖ กฎหมายอุตสาหกรรมและกฎหมายพาณิชย์ ๓ (๓-๐-๖) ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมาย และกระบวนการยุติธรรม  กฎหมายคุ้มแรงงาน แรงงานสัมพันธ์  กฎหมายเงินทดแทนและประกันสังคม  ศาลแรงงาน  กฎหมายโรงงานและสิ่งแวดล้อม  กฎหมายธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการลงทุน  ภาษี  การศุลกากร  ทรัพย์สินทางปัญญา  และมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม  การดูงาน
EGIE436 Industrial and Commercial Laws 3(3-0-6) Introduction to laws and justice. Labor Protection and labor relations acts. Compensation and social security acts. Labor court. Industrial and environment laws. Business laws related to investment, taxes, customs, intellectual properties.  Industrial standard.  Field trips.
กลุ่มวิชาภาษา
ศศภอ ๒๐๗ หลักการแปล ๓ (๓-๐-๖) ทฤษฎีและหลักกระบวนการแปล วิธีการและศิลปะในการแปล การเลือกใช้ภาษาที่เหมาะสมกับงานแปลประเภทต่างๆ ปัญหาต่างๆในการแปล และแนวทางการแก้ไข บทบาทของนักแปล
AREN 207 Principles of Translation 3(3-0-6) Translation theories and procedure; methods and art of translation; language selection appropriate for each particular type of translation work; problems in translation and solutions to the problems; roles of translators.
ศศภอ ๓๐๔ การอ่านเชิงวิเคราะห์ ๓ (๒-๒-๕) ฝึกฝนทักษะการอ่านแบบต่างๆ การสรุปข้อมูลจากการอ่าน การนำเสนอความคิดเห็นงานที่อ่าน ทั้งในการเขียนเป็นบทความหรือการอภิปรายร่วมกันในกลุ่ม
AREN 304 Analytical Reading 3(2-2-5) Various reading skills; drawing conclusions from the material read; idea presentation about the reading in the forms of written articles as well as group discussion.
ศศภอ๓๐๖ การสนทนาระดับสูง ๑ ๓ (๒-๒-๕) การฟังและจับใจความของเนื้อเรื่องที่ฟัง และนำเสนอโดยการพูด ฝึกพูด โดยเน้นการออกเสียงให้ถูกต้องตามระบบเสียงภาษาอังกฤษ การออกเสียงพยัญชนะ และสระ การลงเสียงหนัก และการใช้ทำนองเสียงที่ถูกต้องในการพูดหรือสนทนาภาษาอังกฤษ
AREN 306 Advanced Level Conversation I 3(2-2-5) Listening for main ideas and oral presentation of those ideas; pronunciation of English consonants and vowels; speaking practice with an emphasis on correct pronunciation based on English phonology; stress and intonation in English conversation.
ศศภอ ๓๕๐ การเขียนเชิงธุรกิจ ๓ (๓-๐-๖) การเขียนเชิงธุรกิจ การเขียนจดหมาย รายงาน การจดบันทึกข้อความ โทรสารการจัดทำรายงานทางธุรกิจ ศึกษาคำศัพท์และสำนวนที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ
AREN 350 Business Writing 3(3-0-6) Business writing, including business letters, minutes, memorandum, fax, business report; study of business-related lexicons and expressions.
ศศภอ ๓๕๑ การเขียนสรุปและการจดบันทึกย่อ ๓ (๓-๐-๖) หลักการเขียนสรุป และการจดบันทึกย่อ การจับประเด็นสำคัญของเรื่องที่อ่านหรือที่ได้ยิน ฝึกฝนการใช้หลักการดังกล่าว ในการเขียนสรุป และจดบันทึกย่อ
AREN 351 Summary Writing and Note-Taking 3(3-0-6) Principles of summary writing and note-taking; understanding of main ideas from the material read or heard; practice of summary writing and note-taking based on the principles learned.
ศศภอ ๔๐๑ การสนทนาระดับสูง ๒ ๓ (๒-๒-๕) การฟังและการพูดในสถานการณ์ต่างๆ การโต้ตอบด้วยภาษาอังกฤษ การสร้างและพัฒนาคลังคำศัพท์ การพูดเน้นความถูกต้องทางไวยากรณ์ และความชัดเจนในการเสนอความคิดเห็น
AREN 401 Advanced Level Conversation II 3(2-2-5) Listening and speaking in various situational contexts; interaction in English; word building and development of lexicon; speaking with acceptable grammar; clear presentation of ideas.
ศศภอ๔๐๒ การพูดในที่สาธารณะ ๓ (๒-๒-๕) การฟังและการพูดเพื่อสื่อความคิดอย่างประสบผลสำเร็จ การเตรียม และการแสดงสุนทรพจน์ การกล่าวปราศรัย การพูดเชิงชักชวน และการนำเสนอผลงานในที่สาธารณะ  การสัมภาษณ์ การโต้วาที การพูดต่อชุมชนเพื่อให้มีผลสำเร็จโดยให้รู้จักใช้ภาษา น้ำเสียง ท่าทางที่เหมาะสมกับแต่ละสถานการณ์
AREN 402 Public Speaking 3(2-2-5) Listening and speaking for successful conveying of thoughts; speech preparation and giving; persuasive speaking; public presentation; public interview; debate; successful public speaking with an emphasis on language, tone of voice and gesture suitable for a particular situation.
ศศภอ๔๐๓ การอ่านเชิงวิชาการ ๓ (๒-๒-๕) การอ่านงานวิชาการในรูปแบบต่างๆ การสรุปข้อมูลที่ได้จากการอ่าน การนำเสนอความเห็นสำหรับงานที่อ่านทั้งการเขียนและการพูด
AREN 403 Academic Reading 3(2-2-5) Reading numerous forms of academic reading materials; drawing conclusions from the information obtained from the reading; oral as well as written presentation of ideas regarding the material read.
ศศภอ ๔๐๔ การเขียนเชิงวิชาการ ๓ (๓-๐-๖) รูปแบบและลีลาในการเสนอข้อมูลของงานเขียนเชิงวิชาการ การเขียนเชิงวิชาการโดยวิธีค้นคว้า รวบรวม เรียบเรียง และนำเสนอการเขียนงานทางวิชาการส่วนต่างๆ ในรูปแบบของรายงานทางวิชาการ ซึ่งประกอบด้วย บทคัดย่อ บทนำ เนื้อเรื่อง และบทสรุป
AREN 404 Academic Writing 3(3-0-6) Form and style in the presentation of academic materials; writing academic materials through researching, data collection, composition and presentation; writing different parts of academic materials including abstract, introduction, body and conclusion.
ศศภท ๑๓๒ ทักษะการใช้ภาษาไทย ๓ (๒-๒-๕) ทฤษฎีและหลักภาษาไทย  การใช้ภาษาไทยให้เหมาะสมกับกาละเทศะและบุคคล
ARTH 132 Thai Language Skill 3(2-2-5) Theories and principles of Thai language; use of Thai language appropriate to time, situation and person.
วศคร ๒๙๐ ภาษาอังกฤษสำหรับวิศวกร ๓ (๓-๐-๖) ฝึกการอ่านจับใจความจากเนื้อหาทางวิศวกรรมศาสตร์  การวิเคราะห์ และสรุปใจความจากการอ่านเพื่อเพิ่มความรู้คำศัพท์และความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษ  ทักษะการเขียนและการฟังเบื้องต้น  การเขียนรายงานอย่างง่าย ๆ และการนำเสนอปากเปล่า การฟังเพื่อจับใจความในหัวข้อเทคโนโลยีสมัยใหม่
EGID 290 English for Engineers 3(3-0-6) Practice  in  reading  and  understanding  of  engineering  texts; analysis  and  summarization  of readings  to  improve  vocabulary and the  ability  to  work  with  English; basic  writing  and  listening  skills; simple  report-writing  and  oral  presentation; aural  input  involving  new  technologies  using  a  variety  of  means.
วศคร   ๔๙๐ การสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษสำหรับวิศวกร ๓ (๓-๐-๖) การสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษในเชิงอ่าน เขียน ฟัง และพูด โดยเน้นทางด้านวิศวกรรมศาสตร์  เน้นทักษะการนำเสนอ การเขียนรายงาน การวิเคราะห์ การเขียนในวิชาชีพและบทความในวารสารวิชาการ  การเตรียมตัวสำหรับตลาดงาน  การเขียนจดหมาย  การเขียนประวัติส่วนตัว  ทักษะการสัมภาษณ์
EGID  490 English Communication for Engineers 3(3-0-6) English  communication: reading, writing, listening  and  speaking, with an  emphasis  on Engineering; emphasis  on  presentation  skills; writing  reports; analysis  of  professional  writing  and  journal articles; preparation  for  the  job  market, with letter  writing, preparation  of  resumes (C.V.); interview  skills.
ศศภญ ๑๖๑ ภาษาญี่ปุ่นเบื้องต้น ๑ ๓ (๒-๒-๕) ฝึกอ่านและเขียนตัวอักษรฮิรางานะและคาตาคานะ   หลักไวยากรณ์  ภาษาญี่ปุ่นเบื้องต้น   โดยเน้นทักษะการฟัง พูด อ่าน และเขียน ให้รู้จักใช้คำศัพท์และรูปประโยคที่ใช้ในชีวิตประจำวัน
ARJP 161 Elementary Japanese I 3(2-2-5) Practice in reading and writing Hiragana and Katakana characters ;  elementary  Japanese grammatical structures in listening, speaking, reading and writing; Japanese vocabulary and syntactic structures used in daily life.
ศศภจ ๑๗๑ ภาษาจีน ๑ ๓ (๒-๒-๕) ฝึกการออกเสียงภาษาจีนกลางทางด้านสระ พยัญชนะ วรรณยุกต์ และการเขียนภาษาจีนกลางโดยใช้ตัวอักษรโรมัน  (Pinyin Romanization) ทักษะพื้นฐานในการฟัง พูด อ่าน และเขียนภาษาจีนในวงคำศัพท์ภาษาจีน ๓๐๐ คำ
ARCH 171 Chinese 1 3(2-2-5) Pronunciation practice in vowels, consonants, tones, and Mandarin Chinese phonetic alphabet (Pinyin); and basic skills in listening, speaking, reading, and writing within 300 Chinese characters.
กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์   คณิตศาสตร์
วศคพ๑๑๑ การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ๓ (๒-๓-๕) แนะนำแนวคิดคอมพิวเตอร์  ส่วนประกอบต่าง ๆ ของคอมพิวเตอร์  ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์   การโต้ตอบระหว่างฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ แนวคิดการประมวลผล  ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์   (อีดีพี)   แนะนำการออกแบบและการสร้างโปรแกรมโดยใช้ภาษาระดับสูง:  ชนิดข้อมูลและนิพจน์  ข้อความสั่งเชิง วนซ้ำและเชิงควบคุมแบบมีเงื่อนไข   ฟังก์ชัน  ตรรกะแบบบูล  โครงสร้างแถวลำดับและโครงสร้างระเบียน ตัวชี้แนะนำการเรียกซ้ำ
EGCO 111 Computer Programming 3(2-2-5) Introduction  to  computer  concepts,  computer  components,  hardware  and  software, hardware   and  software  interaction,  Electronic  Data  Processing  (EDP) concepts. Introduction   to program   design and implementation using a high-level language:  types and expression, iterative and conditional control statements, functions, Boolean   logic, array and record structures,  pointers,  introduction to recursion.
วศอก๓๓๕ การวิเคราะห์ต้นทุนและงบประมาณ ๓ (๓-๐-๖) หลักการทางบัญชีพื้นฐาน  การวิเคราะห์ต้นทุน และค่าใช้จ่ายเพื่อการวางแผน และการควบคุมการผลิต  การจัดสรรต้นทุน  การทำงบประมาณเพื่อใช้ในการวางแผนและควบคุมการดำเนินงาน  รวมถึงการตัดสินใจตามฐานต้นทุน
EGIE335 Cost Analysis and Budgeting 3(3-0-6) Principles of basic accounting, cost and expenditure analysis for production planning and controlling, capital and cost allocation, budgeting for operation planning and controlling, and including cost-based decision making.
หมวดวิชาเฉพาะ
กลุ่มวิชาแกน
วทคม๑๑๓ เคมีทั่วไป ๓ (๓-๐-๖) ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับทฤษฎีอะตอม  การจัดอิเล็คตรอนของอะตอม  ตารางธาตุ ปัจจุบันชนิดของพันธะเคมี ทฤษฎีการเกิดสารประกอบและคุณสมบัติของสารประกอบต่าง ๆ คุณสมบัติของโลหะและสารกึ่งตัวนำ สสารในสถานะแก๊ส  ของเหลวและของแข็ง  การเปลี่ยนสถานะของสสาร  สมดุลกายภาพ  แผนภาพวัฏภาค  เทอร์โมไดนามิกส์เคมี  อัตราเร็วของปฏิกิริยาและสมดุลเคมี
SCCH 113 General Chemistry 3(3-0-6) Principles of atomic  structure,   electron  configuration,   periodic  table,   chemical bonding, compound  formation  and  their properties, properties of metals and  semimetals, states of   matter   and   phase   change,  chemical thermodynamics, chemical kinetics and chemical equilibrium.
วทคม๑๑๘ ปฎิบัติการเคมี ๑ (๐-๓-๑) เทคนิคทั่วไปทางเคมี การทดลองเกี่ยวกับการวิเคราะห์คุณภาพและวิเคราะห์ปริมาณและการทดลองที่สัมพันธ์กับบางหัวข้อในภาคบรรยาย
SCCH118 Chemistry Laboratories General techniques in chemistry, simple qualitative and quantitative analysis, some experiments that are related to lectures.
วทคณ๑๑๕ แคลคูลัส ๓ (๓-๐-๖) ลิมิต ความต่อเนื่อง อนุพันธ์ของฟังก์ชันพีชคณิต ฟังก์ชันลอการิทึม ฟังก์ชันเอ็กซ์โปเนเชียล ฟังก์ชันตรีโกณมิติ ฟังก์ชันตรีโกนมิติผกพันและฟังก์ชันไฮเพอร์โบลิค การประยุกต์ของอนุพันธ์ รูปแบบอินดีเทอร์มิเนต เทคนิคการอินทิเกรต อินทิกรัลไม่ตรงแบบ การประยุกต์ของการอินทิเกรต การหาค่าอนุพันธ์และอินทิกรัลเชิงตัวเลข แคลคูลัสของฟังก์ชันค่าจริงของ 2 ตัวแปร พีชคณิตของเวกเตอร์ในปริภูมิ 3 มิติ แคลคูลัสของฟังก์ชันค่าเวกเตอร์และการประยุกต์ เส้นตรง ระนาบและผิวในปริภูมิ    3 มิติ
SCMA115 Calculus 3(3-0-6) Limit, continuity, derivatives of algebraic functions, logarithmic functions, exponential functions, trigonometric functions, inverse trigonometric functions and hyperbolic functions, applications of derivatives, indeterminate forms, techniques of integration, introduction to line integrals; improper integrals, application of integration,numerical differentiation and integration,calculus of real-valued functions of several variables, algebra of vectors in three-dimensional spaces, calculus of vector-valued functions and applications, lines, planes and surfaces in three-dimensional spaces.
วทคณ๑๖๕ สมการอนุพันธ์เชิงสามัญ ๓ (๓-๐-๖) ตัวแปรเชิงซ้อน การแนะนำสมการเชิงอนุพันธ์สามัญ สมการเชิงอนุพันธ์เชิงเส้นอันดับหนึ่ง สมการเชิงอนุพันธ์ไม่เชิงเส้นอันดับหนึ่ง การประยุกต์ของสมการอันดับหนึ่ง สมการเชิงอนุพันธ์เชิงเส้นอันดับสอง การประยุกต์ของสมการอันดับสอง สมการเชิงอนุพันธ์เชิงเส้นอันดับสูง ระบบสมการเชิงเส้น เมทริกซ์ดีเทอร์มิแนนต์ ปริภูมิเวกเตอร์ การแปลงเชิงเส้น การแก้ปัญหาพีชคณิตเชิงเส้นโดยวิธีเชิงตัวเลข การประยุกต์ทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ วทคณ ๑๑๕
SCMA165 Ordinary Differential Equations 3(3-0-6) Complex variables, introduction to ordinary differential equations, linear first order differential equations, nonlinear differential equations, applications of first order equations, linear second order differential equations, applications of second order equations, higher order differential equations, systems of linear equations, matrices, determinants, vector spaces, linear transformations, numerical methods for solving linear algebraic problems, application in science and engineering. SCMA 115
วทฟส๑๑๐ ปฏิบัติการฟิสิกส์ ๑ ๑ (๐-๓-๑) การทดลองระดับเบื้องต้น ออกแบบมาเพื่อควบคู่กับบางหัวข้อในฟิสิกส์ทั่วไป ๑ และ ๒    (วทฟส ๑๕๑, ๑๕๒)   นักศึกษาจำเป็นต้อง ผ่านการสอบภาคปฏิบัติ
SCPY110 Physics Laboratory I 1(0-3-1) Elementary level of experiments are designed to accompany some topics in General Physics I, II (SCPY 151,152) Laboratory examination is required.
วทฟส๑๕๑ ฟิสิกส์ทั่วไป ๑ ๓ (๓-๐-๖) กลศาสตร์ คลื่นและทัศนศาสตร์ กลศาสตร์ของไหล เทอร์โมไดนามิกส์  ไฟฟ้าและแม่เหล็ก
SCPY151 General Physics I 3(3-0-6) Mechanics;  waves and optics; fluid mechanics;  thermodynamics; electricity and magnetism.
วทฟส ๑๕๒ ฟิสิกส์ทั่วไป ๒ ๓ (๓-๐-๖) อีเล็กทรอนิกส์  ทฤษฎีสัมพันธภาพ   กลศาสตร์ควอนตัม  ฟิสิกส์ของอะตอมและฟิสิกส์ของนิวเคลียร์
SCPY152 General Physics II 3(3-0-6) Electronics ; relativity;  quantum mechanics;  atomic physic;  nuclear  physics.
วศคร   ๒๐๐ คณิตศาสตร์วิศวกรรม ๓ (๓-๐-๖) การประยุกต์ทางด้านวิศวกรรมของสมการเชิงอนุพันธ์สามัญ ระบบสมการเชิงอนุพันธ์ คณิตศาสตร์อนุมาน ลำดับและอนุกรมของจำนวน การกระจายอนุกรมเทย์เลอร์ของฟังก์ชันมูลฐาน     ผลเฉลยแบบอนุกรมของสมการเชิงอนุพันธ์  การแปลง       ลาปลาซ เวกเตอร์อินทิกรัลแคลคูลัส การอินทิเกรตเส้น การอินทิเกรตปริมาตร พิกัดเชิงขั้ว แคลคูลัสของฟังก์ชันค่าจริงหลายตัวแปร ทฤษฎีของกรีน การอินทิเกรตพื้นที่ผิว ทฤษฎีการลู่ออกของเกาส์  ทฤษฎีของสโตกส์ การประยุกต์ใช้ทางด้านวิศวกรรม วทคณ ๑๖๕
EGID 200 Engineering Mathematics 3(3-0-6) Engineering applications of ordinary differential equations, System of linear differential equations, Mathematical induction; Sequences and series of numbers, Taylor series expansions of elementary functions, Power series solutions of differential equations, Laplace transformation, Vector integral calculus, Line integral, Volume integral, Polar coordinate, Calculus of real-valued functions of several variables, Green’s theorem, Surface integrals, Divergence theorem of Gauss, Stokes’s theorem, Engineering applications. SCMA 165
วศคก๑๐๒ เขียนแบบวิศวกรรม ๓ (๒-๓-๕) เครื่องมืออุปกรณ์การเขียนแบบและวิธีการใช้   การเขียนตัวอักษร  เทคนิคเรขาคณิต  ประยุกต์  ทฤษฎี การฉายภาพออโธกราฟฟิค  การเขียนภาพออโธกราฟฟิค  การเขียนแบบภาพตัด  การเขียนแบบภาพช่วย  การเขียนแบบภาพสามมิติ  การเขียนแบบภาพสเกตซ์  การกำหนดขนาดและรายละเอียด  คำย่อและสัญลักษณ์ในงานเขียนแบบ   การอ่านแบบวิศวกรรม
EGME102 Engineering Drawing 3(2-2-5) Use of drawing instruments and engineering lettering;  applied  geometry;theory of  orthographic  projection  and orthographic drawing;   sectional  views drawing;  auxiliary  views  drawing;  pictorial  drawing;  freehand sketching;  dimensioning;  abbreviations  and  symbols;  interpreting  engineering  drawing.
วศอก๑๐๑ ปฏิบัติการวิศวกรรมพื้นฐาน ๒ (๑-๓-๓) กระบวนการทางวิศวกรรมการผลิตขั้นพื้นฐาน อุปกรณ์หรือเครื่องมือที่ใช้ในการปฏิบัติงานทางด้านการตัดแต่งขึ้นรูปโลหะ การปรับแต่ง การเชื่อมประสาน งานโลหะแผ่น  ความปลอดภัยในการทำงานและการใช้เครื่องมือ
EGIE101 Basic Engineering practice 2(1-3-3) Basic engineering processes, equipment or tools used in machining, fitting operation, welding, sheet metal, safety and tools using.
กลุ่มวิชาเฉพาะบังคับ
วศอก๑๐๓ วัสดุวิศวกรรม ๓ (๓-๐-๖) โครงสร้างผลึกและการไม่มีโครงสร้างผลึกของวัสดุ ความไม่สมบูรณ์ของโครงสร้างผลึก     ความหมายและการทดสอบคุณสมบัติของวัสดุ แผนภาพสมดุลและการนำไปใช้ กระบวนการผลิต โครงสร้างจุลภาคและมหภาค คุณสมบัติ การใช้งาน และความสัมพันธ์ระหว่างกันของปัจจัยเหล่านี้ในโลหะ เซรามิกส์ พลาสติก พอลิเมอร์ ยาง     มะตอย ไม้  คอนกรีต และวัสดุเชิงประกอบ การศึกษาเบื้องต้นถึงการแตกหัก การ     กัดกร่อน และการเสื่อมสภาพของวัสดุ กรณีศึกษาของการเลือกใช้วัสดุ
EGIE103 Engineering Materials 3(3-0-6) Crystallinity and non-crystallinity of materials; imperfections in crystal structure; meaning and testing of materials properties; equilibrium phase diagram and its applications; the study and relationship of processes, macro and microstructures, properties and applications of metals, ceramics, plastic, polymers, asphalt, wood, concrete and composites. Introduction to fracture, corrosion and degradation of materials; case studies on materials selection.
วศอก๒๖๑ ความน่าจะเป็นและสถิติ ๓ (๓-๐-๖) การจำแนกประเภทของวิธีการทางสถิติ การเก็บรวบรวม นำเสนอและวิเคราะห์ข้อมูล  ความน่าจะเป็น  ตัวแปรสุ่ม  การแจกแจงความน่าจะเป็นแบบไม่ต่อเนื่องและแบบต่อเนื่อง  การสุ่มตัวอย่างและการแจกแจงการสุ่มตัวอย่าง ทฤษฎีการประมาณค่า  การทดสอบสมมุติฐานทางสถิติ การวิเคราะห์ความแปรปรวน การวิเคราะห์ถดถอยเชิงเส้นและสหสัมพันธ์ การประยุกต์ใช้สถิติกับงานวิศวกรรม
EGIE261 Probability and Statistics 3(3-0-6) Statistical  classification.  Graphical  presentation of data. Analysis of data.  Theory of probability.   Random  variable.  Continuous and discrete  probability distribution.  Random samples and sampling  distribution.  Estimation theory. Test of hypotheses. Analysis of variances. Regression and correlation. Application of  statistics in engineering.
วศคก๒๒๐ กลศาสตร์วิศวกรรม ๓ (๓-๐-๖) ระบบแรงต่างๆ ผลลัพธ์ สมดุล สถิตยศาสตร์ของไหล จลนศาสตร์และจลนพลศาสตร์ของอนุภาค และวัตถุเกร็ง กฎการเคลื่อนที่ข้อที่สองของนิวตัน วทฟส ๑๕๑
EGME220 Engineering Mechanics 3(3-0-6) Force systems; resultant; equilibrium; fluid statics; kinematics and kinetics of particles and rigid bodies; Newton’s second law of motion.
วศฟฟ๒๑๗ วิศวกรรมไฟฟ้าเบื้องต้น ๓ (๓-๐-๖) การวิเคราะห์วงจรไฟฟ้ากระแสตรงและกระแสสลับพื้นฐาน  แรงดัน  กระแส  และกำลัง  ระบบกำลังไฟฟ้าสามเฟส  การวิเคราะห์วงจรแม่เหล็ก  เครื่องกลไฟฟ้าเบื้องต้น  เครื่องกำเนิด  มอเตอร์ และการประยุกต์ใช้งาน วิธีการส่งกำลัง เครื่องมือทางไฟฟ้าและอุปกรณ์ไฟฟ้าเบื้องต้น วทฟส ๑๕๒
EGEE217 Fundamental of Electrical Engineering 3(3-0-6) Basic DC and AC circuit analysis, voltage, current and power, three phase electrical power system, magnetic circuit analysis, introduction to electrical machinery, generators, motors, and their applications, method of power transmission, introduction to some basic electrical instruments and electronic devices
วศฟฟ๒๑๘ ปฏิบัติการวิศวกรรมไฟฟ้าเบื้องต้น ๑ (๐-๓-๑) การฝึกปฏิบัติการเกี่ยวกับเครื่องมือไฟฟ้าพื้นฐานรวมถึงการวัดอุปกรณ์ไฟฟ้าเพื่อแสดงหัวข้อต่างๆในรายวิชา วศฟฟ ๒๑๗ วทฟส ๑๕๒
EGEE218 Fundamental of Electrical Engineering Laboratory 1(0-3-1) A laboratory works of basic electrical equipment and measurements to illustrate the topics covered in EGEE 217
วศยธ ๒๐๑ กำลังวัสดุ ๑ ๓ (๓-๐-๖) แรงและความเค้น   ความสัมพันธ์ระหว่างความเค้น  และความเครียด  ความเค้นในคาน  แผนภาพแรงเฉือน  และโมเมนต์ดัดในคาน  การแอ่นตัวของคาน  การบิด  การโก่งของเสา  วงกลมมอร์  และความเค้นร่วม เกณฑ์การวิบัติ วศคก ๒๒๐
EGCE  201 Strength  of  Materials I 3(3-0-6) Forces and stresses; stresses and strains relationship; stresses in beams, shear force and Bending moment diagrams; deflection of beams, torsion; buckling of columns; Mohr ’s circle and combined stresses; failure criterion.
วศยธ๒๒๑ กลศาสตร์ของไหลสำหรับวิศวกรรมโยธา ๓ (๓-๐-๖) คุณสมบัติของไหล  การไหลนิ่ง  สมการโมเมนตัมและพลังงาน  สมการการเคลื่อนที่และการต่อเนื่อง   การวิเคราะห์รูปร่าง  การไหลคงที่ไม่อัดแน่น
EGCE221 Fluid  Mechanics for Civil Engineering 3(3-0-6) Properties of fluid, fluid static; momentum and energy equations; equation of continuity and motion; similitude and dimensional analysis; steady incompressible flow.
วศยธ๒๓๑ ธรณีวิทยา ๓ (๓-๐-๖) แร่และหิน  หินอัคนีและสภาพธรณีวิทยาของหินอัคนี  หินชั้น  หินแปร  การลำดับ  ชั้นหิน  เบื้องต้นและระยะเวลาทางธรณี  ธรณีกายภาพ  แผนที่ธรณีวิทยา  การสำรวจสภาพธรณีวิทยาของแหล่งวัสดุก่อสร้าง  สภาพธรณีวิทยาของบริเวณสันเขื่อนและ อ่างเก็บน้ำ  สภาพธรณีวิทยาของเส้นทางคมนาคม  ปฏิบัติการแร่และหิน  ปฏิบัติการโครงสร้างธรณีวิทยา  ปฏิบัติการ การแปลแผนที่ธรณีวิทยา
EGCE 231 Engineering  Geology 3(3-0-6) Introduction to classification; identification and origin of rocks and minerals; analysis and interpretation of earth features and processes in terms of geological theory and principles; application of  geology in engineering work; some method of site investigation
วศยธ๒๔๑ วิศวกรรมสำรวจ ๓ (๓-๐-๖) แนะนำงานสำรวจและพื้นฐานการทำงานในสนามหลักการและการประยุกต์ใช้กล้องวัดมุม การวัดระยะทางและทิศทาง ความคลาดเคลื่อนและความคลาดเคลื่อนที่ยอมรับได้ การปรับแก้งานรังวัด การทำการสามเหลี่ยม การรังวัดอซิมุทอย่างละเอียด ระบบพิกัดระนาบอย่างละเอียด การรังวัดระดับอย่างละเอียด การสำรวจเพื่อเก็บรายละเอียดภูมิประเทศ และการทำแผนที่
EGCE  241 Surveying 3(3-0-6) Introduction to surveying work; basic field works, leveling; principles and application of  theodolite; angle measurement; distance measurement; errors in surveying acceptable error, data correction, triangulation; precise determination of azimuth; precise traverse plane coordinate system, precise leveling; route survey; topographic survey; map plotting. Physical , mechanical and durability properties and metals of construction materials; namely, asphalt, wood, ferrocement, concrete, polymer and others; phase equilibrium diagrams and their application; meaning and testing of properties; study of macro and microstructures in relationship with overall properties of construction materials; production processes for products using construction materials.
วศยธ๒๔๒ ปฏิบัติการวิศวกรรมสำรวจ ๑ (๐-๓-๑) ปฏิบัติการวัดระยะด้วยเครื่องมือชนิดต่างๆ  การใช้เข็มทิศ  การทำระดับ เส้นขั้นความสูง  การวัดมุมด้วยกล้องสำรวจ  การทำแผนที่  ตามรายวิชา EGCE 241
EGCE 242 Surveying  Laboratory 1(0-3-1) Field  practice  in  measurement  of  distance  using various instruments, leveling contour; measurement  of  angle; topographic; field  survey  relate to EGCE 241
วศยธ๒๔๓ การฝึกงานสำรวจ ๑ (๐-๔๐-๑๒) ฝึกปฏิบัติงานเพื่อเสริมสร้างทักษะและประสบการณ์จากวิชาทฤษฎีหรือปฏิบัติการที่ได้รับการอนุมัติจากภาควิชาเพื่อให้เกิดความชำนาญและทำงานด้านเทคโนโลยีวิศวกรรมโยธาอย่างเป็นระบบ และสามารถนำไปสู่ความคิดรวบยอดในระบบงานจริงของวิชานั้น ๆ วศยธ ๒๔๒
EGCE 243 Survey Camp 1(0-40-1) Surveying techniques; route location and design; horizontal and vertical curves; earthwork; alignment layout; route construction survey.
วศยธ ๒๗๑ วัสดุก่อสร้าง ๓ (๓-๐-๖) คุณสมบัติทางกายภาพ คุณสมบัติทางกล และความคงทนของวัสดุก่อสร้าง  ประเภท โลหะ ยางมะตอย ไม้ เฟอโรซีเมนต์ คอนกรีต พอลิเมอร์ และอื่นๆ แผนภาพสมดุลและการนำไปใช้งาน  ความหมายและการทดสอบคุณสมบัติ  การศึกษาคุณสมบัติทางจุลภาคและมหภาค เปรียบเทียบกับคุณสมบัติโดยรวมของวัสดุก่อสร้าง  กระบวนการผลิตสำหรับผลิตภัณฑ์วัสดุก่อสร้าง
EGCE 271 Construction  Materials 3(3-0-6) Physical , mechanical and durability properties and metals of construction materials; namely, asphalt, wood, ferrocement, concrete, polymer and others; phase equilibrium diagrams and their application; meaning and testing of properties; study of macro and microstructures in relationship with overall properties of construction materials; production processes for products using construction materials
วศยธ๒๗๒ การจัดการวิศวกรรม ๓ (๓-๐-๖) หลักการจัดการ วิธีการเพิ่มผลผลิต มนุษยสัมพันธ์ ความปลอดภัย กฎหมายทางการค้า หลักเศรษฐศาสตร์วิศวกรรม   การเงิน   การจัดการโครงการ
EGCE  272 Engineering Management 3(3-0-6) Principle of management; methods of increasing productivity; human relation; safety; commercial laws; basis of engineering economy, finance, marking, project management
วศยธ ๒๗๓ ปฏิบัติการทดสอบวัสดุก่อสร้าง ๑ (๐-๓-๑) การทดสอบคุณสมบัติต่างๆ  ของวัสดุทางวิศวกรรม เช่น เหล็ก ไม้ อิฐและหิน  คุณสมบัติที่ทดสอบมีหลายประการ  เช่น กำลังต้านทานแรงดึง  แรงเฉือน  แรงกด  และ แรงต้านทาน  แรงกระแทก ฯลฯ
EGCE 273 Construction Materials Testing Laboratory 1(0-3-1) Laboratory testing of properties of construction materials, tensile strength, compaction strength, shearing strength, impact, bending test.
วศยธ  ๓๑๑ การวิเคราะห์โครงสร้าง ๑ ๓ (๓-๐-๖) แนะนำหลักการเบื้องต้นของการวิเคราะห์โครงสร้าง แรงปฏิกิริยา แรงเฉือน และโมเมนต์ในโครงสร้างชนิดดีเทอร์มิเนท การวิเคราะห์โดยวิธีกราฟฟิค เส้นอิทธิพลของโครงสร้างชนิดดีเทอร์มิเนท วิธีงานเสมือน  วิธีพลังงานความเครียด    และวิธีแผนภาพของวิลเลียตมอร์  การวิเคราะห์โครงสร้างชนิดอินดิเทอร์มิเนทแบบอยู่นิ่งโดยวิธีความสอดคล้องของการเปลี่ยนรูป วศคก ๒๒๐
EGCE  311 Structural  Analysis I 3(3-0-6) Introduction to structural analysis; reactions, shears and moments in statically determinate structures; graphic statics; influence lines of determinate structures; deflections of determinate structures by methods of virtual work, strain energy and Williot-Mohr diagrams; analysis of statically indeterminate structures by method of consistent deformation.
วศยธ  ๓๑๒ การวิเคราะห์โครงสร้าง ๒ ๓ (๓-๐-๖) การวิเคราะห์โครงสร้างชนิดอินดีเทอร์มิเนทโดยวิธีน้ำหนักยืดหยุ่น วิธีมุมหมุนและระยะโก่ง  การกระจายโมเมนต์และพลังงานความเครียด เส้นอิทธิพลของโครงสร้างชนิดอินดีเทอร์มิเนท  แนะนำการวิเคราะห์โครงสร้างโดยวิธีพลาสติก การวิเคราะห์โครงสร้างโดยวิธีประมาณ   แนะนำการวิเคราะห์โครงสร้างโดยวิธีเมตริกซ์ วศยธ ๓๑๑
EGCE  312 Structural Analysis II 3(3-0-6) Analysis of indeterminate structures by elastic load method, methods of slope and deflection, moment distribution; strain energy; influence line of indeterminate structures; introduction to plastic analysis; approximate analysis; introduction to matrix structural analysis.
วศยธ  ๓๑๓ การออกแบบคอนกรีตเสริมเหล็ก ๓ (๓-๐-๖) พฤติกรรมพื้นฐานของคอนกรีตเสริมเหล็กในการรับแรงอัดแรงดัด แรงเฉือน แรงยึดเหนี่ยว และพฤติกรรมร่วมในการรับแรงดังกล่าว หลักการออกแบบโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กโดยวิธีหน่วยแรงใช้งานและวิธีกำลัง การฝึกออกแบบ วศยธ ๒๐๑
EGCE  313 Reinforced Concrete  Design 3(3-0-6) Fundamental behavior in compression, flexure, torsion, shear, bond and interaction among these forces; design of reinforced concrete structural components by working stress and strength design concepts; design practice.
วศยธ ๓๒๑ วิศวกรรมชลศาสตร์ ๓ (๓-๐-๖) การประยุกต์หลักกลศาสตร์ของไหล ในการศึกษาและการปฏิบัติทางด้านวิศวกรรมชลศาสตร์ ระบบท่อ วอเตอร์แฮมเมอร์ เครื่องสูบน้ำและเทอร์โบน์  การไหลในทางน้ำเปิดและการออกแบบ อ่างเก็บน้ำ เขื่อนทางน้ำล้น และแบบจำลองทางชลศาสตร์ วศยธ ๒๒๑
EGCE 321 Hydraulic Engineering 3(3-0-6) Application of Fluid Mechanics principles to study and practice of hydraulic engineering; piping systems; water hammer; pumps and turbines; open channel flow and design; reservoir; dams; spillways; hydraulic models.
วศยธ๓๒๒ ปฏิบัติการวิศวกรรมชลศาสตร์ ๑ (๐-๓-๑) ปฏิบัติการและการสาธิตทางวิศวกรรมชลศาสตร์ การทดสอบคุณสมบัติของของเหลว การไหลผ่านออริฟิตและฝาย การไหลในท่อ การไหลในรางน้ำเปิด การสาธิตเกี่ยวกับระบบชลศาสตร์ต่างๆ วศยธ ๒๒๑
EGCE  322 Hydraulic Engineering Laboratory 1(0-3-1) Laboratory  practice and demonstration in hydraulic engineering; measurement of fluid properties; flow through orifices and weirs, flow through pipe line; flow in open channel demonstration of hydraulic systems
วศยธ  ๓๓๑ ปฐพีกลศาสตร์ ๓ (๓-๐-๖) ธรรมชาติและคุณสมบัติพื้นฐานของดิน การจัดเรียงตัวของเม็ดดิน การจำแนกประเภทของดิน  การเจาะสำรวจดิน  ความซึมผ่านได้ของดิน   ความเค้นในมวลดิน   ความเค้นความเครียดและกำลังต้นแรงเฉือนของดินที่มีแรงยึดเหนี่ยวและไม่มีแรงยึดเหนี่ยวการทรุดตัว ทฤษฎีการอัดตัวคายน้ำ  ทฤษฎีความสามารถในการรับน้ำหนักของดิน วศยธ ๒๐๑
EGCE  331 Soil Mechanics 3(3-0-6) Formation of soil; soil classification; soil exploration; permeability; stresses in a soil a soil mass; stress-strain and strength properties of cohesive and cohesionless soils; settlement; consolidation theory ; bearing capacity theory.
วศยธ  ๓๓๒ ปฏิบัติการปฐพีกลศาสตร์ ๑ (๐-๓-๑) คุณสมบัติของดินทางฟิสิกส์และทางวิศวกรรม การเจาะสำรวจดิน การเก็บตัวอย่างดิน  การทดสอบคุณสมบัติดินในสนาม การทดสอบคุณสมบัติดินในห้องปฏิบัติการ     แอตเตอเบิร์กลิมิต  ความถ่วงจำเพาะของเม็ดดิน  การวิเคราะห์ขนาดเม็ดดิน  การจำแนกดินทางวิศวกรรม  การบดอัดดิน  แคลิฟอร์เนียแบริ่งเรโซ   ความหนาแน่นของดินในสนาม  ความซึมน้ำของดิน กำลังรับแรงเฉือนแบบไดเร็คเชียร์กำลังรับแรงเฉือนแบบเวน กำลังรับแรงอัดแบบอันคอนไฟน์  กำลังรับแรงอัดแบบไทรแอกเชียล       การทรุดตัวของดิน  การรวบรวมและประมวลผลข้อมูล   การรายงานผล                 การประยุกต์ใช้ผลทดสอบในงานวิศวกรรมโยธา วศยธ ๒๐๑
EGCE  332 Soil Mechanics Laboratory 1(0-3-1) Laboratory  experiments in soil mechanics; standard tests to determine various engineering properties of soil; uses of equipments; report writing; analysis of test results
วศยธ ๓๖๒ ระบบและการจัดการสิ่งแวดล้อม ๓ (๓-๐-๖) ผลของความสัมพันธ์พื้นฐานต่อสภาพแวดล้อมในด้านวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม,         การวิเคราะห์การตัดสินใจเลือกวิธีการรักษาสภาพแวดล้อม  นโยบายสาธารณะและการปฏิบัติตามนโยบาย  การจัดองค์กรและสถาบันที่เกี่ยวข้องกับการจัดการ              สิ่งแวดล้อมรวมถึง โครงสร้างองค์กรและบทบาท  การพัฒนานโยบาย  การจัดการและการดำเนินงาน   กรณีศึกษาการป้องกันสิ่งแวดล้อม วทคม ๑๑๓
EGCE362 Environmental Systems and Management 3(3-0-6) Basic interrelating effects on environmental in terms of environmental engineering aspects; an analysis for decision making in environmental protection programs; public policy and action; arrangement of organizations and institutes related to environmental management including their structures and roles; policy development; management approaches and program implementation; case studies of specific environmental protection.
วศยธ๓๙๑ คอมพิวเตอร์สำหรับวิศวกรรมโยธา ๒ (๑-๓-๓) แนะนำโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปสำหรับวิศวกรรมโยธา ศึกษาข้อได้เปรียบและข้อจำกัดของโปรแกรม ประยุกต์ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่มีอยู่และ/หรือพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาในงานวิศวกรรมโยธา
EGCE391 Computer Applications for Civil Engineering 2(1-3-3) Introduction to package computer programmes for civil engineering, studying on the advantages and limitations of the programmes, applying existing computer programmes and/or developing computer programmes for problems solving in civil engineering field.
วศยธ  ๓๙๕ สัมมนาโครงงาน ๑ (๐-๓-๑) การบรรยายพิเศษและอภิปรายเรื่องที่น่าสนใจทางวิศวกรรมโยธาโดยนักศึกษาจะต้องศึกษาถึงปัญหาต่างๆ  ที่เกี่ยวข้องด้านวิศวกรรมโยธา  ภายใต้การแนะแนวของอาจารย์ในภาควิชาทำการค้นคว้าเอกสารและหรือการทดลองอย่างง่ายเพื่อนำเสนอและอภิปรายในที่ประชุม  จัดทำโครงร่างสำหรับโครงงานในหัวข้อที่ได้รับความเห็นชอบจากคณาจารย์ในที่ประชุมแล้ว เพื่อสำหรับการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมต่อไปในวิชาโครงงานวิศวกรรมโยธา
EGCE 395 Project Seminar 1(0-3-1) Seminar in special topics in civil engineering , student (individual or group) required to select a topic in civil engineering which approved by the department and study the topic to produce a proposal for civil engineering project
วศยธ ๔๐๒ การออกแบบโครงสร้างไม้และเหล็ก ๓ (๓-๐-๖) การออกแบบโครงสร้างไม้และเหล็ก  องค์อาคารซึ่งรับแรงดึง แรงอัด  คาน เสารับแรงดัด  ชิ้นส่วนเชิงประกอบ  คานประกอบ   จุดต่อแบบต่างๆ  ข้อปฏิบัติในการออกแบบ วศยธ ๓๑๑
EGCE  402 Timber and Steel Design 3(3-0-6) Design of timber and steel structures, tension and compression members, beams;  beam-columns; built-up members, plate girders; connections, design practice.
วศยธ  ๔๙๖ โครงงานวิศวกรรมโยธา ๓ (๐-๙-๓) ทำโครงงานสืบเนื่องจากโครงร่างของหัวข้อที่ได้เสนอและผ่านความเห็นชอบในการเรียนวิชา วศยธ ๓๙๕ โดยจะต้องทำโครงงานภายใต้การควบคุมของอาจารย์  นักศึกษาจะต้องส่งรายงานและเข้าสอบปากเปล่าในวิชานี้ วศยธ ๓๙๕
EGCE  496 Civil Engineering Project 3(0-9-3) Project indicated in proposal of EGCE 395  have been carried out by student under supervision of  instructor (s) appointed by the department . A written report must be submitted at completion of the course and an oral examination will be given by a committee appointed  by  the  department.
กลุ่มวิชาเฉพาะเลือก
วศยธ๒๐๒ กำลังวัสดุ ๒ ๓ (๓-๐-๖) การวิเคราะห์การโก่งของคานโดยวิธี คลาสติกเกลียโน  วิธีงานเสมือน วิธีอินทิเกรชั่น และวิธีพื้นที่โมเมนต์ การบิดของคานหน้าตัดไม่กลม  การบิดของท่อบางและท่อนหนา  หน่วยแรงในถังเก็บความดันผนังบาง การวิเคราะห์คานอินดีเทอร์มิเนทด้วยวิธีซ้อนตำแหน่งสมการโมเมนต์และวิธีพลังงาน วศยธ ๒๐๑
EGCE202 Strength  of  Materials II 3(3-0-6) Deflection  of  beams  by  Castigliano  theorem, Virtual  work, integration and moment area; torsion in noncircular members, thick-walled  hollow  shafts  and  thin-walled hollow  shafts; stresses in thin-walled pressure vessels; analysis of indeterminate beams by three  moment equation and energy method.
วศยธ  ๓๒๓ อุทกวิทยา ๓ (๓-๐-๖) วัฎจักรของน้ำ การวัดข้อมูลอุตุนิยมวิทยา น้ำฝนและการวิเคราะห์น้ำฝน การเก็บกักน้ำ การระเหย การคายน้ำ การซึมลงดิน การวัดปริมาณน้ำ การไฮโดรกราฟ น้ำท่า การวิเคราะห์ไฮโดรกราฟ น้ำใต้ดินเบื้องต้น
EGCE  323 Hydrology 3(3-0-6) Hydrologic cycle; elements of hydrometeorology, precipitation, evaporation and transpiration; infiltration; stream flow measurement and rating curve; hydrograph analysis; derivation and application of unit hydrograph, flood routing; subsurface distribution of water; hydraulics of groundwater.
วศยธ ๓๓๓ วิศวกรรมฐานราก ๓ (๓-๐-๖) ฐานรากตื้น ฐานรากเสาเข็ม  การวิเคราะห์การทรุดตัวของฐานราก  โครงสร้างกันดิน โครงสร้างใต้ดิน การปรับปรุงและการแก้ไขฐานราก การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ในงานวิศวกรรมฐานราก วศยธ ๓๓๑
EGCE 333 Foundation Engineering 3(3-0-6) Soil  bearing  capacity and settlement; shallow  foundation; deep  foundation; lateral earth pressure; retaining structures; computer aids in foundation engineering
วศยธ  ๓๔๑ วิศวกรรมสำรวจชั้นสูง ๓ (๓-๐-๖) การสำรวจทางภูมิศาสตร์ การสำรวจทางอุทกศาสตร์  การทำระดับอย่างละเอียด  งานสำรวจโครงข่ายพิกัดควบคุมระนาบราบ การสำรวจเส้นทาง โค้งราบและโค้งดิ่ง  หลักการออกแบบ  และความปลอดภัยของเส้นทาง วศยธ ๒๔๑
EGCE  341 Advanced Surveying 3(3-0-6) Topographic surveying; hydrographic surveying; precise leveling; horizontal control network; route surveying; horizontal and vertical curves; elements of highway and safety design
วศยธ  ๓๔๒ การสำรวจด้วยภาพถ่ายทางอากาศ ๓ (๓-๐-๖) หลักการพื้นฐานของการสำรวจด้วยภาพถ่ายทางอากาศ กล้องและการถ่ายภาพ การวางแผนการบินเพื่อการถ่ายภาพทางอากาศ เรขาคณิตของภาพถ่าย วิธีการสำรวจด้วยภาพถ่ายทางอากาศ  การจัดและการตัดต่อภาพ  การถ่ายภาพสามมิติ  และการเขียนภาพร่างแผนที่จากคู่ภาพสามมิติ
EGCE  342 Photogrammetry 3(3-0-6) Basic concepts of photogrammetry; cameras and photography; flight planning; geometry of photograph; photogrammetric methods,  mosaic, rectification, orthophotography, stereoscopic plotting.
วศยธ๓๔๓ การสำรวจเส้นทาง ๓ (๒-๓-๕) เทคนิคงานสำรวจ การออกแบบและการกำหนดเส้นทาง โค้งราบ โค้งดิ่ง งานดิน การวางแนวเส้นทาง การสำรวจเพื่อการก่อสร้างทาง วศยธ ๒๔๑
EGCE343 Route Survey 3(2-3-5) Surveying techniques; route location and design; horizontal and vertical curves; earthwork; alignment layout; route construction survey.
วศยธ ๓๗๒ การจัดการงานก่อสร้าง ๓ (๓-๐-๖) ระบบการส่งถ่ายโครงการ องค์กรในโครงการก่อสร้าง การวางผังโครงการก่อสร้าง การวางแผนงาน โครงการก่อสร้าง เส้นทางวิกฤติ การจัดการทรัพยากรของโครงการ การวัดความก้าวหน้าของโครงการ ความปลอดภัยในการก่อสร้าง ระบบคุณภาพ
EGCE 372 Construction Management 3(3-0-6) Project delivery systems; project organization; site layout; project planning; critical path method (CPM); resource management; progress measurement; construction safety; quality systems.
วศยธ  ๓๗๓ การวางผังเมือง ๓ (๓-๐-๖) การใช้วิชาการทางด้านสังคมศาสตร์ และวิทยาศาสตร์กายภาพ     ในการวางแผนเขตชุมชน  สภาพสิ่งแวดล้อม  และระบบที่ย่อยลงไปของเขตชุมชน     การใช้ที่ดินสำหรับเขตการค้า  อุตสาหกรรมและที่อยู่อาศัย  ความสัมพันธ์ของระบบชุมชน  การคมนาคม  การขนส่ง  การกระจายอาหาร  การผลิตพลังงานและการเก็บสิ่งปฏิกูล  การใช้แบบจำลองคณิตศาสตร์เพื่อการวิจัยปัญหา
EGCE  373 Town Planning 3(3-0-6) The application of social and scientific principles to the planning of residential area ; the environment and residential area; land used for commercial , industrial and residential area; the relation among transportation , distribution of food, energy and  sewage in residential area; math modeling for analysis.
วศยธ  ๓๗๔ การออกแบบทางสถาปัตยกรรม ๓ (๓-๐-๖) การจัดองค์การประกอบของอาคารชนิดต่าง ๆ ประโยชน์ใช้สอยของอาคาร วิธีปฏิบัติงานออกแบบและการเขียนแบบทางสถาปัตยกรรม  ความสัมพันธ์ของการออกแบบทางสถาปัตยกรรมและวิศวกรรมโยธา การกำหนดคุณลักษณะเฉพาะวัสดุที่ใช้ในการออกแบบทางสถาปัตยกรรม
EGCE  374 Architectural Design 3(3-0-6) The architectural functions; design and drawing; relation between architectural design an engineering; specification of materials in architectural design.
วศยธ ๔๐๑ การออกแบบคอนกรีตเสริมเหล็กขั้นสูง ๓ (๓-๐-๖) ข้อเปรียบเทียบการออกแบบ   โดยทฤษฏีอีลาสติกและทฤษฏีกำลังประลัย   การคำนวณ   ออกแบบองค์อาคารโดยทฤษฏีกำลังประลัย  การคำนวณแรงตัดของหน้าตัดรูปต่างๆ   แรงเฉือน  และแรงดึงทะแยง  ระบบหรือองค์ประกอบโครงสร้าง  แผ่นพื้นไร้คาน  รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส  หรือสี่เหลี่ยมผืนผ้า  การออกแบบสะพานคอนกรีตเสริมเหล็ก วศยธ ๓๑๓
EGCE 401 Advanced Reinforced Concrete Design 3(3-0-6) Comparison between the design by working stress and ultimate stress; reinforced concrete design by ultimate stress; calculation of bending, shear  force on various section; the design of structural systems; flat slab; bridge design.
วศยธ  ๔๐๓ การออกแบบคอนกรีตอัดแรง ๓ (๓-๐-๖) หลักการขององค์อาคารคอนกรีตอัดแรง คุณสมบัติของวัสดุที่ใช้ในงานคอนกรีตอัดแรง  ข้อกำหนดเกี่ยวกับหน่วยแรงที่ยอมให้สำหรับวัสดุ การวิเคราะห์หน่วยแรงที่เกิดขึ้นในคานคอนกรีตอัดแรง  การออกแบบคานเพื่อต้านโมเมนต์และแรงเฉือน  การแอ่นตัวของคานในช่วงน้ำหนักบรรทุกปกติ  การสูญเสียแรงอัดในคานคอนกรีตอัดแรงกำลังประลัยของคาน  การออกแบบคานชนิดคอมโพสิต  และแผ่นพื้นสำเร็จรูป  การออกแบบเสาเข็ม วศยธ ๓๑๓
EGCE  403 Prestressed Concrete Design 3(3-0-6) Principle and concept  of prestressing; properties of  materials in prestressed concrete; code in designing prestressed concrete; loss of prestress; analysis and design of section for flexure, shear, bond and bearing; deflections and camber; the design of composite beams.
วศยธ ๔๐๔ การวิเคราะห์โครงสร้างด้วยวิธีเมตริกซ์ ๓ (๓-๐-๖) การวิเคราะห์โครงสร้างด้วยวิธีแรง และวิธีการเปลี่ยนตำแหน่งการสร้างเฟลกซิบิลิตีเมตริกซ์และสติฟเนสเมตริกซ์ของโครงสร้าง การวิเคราะห์แรงกระทำ และการเปลี่ยนตำแหน่งของโครงสร้าง  การใช้คอมพิวเตอร์ในการวิเคราะห์โครงสร้าง วศยธ ๓๑๑ และ วศยธ ๓๑๒
EGCE  404 Matrix Methods in Structural Analysis 3(3-0-6) Force and displacement method ; solution of flexibility and stiffness; introduction to  computer programming technique  in structural analysis.
วศยธ  ๔๐๖ การออกแบบสะพาน ๓ (๓-๐-๖) การกระจายของแรงในสะพานและข้อกำหนดที่เกี่ยวข้อง, การออกแบบสะพานคอนกรีตเสริมเหล็ก การออกแบบคานเหล็ก และคานคอนกรีตอัดแรงทั้งแบบไม่ต่อเนื่อง และแบบต่อเนื่อง วศยธ ๓๑๓
EGCE  406 Bridge  Design 3(3-0-6) Load distribution in bridges and related code; the design of reinforced concrete bridge ; introduction to steel and  prestressed concrete beam; simple support and statically indeterminate bridges.
วศยธ ๔๐๗ การออกแบบโครงสร้างเหล็กชั้นสูง ๓ (๓-๐-๖) คุณสมบัติและข้อกำหนดของเหล็กโครงสร้าง สาเหตุที่ก่อให้เกิดการแตกหักและการป้องกัน  ความล้าตัวในเหล็กโครงสร้าง  ตัวยึดชนิดต่างๆ ที่ใช้ในองค์อาคาร  เหล็กโครงสร้าง  จุดต่อชนิดสลักเกลียวและรอยเชื่อม  พฤติกรรมและข้อกำหนด  หลักการออกแบบ  และข้อกำหนดสำหรับการออกแบบองค์อาคารเหล็กหน้าตัด วศยธ ๔๐๒
EGCE 407 Advanced Steel Design 3(3-0-6) Properties and specifications of structural steel; failure of structures; bolt ,  rivet and  welded joints; the design of structural steel and their principles and codes.
วศยธ ๔๒๑ วิศวกรรมแหล่งน้ำ ๓ (๓-๐-๖) พื้นฐานอุทกวิทยาสำหรับการจัดการแหล่งน้ำ  กฎหมายการใช้น้ำ งานและอาคารในโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ  พื้นฐานเศรษฐศาสตร์ในการจัดการแหล่งน้ำ  หลักการใช้น้ำ วิธีวางแผนโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ
EGCE 421 Water Resource Engineering 3(3-0-6) Principles of hydrology for water resources; hydraulics of ground water; flood and  reservoir routing; the various types of water resource structures; economics in       management of water resource.
วศยธ  ๔๕๑ วิศวกรรมการทาง ๓ (๓-๐-๖) วิวัฒนาการของทางหลวง องค์กรต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทาง หลักการวางแผนการทางและการวิเคราะห์การจราจร การออกแบบเชิงเรขาคณิตและการดำเนินการ เงินทุนและเศรษฐศาสตร์การทาง การออกแบบผิวทางยืดหยุ่นและผิวทางแข็ง วัสดุการทาง การก่อสร้างและการบำรุงรักษาทาง
EGCE 451 Highway  Engineering 3(3-0-6) Historical development of highways; highway administration; principles of highway planning and traffic analysis; geometric design and operations; highway finance and economic; flexible and rigid pavement design; highway materials; construction and maintenance of highways.
วศยธ ๔๕๒ วิศวกรรมขนส่ง ๓ (๓-๐-๖) การออกแบบระบบขนส่งทางถนน ทางทะเล ทางเรือ และทางอากาศ  และอุปกรณ์อำนวยความสะดวกต่างๆ  การขนส่งทางคลอง   การขนส่งทางท่อ
EGCE 452 Transportation Engineering 3(3-0-6) Transportation an development  of land use; modes of transportation ; transportation by railways, highway, air, waterway and pipelines; math  modeling  for transportation  planning.
วศยธ ๔๕๓ การออกแบบผิวทาง ๓ (๓-๐-๖) การออกแบบผิวทางแบบแข็งและยืดหยุ่น  พฤติกรรมของผิวทางภายใต้ภาระกรรมที่เคลื่อนที่วัสดุในการสร้างผิวทาง วิธีการก่อสร้าง รอยต่อแผ่นทาง ความลื่น การบำรุงรักษาผิวทาง
EGCE 453 Pavement  Design 3(3-0-6) Pavement types; traffic loads; stresses in pavement; pavement; pavement behavior under moving loads; pavement materials; the design of rigid and flexible pavements; pavement construction and maintenance
วศยธ  ๔๖๑ วิศวกรรมสุขาภิบาล ๓ (๓-๐-๖) แหล่งน้ำและมาตรฐานน้ำดื่ม คุณภาพน้ำ การใช้น้ำบาดาล ระบบส่งและจ่ายน้ำ กระบวนการปรับปรุงคุณภาพน้ำ เช่น การเติมอากาศ การสร้างและรวมตะกอน ระบบทรายกรองช้าและทรายกองเร็ว การฆ่าเชื้อโรค การกำจัดความกระด้าง การกำจัดเหล็ก รส และกลิ่น
EGCE  461 Sanitary  Engineering 3(3-0-6) Sources of water supply; drinking water standards, quality requirement, groundwater collection; water transmission and distribution; water treatment technique; screening coagulation and flocculation, sedimentation, filtration, disinfection, softening, iron removal, taste and order removal.
วศยธ  ๔๗๒ เทคโนโลยีแอสฟัลต์ ๓ (๓-๐-๖) ส่วนประกอบของแอสฟัลต์  กรรมวิธีการต่างๆ  การใช้แอสฟัลต์ทำผิวทาง  วิธีการทำผิวทางแอสฟัลต์แบบต่างๆ  คุณสมบัติและการทดสอบ  ข้อกำหนดคุณลักษณะ  ชนิดของมวลรวม การออกแบบส่วนผสม การผลิตและควบคุมการก่อสร้างคอนกรีตแอสฟัลต์ วศยธ ๒๗๑
EGCE  472 Asphalt  Technology 3(3-0-6) Asphalt  technology in pavements for roads; properties  and  testing of asphalts, specification of the contents of the asphalts; mix design, the construction of asphalt pavement.
วศยธ  ๔๗๓ การจัดการความปลอดภัยงานก่อสร้าง ๓ (๓-๐-๖) ความปลอดภัยในงานก่อสร้าง สาเหตุและวิธีป้องกันอุบัติเหตุ สถิติความปลอดภัย  หลักการจัดการความปลอดภัย  กฎหมายเกี่ยวกับความปลอดภัย  จิตวิทยาความ  ปลอดภัยเบื้องต้น  วิศวกรรมความปลอดภัยในงานก่อสร้าง
EGCE  473 Construction Safety Management 3(3-0-6) Safety in construction; safety statistic; laws and regulations; psychology in safety; construction safety engineering
วศยธ  ๔๗๕ เทคโนโลยีคอนกรีต ๓ (๓-๐-๖) กระบวนการผลิตปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์และวัสดุประสานที่ใช้แทนปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์  คุณสมบัติของมวลรวมและสารเคมีผสมเพิ่ม  การออกแบบส่วนผสมคอนกรีต  การออกแบบแบบหล่อและค้ำยัน  การจัดการเกี่ยวกับคอนกรีต  คุณสมบัติของคอนกรีตสดและคอนกรีตที่แข็งตัว ความทนทานของคอนกรีต วศยธ ๒๗๑
EGCE  475 Concrete Technology 3(3-0-6) Production process of portland cement and binders, properties of aggregate and chemical admixtures, design of mix proportioning, design of formwork and falsework, management of concrete, properties of fresh and hardened concrete, durability of concrete.
การฝึกงาน
วศยธ  ๓๙๙ การฝึกงาน ๐ (๐-๓๕-๑๐) การฝึกงานทางวิศวกรรมในโรงงานหรือหน่วยงานต่างๆ ของภาครัฐและเอกชนตามที่ภาควิชาเห็นชอบ โดยมีกำหนดระยะเวลาการฝึกงานไม่น้อยกว่า ๒๔๐ ชั่วโมงและนักศึกษาต้องส่งรายงานเมื่อเสร็จสิ้นการฝึกงานดังกล่าว ซึ่งการประเมินผลจะให้เกรดออกมาเป็นพอใจ (Satisfactory, “S”) หรือ ไม่พอใจ (Unsatisfactory, “U”)
EGCE  399 Engineering Training 0(0-35-10) Practical training in industrial or government sectors during summer session for not less than 240 hours must be arranged and supervised by the department. A written report must be submitted to the department. The training evaluation must be graded as satisfactory, “S” or unsatisfactory, “U”.

การสอบวัดคุณสมบัติ

การประกันคุณภาพหลักสูตร

๑. การบริหารหลักสูตร
อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร ทำหน้าที่บริหารจัดการหลักสูตรให้เป็นไปตามแนวทางการจัดการศึกษา โดยมีการปฐมนิเทศ จัดระบบการติดต่อสื่อสาร จัดทำสื่อการเรียนและเอกสารต่าง ๆ การสัมมนาและการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อให้นักศึกษาได้สามารถเรียนรู้ใน เนื้อหาวิชาต่าง ๆ ได้ครบถ้วน จัดระบบการประเมินกระบวนการเรียนการสอน และประเมินผลสัมฤทธิ์ของการศึกษาในแต่ละรายวิชาอย่างชัดเจน
๒. ทรัพยากรประกอบการเรียนการสอน
สำหรับวิชาที่จัดการเรียนการสอนในหลักสูตรฯ ได้จัดให้มีเอกสารการสอนที่มีรายละเอียดเนื้อหาของวิชาที่เกี่ยวข้อง แนวทางการศึกษาด้วยตนเอง การประเมินผล เอกสารอ่านประกอบ ส่วนเอกสารที่เป็นคู่มือการเรียนการสอนทั่วไปนั้น ประกอบด้วยคู่มือนักศึกษาบัณฑิตศึกษา คู่มือปฐมนิเทศ คู่มือการเขียนรายงานทางวิชาการ คู่มือการเข้ารับการสอนเสริม การศึกษาค้นคว้าห้องสมุดและแหล่งสารสนเทศ คู่มือการจัดทำวิทยานิพนธ์ แผ่นซีดีแนะนำรายละเอียดวิชาเพิ่มเติม
๓. การสนับสนุนและการให้คำแนะนำนักศึกษา
สถาบันฯได้จัดอาจารย์ประจำของสถาบันฯทำหน้าที่เป็นอาจารย์แนะแนววิชาการทั่ว ไปแก่นักศึกษา นอกเหนือไปจากการรับผิดชอบเฉพาะแต่ละรายวิชาร่วมกับอาจารย์พิเศษที่จะให้คำ แนะนำปรึกษาแต่ละรายวิชาแก่นักศึกษาอย่างใกล้ชิด ผ่านช่องทางสื่อสารของอินเตอร์เน็ต โทรศัพท์ ตลอดระยะเวลาของหลักสูตร รวมทั้งการพบปะ ปฏิสัมพันธ์ ระหว่างนักศึกษากับคณาอาจารย์ที่เป็นทางการ ตามกิจกรรมที่กำหนดไว้ในปฏิทินการศึกษา ได้แก่ การปฐมนิเทศ การสอนเสริม การอบรมเชิงปฏิบัติการ การนำเสนอและสอบโครงร่างวิทยานิพนธ์ การนำเสนอความก้าวหน้าและการสอบป้องกันวิทยานิพนธ์ จำนวน ๑๐ ครั้ง เป็นเวลา ๓๘ วัน
๔. ความต้องการของตลาดแรงงาน สังคมและ/หรือความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิต
ศึกษาความต้องการของตลาดแรงงาน สังคม และประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตอย่างน้อยทุก 3 ปี