ศาสตร์และศิลป์ที่สอนในเมืองไทย

รายวิชาที่มหาวิทยาลัยเปิดสอนในเมืองไทย พร้อมคำจำกัดความและขอบเขตของวิชา

Archive for the ‘ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล’ Category

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล

leave a comment »

มหาวิทยาลัยมหิดล หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล.

ชื่อหลักสูตร : หลักสูตรวิศวกรรม ศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล
ชื่อปริญญา
ชื่อเต็ม : วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วิศวกรรมเครื่องกล)
ชื่อย่อ : วศ.บ. (วิศวกรรมเครื่องกล)
หน่วยงานรับผิดชอบ
ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
กำหนดการเปิดสอน : หลักสูตรปรับปรุงนี้จะเริ่มใช้กับนักศึกษาตั้งแต่รุ่นปีการศึกษา ๒๕๕๐ เป็นต้นไป

ปรัชญาของหลักสูตร

เพื่อสร้างบัณฑิตให้มีความรู้ ความสามารถในการบูรณาการ และประยุกต์ใช้ความรู้ในสาขาวิศวกรรมเครื่องกล มีความคิดสร้างสรรค์ มีจริยาธรรมและจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพวิศวกรโดยตระหนักในคุณค่าศิลปวัฒนธรรม คำนึงถึงคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อม เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของสังคม

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

๑ เพื่อผลิตบัณฑิตทางวิศวกรรมเครื่องกล ที่มีความรู้ความสามารถและทักษะในการประกอบอาชีพ
๒ เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความสามารถในการถ่ายโอนเทคโนโลยี เพื่อการพัฒนาและวิจัยทางวิศวกรรมเครื่องกล
๓ เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความใฝ่รู้ ใฝ่เรียน สามารถเรียนรู้ด้วยตนเอง และมีจิตวิญญาณในการเรียนรู้ตลอดชีพ
๔ เพื่อตอบสนองนโยบายของรัฐ และรองรับการพัฒนาของประเทศ

คุณสมบัติผู้เข้าศึกษา

สำเร็จชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือเทียบเท่าตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ และมี
คุณสมบัติครบตามข้อกำหนดของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาที่กำหนดไว้ สำหรับผู้มี
สิทธิเข้าสอบคัดเลือกเพื่อศึกษาในระดับอุดมศึกษา และ/หรือตามระเบียบที่มหาวิทยาลัยมหิดลและ
คณะวิศวกรรมศาสตร์กำหนด

การคัดเลือกผู้เข้าศึกษา

๑ เป็นผู้ผ่านการคัดเลือก ตามระเบียบการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในระดับอุดมศึกษา ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และ/หรือ
๒ เป็นผู้ผ่านการคัดเลือกตามประกาศของมหาวิทยาลัยมหิดล ว่าด้วยการรับสมัครบุคลลเข้า
ศึกษาหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต

ระบบการศึกษา

๑ จัดการศึกษาตามระบบหน่วยกิตทวิภาค โดยหนึ่งปีการศึกษาแบ่งเป็น ๒ ภาคการศึกษาปกติ หนึ่งภาคการศึกษาปกติมีระยะเวลาศึกษาไม่น้อยกว่า ๑๕ สัปดาห์ สำหรับการศึกษาภาคฤดูร้อนให้กำหนดระยะเวลาและจำนวนหน่วยกิต โดยมีสัดส่วนเดียวกันกับภาคการศึกษาปกติ
๒ การคิดจำนวนหน่วยกิต
๒.๑ การบรรยาย หรือการศึกษาที่เทียบเท่าให้คิด ๑ ชั่วโมงต่อสัปดาห์ตลอดภาคการศึกษาปกติ หรือไม่น้อยกว่า ๑๕ ชั่วโมงต่อภาคการศึกษาเป็นปริมาณการศึกษา ๑ หน่วยกิต
๒.๒ การปฏิบัติ การทดลอง การฝึก หรือการศึกษาที่เทียบเท่า ให้คิด ๒-๓ ชั่วโมงต่อสัปดาห์ตลอดภาคการศึกษาปกติ หรือ ๓๐-๔๕ ชั่วโมงต่อภาคการศึกษาเป็นปริมาณการศึกษา ๑ หน่วยกิต
๒.๓ การฝึกงาน (ภาคฝึกงานวิชาชีพ) รวมเวลาไม่น้อยกว่า ๘ สัปดาห์ หรือ ๒๔๐ ชั่วโมงในภาคการศึกษาฤดูร้อน มีการคิดหน่วยกิตเท่ากับ ๐ หน่วยกิต
๒.๔ การทำโครงงาน หรือกิจกรรมเรียนอื่นใดตามที่ได้รับมอบหมาย ที่ใช้เวลาทำโครงงานหรือกิจกรรมนั้นๆไม่น้อยกว่า ๔๕ ชั่วโมงต่อภาคการศึกษาปกติให้มีค่าเท่ากับ ๑ หน่วยกิต

ภาษา

ระยะเวลาการศึกษา

ระยะเวลาการศึกษาตามหลักสูตร ๔ ปีการศึกษา โดยใช้เวลาศึกษาอย่างมากไม่เกิน๘ ปีการศึกษา

การลงทะเบียนและการรับโอนหน่วยกิต

เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยมหิดล ว่าด้วยการศึกษาระดับอนุปริญญา และปริญญาตรี

การวัดผลและการสำเร็จการศึกษา

เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยมหิดล ว่าด้วยการศึกษาระดับอนุปริญญา และปริญญาตรี และประกาศหรือข้อบังคับของคณะที่เกี่ยวข้อง

อาจารย์ประจำ

ลำดับ ชื่อ-นาม สกุล คุณวุฒิ
ผศ.วิเชียร   เอื้อสมสกุล B.S. (M.E.), M.S. (Mechanical Engineering)
ผศ.คณิต   สงวนตระกูล วศ.บ.(เครื่องกล)
วท.ม. (เทคโนโลยีการจัดการสิ่งแวดล้อม)
ผศ.บรรยงวุฒิ   จุลละโพธิ วศ.ม. (เครื่องกล)
ผศ.กมล   ทับทิมเทศ วศ.ม. (เครื่องกล)
ผศ.จักรกฤษณ์   ศุทธากรณ์ Ph.D. (Mechanical Engineering)
ผศ.อิทธิโชติ   จักรไพวงศ์ Ph.D. (Mechanical Engineering)
อ.รุ่ง   กิตติชัย Ph.D. (Mechanical Engineering)
อ.ดลชัย   ละออนวล B.Sc. (M.E.)  M.Sc.(I.E.)
อ.ชาคริต   วรรณศิริ M.Sc.(Advanced M.E.)
๑๐ อ.โชคชัย   จูฑะโกสิทธิ์กานนท์ วศ.ม. (เครื่องกล)
๑๑ อ.เอกชัย   ชัยชนะศิริ วศ.ม. (เครื่องกล)
๑๒ อ.เอกรินทร์   แสงธรรมรัตน์ วศ.บ. (เครื่องกล)
M.Eng (Energy Technology)
๑๓ อ.สราวุธ   เวชกิจ Ph.D. (Mechanical Engineering)
๑๔ อ.สุวัฒน์   ตรูทัศนวินท์ Ph.D. (Mechanical engineering)
๑๕ อ.อารมณ์   เบิกฟ้า วศ.ม. (เครื่องกล)
๑๖ อ.Khin  Muang  OO B.Sc. (M.E.), M.Sc. (N.A)
Ph.D. (N.A.)

* คือ อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร

อาจารย์ประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์และมหาวิทยาลัยมหิดล

อาจารย์พิเศษ

ลำดับ ชื่อ-นาม สกุล คุณวุฒิ
อ.ดร.อัณณพ   ปาลวัฒน์วิไชย วศ.บ. (เครื่องกล)
M.Sc. (Marine Technoloty), วศ.ด.(เครื่องกล)
รศ.เกียรติไกร   อายุวัฒน์ วศ.ม. (เครื่องกล)
ผศ.ดร.กนกศักดิ์   เอี่ยมโอภาส M.Eng.(A.E.) Ph.D. (Agricultural Engineering)
รศ.(พิเศษ) ดร.รุ่งเรือง   พิทยศิริ Ph.D (Mechanical Engineering)
อ. ดร.บุญรอด   สัจจกุลนุกิจ Ph.D. (Chemical Engineering)
อ. ดร.มยุรพันธ์   สัจจกุลนุกิจ Ph.D. (Chemical Engineering)
อ.วรศักดิ์   สมตน M.Eng. (Agricultural Engineering)
อ.มติมา   อริยะชัยพาณิชย์ M.Sc. (Mechanical Engineering)

จำนวนนักศึกษา

จำนวน นักศึกษา ปีการ ศึกษา
๒๕๕๐ ๒๕๕๑ ๒๕๕๒ ๒๕๕๓ ๒๕๕๔
ชั้นปีที่ ๑ ๘๐ ๘๐ ๘๐ ๘๐ ๘๐
ชั้นปีที่ ๒ ๗๑ ๘๐ ๘๐ ๘๐ ๘๐
ชั้นปีที่ ๓ ๕๑ ๗๑ ๘๐ ๘๐ ๘๐
ชั้นปีที่ ๔ ๕๑ ๕๑ ๗๑ ๘๐ ๘๐
รวม ๒๕๓ ๒๘๒ ๓๑๑ ๓๒๐ ๓๒๐
คาดว่าจะ จบการศึกษา ๔๕ ๕๑ ๗๑ ๘๐ ๘๐

สถานที่และอุปกรณ์การสอน

ใช้สถานที่และอุปกรณ์ การสอนที่ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา นครปฐม

ห้องสมุด

ใช้ห้องสมุดที่สำนักหอ สมุดของมหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งมีระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์สำหรับค้นหาฐานข้อมูล สิ่งพิมพ์ ได้แก่ หนังสือ ตำรา วารสาร รายงานวิจัย วิทยานิพนธ์ รวมทั้งฐานข้อมูล ซีดีรอม วีดีทัศน์วิชาการ และแถบบันทึกเสียง โดยมีหนังสือทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษรวมกัน ๓๗๖,๙๓๐ เล่ม เป็นตำราทางด้านวิทยาศาสตร์ภาษาไทย ๓,๐๘๒ เล่ม และภาษาอังกฤษ ๑๘,๘๑๗ เล่ม ตำราทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ภาษาไทย ๕,๓๐๗ เล่มและ ภาษาอังกฤษ ๗,๕๒๕ เล่ม วารสารทางด้านวิทยาศาสตร์ภาษาไทย ๒๕ รายการและภาษาอังกฤษ ๑๒๔ รายการ และวารสารทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ภาษาไทย ๑๖ รายการ และภาษาอังกฤษ ๒๕ รายการ

งบประมาณ

ใช้งบประมาณ ของมหาวิทยาลัยโดยมีค่าใช้จ่ายรายหัวต่อการผลิตบัณฑิตวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมเครื่องกล ในปีงบประมาณ ๒๕๔๘ (๑ ตุลาคม ๒๕๔๗ ถึง ๓๐ กันยายน ๒๕๔๘) เท่ากับ ๗๓,๙๙๕ บาท

หลักสูตร
โครงสร้างหลักสูตร

จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า ๑๔๗ หน่วยกิต
โครงสร้างหลักสูตร
– หมวดวิชาศึกษาทั่วไป รวม ๓๐ หน่วยกิต

กลุ่มวิชาที่มหาวิทยาลัยกำหนด ของหมวดวิชาศึกษาทั่วไป จำนวน ๑๖ หน่วยกิต
– กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ ๗ หน่วยกิต
– กลุ่มวิชาภาษา ๙ หน่วยกิต

กลุ่มวิชาที่หลักสูตรกำหนด จำนวน ๑๔ หน่วยกิต
– กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ ๕ หน่วยกิต
– กลุ่มวิชาภาษา ๓ หน่วยกิต
– กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ๖ หน่วยกิต

หมวดวิชาเฉพาะ รวม ๑๑๑ หน่วยกิต
๑. กลุ่มวิชาแกน ๒๕ หน่วยกิต
๒. กลุ่มวิชาเฉพาะบังคับ ๗๑ หน่วยกิต
๓. กลุ่มวิชาเฉพาะเลือก ๑๕ หน่วยกิต

หมวดวิชาเลือกเสรี รวม ๖ หน่วยกิต
การฝึกงานทางวิศวกรรมเครื่องกล รวม ๐ หน่วยกิต
(ใช้เวลาไม่น้อยกว่า ๒๔๐ ชั่วโมง)

หมวดวิชาศึกษาทั่วไป รวม ๓๐ หน่วยกิต
กลุ่มวิชาที่มหาวิทยาลัยกำหนด ของหมวดวิชาศึกษาทั่วไป จำนวน ๑๖ หน่วยกิต
กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ จำนวน ๗ หน่วยกิต
หน่วยกิต (บรรยาย-ปฏิบัติ)

มมศท ๑๐๑ การศึกษาทั่วไปเพื่อการพัฒนามนุษย์ ๒(๑–๒-๓)
มมศท ๑๐๒ สังคมศึกษาเพื่อการพัฒนามนุษย์ ๓(๒–๒-๕)
มมศท ๑๐๓ ศิลปวิทยาการเพื่อการพัฒนามนุษย์ ๒(๑–๒-๓)
กลุ่มวิชาภาษา จำนวน ๙ หน่วยกิต
วิชาภาษาไทย
ศศภท ๑๐๐ ศิลปะการใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร ๓ (๒–๒-๕)
วิชาภาษาอังกฤษ
ศศภอ ๑๐๓ ภาษาอังกฤษระดับ ๑ ๓ (๒–๒-๕)
ศศภอ ๑๐๔ ภาษาอังกฤษระดับ ๒ ๓ (๒–๒-๕)
ศศภอ ๑๐๕ ภาษาอังกฤษระดับ ๓ ๓ (๒–๒-๕)
ศศภอ ๑๐๖ ภาษาอังกฤษระดับ ๔ ๓ (๒–๒-๕)
ศศภอ ๑๐๗ ภาษาอังกฤษระดับ ๕ ๓(๒–๒-๕)
ศศภอ ๑๐๘ ภาษาอังกฤษระดับ ๖ ๓ (๒–๒-๕)
กลุ่มวิชาที่หลักสูตรกำหนด จำนวน ๑๔ หน่วยกิต
กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ ๕ หน่วยกิต
หน่วยกิต (บรรยาย-ปฏิบัติ)
วศคร ๓๐๐ ปรัชญา จรรยาบรรณ และกฎหมายสำหรับวิศวกร ๑ (๑-๐-๒)
สมสค ๑๓๐ หลักเศรษฐศาสตร์ ๒ (๒-๐-๔)
สมสค ๑๔๐ จิตวิทยาทั่วไป ๒ (๒-๐-๔)
สมสค ๑๔๒ จิตวิทยาสังคม ๒ (๒-๐-๔)
สมสค ๑๔๔ หลักการสื่อสาร ๒ (๒-๐-๔)
สมสค ๑๖๐ หลักการบริหาร ๒ (๒-๐-๔)
สมสค ๑๖๑ นโยบายและการวางแผน ๒ (๒-๐-๔)
สมมน ๑๐๓ ศิลปวิจักษ์ ๒ (๒-๐-๔)
สมมน ๑๐๕ ปรัชญาสังคม ๒ (๒-๐-๔)
สมมน ๑๐๘ มนุษยสัมพันธ์และการพัฒนาตน ๒ (๒-๐-๔)
สมมน ๑๑๐ มนุษย์กับวัฒนธรรม ๒ (๒-๐-๔)
สมมน ๑๑๒ พลวัตของกลุ่มและการทำงานเป็นทีม ๒ (๒-๐-๔)
สมมน ๑๓๓ วาทศาสตร์สำหรับภาวะผู้นำ ๒ (๒-๐-๔)
สมศษ ๑๐๑ กิจกรรมพลศึกษา-ว่ายน้ำ ๑ (๐-๒-๑)
สมศษ ๑๑๔ กิจกรรมพลศึกษา-ลีลาศ ๑ (๐-๒-๑)
สมศษ ๑๑๗ กิจกรรมพลศึกษา-แบดมินตัน ๑ (๐-๒-๑)
สมศษ ๑๑๘ กิจกรรมพลศึกษา-เทนนิส ๑ (๐-๒-๑)
สมศษ ๑๒๕ กิจกรรมพลศึกษา-วอลเล่ย์บอล ๑ (๐-๒-๑)
สมศษ ๑๒๖ กิจกรรมพลศึกษา-เปตอง ๑ (๐-๒-๑)
วศสว ๑๐๑ ดนตรีวิจักษ์ ๒ (๑-๒-๓)
วศสว ๑๐๒ ขับร้องประสานเสียง ๑ (๐-๒-๑)
วศอก ๔๓๐ การจัดการอุตสาหกรรมสำหรับวิศวกร ๓ (๓-๐-๖)
วศอก ๔๓๖ กฎหมายอุตสาหกรรมและกฎหมายพาณิชย์ ๓ (๓-๐-๖)
กลุ่มวิชาภาษา จำนวน ๓ หน่วยกิตหน่วยกิต (บรรยาย-ปฏิบัติ)
ศศภอ ๒๐๗ หลักการแปล ๓ (๓-๐-๖)
ศศภอ ๓๐๔ การอ่านเชิงวิเคราะห์ ๓ (๒-๒-๕)
ศศภอ ๓๐๖ การสนทนาระดับสูง 1 ๓ (๒-๒-๕)
ศศภอ ๓๕๐ การเขียนเชิงธุรกิจ ๓ (๓-๐-๖)
ศศภอ ๓๕๑ การเขียนสรุปและการจดบันทึกย่อ ๓ (๓-๐-๖)
ศศภอ ๔๐๑ การสนทนาระดับสูง 2 ๓ (๒-๒-๕)
ศศภอ ๔๐๒ การพูดในที่สาธารณะ ๓ (๒-๒-๕)
ศศภอ ๔๐๓ การอ่านเชิงวิชาการ ๓ (๒-๒-๕)
ศศภอ ๔๐๔ การเขียนเชิงวิชาการ ๓ (๒-๒-๕)
ศศภท ๑๓๒ ทักษะการใช้ภาษาไทย ๓ (๒-๒-๕)
วศคร ๒๙๐ ภาษาอังกฤษสำหรับวิศวกร ๓ (๓-๐-๖)
วศคร ๔๙๐ การสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษสำหรับวิศวกร ๓ (๓-๐-๖)
ศศภญ ๑๖๑ ภาษาญี่ปุ่นเบื้องต้น ๑ ๓ (๒-๒-๕)
ศศภจ ๑๗๑ ภาษาจีน ๑ ๓ (๒-๒-๕)
กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ จำนวน ๖ หน่วยกิตหน่วยกิต (บรรยาย-ปฏิบัติ)
วศคพ ๑๑๑ การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ๓ (๒-๓-๕)
วศอก ๓๓๕ การวิเคราะห์ต้นทุนและงบประมาณ ๓ (๓-๐-๖)
หมวดวิชาเฉพาะ รวม ๑๑๑ หน่วยกิต
กลุ่มวิชาแกน รวม ๒๕ หน่วยกิต
หน่วยกิต (บรรยาย-ปฏิบัติ)
วทคม ๑๑๓ เคมีทั่วไป ๓ (๓-๐-๖)
วทคม ๑๑๘ ปฎิบัติการเคมี ๑ (๐-๓-๑)
วทคณ ๑๑๕ แคลคูลัส ๓ (๓-๐-๖)
วทคณ ๑๖๕ สมการอนุพันธ์เชิงสามัญ ๓ (๓-๐-๖)
วทฟส ๑๑๐ ปฎิบัติการฟิสิกส์ ๑ ๑ (๐-๓-๑)
วทฟส ๑๕๑ ฟิสิกส์ทั่วไป ๑ ๓ (๓-๐-๖)
วทฟส ๑๕๒ ฟิสิกส์ทั่วไป ๒ ๓ (๓-๐-๖)
วศคร ๒๐๐ คณิตศาสตร์วิศวกรรม ๓ (๓-๐-๖)
วศอก ๑๐๑ ปฏิบัติการวิศวกรรมพื้นฐาน ๒ (๑-๓-๓)
วศคก ๑๐๒ เขียนแบบวิศวกรรม ๓ (๒-๓-๕)
กลุ่มวิชาเฉพาะบังคับ รวม ๗๑ หน่วยกิตหน่วยกิต (บรรยาย-ปฏิบัติ)
วศคก ๑๒๑ กลศาสตร์วิศวกรรม ๑ ๓ (๓-๐-๖)
วศคก ๒๐๔ คณิตศาสตร์สำหรับวิศวกรเครื่องกล ๓ (๓-๐-๖)
วศคก ๒๐๖ ระเบียบวิธีเชิงตัวเลขสำหรับวิศวกร ๓ (๓-๐-๖)
วศคก ๒๐๙ การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในงานออกแบบและวิศวกรรม ๒ (๑-๓-๓)
วศคก ๒๑๓ กลศาสตร์ของวัสดุ ๑ ๓ (๓-๐-๖)
วศคก ๒๒๑ กลศาสตร์วิศวกรรม ๒ ๓ (๓-๐-๖)
วศคก ๒๓๑ อุณหพลศาสตร์ ๑ ๓ (๓-๐-๖)
วศคก ๒๓๔ กลศาสตร์ของไหล ๑ ๓ (๓-๐-๖)
วศคก ๒๕๒ วิศวกรรมยานยนต์ ๑ ๓ (๒-๓-๕)
วศคก ๓๒๓ การออกแบบเครื่องกล ๑ ๓ (๓-๐-๖)
วศคก ๓๒๔ กลศาสตร์เครื่องจักรกล ๓ (๓-๐-๖)
วศคก ๓๒๕ การควบคุมอัตโนมัติ ๓ (๓-๐-๖)
วศคก ๓๓๒ อุณหพลศาสตร์ ๒ ๓ (๓-๐-๖)
วศคก ๓๓๔ การถ่ายเทความร้อน ๓ (๓-๐-๖)
วศคก ๓๕๒ เครื่องยนต์เผาไหม้ภายใน ๓ (๓-๐-๖)
วศคก ๓๗๑ ปฏิบัติการวิศวกรรมเครื่องกล ๑ ๑ (๐-๓-๑)
วศคก ๓๗๒ ปฏิบัติการวิศวกรรมเครื่องกล ๒ ๑ (๐-๓-๑)
วศคก ๔๒๑ การออกแบบเครื่องกล ๒ ๓ (๓-๐-๖)
วศคก ๔๒๒ การสั่นสะเทือนเชิงกล ๓ (๓-๐-๖)
วศคก ๔๔๒ การปรับอากาศ ๓ (๓-๐-๖)
วศคก ๔๙๕ สัมมนาโครงงาน ๑ (๐-๓-๑)
วศคก ๔๙๙ โครงงานวิศวกรรมเครื่องกล ๒ (๐-๖-๒)
วศฟฟ ๒๑๗ วิศวกรรมไฟฟ้าเบื้องต้น ๓ (๓-๐-๖)
วศฟฟ ๒๑๘ ปฏิบัติการวิศวกรรมไฟฟ้าเบื้องต้น ๑ (๐-๓-๖)
วศอก ๑๐๓ วัสดุวิศวกรรม ๓ (๓-๐-๖)
วศอก ๒๐๔ กรรมวิธีการผลิต ๓ (๓-๐-๖)
วศอก ๒๖๑ ความน่าจะเป็นและสถิติ ๓ (๓-๐-๖)
กลุ่มวิชาเฉพาะเลือก รวม ๑๕ หน่วยกิตหน่วยกิต (บรรยาย-ปฏิบัติ)
วศคก ๓๑๓ กลศาสตร์ของวัสดุ ๒ ๓ (๓-๐-๖)
วศคก ๓๓๓ กลศาสตร์ของไหล ๒ ๓ (๓-๐-๖)
วศคก ๓๓๕ อากาศพลศาสตร์ขั้นพื้นฐาน ๓(๓-๐-๖)
วศคก ๓๔๒ การทำความเย็น ๓(๓-๐-๖)
วศคก ๓๕๓ กลศาสตร์ยานยนต์ ๓ (๓-๐-๖)
วศคก ๓๕๔ การควบคุมการส่งกำลังเบื้องต้น ๓ (๓-๐-๖)
วศคก ๓๕๕ ระบบการส่งกำลังสมรรถนะสูง ๓ (๒-๓-๕)
วศคก ๓๕๖ การขับเคลื่อนรถยนต์และการควบคุมการขับขี่ ๓(๒-๓-๕)
วศคก ๓๖๑ อุปกรณ์ขับเคลื่อนและตรวจวัดในหุ่นยนต์ ๓ (๒-๓-๕)
วศคก ๓๖๒ เมคคาทรอนิกส์ขั้นแนะนำ ๓ (๒-๓-๕)
วศคก ๓๘๑ การแปลงรูปพลังงานเบื้องต้น ๓ (๓-๐-๕)
วศคก ๓๘๒ ทรัพยากรพลังงานทดแทนและหมุนเวียน ๓ (๓-๐-๖)
วศคก ๓๙๐-๓๙๙ เรื่องเฉพาะทางวิศวกรรมเครื่องกล ๓(๓-๐-๖) หรือ ๓ (๒-๓-๕)
วศคก ๔๐๒ วิศวกรรมตรวจสอบและบำรุงรักษา ๓(๓-๐-๖)
วศคก ๔๒๙ พลศาสตร์ประยุกต์ ๓ (๓-๐-๖)
วศคก ๔๓๑ เครื่องจักรกลของไหล ๓(๓-๐-๖)
วศคก ๔๓๒ การออกแบบระบบท่อในอาคาร ๓(๓-๐-๖)
วศคก ๔๓๓ การออกแบบเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อน ๓(๓-๐-๖)
วศคก ๔๓๔ การเผาไหม้ ๓(๓-๐-๖)
วศคก ๔๔๓ การออกแบบระบบทำความเย็นและปรับอากาศ ๓(๓-๐-๖)
วศคก ๔๔๔ การทำความเย็นและปรับอากาศภาคปฏิบัติ ๓(๒-๓-๕)
วศคก ๔๕๐ การออกแบบการส่งกำลังด้วยคอมพิวเตอร์ ๓ (๒-๓-๕)
วศคก ๔๕๑ วิศวกรรมโรงจักรต้นกำลัง ๓ (๓-๐-๖)
วศคก ๔๕๔ ทฤษฎีและการออกแบบโครงสร้างรถยนต์และระบบกันสะเทือน ๓(๒-๓-๕)
วศคก ๔๕๕ ระบบไฟฟ้าและการควบคุมด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ในรถยนต์ ๓(๒-๓-๕)
วศคก ๔๖๑ แขนกลขั้นแนะนำ ๓ (๓-๐-๖)
วศคก ๔๖๒ นิวเมติกส์และไฮดรอลิกส์ประยุกต์ ๓(๒-๓-๕)
วศคก ๔๖๓ การวัดในงานวิศวกรรมเครื่องกล ๓ (๒-๓-๕)
วศคก ๔๘๓ เครื่องยนต์กังหันแก๊ส ๓(๓-๐-๖)
วศคก ๔๘๔ การออกแบบระบบทางความร้อน ๓ (๓-๐-๖)
วศคก ๔๘๕ การจัดการและเศรษฐศาสตร์พลังงาน ๓(๓-๐-๖)
วศคก ๔๘๗ การจัดการพลังงานในอาคาร ๓(๒-๓-๕)
วศคก ๔๘๘ การจัดการพลังงานในโรงงานอุตสาหกรรม ๓(๒-๓-๕)
วศคก ๔๘๙ พลังงานแสงอาทิตย์ขั้นแนะนำ ๓(๒-๓-๕)
วศคก ๔๙๐-๔๙๔ หัวข้อพิเศษทางวิศวกรรมเครื่องกล ๓(๓-๐-๖) หรือ ๓ (๒-๓-๕)
วศฟฟ ๒๔๓ วงจรอิเล็กทรอนิกส์แบบแอนะลอกและวงจรดิจิตอล ๓ (๓-๐-๖)
วศฟฟ ๓๕๑ เครื่องจักรกลไฟฟ้า ๑ ๓ (๓-๐-๖)
วศฟฟ ๓๖๐ สัญญาณและระบบ ๓ (๓-๐-๖)
วศฟฟ ๔๖๐ การประมวลผลสัญญาณไม่ต่อเนื่องทางเวลา ๓ (๓-๐-๖)
วศอก ๒๐๖ วิศวกรรมการผลิต ๓ (๓-๐-๖)
วศอก ๓๓๓ เศรษฐศาสตร์วิศวกรรม ๓ (๓-๐-๖)
วศอก ๓๖๓ การควบคุมคุณภาพ ๓ (๓-๐-๖)
วศอก ๓๗๙ วิศวกรรมความปลอดภัย ๓ (๓-๐-๖)
หมวดวิชาเลือกเสรี จำนวน ๖ หน่วยกิต
ให้เลือกเรียนรายวิชาที่มหาวิทยาลัยมหิดลเปิดสอนในระดับปริญญาตรีและจัดให้ เป็นวิชาเลือกเสรี
และ/หรือ รายวิชาจากกลุ่มวิชาเฉพาะเลือกของภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล
และ/หรือตามที่ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกลกำหนด เป็นจำนวน ๖ หน่วยกิต
การฝึกงาน จำนวน ๐ หน่วยกิต
นักศึกษาที่มีฐานะปีที่ ๓ ให้ลงทะเบียนการฝึกงานระยะเวลาไม่น้อยกว่า ๘ สัปดาห์ หรือ
๒๔๐ ชั่วโมงในภาคการศึกษาฤดูร้อนในวิชา
วศคก ๓๐๓ การฝึกงานทางวิศวกรรมเครื่องกล ๐ (๐-๓๕-๑๐)


ความหมายตัวเลขรหัสวิชา

รหัสรายวิชาประกอบด้วยรหัส ๗ ตัว แบ่งเป็นรหัสตัวอักษร ๔ ตัวและรหัสตัวเลข ๓ ตัว

รหัสตัวอักษร
อักษรสองตัวแรก หมายถึง ชื่อย่อของคณะต่างๆในมหาวิทยาลัยมหิดลที่รับผิดชอบจัดการเรียนการสอน
วศ หรือ EG หมายถึง คณะวิศวกรรมศาสตร์
วท หรือ SC หมายถึง คณะวิทยาศาสตร์
สม หรือ SH หมายถึง คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
จก หรือ MG หมายถึง วิทยาลัยการจัดการ
วศ หรือ MS หมายถึง วิทยาลัยดุริยางคศิลป์
ศศ หรือ AR หมายถึง คณะศิลปศาสตร์

อักษรสองตัวหลัง หมายถึง ชื่อย่อของภาควิชาในคณะที่รับผิดชอบจัดการเรียนการสอนในรายวิชานั้นๆ ดังนี้
คร หรือ ID หมายถึง สหวิทยาการ (Interdisciplinary course) เป็นรายวิชาที่เป็นการสอนร่วมกันระหว่างภาควิชา
หรือไม่อยู่ในความรับผิดชอบของภาควิชาใดโดยตรง
สค หรือ SS หมายถึง ภาควิชาสังคมศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
มน หรือ HUหมายถึง ภาควิชามนุษยศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
ศษ หรือ ED หมายถึง ภาควิชาศึกษาศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
คณ หรือ MA หมายถึง ภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์
คม หรือ CH หมายถึง ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์
ฟส หรือ PY หมายถึง ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์
ภอ หรือ EN หมายถึง ภาควิชาภาษาต่างประเทศ คณะศิลปศาสตร์
ภท หรือ TH หมายถึง ภาควิชาภาษาไทย คณะศิลปศาสตร์
ชื่อย่อของภาควิชาในคณะวิศวกรรมศาสตร์มีรหัสตัวอักษร ดังนี้
คก หรือ ME หมายถึง ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล
ฟฟ หรือ EEหมายถึง ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
อก หรือ IE หมายถึง ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ
คพ หรือ COหมายถึง โครงการจัดตั้งภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์

รหัสตัวเลข
ตัวเลขตัวที่หนึ่ง(หลักร้อย) แสดงชั้นปีที่เรียน
ตัวเลขตัวที่สอง(หลักสิบ) แสดงลักษณะวิชาหรือแขนงวิชาย่อย
ตัวเลขตัวที่สาม(หลักหน่วย) แสดงลำดับวิชาที่จัดสอน

คำอธิบายเลขตัวที่สอง (ของภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล)
๐ หมายถึง ลักษณะวิชาพื้นฐาน
๑ หมายถึง ลักษณะวิชากลศาสตร์ของวัสดุ
๒ หมายถึง ลักษณะวิชาระบบกลไก เครื่องจักรกลและการออกแบบ
๓ หมายถึง ลักษณะวิชาอุณหพลศาสตร์ และกลศาสตร์ของไหล
๔ หมายถึง ลักษณะวิชาการทำความเย็นและปรับอากาศ
๕ หมายถึง ลักษณะวิชายานยนต์
๖ หมายถึง ลักษณะวิชาระบบควบคุม
๗ หมายถึง ลักษณะวิชาปฏิบัติการและทดสอบ
๘ หมายถึง ลักษณะวิชาเชื้อเพลิงและพลังงาน
๙ หมายถึง ลักษณะวิชาหัวข้อพิเศษ การสัมมนา และโครงงาน

แผนการศึกษา

ชั้นปีที่ ภาคการศึกษาที่ ๑ ภาคการศึกษาที่ ๒
๑. มมศท ๑๐๑ การศึกษาทั่วไปเพื่อการพัฒนามนุษย์ ๒ (๑-๒-๓) มมศท ๑๐๓ ศิลปวิทยาการเพื่อ การพัฒนามนุษย์ ๒ (๑-๒-๓)
มมศท ๑๐๒ สังคมศึกษาเพื่อการพัฒนามนุษย์ ๓ (๒-๒-๕) ศศภอ ๑๐๔-๑๐๘ ภาษาอังกฤษระดับ ๒-๖ ๓ (๒-๒-๕)
ศศภอ ๑๐๓-๑๐๗ ภาษาอังกฤษระดับ ๑-๕ ๓ (๒-๒-๕) ศศภท ๑๐๐ ศิลปะการใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร ๓ (๒-๒-๕)
วทคณ ๑๑๕ แคลคูลัส ๓ (๓-๐-๖) วทคม ๑๑๓ เคมีทั่วไป ๓ (๓-๐-๖)
วทฟส ๑๑๐ ปฎิบัติการฟิสิกส์ ๑ ๑ (๐-๓-๑) วทคม ๑๑๘ ปฎิบัติการเคมี ๑ (๐-๓-๑)
วทฟส ๑๕๑ ฟิสิกส์ทั่วไป ๑ ๓ (๓-๐-๖) วทคณ ๑๖๕ สมการเชิงอนุพันธ์ สามัญ ๓ (๓-๐-๖)
วศคก ๑๐๒ เขียนแบบวิศวกรรม ๓ (๒-๓-๕) วทฟส ๑๕๒ ฟิสิกส์ทั่วไป ๒ ๓ (๓-๐-๖)
วศอก ๑๐๑ ปฏิบัติการวิศวกรรมพื้นฐาน ๒ (๑-๓-๓) วศคพ ๑๑๑ การเขียนโปรแกรม คอมพิวเตอร์ ๓ (๒-๓-๕)
วิชาเลือกหมวดศึกษา ทั่วไป กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์ ฯ
(กิจกรรมพลศึกษา/ดนตรี)
๑ (๐-๒-๑)
รวม ๒๑ (๑๔-๑๗-๓๕) รวม ๒๑ (๑๖-๑๒-๓๗)
๒. วศคก ๑๒๑ กลศาสตร์วิศวกรรม ๑ ๓ (๓-๐-๖) วศคก ๒๐๔ คณิตศาสตร์สำหรับ วิศวกรเครื่องกล ๓ (๓-๐-๖)
วศคก ๒๐๙ การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในงานออกแบบและวิศวกรรม ๒ (๑-๓-๓) วศคก ๒๐๖ ระเบียบวิธีเชิงตัวเลขสำหรับวิศวกร ๓ (๓-๐-๖)
วศคร ๒๐๐ คณิตศาสตร์วิศวกรรม ๓ (๓-๐-๖) วศคก ๒๑๓ กลศาสตร์ของวัสดุ ๑ ๓ (๓-๐-๖)
วศฟฟ๒๑๗ วิศวกรรมไฟฟ้าเบื้องต้น ๓ (๓-๐-๖) วศคก ๒๒๑ กลศาสตร์วิศวกรรม ๒ ๓ (๓-๐-๖)
วศฟฟ๒๑๘ ปฏิบัติการวิศวกรรมไฟฟ้าเบื้องต้น ๑ (๐-๓-๑) วศคก ๒๓๑ อุณหพลศาสตร์ ๑ ๓ (๓-๐-๖)
วศอก ๑๐๓ วัสดุวิศวกรรม ๓ (๓-๐-๖) วศคก ๒๕๒ วิศวกรรมยานยนต์ ๑ ๓ (๒-๓-๕)
วศอก ๒๐๔ กรรมวิธีการผลิต ๓ (๓-๐-๖) วิชาเลือกหมวดศึกษา ทั่วไป (กลุ่มวิชาภาษา) ๓ (๒-๒-๕) หรือ ๓ (๓-๐-๖)
วศอก ๒๖๑ ความน่าจะเป็นและสถิติ ๓ (๓-๐-๖)
รวม ๒๑ (๑๙-๖-๔๐) รวม ๒๑ (๑๙-๕-๔๐),๒๑(๒๐-๓-๔๑)
๓. วศคก๒๓๔ กลศาสตร์ของไหล ๑ (**) ๓ (๓-๐-๖) วศคก ๓๒๓ การออกแบบเครื่อง กล ๑ ๓ (๓-๐-๖)
วศคก ๓๒๔ กลศาสตร์เครื่องจักรกล ๓ (๓-๐-๖) วศคก ๓๓๔ การถ่ายเทความร้อน ๓ (๓-๐-๖)
วศคก ๓๒๕ การควบคุม อัตโนมัติ ๓ (๓-๐-๖) วศคก ๓๕๒ เครื่องยนต์เผาไหม้ ภายใน ๓ (๓-๐-๖)
วศคก ๓๓๒ อุณหพลศาสตร์ ๒ ๓ (๓-๐-๖) วศคก ๓๗๑ ปฏิบัติการวิศวกรรมเครื่องกล ๑ ๑ (๐-๓-๑)
วศคก๔๒๒ การสั่นสะเทือนเชิงกล ๓ (๓-๐-๖) วศอก ๓๓๕ การวิเคราะห์ต้นทุนและงบประมาณ ๓ (๓-๐-๖)
วศคร ๓๐๐ ปรัชญา จรรยาบรรณ และกฎหมายสำหรับวิศวกร ๑ (๑-๐-๒) วิชาเฉพาะเลือกทางวิศวกรรมเครื่องกล ๓ (๓-๐-๖) หรือ ๓ (๒-๓-๕)
วิชาเฉพาะเลือกทางวิศวกรรมเครื่องกล ๓ (๓-๐-๖) หรือ ๓ (๒-๓-๕)
ภาคการศึกษาฤดูร้อน
วศคก ๓๐๓ การฝึกงานทาง วิศวกรรมเครื่องกล ๐ (๐-๓๕-๑๐)
รวม ๑๙ (๑๙-๐-๓๘),๑๙ (๑๘-๓-๓๗) รวม ๑๖ (๑๕-๓-๓๑), ๑๖ (๑๔-๖-๓๐)
๔. วศคก๓๗๒ ปฏิบัติการวิศวกรรมเครื่องกล ๒ ๑ (๐-๓-๑) วศคก ๔๙๙ โครงงานวิศวกรรม เครื่องกล ๒ (๐-๖-๒)
วศคก๔๒๑ การออกแบบเครื่องกล ๒ ๓ (๓-๐-๖) วิชาเฉพาะเลือกทางวิศวกรรมเครื่องกล ๓ (๓-๐-๖) หรือ ๓ (๒-๓-๕)
วศคก๔๔๒ การปรับอากาศ ๓ (๓-๐-๖) วิชาเฉพาะเลือกทางวิศวกรรมเครื่องกล ๓ (๓-๐-๖) หรือ ๓ (๒-๓-๕)
วศคก๔๙๕ สัมมนาโครงงาน ๑ (๐-๓-๑) วิชาเลือกหมวดศึกษา ทั่วไป (กลุ่มมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์) ๓ (๓-๐-๖)
วิชาเฉพาะเลือกทางวิศวกรรมเครื่องกล ๓ (๓-๐-๖) หรือ ๓ (๒-๓-๕) วิชาเลือกเสรี ๓ (๓-๐-๖) หรือ ๓ (๒-๓-๕)
วิชาเลือกเสรี ๓ (๓-๐-๖) หรือ ๓ (๒-๓-๕)
รวม ๑๔ (๑๒-๖-๒๖) หรือ ๑๔ (๑๐-๑๒-๒๔) รวม ๑๔ (๑๒-๖-๒๖) หรือ ๑๔ (๙-๑๕-๒๓)

รายละเอียดรายวิชา

รหัสวิชา รายวิชา หน่วยกิต (บรรยาย-ปฏิบัติ) คำอธิบายรายวิชา Prerequisite :
หมวดวิชาบังคับ
หมวดวิชาศึกษาทั่วไป
กลุ่มวิชาที่มหาวิทยาลัยกำหนด  ของหมวดวิชาศึกษาทั่วไป
กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์   สังคมศาสตร์
มมศท๑๐๑ การศึกษาทั่วไปเพื่อการพัฒนามนุษย์ ๒ (๑–๒-๓) ความหมาย ความสำคัญ และความสัมพันธ์ของวิชาศึกษาทั่วไปกับวิชาชีพ/วิชาเฉพาะ ความเชื่อมโยงสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมกับคุณสมบัติของจิตใจ  ความสามารถในการคิดวิเคราะห์สังเคราะห์อย่างมีวิจารณญาณ คุณสมบัติของบัณฑิตที่พึงประสงค์    การวิเคราะห์เหตุปัจจัยและผลกระทบของเหตุการณ์/สถานการณ์/ปัญหา  และการสังเคราะห์แนวทางแก้ไขป้องกันปัญหา  หรือปรับปรุงพัฒนาเหตุการณ์/สถานการณ์  เพื่อคุณประโยชน์ต่อตนเอง ผู้อื่น และสังคม การประยุกต์ความรู้เพื่อเสนอแนวทางแก้ไขปัญหากรณีศึกษา
MUGE101 General Education for Human Development 2(1-2-3) The meaning, significance, and relation of General Education to other vocational/ specific subjects; the relation between behavior and mentality; critical thinking; the qualifications of ideal graduates; analysis of causes and consequences of events/ situations/ problems; synthesis of solutions to, precautions against, or improvements in those events/ situations to benefit individuals and their community; and the application of  knowledge to solve the problems of case studies.
มมศท๑๐๒ สังคมศึกษาเพื่อการพัฒนามนุษย์ ๓ (๒–๒-๕) หลักการและทฤษฎีพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ / เหตุการณ์ / ปัญหาที่สำคัญของสังคมไทยและสังคมโลก  อาทิ วิวัฒนาการของอารยธรรมและเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์  ระบบการเมืองการปกครอง  ระบบเศรษฐกิจ  ระบบสุขภาพ   การวิเคราะห์เหตุปัจจัยและผลกระทบของเหตุการณ์/สถานการณ์/ปัญหา และการสังเคราะห์แนวทางแก้ไข  ป้องกันปัญหา  หรือแนวทางปรับปรุงพัฒนาเหตุการณ์ / สถานการณ์ /  เพื่อคุณประโยชน์ต่อตนเอง  ผู้อื่น  และสังคม  การประยุกต์ความรู้เพื่อเสนอแนวทางแก้ไขปัญหากรณีศึกษา
MUGE102 Social Studies for Human Development 3(2-2-5) Basic principles and theory in relation to events/ situations/ major problems of the Thai and global communities, for example, evolution of civilization; important events in historical, political and public administration systems; the economic and health systems, etc.; analysis of causes and consequences of events/ situations/ problems; synthesis of solutions to, precautions against, or improvements in those events/ situations to benefit individuals and their community; and the application of knowledge to solve the problems of case studies.
มมศท๑๐๓ ศิลปวิทยาการเพื่อการพัฒนามนุษย์ ๒ (๑–๒-๓) มนุษยภาพในอดีต  ปัจจุบันและอนาคต  เหตุการณ์ / สถานการณ์ / ปัญหาเกี่ยวกับวิวัฒนาการที่สำคัญทางด้านศิลปวิทยาการของประเทศไทยและของโลก แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง  การวิเคราะห์เหตุปัจจัยและผลกระทบของเหตุการณ์ / สถานการณ์ / ปัญหา และการสังเคราะห์แนวทางแก้ไข ป้องกันปัญหา หรือแนวทางปรับปรุงพัฒนาเหตุการณ์ / สถานการณ์ / เพื่อคุณประโยชน์ต่อตนเอง  ผู้อื่น  และสังคม   การประยุกต์ความรู้เพื่อเสนอแนวทางแก้ไขปัญหากรณีศึกษา
MUGE103 Arts and Science for Human Development 2(1-2-3) Humankind in the past, present and future; events/ situations/ problems in relation to the evolution of the arts and sciences in the Thai and global communities; concepts of the sufficiency economy; analysis of causes and consequences of events/ situations/ problems; synthesis of solutions to, precautions against, or improvements in those events/ situations to benefit individuals and their community; and the application of knowledge to solve the problems of case studies.
กลุ่มวิชาภาษา
ศศภอ๑๐๓ ภาษาอังกฤษระดับ ๑ ๓ (๒–๒-๕) ศิลปะการใช้ภาษาไทย  ทักษะการใช้ภาษาไทยในด้านการพูด  การฟัง  การอ่าน  การเขียนและการคิด   เพื่อการสื่อสารได้อย่างถูกต้อง  เหมาะสม
AREN103 English Level 1 3(2-2-5) Art  of  using Thai  language  and of speaking, listening, reading, writing, and thinking  skills for accurate  and appropriate communication.
ศศภท ๑๐๐ ลปะการใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร ๓ (๒–๒-๕) ไวยากรณ์ และศัพท์ภาษาอังกฤษในบริบทที่เกี่ยวข้องกับการใช้ภาษาในชีวิตประจำวัน ในลักษณะของบูรณาการทักษะการใช้ภาษาอังกฤษทั้งสี่ทักษะ (การฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน)และการสื่อสารในชั้นเรียน
ARTH 100 Art  of  Using Thai  Language in Communication 3(2-2-5) Grammar and vocabulary in the context of daily life language use, dealing with integration in four basic skills (listening, speaking, reading, and writing) and classroom communication.
ศศภอ ๑๐๔ ภาษาอังกฤษระดับ ๒ ๓ (๒–๒-๕) คำศัพท์ สำนวน  ไวยากรณ์ และการใช้ภาษาอังกฤษในบริบททางสังคมปัจจุบัน ทักษะการสนทนาในกลุ่มย่อย ทักษะการเขียนในระดับย่อหน้า และกลยุทธ์ในการอ่าน
AREN 104 English Level 2 3(2-2-5) Vocabulary, expressions, grammar, and contextualized social language; essential communicative skills in small groups; writing practice at a paragraph level; and reading strategies.
ศศภอ  ๑๐๕ ภาษาอังกฤษระดับ ๓ ๓ (๒–๒-๕) การอ่านข้อความและการเขียนทั้งระดับประโยค  และระดับย่อหน้าที่เกี่ยวกับสัดส่วน  ความถี่    และความน่าจะเป็น  รูปร่าง  การวัด  การเปรียบเทียบและการเปรียบต่าง  คำจำกัดความและการ จำแนก  การเขียนอย่างมีเอกภาพ  การใช้คำเชื่อม  การฟังเพื่อจับใจความสำคัญ    การฟังเพื่อรายละเอียดจำเฉพาะ  และการทำการอนุมาน
AREN 105 English Level  3 3(2-2-5) Reading passages and writing at sentence and paragraph levels about proportion, frequency and probability, shape, measurement, comparison and contrast, definition and classification; coherence, unity and transition; listening comprehension; listening for the main idea; listening for specific details; and making inferences.
ศศภอ ๑๐๖ ภาษาอังกฤษระดับ ๔ ๓ (๒–๒-๕) บูรณาการในทักษะทั้งสี่ (การฟัง  การพูด  การอ่านและการเขียน)  การฟังเพื่อจับใจความสำคัญและในรายละเอียด  การอภิปรายตามหัวข้อที่กำหนด  การอ่านบทอ่านในเรื่องที่หลากหลายและทำการสรุปและเขียนอย่างมีระบบในระดับประโยค และระดับย่อหน้าซึ่งเกี่ยวกับประเด็นที่สัมพันธ์กับบทอ่าน
AREN 106 English Level 4 3(2-2-5) Integration in four language skills: listening, speaking, reading and writing; listening comprehension for main ideas and detailed information; topic-oriented discussion; reading passages on various topics and making conclusions; and writing systematically about particular issues of those topics at the sentence and paragraphs levels.
ศศภอ ๑๐๗ ภาษาอังกฤษระดับ ๕ ๓ (๒–๒-๕) บูรณาการทักษะการใช้ภาษาอังกฤษเชิงวิชาการทั้งสี่ทักษะ ตั้งแต่ระดับย่อหน้าจนถึงระดับเรียงความ ที่ใช้หัวข้อเรื่องเกี่ยวกับประจำวันและเกี่ยวข้องกับสาขาวิชา โดยเน้นทั้งการอภิปรายและการนำเสนอผลงานแบบปากเปล่า
AREN 107 English Level  5 3(2-2-5) Integrated skills in English for academic purposes starting from paragraphs leading to the essay level, using everyday and field-related topics, with emphasis on both discussion and oral presentations.
ศศภอ ๑๐๘ ภาษาอังกฤษระดับ ๖ ๓ (๒–๒-๕) การอ่านและการเขียนรายงานทางวิชาการ รวมทั้งบทคัดย่องานวิจัยและบทความทางวารสาร กิจกรรมการพูดที่ใช้ในการสนทนาภาษาอังกฤษในสถานการณ์ต่างๆ การนำเสนอปากเปล่า และทักษะการโต้วาที
AREN 108 English Level  6 3(2-2-5) Reading and writing of academic reports, including research abstracts and journal articles; application of speaking activities to English conversation in various contexts; oral presentations; and debating skills.
กลุ่มวิชาที่หลักสูตรกำหนด
กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์  สังคมศาสตร์
วศคร๓๐ ปรัชญา จรรยาบรรณ และกฎหมายสำหรับวิศวกร ๑ (๑-๐-๒) ปรัชญาวิชาชีพวิศวกรรม กฎหมายควบคุมการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมของประเทศไทย  ความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติวิศวกรในปัจจุบัน  โครงสร้างองค์กร อำนาจและหน้าที่ของสภาวิศวกรที่ทำหน้าที่ควบคุมวิชาชีพวิศวกรรม  สมาชิกสภาวิศวกร ระเบียบและข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมการประกอบวิชาชีพ ความรู้ทางด้านความปลอดภัย  สิ่งแวดล้อม  จรรยาบรรณ  กฎหมายและทักษะทางวิศวกรรมสำหรับการประกอบวิชาชีพ
EGID300 Philosophy, Ethics and Laws for Engineers 1(1-0-2) Philosophy of engineering professional ; law required for engineering professional in Thailand; knowledge about the current Engineering Act ; organization , potency and duties for the Council of Engineer that responsible for engineering professional; the member of the Council of Engineer; rules and regulations relevant to engineering professional; knowledge in safety , environment, ethics, laws and engineering skills needed for the engineering professional.
สมสค๑๓๐ หลักเศรษฐศาสตร์ ๒ (๒-๐-๔) ทฤษฎีและแนวความคิดขั้นพื้นฐานทางเศรษฐศาสตร์  อุปสงค์   อุปทาน  กลไกราคา  ทฤษฎีพฤติกรรมผู้บริโภค  ทฤษฎีการผลิต  ต้นทุน และประเภทของตลาด  รายได้ประชาชาติ   การค้าระหว่างประเทศ ระบบเศรษฐกิจไทย ฯลฯ  โดยเน้นการประยุกต์    ใช้ตามสาขาการศึกษาของนักศึกษา
SHSS130 Principles of Economics 2(2-0-4) Foundation   of   economic   theory   and  concept,   i.e,   demand   and  supply,  price  mechanism    theory    of    consumer    behavior,   Theory  of  production,  costs  and   types    of    Markets,    national    income,    international    trade,   structure  of  Thai   economic  system,  etc.   Application   will   emphasize   on   the  student  is  field  of  study.
สมสค๑๔๐ จิตวิทยาทั่วไป ๒ (๒-๐-๔) ศึกษาตัวแปร และกระบวนการทางจิตวิทยา ที่มีอิทธิพลต่อการแสดงพฤติกรรมของบุคคล เช่น ความรู้สึก  การรับรู้  การเรียนรู้และการขัดเกลาสังคม อารมณ์ แรงจูงใจ  ทัศนคติบุคลิกภาพ  การปรับตัว และสุขภาพจิต
SHSS140 General Psychology 2(2-0-4) This course deals with psychological variables and mental processes as the determinants of individual behavior. The psychological variables include sensation, perception, learning  and socialization, emotion, motivation, attitude, personality, adjustment and mental health
สมสค๑๔๒ จิตวิทยาสังคม ๒ (๒-๐-๔) ทฤษฎีและแนวความคิดทางจิตวิทยาสังคม การรับรู้ทางสังคม การเรียนรู้ทางสังคม ทัศนคติ ค่านิยม ความเชื่อ บุคลิกภาพ บริบททางสังคมวัฒนธรรม พฤติกรรมกลุ่ม การสื่อความเข้าใจกันในสังคมและความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล
SHSS142 Social Psychology 2(2-0-4) Theory and concept in social psychology, social perception, social learning, attitude, value, belief, personality, social-cultural contexts, group behavior, communication and interpersonal  relationships.
สมสค๑๔๔ หลักการสื่อสาร ๒ (๒-๐-๔) มุ่งให้นักศึกษาได้ตระหนักถึงความจำเป็นและความสำคัญของการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพโดยการนำเสนอแบบจำลองและทฤษฎีต่าง ๆ   ทางการสื่อสารเพื่อให้เกิด ความเข้าใจรวบยอดเกี่ยวกับกระบวนการสื่อสารและองค์ประกอบของการสื่อสาร และเพื่อลดความล้มเหลวในการสื่อสาร  ทักษะที่จำเป็นในการสื่อสาร และจิตวิทยาการสื่อสาร จึงเป็นสาระที่เพิ่มขึ้นในวิชานี้
SHSS144 Principles of Communication 2(2-0-4) This  course  is  designed  to enable students to recognize  the  necessity  and  importance  of effective communication. Various models and theories will be provided for a  comprehensive understanding of communication  process  and  its  elements. The course is also concerned with essential skills required in communication. As well as  communication  psychology  concepts,  in  order  to  minimize  some  communication  breakdown.
สมสค๑๖๐ หลักการบริหาร ๒ (๒-๐-๔) ความรู้พื้นฐานทางด้านการบริหาร  แนวคิด  ทฤษฎี  หลักการและกระบวนการบริหารวัฒนธรรมองค์การและการบริหารสู่ความเป็นเลิศ  จริยธรรมและความรับผิดชอบทางสังคม   การจัดรูปองค์การ การบริหารยุทธศาสตร์  การทำงานเป็นทีมและการสร้างทีมงานที่มีประสิทธิภาพ  การเปรียบเทียบการบริหารราชการกับการบริหารธุรกิจ  เทคนิคการบริหาร   และการพัฒนาคุณภาพ
SHSS160 Principles of Administration 2(2-0-4) Foundation  of  administration,  concept,  theory  and  function  of  administration,  organizational  culture  and  management  excellence,  management  ethics  and  social  responsibility,  organization  design,  strategic  management,  teamwork  and  effective  team  building,  comparative  analysis  of  public  administration  and  business  administration,  management  techniques  and  quality  management.
สมสค๑๖๑ นโยบายและการวางแผน ๒ (๒-๐-๔) เนื้อหาความรู้พื้นฐานด้านนโยบายและการวางแผนลักษณะทั่วไปของนโยบาย การกำหนดนโยบายการวิเคราะห์นโยบาย หลักการวางแผนและกระบวนการวางแผน  การวางแผน/โครงการการบริหารโครงการการประเมินผลโครงการ  การวิเคราะห์ความเหมาะสมของแผนงาน/โครงการ  การวางแผนนโยบายกับการวางแผนพัฒนาประเทศการวางแผนกลยุทธ์การใช้Logical-Framework  และการใช้เทคนิคเพื่อการวางแผน
SHSS161 Policy and Planning 2(2-0-4) Foundation  of  Policy  and  Planning  General  Characteristics  of  Public  Policy,  Formulation,  Policy  analysis,  Principle  and  process  of  planning,  Program/Project  planning,  Policy  Formulation  in  Relation  to  national  development  plan,  Strategic  Planning  and  La  Frame  work.
สมมน๑๐๓ ศิลปวิจักษ์ ๒ (๒-๐-๔) วิวัฒนาการของวิจิตรศิลป์จากสมัยก่อนประวัติศาสตร์ สมัยอารยธรรมอียิปต์ กรีก โรมัน ยุโรปสมัยกลาง สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการสมัยใหม่จนถึงศิลปะยุคปัจจุบัน รวมทั้งศิลปะของไทยในแง่คุณค่าและความประณีตในจิตรกรรมฝาผนัง พระพุทธรูปสมัยต่าง ๆ และรูปแบบสถาปัตยกรรมไทยยุคต่าง ๆ จากวัดในประเทศไทย
SHHU103 Art Appreciation 2(2-0-4) Evolution of fine art from per-historical period to civilizations of ancient Egypt, Greek, and Roman antiquity, Middle Ages, Renaissance, Baroque, Rococo, Neo-classicisn, up to the present time including traditional Thai art in Thai mural painting, styles of Buddha images and Thai architectural styles in Buddhist temples in Thailand
สมมน๑๐๕ ปรัชญาสังคม ๒ (๒-๐-๔) ความหมายและขอบเขตของปรัชญาสังคม  ความแตกต่างระหว่างปรัชญาสังคมกับทฤษฎีการเมืองวิเคราะห์เปรียบเทียบทฤษฎีปรัชญาสังคมที่มีอิทธิพลต่อความคิดปัจจัย เช่น ปรัชญา สังคมของเพลโต ปรัชญาสังคมแบบเสรีนิยม  ปรัชญาสังคมของพวกซ้ายใหม่ และปรัชญาประชาธิไตย วิเคราะห์เปรียบเทียบความคิดพื้นฐานในทฤษฎีต่าง ๆ เช่น เสรีภาพ สิทธิโดยธรรมชาติ  ความเป็นธรรมในสังคม  ผลประโยชน์ของประชาชน  การมีส่วนรวมในการปกครอง  ตลอดจนปัญหาในการนำทฤษฎีปรัชชาสังคมแต่ละประเภทมาใช้
SHHU105 Social Philosophy 2(2-0-4) Meaning, and scope of social philosophy, differences between social philosophy and political theory. Comparative analysis of the social philosophical theories with influence on contemporary thoughts such as Plato’s, liberalism, the New Left, and democracy. Comparative analysis of basic concepts in different theories  such as liberty, natural rights, social justice, public interest, public participation, and problems in the application of those theories.
สมมน๑๐๘ มนุษยสัมพันธ์และการพัฒนาตน ๒ (๒-๐-๔) หลักและวิธีการมนุษยสัมพันธ์ และการพัฒนาตนเองตามคำสอนของพุทธศาสนา    เช่น วิธีสร้างมนุษยสัมพันธ์ที่ดีในหมู่เพื่อนร่วมงานและสมาชิกสังคม  ศิลปะการทำงานร่วมกัน   การบริหารงานตามหลักคำสอนพุทธศาสนา    การปลูกสร้างสัมมาทิฐิและอุดมคติในการทำงาน  วิธีปฏิบัติสมาธิตามแนวพุทธศาสนา  ศิลปะการพูดในที่สาธารณะ
SHHU108 Human Relation and Self-Development 2(2-0-4) Principles  and  methods  of  cultivation  human  relations  and  self-development  according  to  Buddhist  perspective.  For  example,  methods  to  develop  a  good  relationship  among  colleagues  and  members  in  society,  the  art  of  teamwork,  the  administration  according  to  the  Buddhist  teachings,  the  cultivation  of  right  view  and  working  ethos,  Buddhist  meditation,  and  art  of  public  speaking.
สมมน๑๑๐ มนุษย์กับวัฒนธรรม ๒ (๒-๐-๔) ความหมายละความสำคัญของวัฒนธรรม วิถีชีวิต โลกทัศน์ ขนบธรรมเนียมประเพณี ความเชื่อ ระบบค่านิยม  เทคโนโลยีพื้นบ้านของคนไทยกลุ่มต่าง ๆ ในชนบท  และชนกลุ่มน้อยที่อยู่ในประเทศไทย ความเข้าใจในคุณค่าของวัฒนธรรม ระบบความเชื่อ ประเพณีและรูปแบบการดำเนินชีวิตของคนในชนบท สร้างความเข้าใจและความสามารถเข้าถึงจิตใจของชาวบ้าน ซึ่งเป็นประโยชน์สำหรับการทำงาน ทั้งโดยส่วนตัวและต่อการพัฒนาประเทศชาติโดยรวม
SHHU110 Human and Culture 2(2-0-4) Meanings and significance of cultures, ways of life, worldviews, traditions, customs, beliefs, value systems, fork technology of different groups of Thai people in the rural area and minority groups in Thailand. Understanding of culture’s value, belief systems, customs, and patterns of living of rural people. Creating sympathy and understanding of rural people’s needs will benefit own work and national development as a whole.
สมมน๑๑๒ พลวัตของกลุ่มและการทำงานเป็นทีม ๒ (๒-๐-๔) ทฤษฎีต่าง ๆ เกี่ยวกับการทำงานเป็นกลุ่ม  พฤติกรรมการรวมกลุ่ม กระบวนการทำงานเป็นกลุ่ม บทบาท และลักษณะเฉพาะของภาวะผู้นำกลุ่มที่มีประสิทธิภาพ การสื่อสารภายในกลุ่ม การสร้างมนุษยสัมพันธ์ และการพัฒนาบุคลิกภาพ การตัดสินใจ และการแก้ปัญหาความขัดแย้งของกลุ่ม
SHHU112 Group Dynamics and Teamwork 2(2-0-4) Theories of teamwork, group – gathering behaviors, process of working in team, roles and characteristics of leadership, effective teamwork, group communication, human relations, personality development, decision- making and group- conflict solution
สมมน๑๓๓ วาทศาสตร์สำหรับภาวะผู้นำ ๒(๒-๐-๔) ทฤษฎีและการปฏิบัติแนวใหม่ทางวาทศาสตร์สำหรับผู้นำ ทักษะการฝึกพูดต่อสาธารณและพัฒนาบุคลิกภาพสู่ภาวะผู้นำ สำหรับการเตรียมพร้อมในด้านการนำเสนอความรู้ ความคิดเห็น และความคิด ด้วยทักษะการคิดหลากมิติที่กระตุ้นการพัฒนา และการพัฒนาภูมิปัญญาของแต่ละบุคคลในเรื่องการสื่อความหมายไปยังสาธารณชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
SHHU133 Rhetoric for Leadership 2(2-0-4) Theories and practices on the new trend of rhetoric for leadership  including training skill in public speaking and personal  development for leadership in preparing for academic presentations, ideas, and thoughts. Multi-dimensioned  thinking  practices motivating individuals’ intellectual development of effective communication to the public.
สมศษ๑๐๑ กิจกรรมพลศึกษา-ว่ายน้ำ ๑ (๐-๒-๑) ประวัติความเป็นมาและความรู้ทั่วไปของการว่ายน้ำ ประโยชน์และคุณค่าของการว่ายน้ำ  การสร้างเสริมสมรรถภาพสำหรับการว่ายน้ำ  ทักษะการว่ายน้ำขั้นพื้นฐาน กติกาการว่ายน้ำ
SHED101 Physical Education Activity-Swimming 1(0-2-1) History and introduction of swimming, significance and values of swimming, potential promotion for swimming, basic skills and rules of swimming.
สมศษ๑๑๔ กิจกรรมพลศึกษา-ลีลาศ ๑ (๐-๒-๑) ประวัติความเป็นมาและความรู้ทั่วไปของการลีลาศ ประโยชน์และคุณค่าของการลีลาศ  การสร้างเสริมสมรรถภาพสำหรับการลีลาศ  ทักษะการลีลาศขั้นพื้นฐาน  มารยาทใน         การลีลาศ
SHED114 Physical Education Activity-Social Dance 1(0-2-1) History and introduction of social dance, significance and values of social dance, potential promotion for social dancing, players, basic skills and rules of social dance.
สมศษ๑๑๗ กิจกรรมพลศึกษา-แบดมินตัน ๑ (๐-๒-๑) ประวัติความเป็นมาและความรู้ทั่วไปของกีฬาแบดมินตัน ประโยชน์และคุณค่าของกีฬาแบดมินตัน  การสร้างเสริมสมรรถภาพสำหรับการเล่นแบดมินตัน  ทักษะการเล่นแบดมินตันขั้นพื้นฐาน  กติกาการเล่นแบดมินตัน
SHED117 Physical Education Activity-Badminton 1(0-2-1) History and introduction of badminton, significance and values of badminton, potential promotion for badminton playing, basic skills and rules of badminton playing.
สมศษ๑๑๘ กิจกรรมพลศึกษา-เทนนิส ๑ (๐-๒-๑) ประวัติความเป็นมาและความรู้ทั่วไปของกีฬาเทนนิส ประโยชน์และคุณค่าของกีฬาเทนนิส  การสร้างเสริมสมรรถภาพสำหรับการเล่นเทนนิส  ทักษะการเล่นเทนนิสขั้นพื้นฐาน  กติกาการเล่นเทนนิส
SHED118 Physical Education Activity-Tennis 1(0-2-1) History and introduction of tennis, significance and values of tennis, potential promotion of tennis players, basic skills and rules of tennis playing.
สมศษ๑๒๕ กิจกรรมพลศึกษา-วอลเล่ย์บอล ๑ (๐-๒-๑) คุณค่าและประโยชน์ของการออกกำลังกาย หลักการและวิธีการในการออกกำลังกาย ประวัติความเป็นมาและคุณค่าของกีฬาวอลเล่ย์บอล  ทักษะการเล่นขั้นพื้นฐาน การเล่นเป็นทีม  กติกามารยาทในการเล่นและดูกีฬา
SHED125 Physical Education Activity-Volleyball 1(0-2-1) Values and benefits of exercise and sports; etiquettes, spirit of athletes and sport spectators in volleyball; history, rules and regulation of volleyball; basic movements, skills, techniques, playing strategies and competitions in volleyball.
สมศษ๑๒๖ กิจกรรมพลศึกษา-เปตอง ๑ (๐-๒-๑) คุณค่าและประโยชน์ของการออกกำลังกาย หลักการและวิธีการออกกำลังกาย ประวัติความเป็นมาและประโยชน์ของกีฬาเปตอง ทักษะพื้นฐานกีฬาเปตอง วิธีการเล่น กฎ กติกา มารยาทในการเล่น การจัดการแข่งขัน การเลือกอุปกรณ์ การรักษาอุปกรณ์ และการจัดทำสนามเปตอง
SHED126 Physical Education Activity-Petaunque 1(0-2-1) Values and benefits of exercise and sports; etiquettes, spirit of players and spectators in Petaunque; history  basic movements, skills, techniques, plying strategies and competition, rules and regulation in Petaunque.
วศสว๑๐๑ ดนตรีวิจักษ์ ๒ (๑-๒-๓) ความหมายของดนตรี ดนตรีกับสุนทรีย์ศาสตร์ การรับรู้และเรียนรู้ดนตรีศิลป์ที่ได้รับการยกย่องทั้งดนตรีสากลและดนตรีไทย  ชีวประวัติของนักดนตรีและนักประพันธ์คนสำคัญ ๆ ที่มีชื่อเสียง การสร้างประสบการณ์ทางการสุนทรียะในการฟังดนตรี เนื้อหาและรูปแบบของดนตรีสไตล์ต่าง ๆ
MSID101 Music Appreciation 2(1-2-3) The meaning of music, relationshop of music and aesthetics. An intensive seminar which deals with all aspects of Western Classical Music and Thai Traditional in included.
วศสว๑๐๒ ขับร้องประสานเสียง ๑ (๐-๒-๑) เกี่ยวกับการขับร้องประสานเสียง ฝึก Musicianship และการถูก Conduct ฝึกการแสดงออกของท่าทางต่าง ๆ เมื่อกำลังขับร้อง ปฏิบัติขับร้องประสานเสียงกับบทเพลงอย่างง่ายจนถึงระดับกลางที่มีความยาวไม่มากเกินไป  ฝึกหัดขับร้องเพลงทั้งสไตล์คลาสสิก แจ๊ส และป๊อปปูล่า นักศึกษาที่เลือกวิชาขับร้องประสานเสียง  จะพบอาจารย์ผู้สอนก่อนที่จะลงทะเบียนเพื่อที่จะทดสอบความสามารถในการร้องเพลงก่อน
MSID102 Chorus 1(0-2-1) A performance class of choral music dealing with  basic  principles and techniques of group singing, musical style  including Thai popular songs, and rehearsal skill.
วศอก๔๓๐ การจัดการอุตสาหกรรมสำหรับวิศวกร ๓ (๓-๐-๖) หลักการและการปฏิบัติสำหรับจัดโครงสร้างองค์กร หลักการบริหารองค์กรและพฤติกรรม    องค์กร  การกำหนดนโยบายการบริหารบุคคล   ยุทธศาสตร์การบริหาร  การบริหารโครงการ การเงินและการตลาดเบื้องต้น  การบริหารการดำเนินงาน และการบริหารคุณภาพโดยรวม
EGIE430 Industrial Management for Engineers 3(3-0-6) Approaches and practices for organization structure, organization management, organization behaviour, policy and human resource management, strategic management, project management, introduction to finance and marketing, operations management  and  total quality management.
วศอก๔๓๖ กฎหมายอุตสาหกรรมและกฎหมายพาณิชย์ ๓ (๓-๐-๖) ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมาย และกระบวนการยุติธรรม  กฎหมายคุ้มแรงงาน แรงงานสัมพันธ์  กฎหมายเงินทดแทนและประกันสังคม  ศาลแรงงาน  กฎหมายโรงงานและสิ่งแวดล้อม  กฎหมายธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการลงทุน  ภาษี  การศุลกากร  ทรัพย์สินทางปัญญา  และมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม  การดูงาน
EGIE436 Industrial and Commercial Laws 3(3-0-6) Introduction to laws and justice. Labor Protection and labor relations acts. Compensation and social security acts. Labor court. Industrial and environment laws. Business laws related to investment, taxes, customs, intellectual properties.  Industrial standard.  Field trips.
กลุ่มวิชาภาษา
ศศภอ ๒๐๗ หลักการแปล ๓ (๓-๐-๖) ทฤษฎีและหลักกระบวนการแปล วิธีการและศิลปะในการแปล การเลือกใช้ภาษาที่เหมาะสมกับงานแปลประเภทต่างๆ ปัญหาต่างๆในการแปล และแนวทางการแก้ไข บทบาทของนักแปล
AREN207 Principles of Translation 3(3-0-6) Translation theories and procedure; methods and art of translation; language selection appropriate for each particular type of translation work; problems in translation and solutions to the problems; roles of translators.
ศศภอ ๓๐๔ การอ่านเชิงวิเคราะห์ ๓ (๒-๒-๕) ฝึกฝนทักษะการอ่านแบบต่างๆ การสรุปข้อมูลจากการอ่าน การนำเสนอความคิดเห็นงานที่อ่าน ทั้งในการเขียนเป็นบทความหรือการอภิปรายร่วมกันในกลุ่ม
AREN304 Analytical Reading 3(2-2-5) Various reading skills; drawing conclusions from the material read; idea presentation about the reading in the forms of written articles as well as group discussion.
ศศภอ ๓๐๖ การสนทนาระดับสูง ๑ ๓ (๒-๒-๕) การฟังและจับใจความของเนื้อเรื่องที่ฟัง และนำเสนอโดยการพูด ฝึกพูด โดยเน้นการออกเสียงให้ถูกต้องตามระบบเสียงภาษาอังกฤษ การออกเสียงพยัญชนะ และสระ การลงเสียงหนัก และการใช้ทำนองเสียงที่ถูกต้องในการพูดหรือสนทนาภาษาอังกฤษ
AREN306 Advanced Level Conversation I 3(2-2-5) Listening for main ideas and oral presentation of those ideas; pronunciation of English consonants and vowels; speaking practice with an emphasis on correct pronunciation based on English phonology; stress and intonation in English conversation.
ศศภอ ๓๕๐ การเขียนเชิงธุรกิจ ๓ (๓-๐-๖) การเขียนเชิงธุรกิจ การเขียนจดหมาย รายงาน การจดบันทึกข้อความ โทรสารการจัดทำรายงานทางธุรกิจ ศึกษาคำศัพท์และสำนวนที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ
AREN350 Business Writing 3(3-0-6) Business writing, including business letters, minutes, memorandum, fax, business report; study of business-related lexicons and expressions.
ศศภอ ๓๕๑ การเขียนสรุปและการจดบันทึกย่อ ๓ (๓-๐-๖) หลักการเขียนสรุป และการจดบันทึกย่อ การจับประเด็นสำคัญของเรื่องที่อ่านหรือที่ได้ยิน ฝึกฝนการใช้หลักการดังกล่าว ในการเขียนสรุป และจดบันทึกย่อ
AREN351 Summary Writing and Note-Taking 3(3-0-6) Principles of summary writing and note-taking; understanding of main ideas from the material read or heard; practice of summary writing and note-taking based on the principles learned.
ศศภอ ๔๐๑ การสนทนาระดับสูง ๒ ๓ (๒-๒-๕) การฟังและการพูดในสถานการณ์ต่างๆ การโต้ตอบด้วยภาษาอังกฤษ การสร้างและพัฒนาคลังคำศัพท์ การพูดเน้นความถูกต้องทางไวยากรณ์ และความชัดเจนในการเสนอความคิดเห็น
AREN401 Advanced Level Conversation II 3(2-2-5) Listening and speaking in various situational contexts; interaction in English; word building and development of lexicon; speaking with acceptable grammar; clear presentation of ideas.
ศศภอ ๔๐๒ การพูดในที่สาธารณะ ๓ (๒-๒-๕) การฟังและการพูดเพื่อสื่อความคิดอย่างประสบผลสำเร็จ การเตรียม และการแสดงสุนทรพจน์ การกล่าวปราศรัย การพูดเชิงชักชวน และการนำเสนอผลงานในที่สาธารณะ  การสัมภาษณ์ การโต้วาที การพูดต่อชุมชนเพื่อให้มีผลสำเร็จโดยให้รู้จักใช้ภาษา น้ำเสียง ท่าทางที่เหมาะสมกับแต่ละสถานการณ์
AREN402 Public Speaking 3(2-2-5) Listening and speaking for successful conveying of thoughts; speech preparation and giving; persuasive speaking; public presentation; public interview; debate; successful public speaking with an emphasis on language, tone of voice and gesture suitable for a particular situation.
ศศภอ๔๐๓ การอ่านเชิงวิชาการ ๓ (๒-๒-๕) การอ่านงานวิชาการในรูปแบบต่างๆ การสรุปข้อมูลที่ได้จากการอ่าน การนำเสนอความเห็นสำหรับงานที่อ่านทั้งการเขียนและการพูด
AREN403 Academic Reading 3(2-2-5) Reading numerous forms of academic reading materials; drawing conclusions from the information obtained from the reading; oral as well as written presentation of ideas regarding the material read.
ศศภอ ๔๐๔ การเขียนเชิงวิชาการ ๓ (๓-๐-๖) รูปแบบและลีลาในการเสนอข้อมูลของงานเขียนเชิงวิชาการ การเขียนเชิงวิชาการโดยวิธีค้นคว้า รวบรวม เรียบเรียง และนำเสนอการเขียนงานทางวิชาการส่วนต่างๆ ในรูปแบบของรายงานทางวิชาการ ซึ่งประกอบด้วย บทคัดย่อ บทนำ เนื้อเรื่อง และบทสรุป
AREN404 Academic Writing 3(3-0-6) Form and style in the presentation of academic materials; writing academic materials through researching, data collection, composition and presentation; writing different parts of academic materials including abstract, introduction, body and conclusion.
ศศภท๑๓๒ ทักษะการใช้ภาษาไทย ๓ (๒-๒-๕) ทฤษฎีและหลักภาษาไทย  การใช้ภาษาไทยให้เหมาะสมกับกาละเทศะและบุคคล
ARTH132 Thai Language Skill 3(2-2-5) Theories and principles of Thai language; use of Thai language appropriate to time, situation and person.
วศคร ๒๙๐ ภาษาอังกฤษสำหรับวิศวกร ๓ (๓-๐-๖) ฝึกการอ่านจับใจความจากเนื้อหาทางวิศวกรรมศาสตร์  การวิเคราะห์ และสรุปใจความจากการอ่านเพื่อเพิ่มความรู้คำศัพท์และความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษ  ทักษะการเขียนและการฟังเบื้องต้น  การเขียนรายงานอย่างง่าย ๆ และการนำเสนอปากเปล่า การฟังเพื่อจับใจความในหัวข้อเทคโนโลยีสมัยใหม่
EGID 290 English for Engineers 3(3-0-6) Practice  in  reading  and  understanding  of  engineering  texts; analysis  and  summarization  of readings  to  improve  vocabulary and the  ability  to  work  with  English; basic  writing  and  listening  skills; simple  report-writing  and  oral  presentation; aural  input  involving  new  technologies  using  a  variety  of  means.
วศคร๔๙๐ การสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษสำหรับวิศวกร ๓ (๓-๐-๖) การสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษในเชิงอ่าน เขียน ฟัง และพูด โดยเน้นทางด้านวิศวกรรมศาสตร์  เน้นทักษะการนำเสนอ การเขียนรายงาน การวิเคราะห์ การเขียนในวิชาชีพและบทความในวารสารวิชาการ  การเตรียมตัวสำหรับตลาดงาน  การเขียนจดหมาย  การเขียนประวัติส่วนตัว  ทักษะการสัมภาษณ์
EGID  490 English Communication for Engineers 3(3-0-6) English  communication: reading, writing, listening  and  speaking, with an  emphasis  on Engineering; emphasis  on  presentation  skills; writing  reports; analysis  of  professional  writing  and  journal articles; preparation  for  the  job  market, with letter  writing, preparation  of  resumes (C.V.); interview  skills.
ศศภญ๑๖๑ ภาษาญี่ปุ่นเบื้องต้น ๑ ๓ (๒-๒-๕) ฝึกอ่านและเขียนตัวอักษรฮิรางานะและคาตาคานะ   หลักไวยากรณ์  ภาษาญี่ปุ่นเบื้องต้น   โดยเน้นทักษะการฟัง พูด อ่าน และเขียน ให้รู้จักใช้คำศัพท์และรูปประโยคที่ใช้ในชีวิตประจำวัน
ARJP 161 Elementary Japanese I 3(2-2-5) Practice in reading and writing Hiragana and Katakana characters ;  elementary  Japanese grammatical structures in listening, speaking, reading and writing; Japanese vocabulary and syntactic structures used in daily life.
ศศภจ ๑๗๑ ภาษาจีน ๑ ๓ (๒-๒-๕) ฝึกการออกเสียงภาษาจีนกลางทางด้านสระ พยัญชนะ วรรณยุกต์ และการเขียนภาษาจีนกลางโดยใช้ตัวอักษรโรมัน  (Pinyin Romanization) ทักษะพื้นฐานในการฟัง พูด อ่าน และเขียนภาษาจีนในวงคำศัพท์ภาษาจีน ๓๐๐ คำ
ARCH 171 Chinese 1 3(2-2-5) Pronunciation practice in vowels, consonants, tones, and Mandarin Chinese phonetic alphabet (Pinyin); and basic skills in listening, speaking, reading, and writing within 300 Chinese characters.
กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์   คณิตศาสตร์
วศคพ๑๑๑ การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ๓ (๒-๓-๕) แนะนำแนวคิดคอมพิวเตอร์  ส่วนประกอบต่าง ๆ ของคอมพิวเตอร์  ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์   การโต้ตอบระหว่างฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ แนวคิดการประมวลผล  ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์   (อีดีพี)   แนะนำการออกแบบและการสร้างโปรแกรมโดยใช้ภาษาระดับสูง:  ชนิดข้อมูลและนิพจน์  ข้อความสั่งเชิง วนซ้ำและเชิงควบคุมแบบมีเงื่อนไข   ฟังก์ชัน  ตรรกะแบบบูล  โครงสร้างแถวลำดับและโครงสร้างระเบียน ตัวชี้แนะนำการเรียกซ้ำ
EGCO111 Computer Programming 3(2-3-5) Introduction  to  computer  concepts,  computer  components,  hardware  and  software, hardware   and  software  interaction,  Electronic  Data  Processing  (EDP) concepts. Introduction   to program   design and implementation using a high-level language:  types and expression, iterative and conditional control statements, functions, Boolean   logic, array and record structures,  pointers,  introduction to recursion.
วศอก๓๓๕ การวิเคราะห์ต้นทุนและงบประมาณ ๓ (๓-๐-๖) หลักการทางบัญชีพื้นฐาน  การวิเคราะห์ต้นทุน และค่าใช้จ่ายเพื่อการวางแผน และการควบคุมการผลิต  การจัดสรรต้นทุน  การทำงบประมาณเพื่อใช้ในการวางแผนและควบคุมการดำเนินงาน  รวมถึงการตัดสินใจตามฐานต้นทุน
EGIE335 Cost Analysis and Budgeting 3(3-0-6) Principles of basic accounting, cost and expenditure analysis for production planning and controlling, capital and cost allocation, budgeting for operation planning and controlling, and including cost-based decision making.
หมวดวิชาเฉพาะ
กลุ่มวิชาแกน
วทคม๑๑๓ เคมีทั่วไป ๓ (๓-๐-๖) ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับทฤษฎีอะตอม  การจัดอิเล็คตรอนของอะตอม  ตารางธาตุ ปัจจุบันชนิดของพันธะเคมี ทฤษฎีการเกิดสารประกอบและคุณสมบัติของสารประกอบต่าง ๆ คุณสมบัติของโลหะและสารกึ่งตัวนำ สสารในสถานะแก๊ส  ของเหลวและของแข็ง  การเปลี่ยนสถานะของสสาร  สมดุลกายภาพ  แผนภาพวัฏภาค  เทอร์โมไดนามิกส์เคมี  อัตราเร็วของปฏิกิริยาและสมดุลเคมี
SCCH113 General Chemistry 3(3-0-6) Principles of atomic  structure,   electron  configuration,   periodic  table,   chemical bonding, compound  formation  and  their properties, properties of metals and  semimetals, states of   matter   and   phase   change,  chemical thermodynamics, chemical kinetics and chemical equilibrium.
วทคม๑๑๘ ปฎิบัติการเคมี ๑ (๐-๓-๑) เทคนิคทั่วไปทางเคมี การทดลองเกี่ยวกับการวิเคราะห์คุณภาพและวิเคราะห์ปริมาณและการทดลองที่สัมพันธ์กับบางหัวข้อในภาคบรรยาย
SCCH118 Chemistry Laboratories 1(0-3-1) General techniques in chemistry, simple qualitative and quantitative analysis, some experiments that are related to lectures.
วทคณ๑๑๕ แคลคูลัส ๓ (๓-๐-๖) ลิมิต ความต่อเนื่อง อนุพันธ์ของฟังก์ชันพีชคณิต ฟังก์ชันลอการิทึม ฟังก์ชันเอ็กซ์โปเนเชียล ฟังก์ชันตรีโกณมิติ ฟังก์ชันตรีโกนมิติผกพันและฟังก์ชันไฮเพอร์โบลิค การประยุกต์ของอนุพันธ์ รูปแบบอินดีเทอร์มิเนต เทคนิคการอินทิเกรต อินทิกรัลไม่ตรงแบบ การประยุกต์ของการอินทิเกรต การหาค่าอนุพันธ์และอินทิกรัลเชิงตัวเลข แคลคูลัสของฟังก์ชันค่าจริงของ 2 ตัวแปร พีชคณิตของเวกเตอร์ในปริภูมิ 3 มิติ แคลคูลัสของฟังก์ชันค่าเวกเตอร์และการประยุกต์ เส้นตรง ระนาบและผิวในปริภูมิ    3 มิติ
SCMA115 Calculus 3(3-0-6) Limit, continuity, derivatives of algebraic functions, logarithmic functions, exponential functions, trigonometric functions, inverse trigonometric functions and hyperbolic functions, applications of derivatives, indeterminate forms, techniques of integration, introduction to line integrals; improper integrals, application of integration,numerical differentiation and integration,calculus of real-valued functions of several variables, algebra of vectors in three-dimensional spaces, calculus of vector-valued functions and applications, lines, planes and surfaces in three-dimensional spaces.
วทคณ๑๖๕ สมการอนุพันธ์เชิงสามัญ ๓ (๓-๐-๖) ตัวแปรเชิงซ้อน การแนะนำสมการเชิงอนุพันธ์สามัญ สมการเชิงอนุพันธ์เชิงเส้นอันดับหนึ่ง สมการเชิงอนุพันธ์ไม่เชิงเส้นอันดับหนึ่ง การประยุกต์ของสมการอันดับหนึ่ง สมการเชิงอนุพันธ์เชิงเส้นอันดับสอง การประยุกต์ของสมการอันดับสอง สมการเชิงอนุพันธ์เชิงเส้นอันดับสูง ระบบสมการเชิงเส้น เมทริกซ์ดีเทอร์มิแนนต์ ปริภูมิเวกเตอร์ การแปลงเชิงเส้น การแก้ปัญหาพีชคณิตเชิงเส้นโดยวิธีเชิงตัวเลข การประยุกต์ทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์
SCMA165 Ordinary Differential Equations 3(3-0-6) Complex variables, introduction to ordinary differential equations, linear first order differential equations, nonlinear differential equations, applications of first order equations, linear second order differential equations, applications of second order equations, higher order differential equations, systems of linear equations, matrices, determinants, vector spaces, linear transformations, numerical methods for solving linear algebraic problems, application in science and engineering.
วทฟส๑๑๐ ปฏิบัติการฟิสิกส์ ๑ ๑ (๐-๓-๑) การทดลองระดับเบื้องต้น ออกแบบมาเพื่อควบคู่กับบางหัวข้อในฟิสิกส์ทั่วไป ๑ และ ๒    (วทฟส ๑๕๑, ๑๕๒)   นักศึกษาจำเป็นต้อง ผ่านการสอบภาคปฏิบัติ
SCPY110 Physics Laboratory I 1(0-3-1) Elementary level of experiments are designed to accompany some topics in General Physics I, II (SCPY 151,152) Laboratory examination is required.
วทฟส๑๕๑ ฟิสิกส์ทั่วไป ๑ ๓ (๓-๐-๖) กลศาสตร์ คลื่นและทัศนศาสตร์ กลศาสตร์ของไหล เทอร์โมไดนามิกส์  ไฟฟ้าและแม่เหล็ก
SCPY151 General Physics I 3(3-0-6) Mechanics;  waves and optics; fluid mechanics;  thermodynamics; electricity and magnetism.
วทฟส๑๕๒ ฟิสิกส์ทั่วไป ๒ ๓ (๓-๐-๖) อีเล็กทรอนิกส์  ทฤษฎีสัมพันธภาพ   กลศาสตร์ควอนตัม  ฟิสิกส์ของอะตอมและฟิสิกส์ของนิวเคลียร์
SCPY152 General Physics II 3(3-0-6) Electronics ; relativity;  quantum mechanics;  atomic physic;  nuclear  physics.
EGID 200 Engineering Mathematics 3(3-0-6) การประยุกต์ทางด้านวิศวกรรมของสมการเชิงอนุพันธ์สามัญ ระบบสมการเชิงอนุพันธ์ คณิตศาสตร์อนุมาน ลำดับและอนุกรมของจำนวน การกระจายอนุกรมเทย์เลอร์ของฟังก์ชันมูลฐาน     ผลเฉลยแบบอนุกรมของสมการเชิงอนุพันธ์  การแปลง       ลาปลาซ เวกเตอร์อินทิกรัลแคลคูลัส การอินทิเกรตเส้น การอินทิเกรตปริมาตร พิกัดเชิงขั้ว แคลคูลัสของฟังก์ชันค่าจริงหลายตัวแปร ทฤษฎีของกรีน การอินทิเกรตพื้นที่ผิว ทฤษฎีการลู่ออกของเกาส์  ทฤษฎีของสโตกส์ การประยุกต์ใช้ทางด้านวิศวกรรม
วศคร ๒๐๐ คณิตศาสตร์วิศวกรรม ๓ (๓๐-๖) Engineering applications of ordinary differential equations, System of linear differential equations, Mathematical induction; Sequences and series of numbers, Taylor series expansions of elementary functions, Power series solutions of differential equations, Laplace transformation, Vector integral calculus, Line integral, Volume integral, Polar coordinate, Calculus of real-valued functions of several variables, Green’s theorem, Surface integrals, Divergence theorem of Gauss, Stokes’s theorem, Engineering applications.
วศคก๑๐๒ เขียนแบบวิศวกรรม ๓ (๒-๓-๕) เครื่องมืออุปกรณ์การเขียนแบบและวิธีการใช้   การเขียนตัวอักษร  เทคนิคเรขาคณิต  ประยุกต์  ทฤษฎี การฉายภาพออโธกราฟฟิค  การเขียนภาพออโธกราฟฟิค  การเขียนแบบภาพตัด  การเขียนแบบภาพช่วย  การเขียนแบบภาพสามมิติ  การเขียนแบบภาพสเกตซ์  การกำหนดขนาดและรายละเอียด  คำย่อและสัญลักษณ์ในงานเขียนแบบ   การอ่านแบบวิศวกรรม
EGME102 Engineering Drawing 3(2-3-5) Use of drawing instruments and engineering lettering;  applied  geometry;  theory of  orthographic  projection  and orthographic drawing;   sectional  views drawing;  auxiliary  views  drawing;  pictorial  drawing;  freehand sketching;  dimensioning;  abbreviations  and  symbols;  interpreting  engineering  drawing.
วศอก๑๐๑ ปฏิบัติการวิศวกรรมพื้นฐาน ๒ (๑-๓-๓) กระบวนการทางวิศวกรรมการผลิตขั้นพื้นฐาน อุปกรณ์หรือเครื่องมือที่ใช้ในการปฏิบัติงานทางด้านการตัดแต่งขึ้นรูปโลหะ การปรับแต่ง การเชื่อมประสาน งานโลหะแผ่น  ความปลอดภัยในการทำงานและการใช้เครื่องมือ
EGIE101 Basic Engineering practice 2(1-3-3) Basic engineering processes, equipment or tools used in machining, fitting operation, welding, sheet metal, safety and tools using.
กลุ่มวิชาเฉพาะบังคับ
วศคก๑๒๑ กลศาสตร์วิศวกรรม ๑ ๓ (๓-๐-๖) ระบบแรงต่าง ๆ ผลลัพธ์ การสมดุล โครงสร้าง แรงกระจายโมเมนต์ความเฉื่อยของพื้นที่ ความเสียดทาน หลักการของงานเสมือน เสถียรภาพวิชาที่ต้องศึกษาก่อน :   วทฟส ๑๕๑
EGME121 Engineering Mechanics I 3(3-0-6) Force systems; resultant; equilibrium; structure; distributed force; area moment of inertia; friction; principle of virtual work; stability Prerequisites : SCPY 151
วศคก๒๐๔ คณิตศาสตร์สำหรับวิศวกรเครื่องกล ๓ (๓-๐-๖) พีชคณิตเชิงเส้น  ค่าเจาะจงและเวกเตอร์เจาะจง  จำนวนเชิงซ้อน  ฟังก์ชันวิเคราะห์เชิงซ้อน  สมการโคชีรีมันน์ การส่งแบบคอนฟอร์มอล อินทิกัลเชิงซ้อนอนุกรมลอเรนต์  การอินทิเกรตโดยวิธีค่าเรซิดิว   การวิเคราะห์ฟูเรียร์  อนุกรมฟูเรียร์ และ ฟูเรียร์อินทิกรัล การแปลงฟูเรียร์ สมการความร้อน สมการเชิงอนุพันธ์ย่อยสมการเบสเซิล สมการเลอช็องดร์ สมการคลื่น สมการลาปลาซในพิกัดทรงกระบอกและทรงกลม การประยุกต์ทางด้านวิศวกรรมศาสตร์วิชาที่ต้องศึกษาก่อน :   วศคร ๒๐๐
EGME204 Mathematics for Mechanical  Engineers 3(3-0-6) Linear  algebra,  Eigenvalue,  Eigenvector,  Complex  number,  Complex  analytic  functions,  Cauchy-Riemann  equations, Conformal  mapping,  Complex  integral,  Laurent  series,  Integration  by  the method  of  residues,  Fourier  analysis,  Fourier  series and integrals, Fourier transform, Heat equation, Partial differential equations, Bessel’s equation,  Legendre’s equation, Wave  equation, Laplace equations  in  cylindrical  and  spherical  coordinates,  Engineering  application Prerequisites : EGID 200
วศคก๒๐๖ ระเบียบวิธีเชิงตัวเลขสำหรับวิศวกร ๓ (๓-๐-๖) แนะนำเทคนิคเชิงตัวเลข  และการวิเคราะห์ค่าผิดพลาดในการหารากของสมการ การแก้ระบบสมการพีชคณิตเชิงเส้น  การสร้างกราฟจากข้อมูล การหาอนุพันธ์และการอินทิเกรตเชิงตัวเลข  การแก้สมการเชิงอนุพันธ์  การประยุกต์กับปัญหาทางวิศวกรรมวิชาที่ต้องศึกษาก่อน :   วศคพ ๑๑๑ และ วทคณ ๑๑๕
EGME206 Numerical Methods for Engineers 3(3-0-6) Introduction to numerical techniques and error analysis for finding roots of equation, solving systems of linear algebraic equations, curve fitting, numerical differentiation and integration, solving differential equations.  Applications to engineering problem. Prerequisites : EGCO 111 and SCMA 115
วศคก๒๐๙ การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในงานออกแบบและวิศวกรรม ๒ (๑-๓-๓) การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยเขียนแบบชิ้นส่วนต่าง ๆ ทั้ง ๒ มิติ และ ๓ มิติ  ภาพฉาย ภาพช่วย ภาพไอโซเมตตริค ภาพตัด การกำหนดขนาด  การประกอบชิ้นส่วนทางกลการวิเคราะห์การเคลื่อนที่ของระบบทางกล  การวิเคราะห์ความเค้น  ความเครียดและ การเสียรูปของชิ้นส่วน และชิ้นส่วนประกอบ
EGME209 Computer Aided Design and Engineering 2(1-3-5) Using computer softwares to aid drawing of two and three dimensional part drawing, orthographic views, auxiliary views, isometric views, sectional views, dimensioning, mechanical parts assembly, mechnical system motion analysis, part and assembly stress, strain and deformation analysis. Prerequisites: EGME 102วิชาที่ต้องศึกษาก่อน  :  วศคก  ๑๐๒
วศคก๒๑๓ กลศาสตร์ของวัสดุ ๑ ๓ (๓-๐-๖) แรงและความเค้น  สัมพันธภาพของความเค้นและความเครียด  สมบัติทางกลของวัสดุ   ความเค้นในคาน   ผังแรงเฉือนและโมเมนต์ดัด   การโก่งของคาน  การบิด   การโก่งของเสา  การแปลงความเค้นและความเครียด วงกลมของโมร์และความเค้นผสม   เกณฑ์ความเสียหาย วิชาที่ต้องศึกษาก่อน :วศคก ๒๒๐ หรือ วศคก ๑๒๑
EGME213 Mechanics of Materials  I 3(3-0-6) Forces   and  stresses;  stresses  and  strains  relationship;   mechanical  property  of  material;   stresses in beams, shear force  and bending moment diagrams;  deflection of beams, torsion; buckling of columns; stress and strain transformation; Mohr’s circle and  combined stresses; failure criterion Prerequisites : EGME 220 or EGME 121
วศคก๒๒๑ กลศาสตร์วิศวกรรม ๒ ๓ (๓-๐-๖) จลนศาสตร์ และจลนพลศาสตร์ของอนุภาคและวัตถุเกร็ง กฎการเคลื่อนที่ข้อที่สองของนิวตัน งานและพลังงาน การดลและโมเมนตัม พื้นฐานของการสั่นสะเทือนวิชาที่ต้องศึกษาก่อน : วศคก ๑๒๑
EGME221 Engineering Mechanics II 3(3-0-6) Kinematics and kinetics of particles and rigid bodies; Newton’s second law of motion; work and energy; impulse and momentum; fundamental of vibration Prerequisites : EGME 121
วศคก๒๓๑ อุณหพลศาสตร์  ๑ ๓ (๓-๐-๖) คำจำกัดความ และแนวคิดพื้นฐาน  สมบัติของสารบริสุทธิ์ แก๊สอุดมคติ กฎข้อที่หนึ่งของอุณหพลศาสตร์    กฎข้อที่สองของอุณหพลศาสตร์    และวัฏจักรคาร์โนต์   งาน  ความร้อน และพลังงาน เอนโทรปี   การถ่ายเทความร้อนและการเปลี่ยนรูปพลังงานพื้นฐาน วัฏจักรกำลังและวัฏจักรทำความเย็นพื้นฐาน ประสิทธิภาพ วิชาที่ต้องศึกษาก่อน : วทฟส ๑๕๑
EGME231 Thermodynamics  I 3(3-0-6) Basic  concepts  and  definitions; properties of pure substance; ideal gas;  first law of thermodynamics; second  law of  thermodynamics and Carnot  cycle;  work,  heat,  and  energy; entropy; basic heat  transfer and energy conversion;  basic  power  and  refrigeration   cycle; efficiency. Prerequisites : SCPY 151
วศคก๒๓๔ กลศาสตร์ของไหล  ๑ ๓ (๓-๐-๖) สมบัติของของไหล   สถิตยศาสตร์ของไหล   สมการโมเมนตัมและพลังงาน สมการของความต่อเนื่องและการเคลื่อนที่ การวิเคราะห์ความคล้ายและการวิเคราะห์มิติการไหลยุบตัวไม่ได้แบบคงตัว การวิเคราะห์ปริมาตรควบคุม การไหลไม่มีความหนืดแบบยุบตัวไม่ได้  สมการแบร์นูลลีวิชาที่ต้องศึกษาก่อน :   วทฟส ๑๕๑ และ วศคร ๒๐๐
EGME234 Fluid Mechanics I 3(3-0-6) Properties of fluid, fluid static; momentum and energy equations; equation of continuity and motion; similitude and dimensional analysis; steady incompressible flow; control volume analysis; incompressible inviscid flow; Bernoulli equation. Prerequisites: SCPY 151 and EGID 200
วศคก๒๕๒ วิศวกรรมยานยนต์ ๑ ๓ (๒-๓-๕) พื้นฐานของเครื่องยนต์เผาไหม้ภายใน วัฎจักรเครื่องยนต์และส่วนประกอบ  ระบบจุดระเบิด  ระบบเชื้อเพลิง  ระบบหล่อลื่น  ระบบระบายความร้อน  และการบำรุงรักษาเครื่องยนต์  การปฏิบัติการและการทดสอบ
EGME252 Automotive Engineering I 3(2-3-5) Fundamental of internal combustion engine; engine cycle and components; ignition system, fuel system, lubrication system, cooling system  and maintenance; practice and testing.
วศคก๓๒๓ การออกแบบเครื่องกล ๑ ๓ (๓-๐-๖) พื้นฐานการออกแบบเครื่องกล  สมบัติของวัสดุ  ทฤษฎีการวิบัติของวัสดุ  อิทธิพลของความเค้น  การออกแบบชิ้นส่วนเครื่องจักรอย่างง่าย  ลิ่มและสลัก หมุดย้ำ  สปริง สลักเกลียว  สกรูส่งกำลัง  เพลา คัปปลิง  และรอยเชื่อม ฯลฯ  การปฏิบัติการโครงงานออกแบบอย่างง่ายวิชาที่ต้องศึกษาก่อน : วศคก ๒๑๓
EGME323 Mechanical Design I 3(3-0-6) Fundamentals  of  mechanical  design,  properties  of  materials,  theories of failure ; stress influences,  design of simple machine elements, keys and pins, rivets, springs, screw fasteners, power screws, shafts ; couplings and welding joints, etc.;  practice on simple design project Prerequisites: EGME 213
วศคก๓๒๔ กลศาสตร์เครื่องจักรกล ๓ (๓-๐-๖) การวิเคราะห์การเคลื่อนที่ของกลไก  การวิเคราะห์ความเร็วและความเร่ง การวิเคราะห์จลนศาสตร์และแรงพลวัตของอุปกรณ์ทางกลชิ้นส่วนเครื่องจักรกลต่าง ๆ  กลไกของชิ้นต่อโยง  ชุดเฟืองส่งกำลัง ลูกเบี้ยว และ กลไกอื่น ๆ ในระบบทางกล การปรับสมดุลของมวลหมุน และมวลเคลื่อนที่กลับไปกลับมา วิชาที่ต้องศึกษาก่อน : วศคก ๒๒๑
EGME324 Mechanics of Machinery 3(3-0-6) Motion analysis of mechanisms i.e.; velocity and acceleration analysis,     kinematic and  dynamic force analysis of mechanical devices,  mechanisms of linkages,   gear trains,  cams  and  others  as  used  in  machanical  systems, balancing of rotating and  reciprocating masses Prerequisites : EGME 221
วศคก๓๒๕ การควบคุมอัตโนมัติ ๓ (๓-๐-๖) หลักการควบคุมอัตโนมัติ การวิเคราะห์และการสร้างแบบจำลองของอุปกรณ์ควบคุมเชิงเส้น เสถียรภาพของระบบย้อนกลับเชิงเส้น  การสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ของระบบพลศาสตร์  การวิเคราะห์และออกแบบระบบเชิงเส้นในโดเมนเวลาและโดเมนความถี่  การวิเคราะห์ การออกแบบและชดเชยระบบควบคุม  การสร้างแบบจำลองการวิเคราะห์และชดเชยระบบด้วยตัวแปรสถานะวิชาที่ต้องศึกษาก่อน : วศคก ๒๒๑ และ วศคร ๒๐๐
EGME325 Automatic Control 3(3-0-6) Automatic control principles, analysis and modeling of linear control elements, stability of linear feedback system,  mathematical modeling  of dynamic systems, linear system analysis and design in the time and frequency domains; analysis, design and compensation of control systems.  State space representation and analysis. Prerequisites : EGME 221 and EGID 200
วศคก๓๓๒ อุณหพลศาสตร์  ๒ ๓ (๓-๐-๖) สภาพการใช้ประโยชน์ได้   การย้อนกลับไม่ได้  และการวิเคราะห์ตามกฎข้อที่สองของอุณหพลศาสตร์   ปฏิกิริยาเคมี  สมดุลและกระบวนการเผาไหม้ แนวคิดชั้นชิดผิวในรูปแบบวิชาที่ต้องศึกษาก่อน  :  วศคก ๒๓๑อินทิกรัล   การไหลที่อัดตัวได้เบื้องต้น   เครื่องจักรกลของไหลเบื้องต้น
EGME332 Thermodynamics II 3(3-0-6) Availability,  irreversibility,  and  second law of thermodynamics analysis;  chemical reaction,  equilibrium  and  combustion  process;  boundary  layer concept  in integral form;  basic  compressible  flow;  basic  fluid  machinery. Prerequisites : EGME 231
วศคก๓๓๔ การถ่ายเทความร้อน ๓ (๓-๐-๖) ลักษณะการถ่ายเทความร้อน   สภาพการนำความร้อน  สมการการนำความร้อน  การนำความร้อนในสถานะคงตัวแบบ ๑  และ ๒ มิติ การนำความร้อนในสถานะไม่คงที่  การแผ่รังสี  พื้นฐานของการถ่ายเทความร้อนแบบการพาวิชาที่ต้องศึกษาก่อน : วศคก ๒๓๑ และ วศคร ๒๐๐
EGME334 Heat Transfer 3(3-0-6) Modes of heat transfer, thermal conductivity, heat conduction equation, steady – state one–and two-dimensional heat conduction, unsteady-state heat conduction, radiation, fundamental of convection heat transfer Prerequisites : EGME 231 and EGID 200.
วศคก๓๕๒ เครื่องยนต์เผาไหม้ภายใน ๓ (๓-๐-๖) พื้นฐานของเครื่องยนต์เผาไหม้ภายใน  เครื่องยนต์ชนิดจุดระเบิดด้วยประกายไฟและชนิดจุดระเบิดด้วยการอัด เชื้อเพลิงและการเผาไหม้   ระบบจุดระเบิด วัฏจักรอากาศและเชื้อเพลิงอุดมคติ  การอัดบรรจุอากาศและการไล่ไอเสีย  สมรรถนะและการทดสอบ  การหล่อลื่นวิชาที่ต้องศึกษาก่อน : วศคก ๒๓๑
EGME352 Internal  Combusion  Engines 3(3-0-6) Internal combustion engine fundamentals ; spark-ignition and compression-ignition engines ; fuels and combustion ; ignition system ; air standard cycle and ideal fuel; supercharging and scavenging ; performance and testing ; lubrication Prerequisites : EGME 231.
วศคก๓๗๑ ปฏิบัติการวิศวกรรมเครื่องกล ๑ ๑ (๐-๓-๑) ปฏิบัติการทดสอบสมบัติของวัสดุทั้งทางกายภาพและทางกล ปฏิบัติการทดสอบเครื่องยนต์เผาไหม้ภายในและเผาไหม้ภายนอก วิเคราะห์ควันไอเสียจากการเผาไหม้เชื้อเพลิง ปฏิบัติการทดสอบด้านกลศาสตร์  อุณหพลศาสตร์และของไหล การให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเครื่องมือวัด การวัด การวิเคราะห์และการทำรายงาน
EGME371 Mechanical Engineering Laboratory I 1(0-3-1) Laboratory, materials properties testing in physical and mechanical, internal and external combustion engines testing, flue gas analysis from fuel combustion, mechanics, thermodynamics and fluid testing; understand on instrumentation, measurement, analysis and reporting.
EGME๓๗๒ ปฏิบัติการวิศวกรรมเครื่องกล ๒ ๑ (๐-๓-๑) ปฏิบัติการเกี่ยวกับเครื่องยนต์  กังหันก๊าซ กังหันน้ำ เครื่องจักรกลของไหล เครื่องทำความเย็น เครื่องปรับอากาศ อากาศพลศาสตร์ การถ่ายเทความร้อน การฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับการทดสอบ การวัด และการวิเคราะห์รูปแบบต่าง ๆ
EGME372 Mechanical Engineering Laboratory II Laboratory intermediate level, engines, gas turbine, water turbine, fluid machiney, refrigerator, air conditioner, aerodynamics, heat transfer; practice on testing and measurement and various analysis.
วศคก๔๒๑ การออกแบบเครื่องกล ๒ ๓ (๓-๐-๖) การออกแบบชิ้นส่วนถ่ายทอดกำลัง  ระบบถ่ายทอดกำลัง เฟืองแบบต่าง ๆ    แบริ่งเบรกและคลัตช์ สายพานและโซ่ การฝึกปฏิบัติออกแบบชิ้นส่วนเครื่องจักรกลต่าง ๆวิชาที่ต้องศึกษาก่อน : วศคก ๓๒๓
EGME421 Mechanical Design II 3(3-0-6) Design of power transmission components; power transmission  system;  gears;  bearings; brakes and clutches ; belts and chains;  practice on selected design  problems. Prerequisites : EGME 323
วศคก๔๒๒ การสั่นสะเทือนเชิงกล ๓ (๓-๐-๖) ระบบชนิด  ๑  ระดับขั้นความเสรี  การสั่นสะเทือนเนื่องจากการบิดหรือหมุน  การสั่นสะเทือนแบบอิสระและแบบบังคับ  ระเบียบวิธีระบบสมมูล ระบบที่มีหลายระดับขั้นความเสรี  ระเบียบวิธีและเทคนิคการลดและควบคุมการสั่นสะเทือนวิชาที่ต้องศึกษาก่อน  :  วศคก  ๒๒๑
EGME422 Mechanical  Vibration 3(3-0-6) System   with one degree   of   freedom ; torsional   vibration ; free  and   forced vibration ; method of equivalent system ; systems having several degrees of freedom; methods and techniques to reduce and control vibration. Prerequisites : EGME 221
วศคก๔๔๒ การปรับอากาศ ๓ (๓-๐-๖) สมบัติของอากาศและความชื้น    แผนภูมิแสดงสมบัติของอากาศ      กระบวนการของอากาศ การประมาณค่าภาระการทำความเย็น อุปกรณ์หลักและอุปกรณ์ร่วมชนิดต่าง ๆ  ของระบบปรับอากาศ   การกระจายอากาศและการออกแบบระบบท่อลม   สารทำความเย็นและการออกแบบระบบท่อสารทำความเย็น   การควบคุมขั้นพื้นฐานในการปรับอากาศวิชาที่ต้องศึกษาก่อน : วศคก ๒๓๑
EGME442 Air Conditioning 3(3-0-6) Psychometric  properties and  processes of air, cooling load estimation, air conditioning   equipment, various types of air conditioning systems, air distribution and duct system  design, refrigerants and refrigerant piping design,  basic controls in air conditioning Prerequisites : EGME 231
วศคก๔๙๕ สัมมนาโครงงาน ๑ (๐-๓-๑) การจัดเตรียมความพร้อมสำหรับนักศึกษาก่อนที่จะเรียนวิชาโครงงานวิศวกรรมเครื่องกล  เป็นการปฏิบัติการวิจัยเชิงทดลองและเชิงทฤษฎี รวมถึงการออกแบบทดลอง  การเขียนรายงาน   การนำเสนอผลงาน และการดูงานนอกสถานที่
EGME495 Project Seminars 1(0-3-1) Preparation for students to undertake mechanical engineering   project. Practice in theoretical and experimental research, including designing experiments, writing reports, making presentations and company visitis.
วศคก๔๙๙ โครงงานวิศวกรรมเครื่องกล ๒ (๐-๖-๒) การวิจัยเชิงทดลองหรือเชิงทฤษฎีทางด้านวิศวกรรมเครื่องกล การศึกษาและการวิจัยในหัวเรื่องที่อยู่ภายใต้คำแนะนำของอาจารย์ที่ปรึกษา การทำรายงานสุดท้าย และการนำเสนอผลงาน
EGME499 Mechanical Engineering Project 2(0-6-2) Individual or group experimental or theoretical research in the area of mechanical engineering.  Study and research on a topic under direction of a faculty advisor, culminating in formal report and presentation.
วศฟฟ๒๑๗ วิศวกรรมไฟฟ้าเบื้องต้น ๓ (๓-๐-๖) การวิเคราะห์วงจรไฟฟ้ากระแสตรงและกระแสสลับพื้นฐาน    แรงดัน    กระแส  และกำลัง  ระบบกำลังไฟฟ้าสามเฟส    การวิเคราะห์วงจรแม่เหล็ก   เครื่องกลไฟฟ้าเบื้องต้นเครื่องกำเนิด  มอเตอร์และการประยุกต์ใช้งาน วิธีการส่งกำลัง เครื่องมือทางไฟฟ้าและอุปกรณ์ไฟฟ้าเบื้องต้น
EGEE217 Fundamental of Electrical Engineering 3(3-0-6) Basic D.C.  and  A.C. circuit  analysis;   voltage;   current  and  power;   three   phase electrical    power   system,   magnetic   circuit   analysis,   introduction   to electrical machinery; generators, motors and their applications, method of power transmission, introduction to some basic electrical instruments and electronic devices.
วศฟฟ๒๑๘ ปฏิบัติการวิศวกรรมไฟฟ้าเบื้องต้น ๑ (๐-๓-๑) การฝึกปฏิบัติการเกี่ยวกับเครื่องมือไฟฟ้าพื้นฐานรวมถึงการวัดอุปกรณ์ไฟฟ้า เพื่อแสดงหัวข้อต่างๆ ในรายวิชา วศฟฟ ๒๑๗
EGEE218 Fundamental of Electrical Engineering Laboratory 1(0-3-1) A laboratory works on basic electrical equipment and measurements to illustrate the topics covered in EGEE 217
วศอก๑๐๓ วัสดุวิศวกรรม ๓ (๓-๐-๖) โครงสร้างผลึกและการไม่มีโครงสร้างผลึกของวัสดุ ความไม่สมบูรณ์ของโครงสร้างผลึก  ความหมายและการทดสอบคุณสมบัติของวัสดุ แผนภาพสมดุลและการนำไปใช้ กระบวนการผลิต โครงสร้างจุลภาคและมหภาค คุณสมบัติ การใช้งาน และความสัมพันธ์ระหว่างกันของปัจจัยเหล่านี้ในโลหะ เซรามิกส์ พลาสติก พอลิเมอร์ ยาง      มะตอย ไม้  คอนกรีต และวัสดุเชิงประกอบ การศึกษาเบื้องต้นถึงการแตกหัก การ    กัดกร่อน และการเสื่อมสภาพของวัสดุ กรณีศึกษาของการเลือกใช้วัสดุ
EGIE103 Engineering Materials 3(3-0-6) Crystallinity and non-crystallinity of materials; imperfections in crystal structure; meaning and testing of materials properties; equilibrium phase diagram and its applications; the study and relationship of processes, macro and microstructures, properties and applications of metals, ceramics, plastic, polymers, asphalt, wood, concrete and composites. Introduction to fracture, corrosion and degradation of materials; case studies on materials selection.
วศอก๒๐๔ กรรมวิธีการผลิต ๓ (๓-๐-๖) เทคโนโลยี คุณลักษณะ  และการใช้งานของกรรมวิธีการผลิตพื้นฐาน  ซึ่งรวมถึงการตัดแต่ง  การต่อยึด การหล่อโลหะ และการขึ้นรูปโลหะ  การผลิตโลหะ  การเตรียมวัสดุเพื่อการผลิตและกระบวนการหลังการผลิต และการผลิตพลาสติก กรณีศึกษาเกี่ยวกับการผลิต
EGIE204 Manufacturing Processes 3(3-0-6) Technologies, characteristics and applications of principle manufacturing processes including machining, joining, metal casting and metal forming, metal making processes, pre-and post-processing, and plastic processing; case studies on products manufacturing.
วศอก๒๖๑ ความน่าจะเป็นและสถิติ ๓ (๓-๐-๖) การจำแนกประเภทของวิธีการทางสถิติ การเก็บรวบรวมนำเสนอและวิเคราะห์ข้อมูล  ความน่าจะเป็น ตัวแปรสุ่ม  การแจกแจงความน่าจะเป็นแบบไม่ต่อเนื่องและแบบต่อเนื่อง  การสุ่มตัวอย่างและการแจกแจงการสุ่มตัวอย่าง  ทฤษฎีการประมาณค่า  การทดสอบข้อสมมุติฐานทางสถิต การวิเคราะห์ความแปรปรวน  การวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นและสหสัมพันธ์  การประยุกต์ใช้สถิติกับงานวิศวกรรม
EGIE261 Probability and Statistics 3(3-0-6) Statistical classification. Graphical presentation of data. Analysis of data. Theory of probability. Random variable. Continuous and discrete probability distribution. Random samples and sampling distribution. Estimation theory. Test  of  hypotheses. Analysis of variances. Regression and correlation. Application of statistics in engineering.
กลุ่มวิชาเฉพาะเลือก
วศคก๓๑๓ กลศาสตร์ของวัสดุ ๒ ๓ (๓-๐-๖) การวิเคราะห์ความเค้นที่จุด และที่จุดประชิด การวิเคราะห์ความเครียดที่จุดและที่จุดประชิด  บทนำเกี่ยวกับทฤษฎีของความยืดหยุ่น การประยุกต์เข้ากับทรงกระบอกหนา ทรงกระบอกประกอบ จานหมุน  ค่าวิกฤต วิธีพลังงานวิชาที่ต้องศึกษาก่อน : วศคก ๒๑๓
EGME313 Mechanics of Material II 3(3-0-6) Analysis of stress at a point and adjacents; analysis of strain at a point and adjacents; introduction to theory of elasticity; application to thick walled cylinder, compound cylinder, rotating disks; critical value and energy method Prerequisites : EGME 213
วศคก๓๓๓ กลศาสตร์ของไหล ๒ ๓ (๓-๐-๖) จลนศาสตร์ของการไหล การไหลแบบต่าง ๆ  การไหลมิติ  ฟังก์ชันการไหล สมการที่สัมพันธ์กับการไหล  การไหลในท่อ การไหลผ่านวัตถุรูปทรงต่าง ๆ แรงยกและแรงฉุดวิชาที่ต้องศึกษาก่อน : วศคก ๒๓๔
EGME333 Fluid Mechanics II 3(3-0-6) Kinematics of fluid motion; types of flow, dimensional flow, stream functions, equations related to fluid flow, flow in pipe, flow about immersed objects, lift and drag. Prerequisites : EGME 234
วศคก๓๓๕ อากาศพลศาสตร์ขั้นพื้นฐาน ๓ (๓-๐-๖) ฟังก์ชันการไหล ศักย์ความเร็ว การทับซ้อนการไหล การหมุนเวียน แรงยกและแรงฉุด ลักษณะเฉพาะแพนอากาศ ทฤษฎีแพนอากาศ ๒มิติ และวิธีพาแนล การออกแบบอากาศยาน กลศาสตร์ของการบิน โครงงานออกแบบวิชาที่ต้องศึกษาก่อน  :  วศคก ๒๓๑ และ วศคก ๒๓๔
EGME335 Basic  Aerodynamics 3(3-0-6) Two-dimensional   potential   flow,   stream   function,   velocity   potential,   flow superposition,  circulation,   lift and drag,   airfoil  characteristics;   two-dimensional airfoil theory  and  panel methods;  design of aircraftes;    mechanics of flight;  term design project. Prerequisites : EGME 231 and EGME 234
วศคก๓๔๒ การทำความเย็น ๓ (๓-๐-๖) คำจำกัดความและแนวคิดพื้นฐานของการทำความเย็น    ระบบทำความเย็นแบบต่าง ๆ  ระบบทำความเย็นแบบอัดไอ  ระบบคอยล์เย็นและคอมเพรสเซอร์แบบหลายช่วง  พื้นฐานการทำความเย็นที่อุณหภูมิต่ำวิชาที่ต้องศึกษาก่อน  :  วศคก ๒๓๑
EGME342 Refrigeration 3(3-0-6) Basic concepts and definition; various types of refrigeration system; vapor compression system; multiple compressors and evaporators system; introduction to cryogenics. Prerequisites : EGME 231
วศคก๓๕๓ กลศาสตร์ยานยนต์ ๓ (๓-๐-๖) กลศาสตร์ของล้อ แรงต้านทานการเคลื่อนที่และกำลังที่ต้องการ  สมรรถนะของเครื่องยนต์ต้นกำลังและการแปลงสมรรถนะของเครื่องต้นกำลัง  สมรรถนะของการขับเคลื่อน   และการสิ้นเปลืองเชื้อเพลิง  อากาศพลศาสตร์ที่มีผลต่อกลไกการขับเคลื่อนวิชาที่ต้องศึกษาก่อน  :  วศคก ๒๒๑  และ วศคก ๒๕๒
EGME353 Mechanics of Vehicles 3(3-0-6) Mechanics of wheel; drag force and power required; engine performance and   converse; propulsion performance and fuel consumption; basic aerodynamics affecting the propulsion mechanism Prerequisites : EGME 221 and EGME 252
วศคก๓๕๔ การควบคุมระบบส่งกำลังพื้นฐาน ๓ (๓-๐-๖) ศึกษาเกี่ยวกับพื้นฐานและทฤษฎีในการออกแบบและควบคุมระบบส่งกำลัง โดยจะครอบคลุมถึงระบบควบคุมความเร็วอัตโนมัติ ระบบควบคุมการทรงตัว ระบบกันสะเทือน พื้นฐานของระบบส่งกำลังแบบอัจฉริยะ และการพิจารณาถึงผลกระทบต่อและจากผู้ขับขี่วิชาที่ต้องศึกษาก่อน  :  วศคก ๒๒๑ และ วศคก ๒๕๒
EGME354 Fundamental of Powertrain Control 3(3-0-6) Fundamental concept and theory of design control of powertain system. Topics include cruise control, traction control, active suspension, background on intelligent vehicle-highway system (IVHS), and considerations  for human factor interface. Prerequisites : EGME 221 and EGME 252
วศคก๓๕๕ ระบบส่งกำลังสมรรถนะสูง ๓ (๓-๐-๖) พื้นฐานเทคโนโลยีของระบบส่งกำลังสมรรถนะสูง การศึกษาเกี่ยวกับแนวคิดพื้นฐานและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องในการออกแบบอุปกรณ์ส่งกำลังสมรรถนะสูง  นักศึกษาจะมีการทำโครงงาน โดยเป็นการวิเคราะห์และการจำลองแบบปัญหาบนคอมพิวเตอร์และสร้างชิ้นงานวิชาที่ต้องศึกษาก่อน  :  วศคก ๒๒๑ และ วศคก ๒๕๒
EGME 355 High Performance Powertrain System 3(3-0-6) Introduction to the high performance powertrain system technology. Study of the fundamental concept and theory involved  in designing high performance powertain components. Consideration of design factors affecting unique high engine output  individual  project includes analysis and simulation Prerequisites : EGME 221 and EGME 252
วศคก๓๕๖ การขับเคลื่อนรถยนต์และการควบคุมการขับขี่ ๓ (๒-๓-๕) ทฤษฎีการคำนวณและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการขับเคลื่อน และระบบส่งกำลัง การศึกษาสมรรถนะของเครื่องยนต์และผลกระทบที่เกิดกับรถยนต์ในแง่ของกำลังและการใช้พลังงาน ทฤษฎีและอุปกรณ์ในระบบทรงตัวของรถยนต์  ระบบเบรก ระบบบังคับเลี้ยววิชาที่ต้องศึกษาก่อน  :  วศคก ๒๕๒ และ วศคก ๓๕๓
EGME356 Vehicle Propulsion and Maneuver Control 3(2-3-5) Theory calculation and component involved the propulsion and the powertrain system, study of engine performance and its effect to the vehicles power and energy consumption. Theory and components in vehicle stabilization system, break system, and steering system Prerequisites : EGME 252 and EGME 353
วศคก๓๖๑ อุปกรณ์ขับเคลื่อนและตรวจวัดในหุ่นยนต์ ๓ (๒-๓-๕) การออกแบบและการใช้อุปกรณ์ขับเคลื่อน อุปกรณ์ตรวจวัด และไมโครคอนโทรลเลอร์ในระบบทางเมคคาทรอนิกส์ หัวข้อครอบคลุม การศึกษาและใช้มอเตอร์ไฟฟ้า (ชนิดกระแสสลับ กระแสตรง และสเตป) โซเลนอยด์ อุปกรณ์ขับเคลื่อนขนาดเล็กอื่น ๆ อุปกรณ์ตรวจวัดตำแหน่ง เช่น เอนโคดเดอร์ โซน่าร์ อินฟราเรด และพรอกซิมิตี และไมโครคอนโทรลเลอร์
EGME361 Robot Actuators and Senso 3(2-3-5) Introduction to modeling and use of  actuators, sensors and microcontrollers in mechatronics desing. Topics include electric motors (AC, DC, Stepper), solenoids, micro-actuators, position sensors (encoders, Sonar, Infrared), proximity sensor, and micro-controller
วศคก ๓๖๒ เมคคาทรอนิกส์ขั้นแนะนำ ๓ (๒-๓-๕) การออกแบบและวิเคราะห์ระบบพื้นฐานและโปรแกรมสำหรับระบบทางกลและไฟฟ้า โดยมีเนื้อหาครอบคลุมเซนเซอร์ ตัวขับเคลื่อน วงจรอิเลกทรอนิกส์ ไมโครคอนโทรลเลอร์ และกลไก  การปฏิบัติจริงเพื่อฝึกหัดการออกแบบ การสร้าง และการเขียนโปรแกรมของระบบเมคคาทรกนิกส์วิชาที่ต้องศึกษาก่อน :  วศคก ๓๖๑ หรือ วศฟฟ ๒๑๓
EGME362 Introduction to Mechatronics 3(2-3-5) Introduction of the modeling and analysis of the basic hardware and software components of electro-mechanical systems including sensors, actuators, electronic circuits, microcontrollers, and mechanisms.  Hands-on practice of the design, construction, and programming of mechatronics systems Prerequisites : EGME 361 or EGEE 213
วศคก๓๘๑ การแปลงรูปพลังงานเบื้องต้น ๓ (๓-๐-๖) การวิเคราะห์กระบวนการแปลงพลังงานกลกับความร้อน พลังงานกลกับเคมี พลังงานไฟฟ้ากับเคมี พลังงานแสงกับไฟฟ้า สำหรับการผลิตไฟฟ้าและการขนส่งในปัจจุบันและอนาคต  ระบบที่ใช้น้ำมันปิโตรเลียม ไฮโดรเจน นิวเคลียร์ และ พลังงานทดแทนต่างๆ  ระบบการเก็บพลังงาน การส่งพลังงาน และการใช้แหล่งพลังงานให้เกิดประโยชน์สูงสุด การวิเคราะห์วัฏจักรของแหล่งพลังงานวิชาที่ต้องศึกษาก่อน วศคก ๒๓๑
EGME381 Fundamental of Energy Conversion 3(3-0-6) Analysis of energy conversion in thermomechanical, thermochemical, electrochemical, and photoelectric processes in existing and future power and transportation systems. Systems utilizing fossil fuels, hydrogen, nuclear and renewable resources. Energy storage and transmission, and optimal source utilization and fuel-life cycle analysis. Prerequisites : EGME 231
วศคก๓๘๒ ทรัพยากรพลังงานทดแทนและหมุนเวียน ๓ (๓-๐-๖) สถานการณ์พลังงาน  ทรัพยากรพลังงานหมุนเวียนรูปแบบต่าง ๆ  ปริมาณสำรอง  วิธีการและการพัฒนาเพื่อใช้ประโยชน์วิชาที่ต้องศึกษาก่อน  :  วศคก ๒๓๑
EGME382 Alternative and Renewable Energy Resources 3(3-0-6) Energy perspective; various type of renewable energy resources,  procedure  and development to utilization Prerequisites : EGME 231
วศคก๓๙๐-๓๙๙     เรื่องเฉพาะทางวิศวกรรมเครื่องกล ๓(๓-๐-๖) หรือ ๓ (๒-๓-๕) หัวข้อที่น่าสนใจทางวิศวกรรมเครื่องกล  หัวข้อเปลี่ยนไปตามความเหมาะสมในแต่ละภาคการศึกษา
EGME390-399 Selected Topics in Mechanical Engineering 3(3-0-6)or3(2-3-4) Interested topics mechanical engineering, topic changed in each semester.
วศคก๔๐๒ วิศวกรรมตรวจสอบและบำรุงรักษา ๓ (๓-๐-๖) หลักการบำรุงรักษาเครื่องจักรและอุปกรณ์  สาเหตุของการขัดข้องและความบกพร่องของเครื่องจักร  ความสูญเสียอันเกิดจากเครื่องจักรและอุปกรณ์ การขจัดความสูญเสียอันเกิดจากเครื่องจักรและอุปกรณ์  ประสิทธิผลเครื่องจักรโดยรวม (OEE) การจัดองค์กรสำหรับโปรแกรมการบำรุงรักษาเครื่องจักร  การบำรุงรักษาเชิงป้องกันตามแผน  การบำรุงรักษาด้วยตนเอง การบำรุงรักษาทวีผลที่ทุกคนมีส่วนร่วม (TPM) การประเมินผลการบำรุงรักษา ดัชนีการบำรุงรักษา เช่น MTTF, MTTR, MDT และ MWT
EGME402 Monitoring and Maintenance Engineering 3(3-0-6) Principles of equipment maintenance. Causes of breakdowns and defects.Equipment losses. Eliminating equipment losses. Overall Equipment Effectiveness (OEE). Organizing for Equipment Maintenance Program. Planned Preventive Maintenance. Autonomous Maintenance.Total Productive Maintenance (TPM). Maintenance Evaluation Maintenance indices such as MTTF MTTR, MDT and MWT
วศคก๔๒๙ พลศาสตร์ประยุกต์ ๓ (๓-๐-๖) เป็นวิชาพลศาสตร์ขั้นสูงที่ใช้กลศาสตร์ลากรองจ์ในการประยุกต์ทางวิศวกรรม เช่นหุ่นยนต์ อากาศยาน และยานยนต์  หัวข้อครอบคลุม จลนศาสตร์ การวิเคราะห์สมการการเคลื่อนที่ ทฤษฎีเสถียรภาพ หลักของฮามิลตัน การใช้และศึกษาที่มาของสมการลากรองจ์วิชาที่ต้องศึกษาก่อน: วศคก ๒๒๑ และ วศคร ๒๐๐
EGME429 Applied  Dynamics 3(3-0-6) An advanced dynamics class implements Lagrangian mechanics with engineering applications, such as robot, spacecraft, and automobile. Topics include kinematics, efficient formulation of equations of motion, stability theory, and Hamilton’s principle, derivation and use of Lagrange’s equation. Prerequisite: EGME 221 and  EGID 200
วศคก๔๓๑ เครื่องจักรกลของไหล ๓ (๓-๐-๖) ประเภทของเครื่องจักรของไหล และการประยุกต์ แผนภาพความเร็ว การวิเคราะห์พลังงานและโมเมนตัมเชิงมุม การวิเคราะห์ความคล้าย  และผลของความหนืด เครื่องอัดแบบแรงเหวี่ยง และไหลตามแกน  เครื่องสูบและการเกิดโพรง พัดลมอุตสาหกรรม  ไฮดรอลิก เครื่องกังหันไอน้ำและเครื่องกังหันแก๊สวิชาที่ต้องศึกษาก่อน : วศคก ๒๓๔ และ วศคก ๒๓๑
EGME431 Fluid Machinery 3(3-0-6) Classifications of   turbomachines  and  positive  displacement  machines  and applications; velocity  diagrams, energy  and  angular   momentum   analysis;     similarity analysis and viscous effects;  centrifugal and axial-flow compressors;  pumps and Cavitation; industrial fans,  hydraulic, steam and gas turbines. Prerequisites : EGME 234 and EGME 231
วศคก๔๓๒ การออกแบบระบบท่อในอาคาร ๓ (๓-๐-๖) การออกแบบระบบท่อน้ำร้อนและท่อน้ำเย็นของอาคาร  ระบบท่อดับเพลิง  ระบบท่อไอน้ำ  ระบบท่อลม ระบบท่อก๊าซความดันต่ำ  วิชาที่ต้องศึกษาก่อน  :  วศคก ๒๓๑  และ วศคก ๒๓๔
EGME432 Plumbing System Design 3(3-0-6) Design of cold and hot water building piping system; firing piping system; high pressure vapor piping system; compressed air piping system; low pressure gas piping system Prerequisites : EGME 231 and EGME 234
วศคก๔๓๓ การออกแบบเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อน (*) ๓(๓-๐-๖) ระเบียบวิธีการออกแบบระบบทางความร้อน ปรากฎการณ์การเดือดและการกลั่นตัวการออกแบบเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อน เครื่องควบแน่น  เครื่องระเหย  หม้อไอน้ำ  หอทำความเย็นและภาชนะความดัน  การออกแบบท่อไอน้ำ  โครงงานออกแบบวิชาที่ต้องศึกษาก่อน  :  วศคก ๓๓๔
EGME433 Heat Exchangers Design 3(3-0-6) Design methodology applied to thermal systems;  boiling and condensation phenomena;  design of heat exchangers, condensers, evaporators, boiler, cooling tower, and pressure vessels;  steam piping design;  design project. Prerequisites : EGME 334
วศคก๔๓๔ การเผาไหม้ ๓ (๓-๐-๖) แนะนำกระบวนการเผาไหม้ อุณหพลศาสตร์ของการเผาไหม้ จลนพลศาสตร์ของปฏิกิริยา และปฏิกิริยาลูกโซ่ การเผาไหม้แบบแพร่และแบบผสมล่วงหน้า การจุดระเบิด การเย็นตัว ขอบเขตและเสถียรภาพของเปลวไฟ  การเผาไหม้ของเชื้อเพลิงแข็ง เหลว และแก๊ส  การก่อเกิดและการควบคุมมลภาวะ ตัวอย่างการประยุกต์ในเครื่องยนต์เผาไหม้ภายใน เตาเผา เครื่องกังหันแก๊สและเตาเผาทางอุตสาหกรรมวิชาที่ต้องศึกษาก่อน  :  วศคก ๓๓๒
EGME434 Combustion 3(3-0-6) Introduction to combustion processes;  combustion thermodynamics, reaction kinetics, and chain reactions;  diffusion and premixed combustion;  ignition, quenching, and flammability limits and flame stability;  combustion of solid, liquid, and gaseous fuels;  formation and control of pollutants;  examples of applications in internal combustion engine, furnaces, gas turbines, and industrial burners Prerequisites : EGME 332
วศคก๔๔๓ การออกแบบระบบทำความเย็นและปรับอากาศ ๓(๓-๐-๖) ความสัมพันธ์ระหว่างสถานะและงาน ศึกษาแหล่งกำเนิดความร้อน  การออกแบบและคำนวณภาระการทำงานของระบบทำความเย็นและปรับอากาศ  ความร้อนแฝงและความร้อนสัมผัส การผสมอากาศ การสร้างความชื้น  การขจัดความชื้น การออกแบบและคำนวณปริมาณลม  ขนาดท่อน้ำเย็นในระบบเปิดและระบบปิดวิชาที่ต้องศึกษาก่อน :  วศคก ๓๔๒
EGME443 Refrigeration and Air Condition System Design 3(3-0-6) State and work relation, heat resource; design and calculating to cooling and load of refrigeration and air condition system, latent heat,air mixing moisture increasing and decreasing ; design and calculating of capacity, water pipe in close-loop and open-loop Prerequisites : EGME 342
วศคก๔๔๔ การทำความเย็นและปรับอากาศภาคปฏิบัติ ๓(๒-๓-๕) ศึกษาการใช้เครื่องมือการติดตั้งและการบำรุงรักษาระบบทำความเย็นและปรับอากาศอุปกรณ์ควบคุมต่างๆ  ของระบบทำความเย็นและปรับอากาศวิชาที่ต้องศึกษาก่อน :  วศคก ๓๔๒
EGME444 Refrigeration and Air Condition Practice 3(2-3-5) Air conditioning and refrigeration system installation equipment and maintenance ; element of system controller. Prerequisites : EGME  342
วศคก๔๕๐ การออกแบบการส่งกำลังด้วยคอมพิวเตอร์ ๓ (๒-๓-๕) พื้นฐานการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อเป็นเครื่องมือในการออกแบบและวิเคราะห์อุปกรณ์และระบบส่งกำลัง การจำลองปัญหาบนคอมพิวเตอร์ในการวิเคราะห์สถิตศาสตร์ จลนศาสตร์ และพลศาสตร์ ของระบบส่งกำลัง รวมไปถึงการเลือกและออกแบบชิ้นส่วนให้เกิดประโยชน์สูงสุด นักศึกษามีการทำโครงงานวิชาที่ต้องศึกษาก่อน  :  วศคก ๒๐๙ และ วศคก ๒๕๒
EGME450 Computer Aided Powertrain  Design 3(2-3-5) Introduction to the use of digital computer as a tool in design and analysis of powertrain components and systems. Simulation of statics, kinematics and dynamics behavior including  optimal synthesis and elements of elments. Individual projects. Prerequisites : EGME 209 and EGME 252
วศคก๔๕๑ วิศวกรรมโรงจักรต้นกำลัง ๓ (๓-๐-๖) การคำนวณภาระเชื้อเพลิงและการเผาไหม้  โรงผลิตกำลังไอน้ำ โรงผลิตกำลังกังหันแก๊ส โรงผลิตกำลังน้ำ โรงผลิตกำลังนิวเคลียร์ เครื่องมือวัดและการควบคุม วิชาที่ต้องศึกษาก่อน :  วศคก ๒๓๑
EGME 451 Power Plant Engineering 3(3-0-6) Load  calculation, fuel and combustion,   steam   power plant,   gas turbine plant, hydro-plant,  nuclear plant, instrumentation and control Prerequisites : EGME 231
วศคก๔๕๔ ทฤษฎีและการออกแบบโครงสร้างรถยนต์และระบบกันสะเทือน ๓ (๒-๓-๕) ทฤษฎีของระบบกันสะเทือนแบบต่าง ๆ  การออกแบบตัวถังและโครงสร้างของรถยนต์เพื่อรับการกระจายของแรงและความปลอดภัย  ผลของล้อและยาง สมรรถนะ และความปลอดภัยของรถยนต์วิชาที่ต้องศึกษาก่อน  :  วศคก ๒๕๒ และ วศคก ๓๕๓
EGME454 Theory and Design of Vehicle Structure and Suspension 3(2-3-5) Theory of vehicle suspension systems; consideration of force distribution and safety in designing the vehicle’s bodies and structures; Effects of wheel, performance and safety of vehicles Prerequisites : EGME 252 and EGME 353
วศคก๔๕๕ ระบบไฟฟ้าและการควบคุมด้วยระบบอีเล็กทรอนิกส์ในรถยนต์ ๓ (๒-๓-๕) ระบบไฟฟ้า ระบบควบคุม และอุปกรณ์ต่าง ๆ ในรถยนต์ การตรวจวิเคราะห์หาจุดขัดข้องของระบบต่าง ๆ ของรถยนต์ โดยการสังเกต การวิเคราะห์ตามทฤษฎี และการวินิจฉัยด้วยคอมพิวเตอร์ ระบบควบคุมมลภาวะ และการวิเคราะห์ไอเสีย วิชาที่ต้องศึกษาก่อน  :  วศคก ๒๕๒ และ วศคก ๓๕๔
EGME455 On-Board Vehicle Electronics to Control System and Components Electrical system, vehicle control system and components, fault and damage detection by observation, theoretical analysis, and computer diagnosis; pollution control system and Emission analysis.  Prerequisites : EGME 252 and EGME 354
วศคก๔๖๑ แขนกลขั้นแนะนำ ๓ (๓-๐-๖) การแปลงตำแหน่งของวัตถุใน 3 มิติ จลนศาสตร์ของแขนกลแบบฟอร์เวอร์ด และอินเวอร์ส พลศาสตร์ และการควบคุมแขนกล ความสัมพันธ์ระหว่างความเร็ว และแรงสถิตความเร่งเชิงเส้นและเชิงมุม การวางแปลนเส้นทางการเคลื่อนที่ การออกแบบทางกลศาสตร์ของแขนกล การควบคุมเชิงเส้นและไม่เชิงเส้น การควบคุมแรงของแขนกล การจำลองการทำงานและการเขียนโปรแกรมวิชาที่ต้องศึกษาก่อน : วศคก ๓๒๕
EGME461 Introduction to Robotics 3(3-0-6) Spatial descriptions and transformations of objects in three-dimensional space. Forward and inverse manipulator kinematics. Dynamics and control of robot manipulators ,relationship between velocities and static forces, linear and angular acceleration. Task and trajectory planning. Manipulator mechanism design. Linear and nonlinear control, and force control of manipulators. Simulation and off-line programming Prerequisites : EGME 325.
วศคก๔๖๒ นิวเมติกส์และไฮดรอลิกส์ประยุกต์ ๓ (๒-๓-๕) พื้นฐานของระบบนิเมติกส์และไฮดรอลิกส์ วงจรต่าง ๆ การเขียนวงจร การวิเคราะห์และการออกแบบวงจรวิชาที่ต้องศึกษาก่อน  :  วศคก ๒๓๔
EGME462 Applied Pneumatics and Hydraulics 3(2-3-5) Fundamental of pneumatic and hydraulic system, circuits, circuit drawing, circuit analysis and design. Prerequisites : EGME 234
วศคก ๔๖๓ การวัดในงานวิศวกรรมเครื่องกล ๓ (๒-๓-๕) ระบบการวัด  การวัดปริมาณต่าง ๆ ในรูปของสัญญาณไฟฟ้า   ทรานส์ดิวเซอร์ การวัดความเร็ว ความดัน อุณหภูมิ ความเครียด  แรง  โมเมนต์และการไหลของของไหล การตอบสนองของเครื่องมือวัดและความแม่นยำของการวัด
EGME463 Mechanical Engineering Measurement Measures system; various quantities measures, electric signal, transducer; measures of velocity, pressure, temperature, strain, force, moment and fluid flow; instrument response, and accuracy.
วศคก๔๘๓ เครื่องยนต์กังหันแก๊ส ๓ (๓-๐-๖) ประวัติการพัฒนาและการประยุกต์ของเครื่องกังหันแก๊ส วัฎจักรกำลังอย่างง่ายการวิเคราะห์เทอร์โบเจ็ต และเทอร์โบแฟน เครื่องอัด เครื่องกังหันและการหล่อเย็นช่องเข้า  ห้องเผาไหม้และหัวฉีด  สมรรถนะและการทำงานร่วมกันของส่วนประกอบของเครื่องยนต์  มลภาวะทางอากาศและเสียงวิชาที่ต้องศึกษาก่อน  :  วศคก ๒๓๑
EGME483 Gas Turbines 3(3-0-6) History and applications of the gas turbines;  simple power cycle, turbojet and turbofan analysis;  compressors, turbines and turbine cooling, inlets, combustors and nozzles;  engine performance and matching;  emissions and noise pollution Prerequisites : EGME 231
วศคก๔๘๔ การออกแบบระบบทางความร้อน ๓(๓-๐-๖) การทบทวนแนวคิดเบื้องต้นของอุณหพลศาสตร์   การประยุกต์กฎข้อที่หนึ่ง  และกฎข้อที่สองของอุณหพลศาสตร์กับระบบทางความร้อน  วัฎจักรเครื่องยนต์ความร้อน  ระบบทำความเย็น กังหันไอน้ำ  กังหันแก๊ส เครื่องควบแน่นและเครื่องยนต์แบบลูกสูบชัก  การวิเคราะห์เชิงเศรษฐศาสตร์ การสร้างสมการจากข้อมูล การจำลองระบบและการออกแบบให้เหมาะสมที่สุดวิชาที่ต้องศึกษาก่อน :  วศคก ๒๓๑
EGME484 Thermal System Design 3(3-0-6) Thermodynamic concepts  review, 1st law and 2nd of thermodynamics to thermal system application, Heat engine cycle,Refrigeration system , Steam turbines, Gas turbines, Condensing unit and Reciprocating engine, Economics analysis, Equation fitting, Modeling thermal equipment, System simulation and optimization Prerequisites : EGME 231
วศคก๔๘๕ การจัดการและเศรษฐศาสตร์พลังงาน ๓(๓-๐-๖) หลักการทั่วไปของการจัดการพลังงาน องค์ประกอบของโปรแกรม การจัดการพลังงาน การวางแผนสำหรับการจัดการพลังงาน การจัดการพลังงานในอาคารและโรงงานอุตสาหกรรมวิชาที่ต้องศึกษาก่อน :  วศคก ๒๓๑  และ วศฟฟ ๒๑๗
EGME485 Energy Management and Economics 3(3-0-6) General principles  of energy management ; element of an energy management program; planning for energy management ; energy management in building and industry Prerequisites: EGME 231 and EGEE 217
วศคก ๔๘๗ การจัดการพลังงานในอาคาร ๓ (๒-๓-๕) การตรวจสอบการใช้พลังงานภายในอาคารและอุปกรณ์ที่ใช้ในอาคาร การจัดทำโปรแกรมการจัดการพลังงาน  แนวทางการลดการใช้พลังงานในแต่ละพื้นที่ของอาคาร  การประหยัดพลังงานในการวางแผน  การออกแบบ การติดตั้ง  การใช้งาน  การบำรุงรักษา  และการปรับปรุงระบบเครื่องกลในอาคารเก่าและอาคารใหม่   การใช้ไมโครคอมพิวเตอร์  ในการจัดการพลังงานและควบคุมอุปกรณ์ปรับอากาศและระบายอากาศในอาคารวิชาที่ต้องศึกษาก่อน  :  วศคก ๒๓๑ และ วศฟฟ ๒๑๗
EGME487 Energy Management in Buildings 3(2-3-5) Energy audit in buildings and equipment using; energy management program;  energy use decreasing procedure in sector area, energy conservation  for planing, design, installation and use, maintenance and improvement mechanical system in old and new building;  microcomputer using for energy management and control of air condition and ventilation devices in buildings Prerequisites : EGME 231 and EGEE 217
วศคก๔๘๘ การจัดการพลังงานในอุตสาหกรรม ๓ (๒-๓-๕) การศึกษาสมดุลพลังงานของกลอุปกรณ์ต่างๆ  ในโรงงานอุตสาหกรรมและแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพ   การนำความร้อนเหลือทิ้งมาใช้ประโยชน์  หลักการผลิตไอน้ำเพื่อกำเนิดต้นกำลัง  และเป็นแหล่งความร้อนพร้อมกันในอุตสาหกรรม  การจัดการสำหรับการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ วิชาที่ต้องศึกษาก่อน  :  วศคก ๒๓๑ และ วศฟฟ ๒๑๗
EGME488 Energy Management in Industry 3(2-3-5) Energy balance of mechanical devices in industry and efficiency increasing procedure; utilization from waste heat; steam production to power and heat resource in industry; managing for energy efficiency Prerequisites : EGME 231 and EGEE 217.
วศคก๔๘๙ พลังงานแสงอาทิตย์ขั้นแนะนำ ๓ (๒-๓-๕) การแผ่รังสีจากดวงอาทิตย์  การดูดกลืนและการรับรังสี  แผงรับรังสีแบบแผ่นราบสมรรถนะ ของแผงรับรังสีแบบต่าง ๆ   การสะสมพลังงาน  การเปลี่ยนรูปเป็นพลังงานกลวิชาที่ต้องศึกษาก่อน  :  วศคก ๓๓๔
EGME489 Introduction of Solar Energy 3(2-3-5) Solar radiation, absorbtion ,  solar flat plate collector, various type flat plate collector performance, energy storage, conversion to mechanical power Prerequisites : EGME 334
วศอก๔๙๐-๔๙๔      หัวข้อพิเศษทางวิศวกรรมเครื่องกล (๓-๐-๖) หรือ ๓ (๒-๓-๕) หัวข้อที่น่าสนใจทางวิศวกรรมเครื่องกล  หัวข้อเปลี่ยนไปตามความเหมาะสมในแต่ละภาคการศึกษา
EGME490-494 Special Topics in Mechanical Engineering Selected topics pertinent to mechanical engineering.
วศฟฟ๒๔๓ วงจรอิเล็กทรอนิกส์แบบแอนะลอกและวงจรดิจิตอล ๓(๓-๐-๖) พื้นฐานวงจรอิเล็กทรอนิกส์เบื้องต้น การทำงานของไดโอดแบบต่างๆ การทำงานของทรานซิสเตอร์ชนิดต่างๆ แบบเชิงเส้น   การทำงานของทรานซิสเตอร์และออปแอมป์ในโหมดขยายสัญญาณ  วงจรดิจิตอลขั้นพื้นฐาน   วงจรเกทต่างๆ  การออกแบบวงจรดิจิตอลโดยใช้แผนภูมิคาร์นอ  วงจรฟลิปฟลอป  วงจรหน่วยความจำ  การประยุกต์ใช้งานไอซี    แอนะลอกและไอซีดิจิตอล วิชาที่ต้องเรียนก่อน  : วทฟส ๑๕๒
EGEE243 Analog and Digital Electronics 3(3-0-6) Fundamentalof electronic circuits, Diodes operation , transistors operation in linear region , transistors and Op-Amp operation in active mode, fundamental of digital electronics, gate circuits, digital circuit design by using Karnaugh map, flip-flop and memory circuit, analog and digital application ICs. Prerequisites :  SCPY 152
วศฟฟ๓๕๑ เครื่องจักรกลไฟฟ้า ๑ ๓ (๓-๐-๖) หลักการของเครื่องจักรกลชนิดหมุน   เครื่องจักรกลไฟฟ้ากระแสตรง   วิธีการสตาร์ต-มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรง    วิธีการควบคุมความเร็วมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรง    ทฤษฎีและการวิเคราะห์หม้อแปลงไฟฟ้าเฟสเดียวและหม้อแปลงไฟฟ้าสามเฟส โครงสร้างของเครื่องจักรกลไฟฟ้ากระแสสลับ   การทำงานในสภาวะอยู่ตัวและการวิเคราะห์  เครื่องกลไฟฟ้าเหนี่ยวนำและเครื่องกลไฟฟ้าซิงโครนัส  วิธีการสตาร์ตมอเตอร์ไฟฟ้าเหนี่ยวนำและมอเตอร์ไฟฟ้าซิงโครนัสแบบหลายเฟส   การป้องกันเครื่องจักรกลวิชาที่ต้องศึกษาก่อน วศฟฟ ๒๕๐ หรือ วศคก๓๘๑
EGEE351 Electrical Machines I 3(3-0-6) Principles of  rotating machines, dc machines, starting method of dc motors, speed control methods of dc motors, theory and analysis of single phase and three phase transformers,   ac machines construction, steady-state performance and analysis of  induction machines and synchronous machines, starting methods of polyphase induction motors and synchronous motors, protection of machines Prerequisites :  EGEE250  or  EGME 381
วศฟฟ๓๖๐ สัญญาณและระบบ ๓ (๓-๐-๖) แนวคิดพื้นฐานของสัญญาณและระบบ ระบบไม่แปรกับเวลาเชิงเส้น อนุกรมฟูเรียร์     การวิเคราะห์ฟูเรียร์ของสัญญาณ และระบบแบบต่อเนื่องและไม่ต่อเนื่องทางเวลา การกรองสัญญาณ การกล้ำ การชักตัวอย่าง การแปลงลาปลาซ  การแปลงแซด  ระบบป้อนกลับเชิงเส้น  เสถียรภาพของระบบ  การวิเคราะห์ปริภูมิสถานะวิชาที่ต้องเรียนก่อน  :  วศคร ๒๐๐
EGEE360 Signals and Systems 3(3-0-6) Basic concept of signal and system, linear time-invariant system, Fourier series, Fourier analysis for continuous and discrete time signal and system, signals filtering modulation, sampling, Laplace transform, Z- transform, linear feedback system, system stability, state-space analysis Prerequisites :  EGID 200.
วศฟฟ๔๖๐ การประมวลผลสัญญาณไม่ต่อเนื่องทางเวลา ๓ (๓-๐-๖) ทบทวนตัวแปรเชิงซ้อน       แนะนำระบบแบบเชิงเส้นที่ไม่แปรตามเวลาและคุณสมบัติของระบบแบบนี้ การแปลงแบบแซดและการแปลงผกผัน  อนุกรมของฟูเรียร์ การแปลงฟูเรียร์แบบต่อเนื่องทางเวลาและการแปลงผกผัน    การแปลงฟูเรียร์แบบไม่ต่อเนื่องทางเวลาและการแปลงผกผัน การแปลงฟูเรียร์แบบไม่ต่อเนื่องและการแปลงผกผัน การสุ่มสัญญาณ   อัตราการสุ่มของไนควิส  การสร้างสัญญานกลับคืนจากสัญญาณดิจิตอล         การเพิ่มและลดอัตราการสุ่มสัญญาณ การวิเคราะห์และออกแบบตัวกรองสัญญาณแบบดิจิตอลทั้งแบบเอฟไออาร์  หรือไอไออาร์  และอัลกอริธึมแบบเอฟเอฟทีวิชาที่ต้องเรียนก่อน  : วศฟฟ ๓๖๐
EGEE460 Discrete-Time Signal Processing 3(3-0-6) Review  of  complex  variables,  introduction to LTI  (Linear Time Invariant)  systems and    their    properties,  Z – transform    and     inverse   Z – transform,   Fourier  series, Continuous-Time Fourier Transform and its inverse transfor, Discrete – Time Fourier Transform (DTFT) and its inverse transform, Discrete Fourier Transform (DFT)  and its  inverse  transform, signal  sampling, Nyquist  rate,  signal  reconstruction, interpolation  and  decimation,   IIR   (Infinite Impulse Response)  and  FIR  (Finite Impulse  Response)  digital  filter design and analysis,  and  Fast  Fourier Transform (FFT) algorithms. Prerequisites : EGEE 360
วศอก๒๐๖ วิศวกรรมการผลิต ๓ (๓-๐-๖) เทคโนโลยี คุณลักษณะและการใช้งานของกรรมวิธีการผลิตแบบก้าวหน้า การควบคุมเชิงเลขของเครื่องจักรด้วยสมองกล การวัด และการตรวจสอบคุณสมบัติผลิตภัณฑ์ การประกอบผลิตภัณฑ์ การออกแบบสายการผลิต การออกแบบผลิตภัณฑ์และการเลือกวัสดุเพื่อการผลิต   ส่วนสนับสนุนการผลิต กรณีศึกษาเกี่ยวกับวิศวกรรมการผลิตวิชาที่ต้องศึกษาก่อน  :  วศอก ๒๐๔
EGIE206 Production Engineering 3(3-0-6) Technologies, characteristics and applications of advanced manufacturing processes, computer numerical control, measurement and product inspection. Product assembly. Design of manufacturing processes. Design and material selection for manufacturing. Supporting systems.  Case studies on production engineering Prerequisites : EGIE 204
วศอก๓๓๓ เศรษฐศาสตร์วิศวกรรม ๓ (๓-๐-๖) แนวคิดทางด้านเศรษฐศาสตร์ขั้นพื้นฐาน         แนวคิดเกี่ยวกับต้นทุนเพื่อการตัดสินใจ    ค่าของเงินตามกาลเวลา  การเสื่อมราคา  วิธีการประเมินและเปรียบเทียบทางเลือกก่อนและหลังการคิดภาษีเงินได้  การศึกษาการทดแทน  การวิเคราะห์จุดคุ้มทุน  การตัดสินใจภายใต้ความเสี่ยงและความไม่แน่นอน
EGIE333 Engineering Economy 3(3-0-6) Basic  economic  concepts. Cost  concepts  for  decision  making. Time  value  of  money. Depreciation. Evaluation and comparing alternatives. After-tax economic analysis. Replacement studies. Break even analysis. Decision making under risk and uncertainty.
วศอก๓๖๓ การควบคุมคุณภาพ ๓ (๓-๐-๖) แนวความคิดพื้นฐานของคุณภาพ  การจัดการทางด้านการควบคุมคุณภาพ  การควบคุมคุณภาพโดยอาศัยหลักทางสถิติและความเชื่อมั่นทางวิศวกรรม  การตรวจสอบคุณภาพด้วยวิธีสุ่มตัวอย่างเพื่อการยอมรับ การจูงใจและมนุษยสัมพันธ์เพื่อการปรับปรุงกระบวนการผลิตและผลิตผล   แนวความคิดกิจกรรมกลุ่มย่อยเพื่อการปรับปรุงคุณภาพ แนวความคิดในการประยุกต์ใช้การควบคุมคุณภาพต่ออุตสาหกรรมการผลิตและการบริการวิชาที่ต้องศึกษาก่อน : วศอก ๒๖๑
EGIE363 Quality Control 3(3-0-6) Basic concepts of quality. Quality control management. Statistical quality control and engineering reliability.Acceptance sampling inspection. Motivation and human relation for  process  improvement  and   productivity.  The small group  activity concept  for quality improvement. Application concepts of quality control in production and service industries. Prerequisites : EGIE 261
วศอก๓๗๙ วิศวกรรมความปลอดภัย ๓ (๓-๐-๖) ความสำคัญของความปลอดภัยในโรงงาน อันตรายและอุบัติเหตุในโรงงานอุตสาหกรรม สาเหตุของอุบัติเหตุ วิธีการป้องกันหรือแก้ไขอุบัติเหตุ ความถี่และความรุนแรงของอุบัติเหตุ อาชีวอนามัยในโรงงาน หลักการจัดการความปลอดภัย กฎหมายเกี่ยวกับความปลอดภัย  จิตวิทยาอุตสาหกรรมเบื้องต้น วิศวกรรมความปลอดภัย
EGIE379 Safety Engineering 3(3-0-6) Importance of industrial safety, Industrial hazards and accidents.  Accident causes.  Accident prevention. Accident statistics.  Industrial occupational health.  Principles of safety management.  Safety laws.  Industrial psychology.  Safety engineering.
คำอธิบายรายวิชาภาคการศึกษาฤดูร้อน
การฝึกงาน
วศคก๓๐๓ การฝึกงานทางวิศวกรรมเครื่องกล ๐ (๐-๓๕-๑๐) การฝึกงานทางวิศวกรรมเครื่องกลในโรงงานหรือหน่วยงานต่าง ๆ ของภาครัฐและเอกชน ตามที่ภาควิชาเห็นชอบ โดยมีกำหนดระยะเวลาการฝึกงานไม่น้อยกว่า ๒๔๐ชั่วโมงและนักศึกษาต้องส่งรายงานเมื่อเสร็จสิ้นการฝึกงานดังกล่าว ซึ่งการประเมินผลจะให้เกรดออกมาเป็นพอใจ(Satisfactory, “S”) หรือ ไม่พอใจ (Unsatisfactory, “U”)วิชาที่ต้องเรียนก่อน  :  นักศึกษาชั้นปีที่ ๓
EGME303 Mechanical  Engineering Training 0(0-35-10) Practical training in industrial or government sectors during summer session for not less than 240 hours must be arranged and supervised by the department. A written report must be submitted to the department. The training evaluation must be graded as satisfactory, “S” or unsatisfactory, “U Prerequisites : Junior Students

การสอบวัดคุณสมบัติ


การประกันคุณภาพหลักสูตร

หลักสูตรได้กำหนดระบบและวิธีการประกันคุณภาพ หลักสูตรในแต่ละประเด็น ดังนี้
๑ ประเด็นการบริหารหลักสูตร
-มีระบบกลไกในระดับคณะและภาควิชาในการดูแลรับผิดชอบการบริหารจัดการและควบคุมการดำเนินการจัดการศึกษาให้เป็นไปตามหลักสูตรอย่างเป็นระบบโดยมีการกำหนดแผนงานและมีการจัดงบประมาณเพื่อพัฒนางานด้านการศึกษาอย่างพอเพียงที่จะเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด
-ดำเนินการประกันคุณภาพหลักสูตร ให้มีประสิทธิภาพและสอดคล้องตามนโยบายและ มาตรฐานคุณภาพของมหาวิทยาลัยมหิดล
-ดำเนินการประกันคุณภาพหลักสูตรตามตัวบ่งชี้คุณภาพของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน)
-มีการประเมินและทบทวนเพื่อปรับปรุงให้หลักสูตรมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องในทุก ๕ ปีเพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและสอดรับกับความต้องการของสังคมหรือผู้ใช้บัณฑิต
๒ ประเด็นทรัพยากรประกอบการเรียนการสอน
-จัดทรัพยากรและระบบสารสนเทศ เพื่อสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนและการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
-จัดให้มีสื่อวัสดุ อุปกรณ์การศึกษา และพัฒนาแหล่งเรียนรู้ ให้หลากหลายและเพียงพอสำหรับการจัดการเรียนการสอนของหลักสูตร
-จัดปัจจัยสนับสนุนเพื่อสร้างโอกาสในการพัฒนาศักยภาพนักศึกษา
-สร้างสภาพแวดล้อม และบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้และส่งเสริมให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ การสร้างนวัตกรรม และการเกื้อกูลซึ่งกันและกันเพื่อการจัดการศึกษาที่มีประสิทธิภาพ
๓ ประเด็นการสนับสนุนและการให้คำแนะนำนักศึกษา
-จัดให้มีระบบอาจารย์ที่ปรึกษาในระดับภาควิชา เพื่อทำหน้าที่แนะนำและช่วยเหลือนักศึกษาทางด้านการเรียนการสอนและ/หรือการให้คำแนะนำในด้านอื่น ๆ ที่นักศึกษาอาจมีปัญหา
-จัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา ทั้งด้านวิชาการ และจริยธรรมคุณธรรม ซึ่งการสนับสนุนกิจกรรมต่าง ๆ ของนักศึกษา มีทั้งในระดับภาควิชาคณะและมหาวิทยาลัย
๔ ประเด็นความต้องการของตลาดแรงงาน สังคม และ / หรือความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิต
-มีการประเมินผลความสำเร็จของการจัดหลักสูตร ว่าสามารถผลิตบัณฑิตที่มีคุณลักษณะตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตร และมีความสามารถเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานและ/ หรือสามารถศึกษาต่อในขั้นสูงต่อไปได้
-มีระบบการติดตาม ประเมินผลคุณภาพบัณฑิต ทั้งในส่วนของตัวบัณฑิต และผู้ใช้บัณฑิตเพื่อดูระดับความพึงพอใจของนายจ้าง / ผู้ประกอบการ / ผู้ใช้บัณฑิต