ศาสตร์และศิลป์ที่สอนในเมืองไทย

รายวิชาที่มหาวิทยาลัยเปิดสอนในเมืองไทย พร้อมคำจำกัดความและขอบเขตของวิชา

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์

leave a comment »

มหาวิทยาลัยมหิดล หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์.

ชื่อหลักสูตร : หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
ชื่อปริญญา
ชื่อเต็ม :

วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต(วิศวกรรมคอมพิวเตอร์)

ชื่อย่อ : วศ.บ.(วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ )
หน่วยงานรับผิดชอบ
โครงการจัดตั้งภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
กำหนดการเปิดสอน : หลักสูตรปรับปรุงนี้จะเริ่มใช้กับนักศึกษาตั้งแต่รุ่นปีการศึกษา ๒๕๕๐ เป็นต้นไป

ปรัชญาของหลักสูตร

เพื่อผลิตวิศวกรคอมพิวเตอร์ที่มีความรู้ความสามารถและมีจรรยาบรรณแห่ง วิชาชีพ เพื่อการค้นคว้าวิจัยและพัฒนางานด้านคอมพิวเตอร์ สามารถให้การผลิตการบริการด้านซอฟต์แวร์และทำผลิตภัณฑ์อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ รวมทั้งการให้บริการวิชาการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศแก่ภาครัฐและเอกชนตามนโยบายของรัฐบาล

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

๑ เพื่อผลิตบัณฑิตทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ที่มีความรู้ความสามารถ และทักษะในการประกอบอาชีพสาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
๒ เพื่อผลิตบัณฑิตที่สามารถวิเคราะห์ วิจัย และพัฒนาทางด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
๓ เพื่อสร้างบัณฑิตที่มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่และสังคม รวมทั้งมีความเป็นผู้นำ มีคุณธรรม ตระหนักในคุณค่าของศิลปวัฒนธรรมและทรัพยากรสิ่งแวดล้อม
๔ เพื่อสนับสนุนการทำการวิจัยและการให้บริการวิชาการทางด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ และวิศวกรรมสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
๕ เพื่อตอบสนองนโยบายของรัฐ และรองรับการพัฒนาของประเทศ

คุณสมบัติผู้เข้าศึกษา

๑.ชั้น มัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า ตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการและมีคุณสมบัติครบตามข้อกำหนดของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ที่กำหนดไว้สำหรับผู้มีสิทธิ์เข้าสอบคัดเลือกเพื่อศึกษาในระดับอุดมศึกษา และ/หรือ
๒ ผ่านการคัดเลือกตามประกาศของมหาวิทยาลัยมหิดล ว่าด้วยการรับสมัครนักเรียนเข้าศึกษาหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต

การคัดเลือกผู้เข้าศึกษา

๑ เป็นผู้ผ่านการคัดเลือก ตามระเบียบการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และ/หรือ
๒ เป็นผู้ผ่านการคัดเลือกตามประกาศของมหาวิทยาลัยมหิดล ว่าด้วยการรับสมัครนักเรียนเข้าศึกษาหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต

ระบบการศึกษา

๑ จัดการศึกษาตามระบบหน่วยกิตทวิภาค ตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับ
ปริญญาตรี โดยหนึ่งปีการศึกษาแบ่งเป็น ๒ ภาคการศึกษาปกติ หนึ่งภาค
การศึกษาปกติมีระยะเวลาศึกษาไม่น้อยกว่า ๑๕ สัปดาห์ สำหรับการศึกษาภาค
ฤดูร้อนมีกำหนดระยะเวลาและจำนวนหน่วยกิตในสัดส่วนเดียวกันเทียบได้กับภาค
การศึกษาปกติ


๒ การคิดจำนวนหน่วยกิต
๑.๑ รายวิชาภาคทฤษฎี ที่ใช้เวลาบรรยายหรืออภิปรายปัญหาไม่น้อยกว่า
๑๕ ชั่วโมงต่อภาคการศึกษาปกติ ให้มีค่าเท่ากับ ๑ หน่วยกิต
๒.๒ รายวิชาภาคปฏิบัติ ที่ใช้เวลาฝึกหรือทดลองไม่น้อยกว่า ๓๐ ชั่วโมงต่อ
ภาคการศึกษาปกติ ให้มีค่าเท่ากับ ๑ หน่วยกิต
๒.๓ การฝึกภาคสนาม ที่ใช้เวลาฝึกไม่น้อยกว่า ๔๕ ชั่วโมงต่อภาคการศึกษา
ปกติ ให้มีค่าเท่ากับ ๑ หน่วยกิต
๒.๔ การฝึกงาน ที่ใช้เวลาฝึกไม่น้อยกว่า ๒๔๐ ชั่วโมงในภาคการศึกษา
ฤดูร้อน ให้มีค่าเท่ากับ ๐ หน่วยกิต
๒.๕ การทำโครงงาน หรือกิจกรรมเรียนอื่นใดตามที่ได้รับมอบหมาย ที่ใช้
เวลาทำโครงงานหรือกิจกรรมนั้นๆ ไม่น้อยกว่า ๔๕ ชั่วโมงต่อภาค
การศึกษาปกติให้มีค่าเท่ากับ ๑ หน่วยกิต

ภาษา

ระยะเวลาการศึกษา

ระยะเวลาการศึกษาตาม หลักสูตร ๔ ปีการศึกษา โดยใช้เวลาศึกษาอย่างมากไม่เกิน ๘ ปีการศึกษา

การลงทะเบียนและการรับโอนหน่วยกิต

ให้เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยมหิดล ว่าด้วยการศึกษาระดับอนุปริญญาและปริญญาตรี

การวัดผลและการสำเร็จการศึกษา

ให้เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยมหิดล ว่าด้วยการศึกษาระดับอนุปริญญาและปริญญาตรี

อาจารย์ประจำ

ลำดับที่ ชื่อ-สกุล คุณวุฒิ
๑. ผศ.ธนดล ปริตรานันท์ M.Sc. (Computation)วศ.บ. (อิเล็กทรอนิกส์)
๒. ผศ.คงฤทธิ์ หันจางสิทธิ์ M.S.E. (Electrical Engineering)
B.S. (Electrical Engineering)
๓. อ.ฆนัท พูลสวัสดิ์ วท.ม. (สารสนเทศ)
วศ.บ. (วิศวกรรมไฟฟ้า)
๔. อ.พรรณศิริ อธิคมรังสฤษฏ์ M.S. (Computer Science)
วท.บ. (วิทยาการคอมพิวเตอร์)
๕. อ.สุรทศ ไตรติลานันท์ วศ.ม.(วิศวกรรมคอมพิวเตอร์)
วศ.บ.(วิศวกรรมไฟฟ้า)

คือ อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร

อาจารย์ประจำชาวต่างประเทศ

ลำดับ ชื่อ-สกุล คุณวุฒิ
๑. Mr. Graham Rogers M.A. (English Literature & Writing)

อาจารย์ประจำจากคณะวิทยาศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ วิทยาลัยการจัดการ

อาจารย์พิเศษ

ลำดับ ชื่อ-สกุล คุณวุฒิ
๑. รศ.ดร.ประภาส จงสถิตย์วัฒนา Ph.D. (Computer Engineering)
๒. รศ.ดร.โกสินทร์  จำนงไทย D.Eng.(Computer Engineering)
๓. ผศ.ดร.ประจวบ  วานิชชัชวาล Ph.D. (Computer Science)
๔. ผศ.ไพโรจน์  สุวรรณสุทธิ M.Eng. (Electrical Eng.)
๕. น.อ.ดร. อรัญ  นำผล Ph.D. (Electrical Engineering)
๖. ร.ท. ทรงฤทธิ์  กิตติพีรชล M.S. (Electrical Engineering)
๗. นายธนดี  อุชชุพันธ์ M.S. (Computer Science)
๘. นายมงคล  อัศวพลางกูร วศ.ม. (คอมพิวเตอร์)
๙. นายสมภพ  พงษ์พรรณเจริญ วท.ม. (สารสนเทศ)

หมายเหตุ อาจารย์พิเศษท่านอื่นจะเชิญเพิ่มเติมตามความเหมาะสม

จำนวนนักศึกษา

ปีการ ศึกษา ๒๕๕๐ ๒๕๕๑ ๒๕๕๒ ๒๕๕๓ ๒๕๕๔
ชั้นปีที่ ๑ ๖๐ ๖๐ ๖๐ ๖๐ ๖๐
ชั้นปีที่ ๒ ๕๒ ๖๐ ๖๐ ๖๐ ๖๐
ชั้นปีที่ ๓ ๕๙ ๕๒ ๖๐ ๖๐ ๖๐
ชั้นปีที่ ๔ ๖๗ ๕๙ ๕๒ ๖๐ ๖๐
รวม ๒๓๘ ๒๓๑ ๒๓๒ ๒๔๐ ๒๔๐
คาดว่าจะจบ การศึกษา ๖๗ ๕๙ ๕๒ ๖๐ ๖๐

สถานที่และอุปกรณ์การสอน

ห้องเรียน ๖๒๗๑-๖๒๗๖ ชั้น ๒ อาคารเรียนและปฏิบัติการคณะวิศวกรรมศาสตร์ เครื่องมือเครื่องใช้ วัสดุ ครุภัณฑ์ ห้องปฏิบัติการใช้ห้องปฏิบัติการของภาควิชาที่รับผิดชอบการสอน คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ณ ศาลายา

ห้องสมุด

ใช้ห้องสมุดสำนักหอ สมุดของมหาวิทยาลัยมหิดล ณ ศาลายา ซึ่งมีระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์สำหรับค้นหาฐานข้อมูล สิ่งพิมพ์ ได้แก่ หนังสือ ตำรา วารสาร รายงานวิจัย วิทยานิพนธ์ รวมทั้งฐานข้อมูล ซีดีรอม วีดิทัศน์วิชาการ และแถบบันทึกเสียง โดยมีหนังสือทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษรวมกัน ๓๗๖,๙๓๐ เล่ม เป็นตำราทางด้านวิทยาศาสตร์ภาษาไทย๓,๐๘๒ เล่ม และภาษาอังกฤษ ๑๘,๘๑๗ เล่ม ตำราทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ภาษาไทย ๕,๓๐๗ เล่ม และภาษาอังกฤษ ๗,๕๒๕ เล่ม วารสารทางด้านวิทยาศาสตร์ภาษาไทย ๒๕ รายการ และภาษาอังกฤษ ๑๒๔ รายการ และวารสารทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ภาษาไทย ๑๖ รายการ และภาษาอังกฤษ ๒๕ รายการ

งบประมาณ

ใช้งบประมาณ ของมหาวิทยาลัยมหิดล โดยมีค่าใช้จ่ายรายหัวต่อการผลิตบัณฑิตวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ในปีงบประมาณ ๒๕๔๘ (๑ ตุลาคม ๒๕๔๗ ถึง ๓๐ กันยายน ๒๕๔๘) เท่ากับ ๗๓,๙๙๕ บาท

หลักสูตร
โครงสร้างหลักสูตร

จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า ๑๔๑ หน่วยกิต
โครงสร้างหลักสูตร หมวดวิชาศึกษาทั่วไป รวม ๓๐ หน่วยกิต
กลุ่มวิชาที่มหาวิทยาลัยกำหนด ของหมวดวิชาศึกษาทั่วไป จำนวน ๑๖ หน่วยกิต
๑. กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ ๗ หน่วยกิต
๒. กลุ่มวิชาภาษา ๙ หน่วยกิต
กลุ่มวิชาที่หลักสูตรกำหนด จำนวน ๑๔ หน่วยกิต
๑. กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ ๕ หน่วยกิต
๒. กลุ่มวิชาภาษา ๓ หน่วยกิต
๓. กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ๖ หน่วยกิต

หมวดวิชาเฉพาะ รวม ๑๐๕ หน่วยกิต
๑. กลุ่มวิชาแกน ๒๕ หน่วยกิต
๒. กลุ่มวิชาเฉพาะบังคับ ๖๘ หน่วยกิต
๓. กลุ่มวิชาเฉพาะเลือก ๑๒ หน่วยกิต


หมวดวิชาเลือกเสรี รวม ๖ หน่วยกิต


การฝึกงาน (ใช้เวลา ไม่น้อยกว่า ๒๔๐ ชั่วโมง) ๐ หน่วยกิต

หมวดวิชาศึกษาทั่วไป ๓๐ หน่วยกิต
กลุ่มวิชาที่มหาวิทยาลัยกำหนด ของหมวดวิชาศึกษาทั่วไป จำนวน ๑๖ หน่วยกิต
กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ จำนวน ๗ หน่วยกิต
จำนวนหน่วยกิต (ทฤษฎี-ปฏิบัติ-ค้นคว้า)

มมศท ๑๐๑ การศึกษาทั่วไปเพื่อการพัฒนามนุษย์ ๒ (๑–๒-๓)
มมศท ๑๐๒ สังคมศึกษาเพื่อการพัฒนามนุษย์ ๓ (๒–๒-๕)
มมศท ๑๐๓ ศิลปวิทยาการเพื่อการพัฒนามนุษย์ ๒ (๑–๒-๓)
กลุ่มวิชาภาษา จำนวน ๙ หน่วยกิต
วิชาภาษาไทย
จำนวนหน่วยกิต (ทฤษฎี-ปฏิบัติ-ค้นคว้า)
ศศภท ๑๐๐ ศิลปะการใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร ๓ (๒–๒-๕)
วิชาภาษาอังกฤษ
ให้เรียนรายวิชาต่อไปนี้ จำนวน ๖ หน่วยกิต ตามระดับคะแนนที่คณะศิลปะศาสตร์จัดสอบวัดความรู้จำนวนหน่วยกิต (ทฤษฎี-ปฏิบัติ-ค้นคว้า)
ศศภอ ๑๐๓ ภาษาอังกฤษระดับ ๑ ๓ (๒–๒-๕)
ศศภอ ๑๐๔ ภาษาอังกฤษระดับ ๒ ๓ (๒–๒-๕)
ศศภอ ๑๐๕ ภาษาอังกฤษระดับ ๓ ๓ (๒–๒-๕)
ศศภอ ๑๐๖ ภาษาอังกฤษระดับ ๔ ๓ (๒–๒-๕)
ศศภอ ๑๐๗ ภาษาอังกฤษระดับ ๕ ๓ (๒–๒-๕)
ศศภอ ๑๐๘ ภาษาอังกฤษระดับ ๖ ๓ (๒–๒-๕)
กลุ่มวิชาที่หลักสูตรกำหนด จำนวน ๑๔ หน่วยกิต
กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ ๕ หน่วยกิต
จำนวนหน่วยกิต (ทฤษฎี-ปฏิบัติ-ค้นคว้า)
วศคร ๓๐๐ ปรัชญา จรรยาบรรณ และกฎหมายสำหรับวิศวกร ๑ (๑-๐-๒)
สมสค ๑๓๐ หลักเศรษฐศาสตร์ ๒ (๒-๐-๔)
สมสค ๑๔๐ จิตวิทยาทั่วไป ๒ (๒-๐-๔)
สมสค ๑๔๒ จิตวิทยาสังคม ๒ (๒-๐-๔)
สมสค ๑๔๔ หลักการสื่อสาร ๒ (๒-๐-๔)
สมสค ๑๖๐ หลักการบริหาร ๒ (๒-๐-๔)
สมสค ๑๖๑ นโยบายและการวางแผน ๒ (๒-๐-๔)
สมมน ๑๐๓ ศิลปวิจักษ์ ๒ (๒-๐-๔)
สมมน ๑๐๕ ปรัชญาสังคม ๒ (๒-๐-๔)
สมมน ๑๐๘ มนุษยสัมพันธ์และการพัฒนาตน ๒ (๒-๐-๔)
สมมน ๑๑๐ มนุษย์กับวัฒนธรรม ๒ (๒-๐-๔)
สมมน ๑๑๒ พลวัตในกลุ่มและการทำงานเป็นทีม ๒ (๒-๐-๔)
สมมน ๑๓๓ วาทศาสตร์ผู้นำแนวใหม่ ๒ (๒-๐-๔)
สมศษ ๑๐๑ กิจกรรมพลศึกษา-ว่ายน้ำ ๑ (๐-๒-๑)
สมศษ ๑๑๔ กิจกรรมพลศึกษา-ลีลาศ ๑ (๐-๒-๑)
สมศษ ๑๑๗ กิจกรรมพลศึกษา-แบดมินตัน ๑ (๐-๒-๑)
สมศษ ๑๑๘ กิจกรรมพลศึกษา-เทนนิส ๑ (๐-๒-๑)
สมศษ ๑๒๕ กิจกรรมพลศึกษา-วอลเล่ย์บอล ๑ (๐-๒-๑)
สมศษ ๑๒๖ กิจกรรมพลศึกษา-เปตอง ๑ (๐-๒-๑)
วศสว ๑๐๑ ดนตรีวิจักษ์ ๒ (๑-๒-๓)
วศสว ๑๐๒ ขับร้องประสานเสียง ๑ (๐-๒-๑)
วศอก ๔๓๐ การจัดการอุตสาหกรรมสำหรับวิศวกร ๓ (๓-๐-๖)
วศอก ๔๓๖ กฎหมายอุตสาหกรรมและกฎหมายพาณิชย์ ๓ (๓-๐-๖)
กลุ่มวิชาภาษา จำนวน ๓ หน่วยกิต จำนวนหน่วยกิต (ทฤษฎี-ปฏิบัติ-ค้นคว้า)
ศศภอ ๒๐๗ หลักการแปล ๓ (๓-๐-๖)
ศศภอ ๓๐๔ การอ่านเชิงวิเคราะห์ ๓ (๒-๒-๕)
ศศภอ ๓๐๖ การสนทนาระดับสูง 1 ๓ (๒-๒-๕)
ศศภอ ๓๕๐ การเขียนเชิงธุรกิจ ๓ (๓-๐-๖)
ศศภอ ๓๕๑ การเขียนสรุปและการจดบันทึกย่อ ๓ (๓-๐-๖)
ศศภอ ๔๐๑ การสนทนาระดับสูง 2 ๓ (๒-๒-๕)
ศศภอ ๔๐๒ การพูดในที่สาธารณะ ๓ (๒-๒-๕)
ศศภอ ๔๐๓ การอ่านเชิงวิชาการ ๓ (๒-๒-๕)
ศศภอ ๔๐๔ การเขียนเชิงวิชาการ ๓ (๒-๒-๕)
ศศภท ๑๓๒ ทักษะการใช้ภาษาไทย ๓ (๒-๒-๕)
วศคร ๒๙๐ ภาษาอังกฤษสำหรับวิศวกร ๓ (๓-๐-๖)
วศคร ๔๙๐ การสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษสำหรับวิศวกร ๓ (๓-๐-๖)
ศศภญ ๑๖๑ ภาษาญี่ปุ่นเบื้องต้น ๑ ๓ (๒-๒-๕)
ศศภจ ๑๗๑ ภาษาจีน ๑ ๓ (๒-๒-๕)
กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ จำนวน ๖ หน่วยกิตจำนวนหน่วยกิต (ทฤษฎี-ปฏิบัติ-ค้นคว้า)
วศฟฟ ๒๐๐ ความน่าจะเป็นและตัวแปรสุ่ม ๓ (๓-๐-๖)
วศอก ๓๓๕ การวิเคราะห์ต้นทุนและงบประมาณ ๓ (๓-๐-๖)
หมวดวิชาเฉพาะ รวม ๑๐๕ หน่วยกิต
กลุ่มวิชาแกน จำนวน ๒๕ หน่วยกิต
จำนวนหน่วยกิต (ทฤษฎี-ปฏิบัติ-ค้นคว้า)
วทคม ๑๑๓ เคมีทั่วไป ๓ (๓-๐-๖)
วทคม ๑๑๘ ปฏิบัติการเคมี ๑ (๐-๓-๑)
วทคณ ๑๑๕ แคลคูลัส ๓ (๓-๐-๖)
วทคณ ๑๖๕ สมการอนุพันธ์เชิงสามัญ ๓ (๓-๐-๖)
วทฟส ๑๑๐ ปฏิบัติการฟิสิกส์ ๑ ๑ (๐-๓-๑)
วทฟส ๑๕๑ ฟิสิกส์ทั่วไป ๑ ๓ (๓-๐-๖)
วทฟส ๑๕๒ ฟิสิกส์ทั่วไป ๒ ๓ (๓-๐-๖)
วศคร ๒๐๐ คณิตศาสตร์วิศวกรรม ๓ (๓-๐-๖)
วศอก ๑๐๑ ปฏิบัติการวิศวกรรมพื้นฐาน ๒ (๑-๓-๓)
วศคก ๑๐๒ เขียนแบบวิศวกรรม ๓ (๒-๓-๕)
กลุ่มวิชาเฉพาะบังคับ รวม ๖๘ หน่วยกิต จำนวนหน่วยกิต (ทฤษฎี-ปฏิบัติ-ค้นคว้า)
วศคพ ๑๑๑ การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ๓ (๒-๓-๕)
วศคพ ๒๐๑ วิยุตคณิต ๓ (๓-๐-๖)
วศคพ ๒๐๒ วิธีเชิงตัวเลขและการประยุกต์ ๓ (๓-๐-๖)
วศคพ ๒๑๒ เทคนิคการเขียนโปรแกรม ๓ (๒-๒-๕)
วศคพ ๒๒๑ โครงสร้างข้อมูลและขั้นตอนวิธี ๓ (๓-๐-๖)
วศคพ ๒๓๑ การออกแบบวงจรดิจิทัล ๓ (๓-๐-๖)
วศคพ ๒๓๒ ปฏิบัติการการออกแบบวงจรดิจิทัล ๑ (๐-๓-๑)
วศคพ ๒๕๒ การเขียนโปรแกรมระบบ ๓ (๓-๐-๖)
วศฟฟ ๒๑๓ การวิเคราะห์วงจรไฟฟ้า ๓ (๓-๐-๖)
วศฟฟ ๒๔๐ อิเล็กทรอนิกส์วิศวกรรม ๓ (๓-๐-๖)
วศฟฟ ๒๔๑ ปฏิบัติการอิเล็กทรอนิกส์วิศวกรรม ๑ (๐-๓-๑)
วศคก ๒๒๐ กลศาสตร์วิศวกรรม ๓ (๓-๐-๖)
วศอก ๑๐๓ วัสดุวิศวกรรม ๓ (๓-๐-๖)
วศคพ ๓๑๒ ปฏิบัติการวิชาชีพ ๑ ๑ (๐-๓-๑)
วศคพ ๓๑๓ ปฏิบัติการวิชาชีพ ๒ ๑ (๐-๓-๑)
วศคพ ๓๑๔ กระบวนทัศน์ในการเขียนโปรแกรม ๓ (๓-๐-๖)
วศคพ ๓๒๑ ระบบฐานข้อมูล ๓ (๓-๐-๖)
วศคพ ๓๓๑ การออกแบบไอซีขั้นแนะนำ ๓ (๓-๐-๖)
วศคพ ๓๓๒ ระบบฝังตัว ๓ (๓-๐-๖)
วศคพ ๓๓๓ สถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ ๓ (๓-๐-๖)
วศคพ ๓๔๑ วิศวกรรมซอฟต์แวร์ ๓ (๓-๐-๖)
วศคพ ๓๕๑ ระบบปฏิบัติการ ๓ (๓-๐-๖)
วศคพ ๓๗๑ สัญญาณและระบบ ๓ (๓-๐-๖)
วศคพ ๓๗๒ การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ๓ (๓-๐-๖)
วศคพ ๔๙๑ สัมมนาโครงงาน ๑ (๐-๓-๑)
วศคพ ๔๙๒ โครงงานวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ๓ (๐-๙-๓)
กลุ่มวิชาเฉพาะเลือก จำนวน ๑๕ หน่วยกิตจำนวนหน่วยกิต (ทฤษฎี-ปฏิบัติ-ค้นคว้า)
วศคพ ๓๐๑ เรขภาพคอมพิวเตอร์ ๓ (๓-๐-๖)
วศคพ ๓๐๔ การวิเคราะห์และออกแบบโดยใช้คอมพิวเตอร์ ๓ (๓-๐-๖)
วศคพ ๓๓๔ โครงสร้างการคำนวณ ๓ (๓-๐-๖)
*วศคพ ๓๘๐-๓๘๙ หัวข้อคัดสรรทางวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ (…) ๓ (๓-๐-๖)
วศคพ ๓๙๑ เทคโนโลยีระหว่างเครือข่าย ๓ (๒-๒-๕)
วศคพ ๓๙๒-๓๙๘ หัวข้อพิเศษวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ๓ (๓-๐-๖)
วศคพ ๔๐๑ การวิจัยการดำเนินการ ๓ (๓-๐-๖)
วศคพ ๔๐๒ ทฤษฎีการสลับ ๓ (๓-๐-๖)
วศคพ ๔๐๔ ทฤษฎีการคำนวณ ๓ (๓-๐-๖)
วศคพ ๔๐๕ เมคคาทรอนิกส์ ๓ (๓-๐-๖)
วศคพ ๔๑๒ การเขียนโปรแกรมแบบขนานขั้นแนะนำ ๓ (๓-๐-๖)
วศคพ ๔๒๑ ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ ๓ (๓-๐-๖)
วศคพ ๔๒๒ พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ๓ (๓-๐-๖)
วศคพ ๔๒๓ ฐานข้อมูลบนเว็บและระบบสารสนเทศ ๓ (๓-๐-๖)
วศคพ ๔๒๔ หัวข้อขั้นสูงด้านระบบฐานข้อมูล ๓ (๓-๐-๖)
*วศคพ ๔๒๕ การทำเหมืองข้อมูล ๓ (๓-๐-๖)
วศคพ ๔๓๒ ระบบแบบกระจาย ๓ (๓-๐-๖)
วศคพ ๔๓๓ การออกแบบวงจรรวมขนาดใหญ่มากขั้นแนะนำ ๓ (๓-๐-๖)
วศคพ ๔๔๒ หัวข้อขั้นสูงด้านวิศวกรรมซอฟต์แวร์ ๓ (๓-๐-๖)
วศคพ ๔๕๑ ตัวแปลโปรแกรม ๓ (๓-๐-๖)
วศคพ ๔๕๒ หัวข้อขั้นสูงด้านระบบปฏิบัติการ ๓ (๓-๐-๖)
วศคพ ๔๖๑ ปัญญาประดิษฐ์ ๓ (๓-๐-๖)
วศคพ ๔๖๒ ระบบผู้เชี่ยวชาญ ๓ (๓-๐-๖)
วศคพ ๔๖๓ การรู้จำแบบ ๓ (๓-๐-๖)
วศคพ ๔๖๔ การรู้จำเสียง ๓ (๓-๐-๖)
วศคพ ๔๖๕ เซตคลุมเครือและโครงข่ายงานระบบประสาท ๓ (๓-๐-๖)
วศคพ ๔๖๖ การประมวลผลภาษาธรรมชาติ ๓ (๓-๐-๖)
วศคพ ๔๗๒ วิทยาการเข้ารหัสลับขั้นแนะนำ ๓ (๓-๐-๖)
วศคพ ๔๗๓ ระบบรักษาความมั่นคงบนคอมพิวเตอร์ ๓ (๓-๐-๖)
*วศคพ ๔๗๕ เทคโนโลยีระหว่างเครือข่าย ๒ ๓ (๒-๒-๕)
วศคพ ๔๘๖ การประมวลผลภาพ ๓ (๓-๐-๖)
วศฟฟ ๓๒๐ หลักการระบบสื่อสาร ๓ (๓-๐-๖)
วศฟฟ ๓๒๑ โครงข่ายสื่อสารและสายส่ง ๓ (๓-๐-๖)
วศฟฟ ๓๒๒ การสื่อสารดิจิตอล ๓ (๓-๐-๖)
วศฟฟ ๓๖๑ การวัดและเครื่องมือวัดทางไฟฟ้า ๓ (๓-๐-๖)
หมวดวิชาเลือกเสรี รวม ๖ หน่วยกิตจำนวนหน่วยกิต (ทฤษฎี-ปฏิบัติ-ค้นคว้า)
# วศคพ ๓๔๒ เทคโนโลยีสารสนเทศในชีวิตประจำวัน ๓ (๓–๐-๖)
และ/หรือให้เลือกเรียนรายวิชาที่มหาวิทยาลัยมหิดลเปิดสอนในระดับปริญญาตรี
และจัดให้เป็นวิชาเลือกเสรี และ/หรือตามที่ภาควิชากำหนด เป็นจำนวน ๖ หน่วยกิต
การฝึกงาน ๐ หน่วยกิต นักศึกษาที่มีฐานะชั้นปีที่ ๓
ให้ลงทะเบียนการฝึกงานในภาคการศึกษาฤดูร้อน
รวมเวลาไม่น้อยกว่า ๒๔๐ ชั่วโมง ในวิชา
วศคพ ๓๙๐ การฝึกงานทางวิศวกรรม ๐ (๐-๓๕-๑๐)

* รายวิชาที่เปิดใหม่

ความหมายตัวเลขรหัสวิชา
รหัสรายวิชาประกอบด้วยรหัส ๗ ตัว แบ่งเป็นรหัสตัวอักษร ๔ ตัวและรหัสตัวเลข ๓ ตัว
รหัสตัวอักษร
อักษรสองตัวแรก หมายถึงชื่อย่อของคณะต่างๆ
ในมหาวิทยาลัยมหิดลที่รับผิดชอบจัดการเรียนการสอน
วศ หรือ EG หมายถึง คณะวิศวกรรมศาสตร์
วท หรือ SC หมายถึง คณะวิทยาศาสตร์
สม หรือ SH หมายถึง คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
จก หรือ MG หมายถึง วิทยาลัยการจัดการ
วศ หรือ MS หมายถึง วิทยาลัยดุริยางคศิลป์
ศศ หรือ AR หมายถึง คณะศิลปศาสตร์

อักษรสองตัวหลัง หมายถึง ชื่อย่อของภาควิชาในคณะที่รับผิดชอบจัดการเรียนการสอน
ในรายวิชานั้นๆ ดังนี้
คร หรือ ID หมายถึง สหวิทยาการ (Interdisciplinary course) เป็น
รายวิชาที่เป็นการสอนร่วมกันระหว่างภาควิชา หรือไม่อยู่
ในความรับผิดชอบของภาควิชาใดโดยตรง
สค หรือ SS หมายถึง ภาควิชาสังคมศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
มน หรือ HU หมายถึง ภาควิชามนุษยศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
ศษ หรือ ED หมายถึง ภาควิชาศึกษาศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
คณ หรือ MA หมายถึง ภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์
คม หรือ CH หมายถึง ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์
ฟส หรือ PY หมายถึง ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์
ภอ หรือ EN หมายถึง ภาควิชาภาษาต่างประเทศ คณะศิลปศาสตร์
ภท หรือ TH หมายถึง ภาควิชาภาษาไทย คณะศิลปศาสตร์
ชื่อย่อของภาควิชาในคณะวิศวกรรมศาสตร์มีรหัสตัวอักษร ดังนี้
คก หรือ ME หมายถึง ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล
คม หรือ CH หมายถึง ภาควิชาวิศวกรรมเคมี
ฟฟ หรือ EE หมายถึง ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
อก หรือ IE หมายถึง ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ
คพ หรือ CO หมายถึง โครงการจัดตั้งภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
ยธ หรือ CE หมายถึง โครงการจัดตั้งภาควิชาวิศวกรรมโยธา
ชพ หรือ BE หมายถึง โครงการจัดตั้งภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์

รหัสตัวเลข
ตัวเลขตัวที่หนึ่ง (หลักร้อย) แสดงชั้นปีที่เรียน
ตัวเลขตัวที่สอง (หลักสิบ) แสดงลักษณะวิชาหรือแขนงวิชาย่อย
ตัวเลขตัวที่สาม (หลักหน่วย) แสดงลำดับวิชาที่จัดสอน

รหัสเลขหลักสิบ
๐ หมายถึง แขนงวิชาทฤษฎีและการประยุกต์ใช้งานคอมพิวเตอร์
๑ หมายถึง แขนงวิชาการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์และการปฏิบัติการ
๒ หมายถึง แขนงวิชาระบบฐานข้อมูล
๓ หมายถึง แขนงวิชาวงจรดิจิทัลและฮาร์ดแวร์
๔ หมายถึง แขนงวิชาทางวิศวกรรมซอฟต์แวร์
๕ หมายถึง แขนงวิชาระบบคอมพิวเตอร์
๖ หมายถึง แขนงวิชาปัญญาประดิษฐ์
๗ หมายถึง แขนงวิชาการสื่อสาร เครือข่าย และความมั่นคง
๘ หมายถึง แขนงวิชาการประยุกต์ใช้งานคอมพิวเตอร์ขั้นสูงและอื่น ๆ
๙ หมายถึง แขนงวิชาหัวข้อพิเศษและอื่นๆ

แผนการศึกษา

ชั้นปีที่ ภาคการศึกษาที่ ๑ ภาคการศึกษาที่ ๒
๑. มมศท ๑๐๑ การศึกษาทั่วไปเพื่อการพัฒนามนุษย์ ๒ (๑-๒-๓) มมศท ๑๐๓ ศิลปวิทยาการเพื่อ การพัฒนามนุษย์ ๒ (๑-๒-๓)
มมศท ๑๐๒ สังคมศึกษาเพื่อการพัฒนามนุษย์ ๓ (๒-๒-๕) ศศภอ ๑๐๔-๑๐๘ ภาษาอังกฤษระดับ ๒-๖ ๓ (๒-๒-๕)
ศศภอ ๑๐๓-๑๐๗ ภาษาอังกฤษระดับ ๑-๕ ๓ (๒-๒-๕) วทคม ๑๑๓ เคมีทั่วไป ๓ (๓-๐-๖)
ศศภท ๑๐๐ ศิลปะการใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร ๓ (๒-๒-๕) วทคม ๑๑๘ ปฏิบัติการเคมี ๑ (๐-๓-๑)
วทคณ ๑๑๕ แคลคูลัส ๓ (๓-๐-๖) วทคณ ๑๖๕ สมการเชิงอนุพันธ์ สามัญ ๓ (๓-๐-๖)
วทฟส ๑๑๐ ปฏิบัติการฟิสิกส์ ๑ ๑ (๐-๓-๑) วทฟส ๑๕๒ ฟิสิกส์ทั่วไป ๒ ๓ (๓-๐-๖)
วทฟส ๑๕๑ ฟิสิกส์ทั่วไป ๑ ๓ (๓-๐-๖) วศคก ๑๐๒ เขียนแบบวิศวกรรม ๓ (๒-๓-๕)
วศคพ ๑๑๑ การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ๓ (๒-๓-๕) วศอก ๑๐๑ ปฏิบัติการวิศวกรรม พื้นฐาน ๒ (๑-๓-๓)
วิชาเลือกหมวดศึกษา ทั่วไป กลุ่มมนุษยศาสตร์ ฯ (กิจกรรมพลศึกษา/ดนตรี) ๑ (๐-๒-๑)
รวม ๒๒ (๑๕-๑๖-๓๗) รวม ๒๐ (๑๕-๑๓-๓๕)
๒. วศคพ ๒๐๑ วิยุตคณิต ๓ (๓-๐-๖) วศคพ ๒๐๒ วิธีเชิงตัวเลขและ การประยุกต์ ๓ (๓-๐-๖)
วศคพ ๒๑๒ เทคนิคการเขียนโปรแกรม ๓ (๒-๒-๕) วศคพ ๒๒๑ โครงสร้างข้อมูลและขั้นตอนวิธี ๓ (๓-๐-๖)
วศฟฟ ๒๑๓ การวิเคราะห์วงจร ไฟฟ้า ๓ (๓-๐-๖) วศคพ ๒๓๑ การออกแบบวงจรดิจิ ทัล ๓ (๓-๐-๖)
วศคร ๒๐๐ คณิตศาสตร์วิศวกรรม ๓ (๓-๐-๖) วศคพ ๒๓๒ ปฏิบัติการการออก แบบวงจรดิจิทัล ๑ (๐-๓-๑)
วศคก ๒๒๐ กลศาสตร์วิศวกรรม ๓ (๓-๐-๖) วศคพ ๒๕๒ การเขียนโปรแกรม ระบบ ๓ (๓-๐-๖)
วศอก ๑๐๓ วัสดุวิศวกรรม ๓ (๓-๐-๖) วศฟฟ ๒๔๐ อิเล็กทรอนิกส์ วิศวกรรม ๓ (๓-๐-๖)
วศฟฟ ๒๔๑ ปฏิบัติการอิเล็กทรอนิกส์วิศวกรรม ๑ (๐-๓-๑)
วศฟฟ ๒๐๐ ความน่าจะเป็นและ ตัวแปรสุ่ม ๓ (๓-๐-๖)
รวม ๑๘ (๑๗-๒-๓๕) รวม ๒๐ (๑๘-๖-๓๘)
๓. วศคพ ๓๑๒ ปฏิบัติการวิชาชีพ ๑ ๑ (๐-๓-๑) วศคพ ๓๑๓ ปฏิบัติการวิชาชีพ ๒ ๑(๐-๓-๑)
วศคพ ๓๑๔ กระบวนทัศน์ในการเขียนโปรแกรม ๓ (๓-๐-๖) วศคพ ๓๓๒ ระบบฝังตัว ๓ (๓-๐-๖)
วศคพ ๓๒๑ ระบบฐานข้อมูล ๓ (๓-๐-๖) วศคพ ๓๔๑ วิศวกรรมซอฟต์แวร์ ๖) ๓ (๓-๐-
วศคพ ๓๓๑ การออกแบบไอซีขั้นแนะนำ ๓ (๓-๐-๖) วศคพ ๓๕๑ ระบบปฏิบัติการ ๓ (๓-๐-๖)
วศคพ ๓๓๓ สถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ ๓ (๓-๐-๖) วศคพ ๓๗๒ การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ๓ (๓-๐-๖)
วศคพ ๓๗๑ สัญญาณและระบบ ๓ (๓-๐-๖) วิชาเลือกหมวดศึกษา ทั่วไป กลุ่มมนุษยศาสตร์ ฯ ๒ (๒-๐-๔)
วศคร ๓๐๐ ปรัชญา จรรยาบรรณ และกฎหมายสำหรับวิศวกร ๑ (๑-๐-๒) วิชาเลือกหมวดศึกษา ทั่วไป กลุ่มมนุษยศาสตร์ฯ (กิจกรรมพลศึกษา/ดนตรี) ๑ (๐-๒-๑)
วิชาเลือกหมวดศึกษา ทั่วไป กลุ่มวิชาภาษา ๓ (๓-๐-๖) หรือ ๓ (๒-๒-๕)
ภาคการศึกษาฤดูร้อน
วศคพ ๓๙๐ การฝึกงานทาง วิศวกรรม ๐ (๐-๓๕-๑๐)
รวม ๑๗ (๑๖-๓-๓๓) รวม ๑๙ (๑๗-๕-๓๖) หรือ ๑๙ (๑๖-๗-๓๕)
๔. วศอก ๓๓๕ การวิเคราะห์ต้นทุนและงบประมาณ ๓ (๓-๐-๖) วศคพ ๔๙๒ โครงงานวิศวกรรม คอมพิวเตอร์ ๓ (๐-๙-๓)
วศคพ ๔๙๑ สัมมนาโครงงาน ๑ (๐-๓-๑) วศคพ/วศฟฟ วิชาเฉพาะเลือกวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ๓ (๓-๐-๖)
วศคพ/วศฟฟ วิชาเฉพาะเลือก วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ๓ (๓-๐-๖) วศคพ/วศฟฟ วิชาเฉพาะเลือก วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ๓ (๓-๐-๖)
วศคพ/วศฟฟ วิชาเฉพาะเลือกวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ๓ (๓-๐-๖) วิชาเลือกเสรี ๓ (๓-๐-๖)
วิชาเลือกเสรี ๓ (๓-๐-๖)
รวม ๑๓ (๑๒-๓-๒๕)

รายละเอียดรายวิชา

รหัสวิชา รายวิชา หน่วยกิต (บรรยาย-ปฏิบัติ) คำอธิบายรายวิชา Prerequisite :
หมวดวิชาศึกษาทั่วไป
กลุ่มสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
มมศท๑๐๑ การศึกษาทั่วไปเพื่อการพัฒนามนุษย์ ๒(๑–๒-๓) ความหมาย ความสำคัญ และความสัมพันธ์ของวิชาศึกษาทั่วไปกับวิชาชีพ / วิชาเฉพาะ ความเชื่อมโยงสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมกับคุณสมบัติของจิตใจ ความสามารถในการคิดวิเคราะห์สังเคราะห์อย่างมีวิจารณญาณ คุณสมบัติของบัณฑิตที่พึงประสงค์   การวิเคราะห์เหตุปัจจัยและผลกระทบของเหตุการณ์ / สถานการณ์/ปัญหา     และการสังเคราะห์แนวทางแก้ไข  ป้องกันปัญหา หรือปรับปรุงพัฒนาเหตุการณ์ / สถานการณ์ เพื่อคุณประโยชน์ต่อตนเอง ผู้อื่น และสังคม  การประยุกต์ความรู้เพื่อเสนอแนวทางแก้ไขปัญหากรณีศึกษา
MUGE 101 General Education for Human Development 2(1-2-3) The meaning, significance, and relation of General Education to other vocational / specific subjects; the relation between behavior and mentality; critical thinking; the qualifications of ideal graduates; analysis of causes and consequences of events / situations / problems; synthesis of solutions to, precautions against, or improvements in those events / situations to benefit individuals and their community; and the application of   knowledge to solve the problems of case studies.
มมศท ๑๐๒ สังคมศึกษาเพื่อการพัฒนามนุษย์ ๓ (๒–๒-๕) หลักการและทฤษฎีพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ / เหตุการณ์ / ปัญหาที่สำคัญของสังคมไทยและสังคมโลก อาทิ วิวัฒนาการของอารยธรรมและเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์ ระบบการเมืองการปกครอง ระบบเศรษฐกิจ ระบบสุขภาพ การวิเคราะห์เหตุปัจจัยและผลกระทบของเหตุการณ์/สถานการณ์ / ปัญหา และการสังเคราะห์แนวทางแก้ไข ป้องกันปัญหา หรือแนวทางปรับปรุงพัฒนาเหตุการณ์ /สถานการณ์ / เพื่อคุณประโยชน์ต่อตนเอง ผู้อื่น และสังคม  การประยุกต์ความรู้เพื่อเสนอแนวทางแก้ไขปัญหากรณีศึกษา
MUGE 102 Social Studies for Human Development 3(2-2-5) Basic principles and theory in relation to events / situations / major problems of the Thai and global communities, for example, evolution of civilization; important events in historical, political and public administration systems; the economic and health systems, etc.; analysis of causes and consequences of events / situations / problems; synthesis of solutions to, precautions against, or improvements in those events / situations to benefit individuals and their community; and the application of knowledge to solve the problems of case studies.
มมศท ๑๐๓ ศิลปวิทยาการเพื่อการพัฒนามนุษย์ ๒ (๑–๒-๓) มนุษยภาพในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต  เหตุการณ์ / สถานการณ์ / ปัญหาเกี่ยวกับวิวัฒนาการที่สำคัญทางด้านศิลปะวิทยาการของประเทศไทยและของโลก แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง การวิเคราะห์เหตุปัจจัยและผลกระทบของเหตุการณ์ / สถานการณ์ / ปัญหา และการสังเคราะห์แนวทางแก้ไข  ป้องกันปัญหา หรือแนวทางปรับปรุงพัฒนาเหตุการณ์ / สถานการณ์ / เพื่อคุณประโยชน์ต่อตนเอง ผู้อื่น  และสังคม  การประยุกต์ความรู้เพื่อเสนอแนวทางแก้ไขปัญหากรณีศึกษา
MUGE 103 Arts and Science for Human Development 2(1-2-3) Humankind in the past, present and future; events / situations / problems in relation to the evolution of the arts and sciences in the Thai and global communities; concepts of the sufficiency economy; analysis of causes and consequences of events / situations / problems; synthesis of solutions to, precautions against, or improvements in those events / situations to benefit individuals and their community; and the application of knowledge to solve the problems of case studies.
กลุ่มวิชาภาษา
วิชาภาษาไทย
ศศภท ๑๐๐ ศิลปะการใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร ๓ (๒–๒-๕) ศิลปะการใช้ภาษาไทย  ทักษะการใช้ภาษาไทยในด้านการพูด  การฟัง  การอ่าน  การเขียนและการคิด   เพื่อการสื่อสารได้อย่างถูกต้อง  เหมาะสม
ARTH 100 Art  of  Using Thai  Language in Communication 3(2-2-5) Art  of  using Thai  language  and of speaking, listening, reading, writing, and thinking  skills for accurate  and appropriate communication.
วิชาภาษาอังกฤษ
ศศภอ ๑๐๓ ภาษาอังกฤษระดับ ๑ ๓ (๒–๒-๕) ไวยากรณ์ และศัพท์ภาษาอังกฤษในบริบทที่เกี่ยวข้องกับการใช้ภาษาในชีวิตประจำวัน ในลักษณะของบูรณาการทักษะการใช้ภาษาอังกฤษทั้งสี่ทักษะ (การฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน)และการสื่อสารในชั้นเรียน
AREN 103 English Level 1 3(2-2-5) Grammar and vocabulary in the context of daily life language use, dealing with integration in four basic skills (listening, speaking, reading, and writing) and classroom communication.
ศศภอ ๑๐๔ ภาษาอังกฤษระดับ ๒ ๓ (๒–๒-๕) คำศัพท์ สำนวน  ไวยากรณ์ และการใช้ภาษาอังกฤษในบริบททางสังคมปัจจุบัน ทักษะการสนทนาในกลุ่มย่อย ทักษะการเขียนในระดับย่อหน้า และกลยุทธ์ในการอ่าน
AREN 104 English Level 2 3(2-2-5) Vocabulary, expressions, grammar, and contextualized social language; essential communicative skills in small groups; writing practice at a paragraph level; and reading strategies.
ศศภอ  ๑๐๕ ภาษาอังกฤษระดับ ๓ ๓ (๒–๒-๕) การอ่านข้อความและการเขียนทั้งระดับประโยค  และระดับย่อหน้าที่เกี่ยวกับสัดส่วน  ความถี่    และความน่าจะเป็น  รูปร่าง  การวัด  การเปรียบเทียบและการเปรียบต่าง  คำจำกัดความและการ จำแนก  การเขียนอย่างมีเอกภาพ  การใช้คำเชื่อม  การฟังเพื่อจับใจความสำคัญ    การฟังเพื่อรายละเอียดจำเฉพาะ  และการทำการอนุมาน
AREN 105 English Level  3 3(2-2-5) Reading passages and writing at sentence and paragraph levels about proportion, frequency and probability, shape, measurement, comparison and contrast, definition and classification; coherence, unity and transition; listening comprehension; listening for the main idea; listening for specific details; and making inferences.
ศศภอ ๑๐๖ ภาษาอังกฤษระดับ ๔ ๓ (๒–๒-๕) บูรณาการในทักษะทั้งสี่ (การฟัง  การพูด  การอ่านและการเขียน)  การฟังเพื่อจับใจความสำคัญและในรายละเอียด  การอภิปรายตามหัวข้อที่กำหนด  การอ่านบทอ่านในเรื่องที่หลากหลายและทำการสรุปและเขียนอย่างมีระบบในระดับประโยค และระดับย่อหน้าซึ่งเกี่ยวกับประเด็นที่สัมพันธ์กับ               บทอ่าน
AREN 106 English Level 4 3(2-2-5) Integration in four language skills: listening, speaking, reading and writing; listening comprehension for main ideas and detailed information; topic-oriented discussion; reading passages on various topics and making conclusions; and writing systematically about particular issues of those topics at the sentence and paragraphs levels.
ศศภอ ๑๐๗ ภาษาอังกฤษระดับ ๕ ๓ (๒–๒-๕) บูรณาการทักษะการใช้ภาษาอังกฤษเชิงวิชาการทั้งสี่ทักษะ ตั้งแต่ระดับย่อหน้าจนถึงระดับเรียงความ ที่ใช้หัวข้อเรื่องเกี่ยวกับประจำวันและเกี่ยวข้องกับสาขาวิชา โดยเน้นทั้งการอภิปรายและการนำเสนอผลงานแบบปากเปล่า
AREN 107 English Level  5 3(2-2-5) Integrated skills in English for academic purposes starting from paragraphs leading to the essay level, using everyday and field-related topics, with emphasis on both discussion and oral presentations.
ศศภอ ๑๐๘ ภาษาอังกฤษระดับ ๖ ๓ (๒–๒-๕) การอ่านและการเขียนรายงานทางวิชาการ รวมทั้งบทคัดย่องานวิจัยและบทความทางวารสาร กิจกรรมการพูดที่ใช้ในการสนทนาภาษาอังกฤษในสถานการณ์ต่างๆ การนำเสนอปากเปล่า และทักษะการโต้วาที
AREN 108 English Level  6 3(2-2-5) Reading and writing of academic reports, including research abstracts and journal articles; application of speaking activities to English conversation in various contexts; oral presentations; and debating skills.
กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์
วศคร ๓๐๐ ปรัชญา จรรยาบรรณ และกฎหมายสำหรับวิศวกร ๒ (๒-๐-๔) ปรัชญาวิชาชีพวิศวกรรม  กฎหมายควบคุมการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมของประเทศไทย  ความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติวิศวกรในปัจจุบัน  โครงสร้างองค์กร อำนาจและหน้าที่ของสภาวิศวกรที่ทำหน้าที่ควบคุมวิชาชีพวิศวกรรม  สมาชิกสภาวิศวกร ระเบียบและข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมการประกอบวิชาชีพ ความรู้ทางด้านความปลอดภัย  สิ่งแวดล้อม  จรรยาบรรณ  กฎหมายและทักษะทางวิศวกรรมสำหรับการประกอบวิชาชีพ
EGID 300 Philosophy, Ethics and Laws for Engineers 2(2-0-4) Philosophy of engineering professional ; law required for engineering professional in Thailand; knowledge about the current Engineering Act ; organization , potency and duties for the Council of Engineer that responsible for engineering professional; the member of the Council of Engineer; rules and regulations relevant to engineering professional; knowledge in safety , environment, ethics, laws and engineering skills needed for the engineering professional.
สมสค๑๓๐ หลักเศรษฐศาสตร์ ๒ (๒-๐-๔) ทฤษฎีและแนวความคิดขั้นพื้นฐานทางเศรษฐศาสตร์     อุปสงค์    อุปทาน   กลไกราคา      ทฤษฎีพฤติกรรมผู้บริโภค  ทฤษฎีการผลิต  ต้นทุนและประเภทของตลาด รายได้ประชาชาติ      การค้าระหว่างประเทศ ระบบเศรษฐกิจไทย ฯลฯ  โดยเน้นการประยุกต์      ใช้ตามสาขาการศึกษาของนักศึกษา
SHSS130 Principles of Economics 2(2-0-4) Foundation   of   economic   theory   and  concept,   i.e.,   demand   and  supply,  price  mechanism    theory    of    consumer    behavior,   Theory  of  production,  costs  and   types    of    Markets,    national    income,    international    trade,   structure  of  Thai   economic  system,  etc.   Application   will   emphasize   on   the  student  is  field  of  study.
สมสค๑๔๐ จิตวิทยาทั่วไป ๒ (๒-๐-๔) ศึกษาตัวแปรและกระบวนการทางจิตวิทยาที่มีอิทธิพลต่อการแสดงพฤติกรรมของบุคคลเช่น ความรู้สึก  การรับรู้  การเรียนรู้และการขัดเกลาสังคม อารมณ์ แรงจูงใจ  ทัศนคติบุคลิกภาพ  การปรับตัว และสุขภาพจิต
SHSS 140 General Psychology 2(2-0-4) This course deals with psychological variables and mental processes as the determinants of individual behavior. The psychological variables include sensation, perception, learning  and socialization, emotion, motivation, attitude, personality, adjustment and mental health
สมสค๑๔๒ จิตวิทยาสังคม ๒ (๒-๐-๔) ทฤษฎีและแนวความคิดทางจิตวิทยาสังคม การรับรู้ทางสังคม การเรียนรู้ทางสังคม ทัศนคติ ค่านิยม ความเชื่อ บุคลิกภาพ บริบททางสังคมวัฒนธรรม พฤติกรรมกลุ่ม การสื่อความเข้าใจกันในสังคมและความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล
SHSS  142 Social Psychology 2(2-0-4) Theory and concept in social psychology, social perception, social learning, attitude, value, belief, personality, social-cultural contexts, group behavior, communication and interpersonal  relationships.
สมสค ๑๔๔ หลักการสื่อสาร ๒ (๒-๐-๔) มุ่งให้นักศึกษาได้ตระหนักถึงความจำเป็นและความสำคัญของการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพโดยการนำเสนอแบบจำลองและทฤษฎีต่าง ๆ   ทางการสื่อสารเพื่อให้เกิด ความเข้าใจรวบยอดเกี่ยวกับกระบวนการสื่อสารและองค์ประกอบของการสื่อสารและเพื่อลดความล้มเหลวในการสื่อสาร  ทักษะที่จำเป็นในการสื่อสารและจิตวิทยาการสื่อสารจึงเป็นสาระที่เพิ่มขึ้นในวิชานี้
SHSS 144 Principles of Communication 2(2-0-4) This  course  is  designed  to enable students to recognize  the  necessity  and  importance  of effective communication. Various models and theories will be provided for a  comprehensive understanding of communication  process  and  its  elements. The course is also concerned with essential skills required in communication. As well as  communication  psychology  concepts,  in  order  to  minimize  some  communication  breakdown.
สมสค๑๖๐ หลักการบริหาร ๒ (๒-๐-๔) ความรู้พื้นฐานทางด้านการบริหาร  แนวคิด  ทฤษฎี  หลักการและกระบวนการบริหารวัฒนธรรมองค์การและการบริหารสู่ความเป็นเลิศ  จริยธรรมและความรับผิดชอบทาง สังคม   การจัดรูปองค์การ การบริหารยุทธศาสตร์  การทำงานเป็นทีมและการสร้างทีมงานที่มีประสิทธิภาพ  การเปรียบเทียบการบริหารราชการกับการบริหารธุรกิจ  เทคนิคการบริหาร   และการพัฒนาคุณภาพ
SHSS160 Principles of Administration 2(2-0-4) Foundation  of  administration,  concept,  theory  and  function  of  administration,  organizational  culture  and  management  excellence,  management  ethics  and  social  responsibility,  organization  design,  strategic  management,  teamwork  and  effective  team  building,  comparative  analysis  of  public  administration  and  business  administration,  management  techniques  and  quality  management
สมสค ๑๖๑ นโยบายและการวางแผน ๒ (๒-๐-๔) เนื้อหา ความรู้พื้นฐานด้านนโยบายและการวางแผน ลักษณะทั่วไปของนโยบาย การกำหนดนโยบาย  การวิเคราะห์นโยบาย  หลักการวางแผนและกระบวนการวางแผน  การวางแผน/โครงการ  การบริหารโครงการ  การประเมินผลโครงการ  การวิเคราะห์ความเหมาะสมของแผนงาน/โครงการ  การวางแผนนโยบายกับการวางแผนพัฒนาประเทศการวางแผนกลยุทธ์การใช้ Logical-Framework  และการใช้เทคนิคเพื่อการวางแผน
SHSS 161 Policy and Planning 2(2-0-4) Foundation  of  Policy  and  Planning  General  Characteristics  of  Public  Policy,  Formulation,  Policy  analysis,  Principle  and  process  of  planning,  Program/Project  planning,  Policy  Formulation  in  Relation  to  national  development  plan,  Strategic  Planning  and  La  Frame  work.
สมมน๑๐๓ ศิลปวิจักษ์ ๒ (๒-๐-๔) วิวัฒนาการของวิจิตรศิลป์จากสมัยก่อนประวัติศาสตร์ สมัยอารยธรรมอียิปต์ กรีก โรมัน ยุโรปสมัยกลาง สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการสมัยใหม่จนถึงศิลปะยุคปัจจุบัน รวมทั้งศิลปะของไทยในแง่คุณค่าและความประณีตในจิตรกรรมฝาผนัง พระพุทธรูปสมัยต่าง ๆ และรูปแบบสถาปัตยกรรมไทยยุคต่าง ๆ จากวัดในประเทศไทย
SHHU103 Art Appreciation 2(2-0-4) Evolution of fine art from per-historical period to civilizations of ancient Egypt, Greek, and Roman antiquity, Middle Ages, Renaissance, Baroque, Rococo, Neo-classicisn, up to the present time including traditional Thai art in Thai mural painting, styles of Buddha images and Thai architectural styles in Buddhist temples in Thailand
สมมน ๑๐๕ ปรัชญาสังคม ๒ (๒-๐-๔) ความหมายและขอบเขตของปรัชญาสังคม  ความแตกต่างระหว่างปรัชญาสังคมกับทฤษฎีการเมืองวิเคราะห์เปรียบเทียบทฤษฎีปรัชญาสังคมที่มีอิทธิพลต่อความคิดปัจจัย เช่น ปรัชญา สังคมของเพลโต ปรัชญาสังคมแบบเสรีนิยม  ปรัชญาสังคมของพวกซ้ายใหม่ และปรัชญาประชาธิไตย วิเคราะห์เปรียบเทียบความคิดพื้นฐานในทฤษฎีต่าง ๆ เช่น เสรีภาพ สิทธิโดยธรรมชาติ  ความเป็นธรรมในสังคม  ผลประโยชน์ของประชาชน  การมีส่วนรวมในการปกครอง  ตลอดจนปัญหาในการนำทฤษฎีปรัชชาสังคมแต่ละประเภทมาใช้
SHHU 105 Social Philosophy 2(2-0-4) Meaning, and scope of social philosophy, differences between social philosophy and political theory. Comparative analysis of the social philosophical theories with influence on contemporary thoughts such as Plato’s, liberalism, the New Left, and democracy. Comparative analysis of basic concepts in different theories  such as liberty, natural rights, social justice, public interest, public participation, and problems in the application of those theorie
สมมน๑๐๘ มนุษยสัมพันธ์และการพัฒนาตน ๒ (๒-๐-๔) หลักและวิธีการมนุษยสัมพันธ์และการพัฒนาตนเองตามคำสอนของพุทธศาสนา  เช่น วิธีสร้างมนุษยสัมพันธ์ที่ดีในหมู่เพื่อนร่วมงานและสมาชิกสังคม  ศิลปะการทำงานร่วมกัน   การบริหารงานตามหลักคำสอนพุทธศาสนา    การปลูกสร้างสัมมาทิฐิและอุดมคติในการทำงาน  วิธีปฏิบัติสมาธิตามแนวพุทธศาสนา  ศิลปะการพูดในที่สาธารณะ
SHHU108 Human Relation and Self-Development 2(2-0-4) Principles  and  methods  of  cultivation  human  relations  and  self-development  according  to  Buddhist  perspective.  For  example,  methods  to  develop  a  good  relationship  among  colleagues  and  members  in  society,  the  art  of  teamwork,  the  administration  according  to  the  Buddhist  teachings,  the  cultivation  of  right  view  and  working  ethos,  Buddhist  meditation,  and  art  of  public  speaking.
สมมน๑๑๐ มนุษย์กับวัฒนธรรม ๒ (๒-๐-๔) ความหมายละความสำคัญของวัฒนธรรม วิถีชีวิต โลกทัศน์ ขนบธรรมเนียมประเพณี ความเชื่อ ระบบค่านิยม  เทคโนโลยีพื้นบ้านของคนไทยกลุ่มต่าง ๆ ในชนบท  และชนกลุ่มน้อยที่อยู่ในประเทศไทย ความเข้าใจในคุณค่าของวัฒนธรรม ระบบความเชื่อ ประเพณีและรูปแบบการดำเนินชีวิตของคนในชนบท  สร้างความเข้าใจและความสามารถเข้าถึงจิตใจของชาวบ้าน ซึ่งเป็นประโยชน์สำหรับการทำงาน ทั้งโดยส่วนตัวและต่อการพัฒนาประเทศชาติโดยรวม
SHHU110 Human and Culture 2(2-0-4) Meanings and significance of cultures, ways of life, worldviews, traditions, customs, beliefs, value systems, fork technology of different groups of Thai people in the rural area and minority groups in Thailand. Understanding of culture’s value, belief systems, customs, and patterns of living of rural people. Creating sympathy and understanding of rural people’s needs will benefit own work and national development as a whole.
สมมน๑๑๒ พลวัตของกลุ่มและการทำงานเป็นทีม ๒(๒-๐-๔) ทฤษฎีต่าง ๆ เกี่ยวกับการทำงานเป็นกลุ่ม  พฤติกรรมการรวมกลุ่ม กระบวนการทำงานเป็นกลุ่ม บทบาท และลักษณะเฉพาะของภาวะผู้นำกลุ่มที่มีประสิทธิภาพ  การสื่อสารภายในกลุ่ม  การสร้างมนุษยสัมพันธ์ และพัฒนาบุคลิกภาพ  การตัดสินใจ  และการแก้ปัญหาความขัดแย้งของกลุ่ม
SHHU112 Group Dynamics and Teamwork 2(2-0-4) Theories of teamwork, group – gathering behaviors, process of working in team, roles and characteristics of leadership, effective teamwork, group communication, human relations, personality development, decision- making and group- conflict solution.
สมมน ๑๓๓ วาทศาสตร์สำหรับภาวะผู้นำ ๒ (๒–๐-๔) ทฤษฎีและการปฏิบัติแนวใหม่ทางวาทศาสตร์สำหรับผู้นำ ทักษะการฝึกพูดต่อสาธารณและพัฒนาบุคลิกภาพสู่ภาวะผู้นำ สำหรับการเตรียมพร้อมในด้านการนำเสนอความรู้ ความคิดเห็น และความคิด ด้วยทักษะการคิดหลากมิติที่กระตุ้นการพัฒนา และการพัฒนาภูมิปัญญาของแต่ละบุคคลในเรื่องการสื่อความหมายไปยังสาธารณชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
SHHU 133 Rhetoric for Leadership 2(2-0-4) Theories and practices on the new trend of rhetoric for leadership including training skill in public speaking and personal development for leadership in preparing for academic presentations, ideas, and thoughts. Multi-dimensional thinking practices motivating individuals’ intellectual development of effective communication to the public.
สมศษ๑๐๑ กิจกรรมพลศึกษา-ว่ายน้ำ ๑ (๐-๒-๑) ประวัติความเป็นมาและความรู้ทั่วไปของการว่ายน้ำ ประโยชน์และคุณค่าของการว่ายน้ำ        การสร้างเสริมสมรรถภาพสำหรับการว่ายน้ำ  ทักษะการว่ายน้ำขั้นพื้นฐาน  กติกาการว่ายน้ำ
SHED101 Physical Education Activity-Swimming 1(0-2-1) History and introduction of swimming, significance and values of swimming, potential promotion for swimming, basic skills and rules of swimming.
สมศษ๑๑๔ กิจกรรมพลศึกษา-ลีลาศ ๑ (๐-๒-๑) ประวัติความเป็นมาและความรู้ทั่วไปของการลีลาศ ประโยชน์และคุณค่าของการลีลาศ  การสร้างเสริมสมรรถภาพสำหรับการลีลาศ  ทักษะการลีลาศขั้นพื้นฐาน  มารยาทในการลีลาศ
SHED114 Physical Education Activity-Social Dance 1(0-2-1) History and introduction of social dance, significance and values of social dance, potential promotion for social dancing, players, basic skills and rules of social dance.
สมศษ๑๑๗ กิจกรรมพลศึกษา-แบดมินตัน ๑ (๐-๒-๑) ประวัติความเป็นมาและความรู้ทั่วไปของกีฬาแบดมินตัน ประโยชน์และคุณค่าของกีฬาแบดมินตัน  การสร้างเสริมสมรรถภาพสำหรับการเล่นแบดมินตัน  ทักษะการเล่นแบดมินตันขั้นพื้นฐาน  กติกาการเล่นแบดมินตัน
SHED117 Physical Education Activity-Badminton 1(0-2-1) History and introduction of badminton, significance and values of badminton, potential promotion for badminton playing, basic skills and rules of badminton playing.
สมศษ๑๑๘ กิจกรรมพลศึกษา-เทนนิส ๑ (๐-๒-๑) ประวัติความเป็นมาและความรู้ทั่วไปของกีฬาเทนนิส ประโยชน์และคุณค่าของกีฬาเทนนิส  การสร้างเสริมสมรรถภาพสำหรับการเล่นเทนนิส  ทักษะการเล่นเทนนิสขั้นพื้นฐาน  กติกาการเล่นเทนนิส
SHED 118 Physical Education Activity-Tennis 1(0-2-1) History and introduction of tennis, significance and values of tennis, potential promotion of tennis players, basic skills and rules of tennis playing.
สมศษ๑๒๕ กิจกรรมพลศึกษา-วอลเล่ย์บอล ๑ (๐-๒-๑) คุณค่าและประโยชน์ของการออกกำลังกาย หลักการและวิธีการในการออกกำลังกาย ประวัติความเป็นมาและคุณค่าของกีฬาวอลเล่ย์บอล  ทักษะการเล่นขั้นพื้นฐาน การเล่นเป็นทีม กติกามารยาทในการเล่นและดูกีฬา
SHED125 Physical Education Activity-Volleyball Values and benefits of exercise and sports; etiquettes, spirit of athletes and sport spectators in volleyball; history, rules and regulation of volleyball; basic movements, skills, techniques, playing strategies and competitions in volleyball.
สมศษ๑๒๖ กิจกรรมพลศึกษา-เปตอง ๑ (๐-๒-๑) คุณค่าและประโยชน์ของการออกกำลังกาย หลักการและวิธีการออกกำลังกาย ประวัติความเป็นมาและประโยชน์ของกีฬาเปตอง ทักษะพื้นฐานกีฬาเปตอง วิธีการเล่น กฎ กติกา มารยาทในการเล่น การจัดการแข่งขัน การเลือกอุปกรณ์ การรักษาอุปกรณ์ และการจัดทำสนามเปตอง
SHED126 Physical Education Activity-Petaunque 1(0-2-1) Values and benefits of exercise and sports; etiquettes, spirit of players and spectators in Petaunque; history  basic movements, skills, techniques, plying strategies and competition, rules and regulation in Petaunque.
วศสว๑๐๑ ดนตรีวิจักษ์ ๒ (๑-๒-๓) ความหมายของดนตรี ดนตรีกับสุนทรีย์ศาสตร์ การรับรู้และเรียนรู้ดนตรีศิลป์ที่ได้รับการยกย่องทั้งดนตรีสากลและดนตรีไทย  ชีวประวัติของนักดนตรีและนักประพันธ์คนสำคัญ ๆ ที่มีชื่อเสียง การสร้างประสบการณ์ทางการสุนทรียะในการฟังดนตรี เนื้อหาและรูปแบบของดนตรีสไตล์ต่าง ๆ
MSID101 Music Appreciation 2(1-2-3) The meaning of music, relationshop of music and aesthetics. An intensive seminar which deals with all aspects of Western Classical Music and Thai Traditional in included.
วศสว๑๐๒ ขับร้องประสานเสียง ๑ (๐-๒-๑) เกี่ยวกับการขับร้องประสานเสียง ฝึก Musicianship และการถูก Conduct ฝึกการแสดงออกของท่าทางต่าง ๆ เมื่อกำลังขับร้อง ปฏิบัติขับร้องประสานเสียงกับบทเพลงอย่างง่ายจนถึงระดับกลางที่มีความยาวไม่มากเกินไป  ฝึกหัดขับร้องเพลงทั้งสไตล์คลาสสิก แจ๊ส และป๊อปปูล่า นักศึกษาที่เลือกวิชาขับร้องประสานเสียง  จะพบอาจารย์ผู้สอนก่อนที่จะลงทะเบียนเพื่อที่จะทดสอบความสามารถในการร้องเพลงก่อน
MSID 102 Chorus 2(1-2-3) A performance class of choral music dealing with  basic  principles and techniques of group singing, musical style  including Thai popular songs, and rehearsal skill.
วศอก๔๓๐ การจัดการอุตสาหกรรมสำหรับวิศวกร ๓ (๓-๐-๖) หลักการและการปฏิบัติสำหรับจัดโครงสร้างองค์กร  หลักการบริหารองค์กรและพฤติกรรม    องค์กร  การกำหนดนโยบายการบริหารบุคคล   ยุทธศาสตร์การบริหาร  การบริหารโครงการ   การเงินและการตลาดเบื้องต้น  การบริหารการดำเนินงาน และการบริหารคุณภาพโดยรวม
EGIE430 Industrial Management for Engineers 3(3-0-6) Approaches and practices for organization structure, organization management, organization behavior, policy and human resource management, strategic management, project management, introduction to finance and marketing, operations management  and  total quality management.
วศอก๔๓๖ กฎหมายอุตสาหกรรมและกฎหมายพาณิชย์ ๓ (๓-๐-๖) ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมาย และกระบวนการยุติธรรม  กฎหมายคุ้มแรงงาน แรงงานสัมพันธ์  กฎหมายเงินทดแทนและประกันสังคม  ศาลแรงงาน  กฎหมายโรงงานและสิ่งแวดล้อม  กฎหมายธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการลงทุน  ภาษี  การศุลกากร  ทรัพย์สินทางปัญญา  และมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม  การดูงาน
EGIE436 Industrial and Commercial Laws 3(3-0-6) Introduction to laws and justice. Labor Protection and labor relations acts. Compensation and social security acts. Labor court. Industrial and environment laws. Business laws related to investment, taxes, customs, intellectual properties.  Industrial standard.  Field trips.
กลุ่มวิชาภาษา
ศศภอ ๒๐๗ หลักการแปล ๓ (๓-๐-๖) ทฤษฎีและหลักกระบวนการแปล วิธีการและศิลปะในการแปล การเลือกใช้ภาษาที่เหมาะสมกับงานแปลประเภทต่างๆ ปัญหาต่างๆในการแปล และแนวทางการแก้ไข บทบาทของนักแปล
AREN 207 Principles of Translation 3(3-0-6) Translation theories and procedure; methods and art of translation; language selection appropriate for each particular type of translation work; problems in translation and solutions to the problems; roles of translators.
ศศภอ ๓๐๔ การอ่านเชิงวิเคราะห์ ๓ (๒-๒-๕) ฝึกฝนทักษะการอ่านแบบต่างๆ การสรุปข้อมูลจากการอ่าน การนำเสนอความคิดเห็นงานที่อ่าน ทั้งในการเขียนเป็นบทความหรือการอภิปรายร่วมกันในกลุ่ม
AREN 304 Analytical Reading 3(2-2-5) Various reading skills; drawing conclusions from the material read; idea presentation about the reading in the forms of written articles as well as group discussion.
ศศภอ ๓๐๖ การสนทนาระดับสูง ๑ ๓ (๒-๒-๕) การฟังและจับใจความของเนื้อเรื่องที่ฟัง และนำเสนอโดยการพูด ฝึกพูด โดยเน้นการออกเสียงให้ถูกต้องตามระบบเสียงภาษาอังกฤษ การออกเสียงพยัญชนะ และสระ การลงเสียงหนัก และการใช้ทำนองเสียงที่ถูกต้องในการพูดหรือสนทนาภาษาอังกฤษ
AREN 306 Advanced Level Conversation I 3(2-2-5) Listening for main ideas and oral presentation of those ideas; pronunciation of English consonants and vowels; speaking practice with an emphasis on correct pronunciation based on English phonology; stress and intonation in English conversation.
ศศภอ ๓๕๐ การเขียนเชิงธุรกิจ ๓ (๓-๐-๖) การเขียนเชิงธุรกิจ การเขียนจดหมาย รายงาน การจดบันทึกข้อความ โทรสารการจัดทำรายงานทางธุรกิจ ศึกษาคำศัพท์และสำนวนที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ
AREN 350 Business Writing 3(3-0-6) Business writing, including business letters, minutes, memorandum, fax, business report; study of business-related lexicons and expressions.
ศศภอ ๓๕๑ การเขียนสรุปและการจดบันทึกย่อ ๓ (๓-๐-๖) หลักการเขียนสรุปและการจดบันทึกย่อ การจับประเด็นสำคัญของเรื่องที่อ่านหรือที่ได้ยิน ฝึกฝนการใช้หลักการดังกล่าว ในการเขียนสรุป และจดบันทึกย่อ
AREN 351 Summary Writing and Note-Taking 3(3-0-6) Principles of summary writing and note-taking; understanding of main ideas from the material read or heard; practice of summary writing and note-taking based on the principles learned.
ศศภอ ๔๐๑ การสนทนาระดับสูง ๒ ๓ (๒-๒-๕) การฟังและการพูดในสถานการณ์ต่างๆ การโต้ตอบด้วยภาษาอังกฤษ การสร้างและพัฒนาคลังคำศัพท์ การพูดเน้นความถูกต้องทางไวยากรณ์ และความชัดเจนในการเสนอความคิดเห็น
AREN 401 Advanced Level Conversation II 3(2-2-5) Listening and speaking in various situational contexts; interaction in English; word building and development of lexicon; speaking with acceptable grammar; clear presentation of ideas.
ศศภอ ๔๐๒ การพูดในที่สาธารณะ ๓ (๒-๒-๕) การฟังและการพูดเพื่อสื่อความคิดอย่างประสบผลสำเร็จ การเตรียม และการแสดงสุนทรพจน์ การกล่าวปราศรัย การพูดเชิงชักชวน และการนำเสนอผลงานในที่สาธารณะ  การสัมภาษณ์ การโต้วาที การพูดต่อชุมชนเพื่อให้มีผลสำเร็จโดยให้รู้จักใช้ภาษา น้ำเสียง ท่าทางที่เหมาะสมกับแต่ละสถานการณ์
AREN 402 Public Speaking 3(2-2-5) Listening and speaking for successful conveying of thoughts; speech preparation and giving; persuasive speaking; public presentation; public interview; debate; successful public speaking with an emphasis on language, tone of voice and gesture suitable for a particular situation.
ศศภอ ๔๐๓ การอ่านเชิงวิชาการ ๓ (๒-๒-๕) การอ่านงานวิชาการในรูปแบบต่างๆ การสรุปข้อมูลที่ได้จากการอ่าน การนำเสนอความเห็นสำหรับงานที่อ่านทั้งการเขียนและการพูด
AREN 403 Academic Reading 3(2-2-5) Reading numerous forms of academic reading materials; drawing conclusions from the information obtained from the reading; oral as well as written presentation of ideas regarding the material read.
ศศภอ ๔๐๔ การเขียนเชิงวิชาการ ๓ (๓-๐-๖) รูปแบบและลีลาในการเสนอข้อมูลของงานเขียนเชิงวิชาการ การเขียนเชิงวิชาการโดยวิธีค้นคว้า รวบรวม เรียบเรียง และนำเสนอการเขียนงานทางวิชาการส่วนต่างๆ ในรูปแบบของรายงานทางวิชาการ ซึ่งประกอบด้วย บทคัดย่อ บทนำ เนื้อเรื่อง และบทสรุป
AREN 404 Academic Writing 3(3-0-6) Form and style in the presentation of academic materials; writing academic materials through researching, data collection, composition and presentation; writing different parts of academic materials including abstract, introduction, body and conclusion.
ศศภท ๑๓๒ ทักษะการใช้ภาษาไทย ๓ (๒-๒-๕) ทฤษฎีและหลักภาษาไทย  การใช้ภาษาไทยให้เหมาะสมกับกาละเทศะและบุคคล
ARTH 132 Thai Language Skill 3(2-2-5) Theories and principles of Thai language; use of Thai language appropriate to time, situation and person.
วศคร ๒๙๐ ภาษาอังกฤษสำหรับวิศวกร ๓ (๓-๐-๖) ฝึกการอ่านจับใจความจากเนื้อหาทางวิศวกรรมศาสตร์  การวิเคราะห์และสรุปใจความจากการอ่านเพื่อเพิ่มความรู้คำศัพท์และความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษ  ทักษะการเขียนและการฟังเบื้องต้น การเขียนรายงานอย่างง่าย ๆ และการนำเสนอปากเปล่า การฟังเพื่อจับใจความในหัวข้อเทคโนโลยีสมัยใหม่
EGID 290 English for Engineers 3(3-0-6) Practice  in  reading  and  understanding  of  engineering  texts; analysis  and  summarization  of readings  to  improve  vocabulary and the  ability  to  work  with  English; basic  writing  and  listening  skills; simple  report-writing  and  oral  presentation; aural  input  involving  new  technologies  using  a  variety  of  means.
วศคร   ๔๙๐ การสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษสำหรับวิศวกร ๓ (๓-๐-๖) การสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษในเชิง อ่าน เขียน  ฟังและพูด โดยเน้นทางด้านวิศวกรรมศาสตร์  เน้นทักษะการนำเสนอ การเขียนรายงาน การวิเคราะห์ การเขียนในวิชาชีพและบทความในวารสารวิชาการ  การเตรียมตัวสำหรับตลาดงาน  การเขียนจดหมาย  การเขียนประวัติส่วนตัว  ทักษะการสัมภาษณ์
EGID  490 English Communication for Engineers 3(3-0-6) English  communication: reading, writing, listening  and  speaking, with an  emphasis  on Engineering; emphasis  on  presentation  skills; writing  reports; analysis  of  professional  writing  and  journal articles; preparation  for  the  job  market, with letter  writing, preparation  of  resumes (C.V.); interview  skills.
ศศภญ ๑๖๑ ภาษาญี่ปุ่นเบื้องต้น ๑ ๓(๒-๒-๕) ฝึกอ่านและเขียนตัวอักษรฮิรางานะและคาตาคานะ   หลักไวยากรณ์  ภาษาญี่ปุ่นเบื้องต้น   โดยเน้นทักษะการฟัง พูด อ่าน และเขียน ให้รู้จักใช้คำศัพท์และรูปประโยคที่ใช้ในชีวิตประจำวัน
ARJP 161 Elementary Japanese I 3(2-2-5) Practice in reading and writing Hiragana and Katakana characters ;  elementary  Japanese grammatical structures in listening, speaking, reading and writing; Japanese vocabulary and syntactic structures used in daily life.
ศศภจ  ๑๗๑ ภาษาจีน ๑ ๓(๒-๒-๕) ฝึกการออกเสียงภาษาจีนกลางทางด้านสระ พยัญชนะ วรรณยุกต์  และการเขียนภาษาจีนกลางโดยใช้ตัวอักษรโรมัน  (Pinyin Romanization) ทักษะพื้นฐานในการฟัง พูด อ่าน และเขียนภาษาจีนในวงคำศัพท์ภาษาจีน ๓๐๐ คำ
ARCH 171 Chinese 1 3(2-2-5) Pronunciation practice in vowels, consonants, tones, and Mandarin Chinese phonetic alphabet (Pinyin); and basic skills in listening, speaking, reading, and writing within 300 Chinese characters.
กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์   คณิตศาสตร์
วศฟฟ๒๐๐ ความน่าจะเป็นและตัวแปรสุ่ม ๓ (๓-๐-๖) ความน่าจะเป็น ความน่าจะเป็นแบบมีเงื่อนไข ทฤษฎีบทของเบอร์นูลลี ทฤษฎีบทของเบย์ ตัวแปรสุ่ม ฟังก์ชันการแจกแจง ฟังก์ชันของตัวแปรสุ่มเดี่ยว ตัวแปรสุ่มสองตัว การทดสอบสมมุติฐาน กระบวนการเฟ้นสุ่ม
EGEE200 Probability and Random Variables 3(3-0-6) Probability, conditional probability, Bernoulli’s theorem, Bay’s theorem, random variable, distribution functions, functions of one random variable, two random variables, hypothesis statistics testing, stochastic processes.
วศอก๓๓๕ การวิเคราะห์ต้นทุนและงบประมาณ ๓ (๓-๐-๖) หลักการทางบัญชีพื้นฐาน  การวิเคราะห์ต้นทุน และค่าใช้จ่ายเพื่อการวางแผน และการควบคุมการผลิต  การจัดสรรต้นทุน  การทำงบประมาณเพื่อใช้ในการวางแผนและควบคุมการดำเนินงาน  รวมถึงการตัดสินใจตามฐานต้นทุน
EGIE335 Cost Analysis and Budgeting 3(3-0-6) Principles of basic accounting, cost and expenditure analysis for production planning and controlling, capital and cost allocation, budgeting for operation planning and controlling, and including cost-based decision making.
หมวดวิชาเฉพาะ
กลุ่มวิชาแกน
วทคม๑๑๓ เคมีทั่วไป ๓ (๓ – ๐ – ๖) ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับทฤษฎีอะตอม  การจัดอิเล็กตรอนของอะตอม  ตารางธาตุปัจจุบัน ชนิดของพันธะเคมี ทฤษฎีการเกิดสารประกอบ และคุณสมบัติของสารประกอบต่าง ๆ คุณสมบัติของโลหะ และสารกึ่งตัวนำ สารในสถานะก๊าซของเหลว และของแข็ง การเปลี่ยนสถานะของสสาร สมดุลกายภาพ แผนภาพวัฏภาค เทอร์โมไดนามิกส์เคมี อัตราเร็วของปฏิกิริยาและสมดุลเคมี
SCCH113 General Chemistry 3(3-0-6) Principles of atomic structure, electron configuration, periodic table, chemical bonding, compound formation and their  properties, properties of metals and semi-metals, states of matter and phase change, chemical thermodynamics, chemical kinetics and chemical equilibrium.
วทคม๑๑๘ ปฏิบัติการเคมี ๑ (๐ – ๓ – ๑) การวิเคราะห์ไอออนลบและไอออนบวกแบบคุณภาพ ปฏิกิริยารีดอกซ์ การหาอัตราการเกิดปฏิกิริยาและอันดับของปฏิกิริยา การไทเทรตกรด-เบส การไทเทรตปฏิกิริยา  รีดอกซ์   การไทเทรต   หาความกระด้างของน้ำ
SCCH118 Chemistry Laboratory 1(0-3-1) General techniques in chemistry, simple qualitative and quantitative analysis, some experiments that are related to lectures.
วทคณ๑๑๕ แคลคูลัส ๓ (๓ – ๐ – ๖) ลิมิต ความต่อเนื่อง อนุพันธ์ของฟังก์ชันพีชคณิต ฟังก์ชันลอการิทึม ฟังก์ชันเอ็กซ์โปเนเชียล ฟังก์ชันตรีโกณมิติ ฟังก์ชันตรีโกนมิติผกพันและฟังก์ชันไฮเพอร์โบลิค การประยุกต์ของอนุพันธ์ รูปแบบอินดีเทอร์มิเนต เทคนิคการอินทิเกรต อินทิกรัลไม่ตรงแบบ การประยุกต์ของการอินทิเกรต การหาค่าอนุพันธ์และอินทิกรัลเชิงตัวเลข แคลคูลัสของฟังก์ชันค่าจริงของ ๒ ตัวแปร พีชคณิตของเวกเตอร์ในปริภูมิ ๓ มิติ แคลคูลัสของฟังก์ชันค่าเวกเตอร์และการประยุกต์ เส้นตรง ระนาบและผิวในปริภูมิ             ๓ มิติ
SCMA115 Calculus 3(3-0-6) Limit, continuity, derivatives of algebraic functions, logarithmic functions, exponential functions, trigonometric functions, inverse trigonometric functions and hyperbolic functions, applications of derivatives, indeterminate forms, techniques of integration, introduction to line integrals; improper integrals, application of integration, numerical differentiation and integration, calculus of real-valued functions of several variables, algebra of vectors in three-dimensional spaces, calculus of vector-valued functions and applications, lines, planes and surfaces in three-dimensional spaces.
วทคณ๑๖๕ สมการเชิงอนุพันธ์สามัญ ๓ (๓ – ๐ – ๖) ตัวแปรเชิงซ้อน  การแนะนำสมการเชิงอนุพันธ์สามัญ สมการเชิงอนุพันธ์เชิงเส้นอันดับหนึ่ง สมการเชิงอนุพันธ์ไม่เชิงเส้นอันดับหนึ่ง การประยุกต์ของสมการอันดับหนึ่ง สมการเชิงอนุพันธ์เชิงเส้นอันดับสอง       การประยุกต์ของสมการอันดับสอง สมการเชิงอนุพันธ์เขิงเส้นอันดับสูง ระบบสมการเชิงเส้น เมทริกซ์ดีเทอร์มิแนนต์ ปริภูมิเวกเตอร์ การแปลงเชิงเส้น การแก้ปัญหาพีชคณิตเชิงเส้นโดยวิธีเชิงตัวเลข การประยุกต์ทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์
SCMA165 Ordinary Differential Equations 3(3-0-6) Complex variables, introduction to ordinary differential equations, linear first order differential equations, nonlinear differential equations, applications of first order equations, linear second order differential equations, applications of second order equations, higher order differential equations, systems of linear equations, matrices, determinants, vector spaces, linear transformations, numerical methods for solving linear algebraic problems, application in science and engineering.
วทฟส๑๑๐ ปฏิบัติการฟิสิกส์ ๑ ๑ (๐ – ๓ – ๑) การทดลองระดับเบื้องต้นออกแบบมาเพื่อควบคู่กับบางหัวข้อในฟิสิกส์ทั่วไป ๑ และ ๒ (SCPY 151, 152) หรือหลักการฟิสิกส์ ๑ และ ๒ (SCPY 153, 154)  นักศึกษาจำเป็นต้องผ่านการสอบภาคปฏิบัติ
SCPY110 Physics Laboratory I 1(0-3-1) Elementary level of experiments are designed to accompany some topics in General Physics I, II (SCPY 151, 152).  Laboratory examination is required.
วทฟส๑๕๑ ฟิสิกส์ทั่วไป ๑ ๓ (๓ – ๐ – ๖) กลศาสตร์  คลื่นและทัศนศาสตร์  กลศาสตร์ของไหล  เทอร์โมไดนามิกส์  ไฟฟ้าและแม่เหล็ก
SCPY151 General Physics 3(3-0-6) Mechanics, wave and optics, fluid mechanics, thermodynamics, electricity and magnetism.
วทฟส๑๕๒ ฟิสิกส์ทั่วไป ๒ ๓ (๓ – ๐ – ๖) อิเล็กทรอนิกส์  ทฤษฎีสัมพัทธภาพ  กลศาสตร์  ควอนตัม   ฟิสิกส์ของอะตอม และฟิสิกส์            ของนิวเคลียร์
SCPY 152 General Physics II 3(3-0-6) Electronics, relativity, quantum mechanics, atomic physics, nuclear physics.
วศคร ๒๐๐ คณิตศาสตร์วิศวกรรม ๓ (๓ – ๐ – ๖) การประยุกต์ทางด้านวิศวกรรมของสมการเชิงอนุพันธ์ ระบบสมการเชิงอนุพันธ์ คณิตศาสตร์อนุมาน ลำดับและอนุกรมของจำนวน การกระจายอนุกรมเทย์เลอร์ของฟังก์ชันมูลฐาน ผลเฉลยแบบอนุกรมของสมการเชิงอนุพันธ์ การแปลงลาปลาซ เวกเตอร์อินทิกรัลแคลคูลัส การอินทิเกรตเส้น การอินทิเกรตปริมาตร พิกัดเชิงขั้ว แคลคูลัสของฟังก์ชันค่าจริงหลายตัวแปร ทฤษฎีของกรีน การอินทิเกรตพื้นที่ผิว ทฤษฎีการลู่ออกของเกาส์  ทฤษฎีของสโตกส์ การประยุกต์ใช้ทางด้านวิศวกรรม
EGID 200 Engineering Mathematics 3(3-0-6) Engineering applications of ordinary differential equations, System of linear differential equations, Mathematical induction; Sequences and series of numbers, Taylor series expansions of elementary functions, Power series solutions of differential equations, Laplace transformation, Vector integral calculus, Line integral, Volume integral, Polar coordinate, Calculus of real-valued functions of several variables, Green’s theorem, Surface integrals, Divergence theorem of Gauss, Stokes’ theorem, Engineering applications.
วศอก๑๐๑ ปฏิบัติการวิศวกรรมพื้นฐาน ๒ (๑ – ๓ – ๓) กระบวนการทางวิศวกรรมการผลิตขั้นพื้นฐาน อุปกรณ์หรือเครื่องมือที่ใช้ในการปฏิบัติงานทางด้านการตัดแต่งขึ้นรูปโลหะ การปรับแต่ง การเชื่อมประสานและงานโลหะแผ่น ความปลอดภัยในการทำงานและการใช้เครื่องมือ
EGIE101 Basic Engineering Practice 2(1-3-3) Basic engineering processes, equipments or tools used in machining, fitting operation, welding and sheet metal, safety and tools using.
วศคก๑๐๒ เขียนแบบวิศวกรรม ๓ (๒ – ๓ – ๕) เครื่องมืออุปกรณ์การเขียนแบบและวิธีการใช้  การเขียนตัวอักษร เทคนิคเรขาคณิตประยุกต์ทฤษฎี  การฉายภาพออโธกราฟฟิค  การเขียนภาพออโธกราฟฟิค  การเขียนแบบภาพตัด  การเขียนแบบภาพช่วย  การเขียนแบบภาพสามมิติ  การเขียนแบบภาพสเกตซ์  การกำหนดขนาด  และรายละเอียด  คำย่อและสัญลักษณ์ในงานเขียนแบบ การอ่านแบบวิศวกรรม
EGME102 Engineering Drawing 3(2-3-5) Use of drawing instruments and engineering lettering, applied geometry, theory of orthographic projection and orthographic drawing, sectional views drawing, auxiliary views drawing, pictorial drawing, freehand sketching, dimensioning, abbreviations and symbols, interpreting engineering drawing
กลุ่มวิชาเฉพาะบังคับ
วศคพ๑๑๑ การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ๓(๒-๒-๕) แนะนำแนวคิดคอมพิวเตอร์  ส่วนประกอบต่าง ๆ ของคอมพิวเตอร์ ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ การโต้ตอบระหว่างฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ แนวคิดการประมวลผลข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (อีดีพี)  แนะนำการออกแบบและการสร้างโปรแกรมโดยใช้ภาษาระดับสูง: ชนิดข้อมูลและนิพจน์ ข้อความสั่งเชิงวนซ้ำและเชิงควบคุมแบบมีเงื่อนไข ฟังก์ชัน ตรรกะแบบบูล โครงสร้างแถวลำดับ และโครงสร้างระเบียน ตัวชี้ แนะนำการเรียกซ้ำ
EGCO111 Computer Programming 3(2-2-5) Introduction to computer concepts, computer components, hardware and software, hardware and software interaction, Electronic Data Processing (EDP) concepts. Introduction to program design and implementation using a high-level language: types and expressions, iterative and conditional control statements, functions, Boolean logic, array and record structures, pointers, introduction to recursion.
วศคพ๒๐๑ วิยุตคณิต ๓ (๓ – ๐ – ๖) ทฤษฎีเซตเบื้องต้น การใช้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ ความสัมพันธ์ ฟังก์ชัน กราฟ ต้นไม้ แนะนำทฤษฎีจำนวน
EGCO201 Discrete Mathematics 3(3-0-6) Basic set theory, mathematical reasoning, relations, functions, graphs, trees. Introduction to number theory.
วศคพ๒๐๒ วิธีเชิงตัวเลขและการประยุกต์ ๓ (๓ – ๐ – ๖) หลักการทั่วไปของการคำนวณเชิงตัวเลข การประมาณความแม่น การคำนวณเชิงตัวเลข รากของฟังก์ชันพหุนามและไม่เชิงเส้น ระบบสมการพีชคณิตเชิงเส้น การประมาณค่าในช่วง การหาอนุพันธ์และการหาปริพันธ์ ผลเฉลยเชิงตัวเลขของสมการเชิงอนุพันธ์สามัญ วิธีฟูเรียร์ การปรับเส้นโค้งและการประมาณฟังก์ชัน การประยุกต์วิธีเชิงตัวเลขสำหรับปัญหาด้านวิศวกรรม
EGCO202 Numerical Methods and Applications 3(3-0-6) General principles of numerical calculations; accuracy estimation in numerical calculations; roots of polynomial and nonlinear functions; systems of linear algebraic equations; interpolation; differentiation and integration; numerical solution of ordinary differential equations; Fourier methods; curve fitting and approximation of functions; application of numerical methods for engineering problems. EGCO 111
วศคพ๒๑๒ เทคนิคการเขียนโปรแกรม ๓ (๒ – ๒ – ๕) การเรียกซ้ำ  การจัดสรรหน่วยความจำแบบพลวัต  การกำหนดสาระสำคัญของข้อมูล  กองซ้อน  รายการ  ต้นไม้แบบทวิภาค  การควบคุมความซับซ้อนในโปรแกรมขนาดใหญ่  การจัดกระทำกับความผิดพลาด แนะนำการเขียนโปรแกรมเชิงอ็อบเจกต์
EGCO 212 Programming Techniques 3(2-2-5) Recursion, dynamic memory management, data abstraction, stacks, lists, binary trees, controlling the complexity of large programs, error handling. Introduction to Object-Oriented programming EGCO 111
วศคพ๒๒๑ โครงสร้างข้อมูลและขั้นตอนวิธี ๓ (๓ – ๐ – ๖) โครงสร้างข้อมูลและขั้นตอนวิธีทั่วไป รายการ คิว ต้นไม้ ตารางแฮช  การวิเคราะห์ขั้นตอนวิธี ทั้งในกรณีเลวร้ายที่สุดและกรณีทั่วไป  ขั้นตอนวิธีในการเรียงลำดับและการค้น ขั้นตอนวิธีเชิงละโมบ  การแบ่งแยกและเอาชนะ  กำหนดการพลวัต  ขั้นตอนวิธีของกราฟ แนะนำเอ็นพีคอมพลีท
EGCO221 Data Structures and Algorithms 3(3-0-6) Common data structures and algorithms. Lists, queues, trees, hash tables. Analysis of algorithms, worst and average case. Algorithms for sorting and searching. Greedy algorithm, divide and conquer, dynamic programming, graph algorithms. Introduction to NP-completeness. EGCO 111
วศคพ๒๓๑ การออกแบบวงจรดิจิทัล ๓ (๓ – ๐ – ๖) แนะนำทฤษฎีสลับช่องสัญญาณการออกแบบวงจรดิจิทัล ประตูสัญญาณเบื้องต้น  พีชคณิตบูลีน  การออกแบบวงจรตรรกะเชิงผสม (เช่น ตัวถอดรหัส ตัวเข้ารหัส อุปกรณ์รวมส่งสัญญาณ และวงจรเปรียบเทียบ) การลดทอนทางตรรกะ ระบบจำนวน รหัสฐานสอง ฟลิปฟล็อปและเรจิสเตอร์ วงจรนับ การออกแบบวงจรประสานเวลาและไม่ประสานเวลา  ตัวแปลงแอนะล็อกเป็นดิจิทัล และตัวแปลงดิจิทัลเป็นแอนะล็อค การจัดระบบหน่วยความจำ
EGCO231 Digital Circuit Design 3(3-0-6) Introduction to Switching Theory, Digital Circuit Design, Basic Gates, Boolean Algebra, Combination Logic Circuit Design (e.g. Decoder, Encoder, Multiplexer, and Comparator circuits), Logic Minimization, Number Systems, Binary Codes, Flip-Flops and Registers, Counter Circuits, Synchronous and Asynchronous Circuits Design, A/D and D/A converters, Memory Organization.
วศคพ๒๓๒ ปฏิบัติการการออกแบบวงจรดิจิทัล ๑ (๐ – ๓ – ๑) การทดลองมีเนื้อหาสอดคล้องกับ EGCO 231  ตัวอย่างหัวข้อทดลองที่มี เช่น แนะนำปฏิบัติการระบบดิจิทัล  การดำเนินการประตูสัญญาณเบื้องต้น  พีชคณิตบูลีน การออกแบบวงจรบวกและวงจรลบ วงจรเข้ารหัสและวงจรถอดรหัส วงจรอุปกรณ์รวมส่งสัญญาณและวงจรอุปกรณ์รวมแยกสัญญาณ  การออกแบบ วงจรเชิงลำดับ
EGCO232 Digital Circuit Design Lab 1(0-3-1) Laboratory experiments related to EGCO 231 course. Examples of included experimental topics are Introduction to Digital Systems Lab., Basic Gates’ Operations, Boolean Algebra, Design of Adder and Subtractor Circuits, Encoder and Decoder Circuits, Multiplexer and Demultiplexer Circuits, Design of Sequential Circuits, etc.
วศคพ๒๕๒ การเขียนโปรแกรมระบบ ๓ (๓ – ๐ – ๖) การแนะนำการเขียนโปรแกรมระบบคอมพิวเตอร์ สถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์เบื้องต้น การประยุกต์การใช้เอพีไอของระบบปฏิบัติการ การออกแบบและใช้ชุดคำสั่งจากคลัง การเขียนโปรแกรมด้วยภาษาแอสเซมบลี การเชื่อมโยงฟังก์ชันภาษาแอสเซมบลีด้วยชุดคำสั่งภาษาระดับสูง
EGCO252 System Programming 3(3-0-6) Introduction to computer systems programming. Fundamentals of Computer Architecture. Operating system API Interface. Design and use of libraries. Assembly language programming, linking assembly language functions with high-level language code.
วศฟฟ๒๑๓ การวิเคราะห์วงจรไฟฟ้า ๓ (๓ – ๐ – ๖) องค์ประกอบของวงจร กฎของเคอร์ชอฟฟ์ และทิศทางอ้างอิงร่วม แนวคิดเบื้องต้นเกี่ยวกับกราฟโครง ข่ายวงจร  วงจรตัวต้านทาน การวิเคราะห์แบบปมและเมช ทฤษฎีของเทวินินและนอร์ตัน วงจรอันดับหนึ่งและสอง ผลตอบสนองต่อสัญญาณแบบขั้นผลตอบสนองสัญญาณเข้าศูนย์และผลตอบสนองสถานะเริ่มต้นศูนย์  ผลตอบสนองชั่วครู่ทางดีซีและผลตอบสนองสถานะอยู่ตัวทางเอซี การกระตุ้นแบบเอกซ์โพเนนเชียล  ฟังก์ชันถ่ายโอนเบื้องต้น คลื่นรายคาบ อนุกรมฟูเรียร์ คลื่นรูปแบบไซน์ การแทนด้วยเฟสเซอร์   อิมพีแดนซ์และแอดมิตแตนซ์   การวิเคราะห์ในสถานะอยู่ตัวแบบไซน์ กำลังเฉลี่ยและค่าอาร์เอ็มเอส  วงจรหลายเฟส   ความถี่เชิงซ้อน ผลตอบสนองเชิงความถี่  การจำลองการทำงานของวงจรด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์
EGEE213 Electric Circuit Analysis 3(3-0-6) Circuit elements, Kirchhoff’s laws and reference direction, elementary concepts of network graphs, resistive circuits, node and mesh analysis, Thevenin theorem and Norton theorem, first–order and second order circuit, step responses, zero input and zero–state responses, DC transient and AC steady-state response, exponential excitation, elementary transfer functions, periodic waveforms, Fourier series, sinusoidal waveforms, phasor representations, impedance and admittance, sinusoidal steady-state analysis, average power and rms value, polyphase circuit, complex frequency, frequency response , circuit analysis simulation by computer program. SCPY 152
วศฟฟ๒๔๐ อิเล็กทรอนิกส์วิศวกรรม ๓ (๓ – ๐ – ๖) คุณลักษณะกระแส-แรงดันของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ ไดโอด บีเจที และ เอฟอีที ทรานซิสเตอร์ วงจรอิเล็กทรอนิกส์พื้นฐาน วงจรขยายสัญญาณ วงจรขยายเชิงดำเนินการและการประยุกต์ใช้งานในวงจรเชิงเส้นและไม่เชิงเส้น วงจรสร้างรูปคลื่นสัญญาณ วงจรขยายกำลัง วงจรแหล่งจ่ายไฟ แนะนำวงจรอิเล็กทรอนิกส์กำลังเบื้องต้น
EGEE240 Engineering Electronics 3(3-0-6) Current – voltage characteristics of electronics devices such as diode, BJT and FET transistors ; basic electronic circuits; amplifiers; operational amplifier and its applications in linear and nonlinear circuits; oscillator; power amplifiers; power supply; introduction to power electronics. EGEE 213
วศฟฟ๒๔๑ ปฏิบัติการอิเล็กทรอนิกส์วิศวกรรม ๑ (๐ – ๓ – ๑) การฝึกปฏิบัติการเกี่ยวกับอิเล็กทรอนิกส์วิศวกรรมเพื่อแสดงหัวข้อต่างๆในรายวิชา วศฟฟ ๒๔๐
EGEE241 Engineering  Electronics  Lab 1(0-3-1) A laboratory works on engineering electronics to illustrate the topics covered in EGEE ๒๔๐. EGEE 240
วศอก๑๐๓ วัสดุวิศวกรรม ๓ (๓ – ๐ – ๖) โครงสร้างผลึกและการไม่มีโครงสร้างผลึกของวัสดุ ความไม่สมบูรณ์ของโครงสร้างผลึก     ความหมายและการทดสอบคุณสมบัติของวัสดุ แผนภาพสมดุลและการนำไปใช้ กระบวนการผลิต โครงสร้างจุลภาคและมหภาค คุณสมบัติ การใช้งาน และความสัมพันธ์ระหว่างกันของปัจจัยเหล่านี้ในโลหะ เซรามิกส์ พลาสติก พอลิเมอร์ ยาง     มะตอย ไม้  คอนกรีต และวัสดุเชิงประกอบ การศึกษาเบื้องต้นถึงการแตกหัก การ     กัดกร่อน และการเสื่อมสภาพของวัสดุ กรณีศึกษาของการเลือกใช้วัสดุ
EGIE103 Engineering Materials 3(3-0-6) Crystallinity and non-crystallinity of materials; imperfections in crystal structure; meaning and testing of materials properties; equilibrium phase diagram and its applications; the study and relationship of processes, macro and microstructures, properties and applications of metals, ceramics, plastic, polymers, asphalt, wood, concrete and composites. Introduction to fracture, corrosion and degradation of materials; case studies on materials selection.
วศคก๒๒๐ กลศาสตร์วิศวกรรม ๓ (๓ – ๐ – ๖) ระบบแรงต่าง ๆ ผลลัพธ์ สมดุล สถิตยศาสตร์ของไหล จลนศาสตร์และจลนพลศาสตร์ของอนุภาค และวัตถุเกร็ง กฎการเคลื่อนที่ข้อที่สองของนิวตัน
EGME 220 Engineering Mechanics 3(3-0-6) Force system; resultant; equilibrium; fluid statics; kinematics and kinetics of particles and rigid Bodies; Newton’s second law of motion. SCPY 151
วศคพ ๓๑๒ ปฏิบัติการวิชาชีพ ๑ ๑ (๐ – ๓ – ๑) การปฏิบัติการด้านซอฟต์แวร์เกี่ยวกับการใช้งานระบบปฏิบัติการสมัยใหม่ สภาวะแวดล้อมในการเขียนโปรแกรมของระบบปฏิบัติการ  ระบบจัดการฐานข้อมูล และการใช้งานเครื่องมือพัฒนาโปรแกรมและเครื่องมือเกี่ยวกับเครือข่าย การเดินสายและติดตั้งระบบเครือข่ายอย่างง่าย การสร้างชิ้นงานตามที่ได้รับมอบหมาย
EGCO312 Professional Practice I 1(0-3-1) Software practice in the use of a modern operating system, operating system programming environment, database management system, and the use of program development tools and networking tools; basic network cabling and installation; small project assignments.
วศคพ๓๑๓ ปฏิบัติการวิชาชีพ ๒ ๑ (๐ – ๓ – ๑) การทำงานของคอมพิวเตอร์ทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ เทคโนโลยีต้นฉบับเปิด เทคโนโลยีการสื่อสาร เครื่องมือในเรขภาพคอมพิวเตอร์  เทคนิคการต่อประสานไมโครโพรเซสเซอร์ การนำเข้า/นำออก และอุปกรณ์รอบข้าง เทคโนโลยีไอ/โอและระบบอัจฉริยะ
EGCO313 Professional Practice II 1(0-3-1) Computer: hardware and software, Open-Source technology, Communication technology, Computer graphic tools, Microprocessor interfacing techniques, input/output, and peripheral devices. I/O technology and intelligent system.
วศคพ๓๑๔ กระบวนทัศน์ในการเขียนโปรแกรม ๓ (๓ – ๐ – ๖) แนะนำกระบวนทัศน์ต่างๆ ในการเขียนโปรแกรม  ภาษาโปรแกรมต่างๆ  และการสร้างภาษาโปรแกรม  การโปรแกรมและออกแบบเชิงอ็อบเจกต์  การเขียนโปรแกรมเชิงเหตุการณ์ การเขียนโปรแกรมพร้อมกัน การเขียนโปรแกรมเชิงหน้าที่ และภาษาบทคำสั่ง
EGCO314 Programming Paradigms 3(3-0-6) Introduction to a variety of programming paradigms, programming languages, and language implementations, including object-oriented programming and design, even-driven programming, concurrent programming, functional programming, and scripting languages. EGCO 111
วศคพ๓๒๑ ระบบฐานข้อมูล ๓ (๓ – ๐ – ๖) แบบจำลองข้อมูลแบบเอนทิตี-ความสัมพันธ์และแบบจำลองข้อมูลเชิงสัมพันธ์ การออกแบบฐานข้อมูลเชิงตรรกะและเชิงกายภาพ ภาษาในการสอบถามข้อมูล การขึ้นต่อกันของข้อมูลและการทำให้เป็นบรรทัดฐาน รายการเปลี่ยนแปลง การกู้ระบบขัดข้อง การควบคุมการทำงานพร้อมกัน ความมั่นคงของระบบฐาน     ข้อมูล   แนะนำฐานข้อมูลแบบอ็อบเจกต์
EGCO321 Database Systems 3(3-0-6) Data model: entity-relationship, relational. Logical and Physical database design, Query Language, Data Dependencies and Normalization, Transaction, Crash Recovery, Concurrency control, Database security, Introduction to Object-Oriented Database. EGCO 221
วศคพ๓๓๑ การออกแบบไอซีขั้นแนะนำ ๓ (๓ – ๐ – ๖) เทคโนโลยีวงจรรวมเอ็นมอสและซีมอส ลักษณะสมบัติของวงจรแบบเอ็นมอส และซีมอส  การคำนวณพารามิเตอร์ต่างๆ ของวงจรทั้งสองแบบ  วงจรมอสแบบสถิตและพลวัต  การออกแบบระบบ  การวัดและการทดสอบแผนผังวงจร  เลขคณิตคอมพิวเตอร์ การประเมินประสิทธิภาพ การสังเคราะห์วงจรดิจิทัลโดยใช้ภาษาเอชดีแอล การใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อช่วยในการออกแบบวงจร
EGCO331 Introduction to IC Design 3(3-0-6) N MOS and C MOS integrated circuit technologies; properties of N MOS and C MOS circuits; calculation of parameters in circuits, static and dynamic MOS circuits; system design; circuit drawing and testing; computer arithmetic; performance evaluation; synthesis of digital circuits from HDL models; modeling and simulation; fault models and testing the use of CAD tools in circuit design.
วศคพ๓๓๒ ระบบฝังตัว ๓ (๓ – ๐ – ๖) ออกแบบและสร้างต้นแบบผลิตภัณฑ์แบบฝังตัว (เช่น เครื่องช่วยงานส่วนบุคคลแบบดิจิทัล เครื่องปลายทาง เครื่องคอมพิวเตอร์ควบคุมในอุตสาหกรรม) ตัวประมวลผล ชิพเซต ชนิดของบัสและอุปกรณ์รับเข้า/ส่งออกสำหรับอุปกรณ์แบบฝังตัวขั้นสูง ระบบปฏิบัติการแบบฝังตัวซึ่งรวมโปรแกรมขับตัวอุปกรณ์และการประยุกต์ใช้งาน การปรับแต่งอุปกรณ์ที่สามารถโปรแกรมตรรกได้ (ซีพีแอลดี และ เอฟพีจีเอ) ด้วยภาษาบรรยายฮาร์ดแวร์ (เอชดีแอล) เพื่อให้เหมาะสมกับการประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมในหลายด้าน
EGCO332 Embedded Systems 3(3-0-6) Design and prototype embedded products (PDA, Transaction Terminals, Industrial PC Controller). Processors, chipsets, busses, and I/O devices for high-end embedded systems. Embedded operating systems; device drivers and applications for embedded systems. Customization of programmable logic devices (CPLD and FPGA) with  Hardware  Description  Language  (HDL)  for  optimal   implementation   of    various   industrial   applications. EGCO 202
วศคพ๓๓๓ สถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ ๓ (๓ – ๐ – ๖) ส่วนประกอบต่างๆ ของคอมพิวเตอร์ การออกแบบวงจรตรรกะ การทำงานและการออกแบบส่วนประกอบระดับเรจิสเตอร์ที่ใช้ในระบบคอมพิวเตอร์ การแทนข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์ สัญญาณนาฬิกา การออกแบบวิถีข้อมูล การออกแบบหน่วยควบคุมโดยใช้ไมโครโปรแกรม (สถาปัตยกรรมแบบซีไอเอสซี) และแบบใช้วงจรตรรกะ (สถาปัตยกรรมแบบริสก์) การทำงานของคอมพิวเตอร์ของแต่ละสถาปัตยกรรม การเพิ่มประสิทธิภาพ ระบบสายท่อของคอมพิวเตอร์ ระบบหน่วยความจำ หลักการและการทำงานของหน่วยความจำแคช การออกแบบระบบรับเข้าส่งออก การสื่อสารข้อมูลแบบอนุกรมและแบบขนานเบื้องต้น สถาปัตยกรรมสำหรับประมวลผลแบบขนาน สถาปัตยกรรมแบบ เอสไอเอสดี เอสไอเอ็มดี เอ็มไอเอสดี และ เอ็มไอเอ็มดี การทนต่อความผิดพร่อง
EGCO333 Computer Architecture 3(3-0-6) Computer components: design of logic circuits; working of and designing register level components used in computer systems; data representation in computer systems; clock signal; datapath design; design of control unit using microprogram (CISC architecture) and logic circuit (RISC architecture); working of computer of each architecture; performance enhancement; pipeline systems of computer; memory systems; principles and working of cache memory; input-output system design; fundamentals of serial and parallel communication; parallel processing architecture; SISD, SIMD, MISD, and MIMD computer architectures. Fault tolerance. EGCO 252
วศคพ๓๔๑ วิศวกรรมซอฟต์แวร์ ๓ (๓ – ๐ – ๖) แนวคิดร่วมสมัยของระบบปฏิบัติการสำหรับคอมพิวเตอร์ การจัดกำหนดการของหน่วยประมวลผลกลาง นิยามและรายละเอียดของกระบวนการที่ทำงานร่วมประสานกัน การจัดการทรัพยากรระบบ การจัดการภาวะติดตาย การจัดการและการออกแบบหน่วยความจำหลัก การจัดการหน่วยความจำเสมือน การจัดการหน่วยความจำช่วย ระบบแฟ้มข้อมูล ระบบป้องกันและความมั่นคง แนะนำระบบปฏิบัติการแบบกระจาย
EGCO341 Software Engineering 3(3-0-6) Contemporary concepts of computer operating systems; CPU scheduling; definition and details of harmonizing cooperating process; system resources management; deadlock handling; main memory management and design; virtual memory management; auxiliary memory management; file systems; protection and security; introduction to distributed operating systems.
วศคพ๓๕๑ ระบบปฏิบัติการ ๓ (๓ – ๐ – ๖) วัฏจักรชีวิตของซอฟต์แวร์  ความต้องการและข้อกำหนด  การพัฒนาซอฟต์แวร์ขนาดใหญ่ การจัดกำหนดการ การพัฒนา การสร้าง  การทดสอบ  และการบำรุงรักษาระบบซอฟต์แวร์ การวิเคราะห์และออกแบบเชิงวัตถุ  การนำซอฟต์แวร์มาใช้ซ้ำ  การทำเอกสารประกอบซอฟต์แวร์ การจัดการโครงการซอฟต์แวร์    กรณีศึกษาต่างๆ ของระบบซอฟต์แวร์ในท้องตลาด
EGCO351 Operating Systems 3(3-0-6) Software life cycle; need and specification; large-scale software development; scheduling, developing, constructing, testing and maintenance of software system; object-oriented analysis and design; software reuse; documentation; management of software project; case study of software system in the market. EGCO 252
วศคพ๓๗๑ สัญญาณและระบบ ๓ (๓ – ๐ – ๖) แนะนำเบื้องต้นเกี่ยวกับการประมวลผลสัญญาณเชิงดิจิทัล ระบบจำนวนเชิงซ้อน ระบบเชิงเส้นไม่แปรเปลี่ยน ผลการแปลงแซต ผลการแปลงฟูเรียร์แบบวิยุต (ดีทีเอฟที) การแปลงฟูเรียร์แบบเร็ว (เอฟเอฟที) และการแปลงผกผันของการแปลงแบบต่างๆ ข้างต้น  การสุ่มสัญญาณต่อเนื่องและการสร้างสัญญาณต่อเนื่องกลับคืนจากสัญญาณดิจิทัล ตัวกรองสัญญาณแบบดิจิทัลทั้งแบบ เอฟไออาร์ และ ไอไออาร์ การประมวลสัญญาณหลายอัตรา โครงสร้างของระบบเวลาวิยุต และกระบวนการสโทแคสติก ข้อมูลทางฮาร์ดแวร์ของชิปที่ผลิตโดยบริษัทต่าง ๆ เช่น เท็กซัสอินสตรูเมนท์  แอนาล็อกดีไวซ์ หรือโมโตโรลา
EGCO371 Signals and Systems 3(3-0-6) Introduction to Digital Signal Processing, Complex variables, Linear time invariant (LTI) systems, Z-transforms and their inverse transforms, Discrete-time Fourier Transforms (DTFT) and their inverse transforms, Fast-Fourier Transform (FFT), Sampling of continuous signals and signal reconstruction, Digital filters, Finite-Impulse Response (FIR) filters, Infinite-Impulse Response (IIR) filters, Multi-rate signal processing, structures for discrete-time systems, and stochastic process. Additional information about the DSP hardware supported by numerous manufacturers e.g. Texas Instruments, Analog Devices, Motorola.
วศคพ๓๗๒ การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ๓ (๓ – ๐ – ๖) ภูมิลักษณะของเครือข่าย เครื่องลูกข่าย-เครื่องแม่ข่าย ชั้นต่างๆ ของเครือข่าย เกณฑ์วิธี เทคโนโลยีของแลนและแวน ส่วนประกอบและอุปกรณ์ของเครือข่าย อีเทอร์เน็ต วงแหวนโทเค็น การจัดเส้นทางของเครือข่าย ทีซีพี/ไอพี  การควบคุมกระแส ความมั่นคงของข้อมูล เครือข่ายไร้สายและการสื่อสารแบบเคลื่อนที่ แบบจำลองความล่าช้าของเครือข่ายข้อมูล
EGCO372 Data Communication and Computer Networks 3(3-0-6) Network topologies, Client-server, Network Layers, Protocols, LAN and WAN technologies, Network components and equipments, Ethernet, Token Ring, Network Routing, TCP/IP, Flow control, Data Security, Wireless Network and Mobile Communications, Delay Model in data network.
วศคพ๔๙๑ สัมมนาโครงงาน ๑ (๐ – ๓ – ๑) การสัมมนาพิเศษและการอภิปรายหัวข้อร่วมสมัยทางวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ภายใต้การแนะแนวของอาจารย์ในภาควิชา มีการวิจัย และ/หรือ การสร้างกรณีทดลองอย่างง่าย เพื่อนำเสนอและอภิปรายในที่ประชุม จัดทำโครงร่างสำหรับโครงงานในหัวข้อที่ได้รับความเห็นชอบจากคณาจารย์ในที่ประชุมแล้ว เพื่อการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมต่อไปในวิชาโครงงานวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
EGCO491 Project Seminar 1(0-3-1) Special seminar and discussion on current topics in computer engineering, supervised by the faculty. Research and/or implement a simple test case to propose and discuss in the meeting. Write a project proposal for an approved topic, for further research and implementation in the Computer Engineering Project course.
วศคพ๔๙๒ โครงงานวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ๓ (๐ – ๙ – ๓) โครงงานทางวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ซึ่งควบคุมโดยอาจารย์ในภาควิชา โครงงานจะต้องทำให้เสร็จสมบูรณ์ และนักศึกษาต้องส่งรายงานฉบับสมบูรณ์และสอบปากเปล่าเมื่อทำโครงงานเสร็จแล้ว
EGCO492 Computer Engineering Project 3(0-9-3) The computer engineering project supervised by the faculty. Students complete the project. A complete project report and an oral examination is required. EGCO 491
กลุ่มวิชาเฉพาะเลือก
วศคพ๓๐๑ เรขภาพคอมพิวเตอร์ ๓ (๓ – ๐ – ๖) หลักการของเรขภาพคอมพิวเตอร์ ระบบและแบบจำลองเรขภาพ การเขียนโปรแกรมเรขภาพ อุปกรณ์เรขภาพและการควบคุม แบบจำลองของสี วัตถุเรขาคณิตและการแปลง ทรรศนะ แสงเงา ส่วนตัด และการลบพื้นผิวที่ถูกบดบัง
EGCO301 Computer Graphics 3(3-0-6) Principles of computer graphics, graphics systems and models, graphics programming, graphic devices and their controls, color model, geometric objects and transformations, viewing, shading, clipping, and hidden-surface removal. EGCO 111
วศคพ๓๐๔ การวิเคราะห์และออกแบบโดยใช้คอมพิวเตอร์ ๓ (๓ – ๐ – ๖) ขั้นตอนวิธีและเทคนิคที่ใช้ในการออกแบวงจรอิเล็กทรอนิกส์ฐานคอมพิวเตอร์ เช่น การหาผลเฉลยของสมการเชิงเส้น ผลเฉลยของสมการไม่เชิงเส้น การวิเคราะห์ภาวะชั่วครู่เชิงเส้น การจำลองวงจรไม่เชิงเส้น
EGCO304 Computer Aided Analysis and Design 3(3-0-6) Algorithms and techniques for computer based electronic circuit designs such as solution of linear equation, solution of non-linear equation and linear transient analysis. Simulation of non-linear circuits.
วศคพ๓๓๔ โครงสร้างการคำนวณ ๓ (๓ – ๐ – ๖) บูรณาการระบบคอมพิวเตอร์และหลักการออกแบบวงจรดิจิทัล แนวคิดทางสถาปัตยกรรม ซอฟต์แวร์ พีชคณิตบูลีน ระบบจำนวน ส่วนย่อยต่างๆ ของทางเดินข้อมูลแบบรวม ตรรกะเชิงลำดับ และหน่วยเก็บ การออกแบบ สร้างต้นแบบและทดสอบของไมโครโพรเซสเซอร์แบบง่าย ระบบควบคุมหน่วยความจำและบัสรับเข้า/ส่งออกด้วยภาษาบรรยายฮาร์ดแวร์(เอชดีแอล) และเครื่องมือสร้างต้นแบบอย่างรวดเร็ว
EGCO334 Computation Structures 3(3-0-6) Integration of computer system and digital circuit design principles. Architectural concepts: software; Boolean algebra; number systems; Combinational datapath, sequential logic, and storage elements. Design, prototype, and test a simple processor, memory control and I/O bus with Hardware Description Language (HDL) and rapid prototyping tools. EGCO 231, EGCO 332
วศคพ๓๘๐-๓๘๙ หัวข้อคัดสรรทางวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ (…) ๓ (๓ – ๐ – ๖) หัวข้อคัดสรรเกี่ยวกับเทคโนโลยีวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ที่ทันสมัย โดยภาควิชาอาจจะเปิดสอนเอง หรืออาจจะเสนอให้ภาควิชาอื่นเปิดสอนเป็นวิชาพิเศษในแต่ละภาคการศึกษา  อนึ่งจะต้องระบุชื่อวิชาในวงเล็บด้วย
EGCO380-389 Selected Topics in Computer Engineering (…) 3(3-0-6) Selected topics in current computer engineering technologies, which could be offered by the department or propose to be offered by other departments. The title of the topic is indicated in the parenthesis part of the course title.
วศคพ๓๙๑ เทคโนโลยีระหว่างเครือข่าย ๓ (๒ – ๒ – ๕) ลักษณะเชิงทฤษฎีและเชิงปฏิบัติของเทคโนโลยีการจัดเส้นทางและการสลับเส้นทางรวมถึงแบบจำลองระหว่างเครือข่าย โพรโทคอลอินเทอร์เน็ต เทคโนโลยีการจัดเส้นทาง เทคโนโลยีการสลับ เครือข่ายเฉพาะที่เสมือน เครือข่ายบริเวณกว้าง การจัดการปริมาณการใช้ มีการฝึกปฏิบัติในห้องปฏิบัติการ
EGCO391 Internetworking Technologies 3(2-2-5) Theoretical and practical aspects of routing and switching technologies, including internetworking models, internet protocol, routing technologies, switching technologies, virtual local area network, wide area network, and traffic management. Laboratory work is required.
วศคพ๓๙๒-๓๙๘ หัวข้อพิเศษวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ๓ (๓ – ๐ – ๖) หัวข้อพิเศษเกี่ยวกับเทคโนโลยีวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ที่ทันสมัย โดยภาควิชาอาจจะเปิดสอนเอง หรืออาจจะเสนอให้ภาควิชาอื่นเปิดสอนเป็นวิชาพิเศษในแต่ละภาคการศึกษา  อนึ่งจะต้องระบุชื่อวิชาในวงเล็บด้วย
EGCO392-398 Special Topics in Computer Engineering (…) 3(3-0-6) Special topics in current computer engineering technologies, which could be offered by the department or propose to be offered by other departments. The title of the topic is indicated in the parenthesis part of the course title.
วศคพ๔๐๑ การวิจัยการดำเนินการ ๓ (๓ – ๐ – ๖) แนะนำวิธีการต่างๆ ในการวิจัยดำเนินงานในการแก้ปัญหาทางวิศวกรรม  การใช้รูปจำลองทางคณิตศาสตร์เพื่อช่วยในการทำงาน  การใช้พีชคณิตเชิงเส้น ทฤษฎีเกม  ทฤษฎีคิว  เพื่อช่วยในการตัดสินใจการทำงาน
EGCO401 Operations Research 3(3-0-6) Introduction to various methods in operations research for solving engineering problems. Using image model in mathematics, linear algebra,   game theory, queuing theory to assist in decision making.
วศคพ๔๐๒ ทฤษฎีการสลับ ๓ (๓ – ๐ – ๖) แนะนำการออกแบบระบบดิจิทัล ระบบเชิงตัวเลข รหัสตัวเลข การออกแบบวงจรชุดผสม เทคนิคการลดทอน การวิเคราะห์ภัย วงจรฟลิปฟล็อป การวิเคราะห์และการสังเคราะห์วงจรเชิงลำดับ
EGCO402 Switching Theory 3(3-0-6) Introduction to digital system design; numerical system; numerical code; design of combination circuit; minimization technique; hazard analysis; flip-flop circuit, analysis and synthesis of sequential circuit. EGCO 231
วศคพ๔๐๔ ทฤษฎีการคำนวณ ๓ (๓ – ๐ – ๖) แบบจำลองรูปนัยของการคำนวณ ไฟไนท์ออโตมาตา เครื่องทัวริง ภาษารูปนัย ลักษณะต่างๆ ของฟังก์ชันบางส่วนชนิดที่คำนวณได้ เครื่องสากล  แนวคิดหลักของเชิร์ช  ทฤษฎีบทการเรียกซ้ำ ทฤษฎีภาวะคำนวณได้ ทฤษฎีความซับซ้อน เอ็นพีคอมพลีท
EGCO404 Theory of Computation 3(3-0-6) Formal models of computation: finite automata and Turing machines, Formal languages. Multiple characterizations of computable partial functions, Universal machines, Church’s thesis. Recursion Theorem, Computability theory, Complexity theory. NP-complete. EGCO 201
วศคพ๔๐๕ เมคาทรอนิกส์ ๓ (๓ – ๐ – ๖) ระบบเมคคาทรอนิกส์เป็นการบูรณาการความรู้วิศวกรรมศาสตร์ด้านเครื่องกล ไฟฟ้า คอมพิวเตอร์ และระบบควบคุม  อุปกรณ์ด้านเมคคาทรอนิกส์เช่น จานบันทึกแบบแข็ง หรืออุปกรณ์อื่นๆ   การปฏิบัติการหรือทำชิ้นงาน  วงจรอิเล็กทรอนิกส์ย้อนกลับ  การขยายกำลังสัญญาณ ตรรกะดิจิทัล การต่อประสานตัวเข้ารหัส  และการควบคุมมอเตอร์ เซ็นเซอร์  การควบคุมแบบทันที
EGCO405 Mechatronics 3(3-0-6) Mechatronic system is an integration of mechanical, electrical, computer and control system engineering. Mechatronic devices such as hard drive or others. Laboratories or projects will be the core of the course. Electronic feedback, power amplifier, digital logic, encoder interfacing, motor control, sensor and real time control.
วศคพ๔๑๒ การเขียนโปรแกรมแบบขนานขั้นแนะนำ ๓ (๓ – ๐ – ๖) แนวคิดและการออกแบบการเขียนโปรแกรมแบบขนาน การวนซ้ำแบบขนาน การแบ่งแยกและเอาชนะแบบขนาน กำหนดการพลวัตแบบขนาน การทำงานแบบสายท่อ การดำเนินงานแบบขนาน การสื่อสารแบบจุดต่อจุด และแบบกลุ่ม การประสานเวลา การเขียนโปรแกรมแบบขนานขั้นพื้นฐานทั้งแบบใช้ความจำร่วมกัน และแบบส่งผ่านสาร
EGCO412 Introduction to Parallel Programming 3(3-0-6) Parallel programming concepts and design. Loop parallelization, parallelizing divide-and-conquer, parallelizing dynamic programming, pipelining. Running parallel jobs. Point-to-point communication, collective communication, synchronization. Basic parallel programming in shared-memory and message-passing styles. EGCO 351
วศคพ๔๒๑ ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ ๓ (๓ – ๐ – ๖) หลักการระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ โครงสร้างระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ  เทคโนโลยีสารสนเทศ กระบวนการตัดสินใจ แนวคิดสารสนเทศ  มนุษย์ในฐานะผู้ประมวลสารสนเทศ แนวคิดของระบบ แนวคิดการวางแผนและการควบคุม โครงสร้างองค์กรและการจัดการ ระบบสนับสนุนการวางแผนและการตัดสินใจ ระบบการจัดการฐานความรู้  การกำหนดความต้องการของสารสนเทศ การพัฒนา การทำให้เกิดผล และการจัดการทรัพยากรในระบบจัดการสารสนเทศ
EGCO421 Management Information Systems 3(3-0-6) Principles of management information systems; structures of management information systems, information technologies, decision-making processes; information concepts, humans in the role of information processors, systems concepts; planning and control concepts, organization structure and management, planning and decision-making support systems; knowledge-base management systems, requirement specification of information, development, implementation and resource management in management information systems.
วศคพ๔๒๒ พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ๓ (๓ – ๐ – ๖) แบบจำลองธุรกิจและแนวคิดทางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์  โครงสร้างพื้นฐานพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์และเว็บ  การป้องกันลิขสิทธิ์ ความมั่นคง กลไกการชำระเงินเชื่อมตรง  แนวคิดทางการตลาดสำหรับการขายตรงบนเว็บ  ประเด็นทางจริยธรรม สังคม และการเมืองในเทคโนโลยีสารสนเทศ
EGCO422 Electronic Commerce 3(3-0-6) E-commerce business models and concepts, E-commerce and web infrastructure, copyright protection, security, on-line payment mechanisms, marketing concepts for retailing on the web. Ethical, Social, and Political Issues in Information Technologies.
วศคพ๔๒๓ ฐานข้อมูลบนเว็บและระบบสารสนเทศ ๓ (๓ – ๐ – ๖) แบบจำลองข้อมูลกึ่งโครงสร้างบนเว็บ (เช่น เอ็กซ์เอ็มแอล) การจัดการข้อมูลกึ่งโครงสร้าง ภาษาสอบถามที่เกี่ยวข้องและระบบสอบถามสำหรับข้อมูลเว็บ กระบวนการสอบถามและการทำให้เหมาะที่สุดของข้อมูลกึ่งโครงสร้างและข้อมูลจากแหล่งกำเนิดพหุคูณแบบกระจาย  การบูรณาการข้อมูลในเว็บ  คลังข้อมูลเว็บ  การส่งจากเครื่องบริการฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์และเชิงอ็อบเจกต์ไปเป็นข้อมูลเว็บ  อภิปรายงานประยุกต์บนเว็บรูปแบบใหม่ที่เน้นข้อมูล เช่นพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ห้องสมุดดิจิทัล และการศึกษาทางไกล ในประเด็นที่เกี่ยวกับฐานข้อมูลเว็บ
EGCO423 Web Database and Information Systems Semistructured data models for the Web (such as XML, etc.), semistructured data management, associated query languages and query systems for Web data, query processing and optimization over semistructured data as well as over multiple distributed sources. Data integration over the Web, warehousing of Web data. Mappings from relational and object-oriented database servers to web data. Discussion on some novel data-intensive applications on the Web such as electronic commerce, digital libraries, and distance education relating to web database issues. EGCO 321
วศคพ๔๒๔ หัวข้อขั้นสูงด้านระบบฐานข้อมูล ๓ (๓ – ๐ – ๖) หัวข้อขั้นสูงทางด้านระบบฐานข้อมูล  เนื้อหาแตกต่างกันได้ในแต่ละคราวที่เปิดสอน
EGCO424 Advanced Topics in Database Systems 3(3-0-6) Advanced topics in the area of database systems. Content differs in each offering. EGCO 321
วศคพ๔๒๕ การทำเหมืองข้อมูล ๓ (๓ – ๐ – ๖) การค้นพบความรู้ในฐานข้อมูล การเตรียมข้อมูล เทคนิคการทำเหมืองข้อมูลและการประยุกต์ การค้นหาความเกี่ยวข้อง การจำแนก การจัดกลุ่ม และอภิการเรียนรู้ การแทนความรู้ คลังข้อมูล การประมวลผลเชิงวิเคราะห์แบบออนไลน์ การทำเหมืองเว็บ เทคโนโลยีที่ใช้ในปัจจุบันและกรณีศึกษาต่าง ๆ
EGCO425 Data Mining 3(3-0-6) Knowledge discovery in database. Data preparation. Data mining techniques and applications. Association, Classification, Clustering, and Meta-Learning. Knowledge representation. Data warehouse. Online analytical processing (OLAP). Web mining. Current technology and case studies.
วศคพ ๔๓๒ ระบบแบบกระจาย ๓ (๓ – ๐ – ๖) ระบบปฏิบัติการแบบกระจายและการประยุกต์ หน่วยความจำใช้งานร่วมกันแบบกระจาย การออกแบบระบบกระจายเชิงอ็อบเจกต์ บริการของสารบบแบบกระจาย รายการเปลี่ยนแปลงครบหน่วย การประสานเวลา การเข้าถึงแฟ้มข้อมูล การจัดกำหนดการของกระบวนการ การเคลื่อนย้ายกระบวนการ การเรียกกระบวนการระยะไกล  การกระจาย การขยายตัว การปรับตัวในเหตุการณ์ที่ล้มเหลว และความมั่นคง
EGCO 432 Distributed Systems 3(3-0-6) Distributed operating system and applications: distributed shared memory, object-oriented distributed system design, distributed directory services, atomic transaction, time synchronization, file access, process scheduling, process migration, and remote procedure calls; distribution, scale, and robustness in the face of failure and security. EGCO 351
วศคพ๔๓๓ การออกแบบวงจรรวมขนาดใหญ่มากขั้นแนะนำ ๓ (๓ – ๐ – ๖) แนะนำเทคโนโลยีซีมอสและการออกแบบวงจร  การสร้างวงจรเชิงตรรกชุดผสมและเชิงลำดับ  ระเบียบวิธีการออกแบบวงจรรวมขนาดใหญ่มาก เครื่องมือช่วยออกแบบทางคอมพิวเตอร์ในการวางรูปแบบเบื้องต้น การจำลองการทำงาน และการทดสอบวงจร  ให้นักศึกษาออกแบบชิปวีแอลเอสไอโดยใช้เครื่องมือช่วยออกแบบทางคอมพิวเตอร์
EGCO433 Introduction to VLSI Design 3(3-0-6) Introduction to CMOS technology and circuit design. Implementation of combinational and sequential logic circuit: very large scale integrated circuit design methodologies, CAD tools for layout, simulation and validation. Students design a VLSI chip using CAD tools.
วศคพ๔๔๒ หัวข้อขั้นสูงด้านวิศวกรรมซอฟต์แวร์ ๓ (๓ – ๐ – ๖) หัวข้อขั้นสูงทางด้านวิศวกรรมซอฟต์แวร์  เนื้อหาแตกต่างกันได้ในแต่ละคราวที่เปิดสอน
EGCO442 Advanced Topics in Software Engineering 3(3-0-6) Advanced topics in the area of software engineering. Content differs in each offering. EGCO 341

* รายวิชาเปิดใหม่

0, 0, 220, 43, 1, 56, 220, 75

วศคพ๔๕๑ ตัวแปลโปรแกรม ๓ (๓ – ๐ – ๖) โครงสร้างของตัวแปลโปรแกรมและโปรแกรมแปลคำสั่ง ภาษาโปรแกรม กระบวนการแปลโปรแกรม การวิเคราะห์ศัพท์และวากยสัมพันธ์ การวิเคราะห์แบบบนลงล่างและล่างขึ้นบน แบบจำลองกระแสความหมาย ตารางสัญลักษณ์ การจัดการหน่วยความจำในเวลาดำเนินงาน  การวินิจฉัยความผิดพลาด  การทำรหัสคำสั่งให้เหมาะที่สุด และการกำเนิดรหัสคำสั่ง
EGCO451 Compilers 3(3-0-6) Structure of compilers and interpreters. Programming language; compilation process; lexical analysis; syntax analysis; top-down and bottom-up analysis; semantic flow models; symbol table; runtime memory management; error diagnostic; code optimization and code generation. EGCO 251
วศคพ๔๕๒ หัวข้อขั้นสูงด้านระบบปฏิบัติการ ๓ (๓ – ๐ – ๖) หัวข้อขั้นสูงทางด้านระบบปฏิบัติการ เนื้อหาแตกต่างกันได้ในแต่ละคราวที่เปิดสอน การเรียนกรณีศึกษา การเสนอรายงานและการอภิปรายเป็นกลุ่มถึงระบบปฏิบัติการในอดีตและระบบปฏิบัติการร่วมสมัย  มีการทดลองปฏิบัติ
EGCO452 Advanced Topics in Operating Systems 3(3-0-6) Advanced topics in the area of operating systems. Contents differ in each offering. Case base studying and group presentation and discussion of past and contemporary operating systems. Some experiments are carried out. EGCO 351
วศคพ๔๖๑ ปัญญาประดิษฐ์ ๓ (๓ – ๐ – ๖) พื้นฐานของปัญญาประดิษฐ์ การแก้ปัญหาด้วยการค้นหา การแทนความรู้  ตรรกศาสตร์อันดับที่หนึ่ง  การอนุมานในตรรกศาสตร์อันดับที่หนึ่ง  การวางแผน ระบบเหตุผลโดยใช้ความน่าจะเป็น การเรียนรู้ การสื่อสาร การรับรู้ภาพ
EGCO461 Artificial Intelligence 3(3-0-6) Foundations of artificial intelligence, solving problems by searching, knowledge representation, first-order logic, inference in first-order logic, planning, probabilistic reasoning systems, learning, communication, image perception.
วศคพ๔๖๒ ระบบผู้เชี่ยวชาญ ๓ (๓ – ๐ – ๖) แนะนำระบบผู้เชี่ยวชาญ หลักการในการสร้างระบบผู้เชี่ยวชาญ: สถาปัตยกรรม การได้ความรู้ การเขียนโปรแกรมและเครื่องมือของระบบผู้เชี่ยวชาญ
EGCO462 Expert Systems 3(3-0-6) Introduction to expert systems, principles of expert systems creation: architecture, knowledge acquisition, programming and tools.
วศคพ๔๖๓ การรู้จำแบบ ๓ (๓ – ๐ – ๖) การจับคู่หน้ากาก การประมวลก่อนสำหรับการรู้จำตัวอักษร การประมวลผลภาพลักษณ์ฐานสอง  การทำภาพให้บาง การแบ่งส่วน การหาลักษณะเด่น แบบรูปและพื้นผิว การแบ่งกลุ่มหรือการรู้จำที่ใช้เทคนิคเชิงเส้น ตัววิเคราะห์แบบเบส์ที่ให้ความผิดพลาดน้อยที่สุด วิธีภาษาศาสตร์เชิงรูปนัย วิธีโครงสร้าง การประยุกต์เทคนิคคลุมเครือและโครงข่ายงานระบบประสาทเพื่อการรู้จำแบบ วิธีลูกผสม เทคนิคการเรียนรู้
EGCO463 Pattern Recognition 3(3-0-6) Mask matching, preprocessing for character recognition, binary image processing, thinning,  segmentation, features extraction, pattern and textures, classification or linear techniques for recognition, minimum error Bayesian classifiers, formal linguistic methods, structural methods, fuzzy techniques and neural networks applications for pattern recognition, hybrid method, learning techniques.
วศคพ๔๖๔ การรู้จำเสียง ๓ (๓ – ๐ – ๖) ทบทวนคณิตศาสตร์ที่ใช้ในการรู้จำคำพูด การกำเนิดเสียงพูดและการได้ยิน การกำหนดรู้ในการฟัง การวิเคราะห์คำพูด การใช้รหัสคำพูด รหัสการทำนายคำพูดแบบเชิงเส้น การสังเคราะห์คำพูด การรู้จำคำพูด
EGCO464 Voice Recognition 3(3-0-6) Review of mathematics for speech recognition, pronunciation and hearing, auditory perception, speech analysis, using of speech coding, linear prediction speech coding, speech synthesis, speech recognition.
วศคพ๔๖๕ เซตคลุมเครือและโครงข่ายงานระบบประสาท ๓ (๓ – ๐ – ๖) เซตคลุมเครือ กฎคลุมเครือและการหาเหตุผลแบบคลุมเครือ ระบบการอนุมานคลุมเครือ การออกแบบระบบคลุมเครือ โครงสร้างและลักษณะเฉพาะของโครงข่ายงานระบบประสาทเทียมแบบต่างๆ การเรียนรู้แบบมีผู้แนะนำและแบบไม่มีผู้แนะนำ การจำแนกประเภท การประยุกต์ใช้เทคนิคคลุมเครือและโครงข่ายเซลประสาทในงานวิศวกรรม
EGCO465 Fuzzy Sets and Neural Networks 3(3-0-6) Fuzzy sets, fuzzy rules and reasoning, fuzzy inference systems, fuzzy system design, structure and characteristic of various artificial neural networks, supervised and non-supervised learning, classification, fuzzy techniques and neural networks application in engineering EGCO 201
วศคพ๔๖๖ การประมวลผลภาษาธรรมชาติ ๓ (๓ – ๐ – ๖) พัฒนาความเข้าใจในขั้นตอนวิธีที่มีสำหรับการประมวลข้อมูลทางภาษาศาสตร์  และเน้นสมบัติทางการคำนวณพื้นฐานของภาษาธรรมชาติ   การประมวลในเชิงระดับหน่วยคำ เชิงวากยสัมพันธ์ และเชิงความหมายจากทัศนะทางภาษาศาสตร์ และทัศนะด้านขั้นตอนวิธี เทคนิคเชิงปริมาณสมัยใหม่ในการประมวลภาษาธรรมชาติ การใช้แบบจำลองทางสถิติขนาดใหญ่สำหรับระบบการได้มาและการแทน
EGCO466 Natural Language Processing 3(3-0-6) Develops an understanding of the algorithms available for the processing of linguistic information and the underlying computational properties of natural languages. Morphological, syntactic, and semantic processing from a linguistic and an algorithmic perspective,  modern quantitative techniques in NLP: using large corpora, statistical models for acquisition, and representative systems.
วศคพ๔๗๒ วิทยาการเข้ารหัสลับขั้นแนะนำ ๓ (๓ – ๐ – ๖) แนะนำทฤษฎีพื้นฐานและกลวิธีในการเข้ารหัสลับ การเข้ารหัสลับแบบสมมาตร เช่น ดีอีเอส และ เออีเอส การเข้ารหัสลับแบบอสมมาตร เช่น อาร์เอสเอ การแลกเปลี่ยนกุญแจด้วยขั้นตอนวิธีของดิฟฟี-เฮลแมน ความคงสภาพและบูรณภาพของข้อมูล การทำแฮชฟังก์ชัน ลายเซ็นดิจิทัล คำรับรองดิจิทัล และการประยุกต์ใช้วิทยาการเข้ารหัสลับกับความมั่นคงในคอมพิวเตอร์
EGCO472 Introduction to Cryptography 3(3-0-6) Introduction to basic theory and techniques in cryptography. Symmetric cryptography such as DES and AES. Asymmetric cryptography such as RSA. Diffie-Hellman key exchange algorithm. Data integrity. Hash function. Digital signature and digital certificate. Applications of cryptography in computer security.
วศคพ๔๗๓ ระบบรักษาความมั่นคงบนคอมพิวเตอร์ ๓ (๓ – ๐ – ๖) แนะนำเทคโนโลยีความมั่นคงในคอมพิวเตอร์ การคุกคาม ความอ่อนแอ การจู่โจม วิศวกรรมความมั่นคง กลไกการป้องกันและต่อต้านต่าง ๆ การพิสูจน์ตัวจริง วิธีการที่ใช้ระบุตัวตน ความมั่นคงในระบบ ระบบประมวลผลภาพ  การรับรู้ทางวิทัศน์และแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ของภาพ  การสุ่มตัวอย่างและการแบ่งนับ การแปลงภาพ สังวัตนาการและสหสัมพันธ์ของผลการแปลงฟูเรียร์  การเพิ่มสมรรถนะภาพ  การทำให้ฮิสโทแกรมเท่ากัน การทำภาพให้เรียบขึ้น การทำภาพให้คมขึ้น แบบจำลองภาพสาทิสสัณฐาน
EGCO473 Computer Security 3(3-0-6) Image processing systems, visual perception and mathematical image models, sampling and quantization, image transformation, Fourier transform convolution and correlation, image enhancement, histogram equalization, image smoothing, image sharpening, homomorphic image models.
วศคพ๔๗๕ เทคโนโลยีระหว่างเครือข่าย ๒ ๓ (๒ – ๒ – ๕) ปฏิบัติการ ในโปรแกรมประยุกต์ และในเครือข่าย พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เงินนิรนาม การชำระเงินแบบไมโคร ความมั่นคงในพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์  เอสเอสแอล เอสอีที ด่านกันการบุกรุก วศคพ ๓๙๑
EGCO475 Internetworking Technologies II 3(2-2-5) Introduction to technologies in computer security, threats, vulnerabilities, attacks. Security engineer: prevention and defense mechanisms, authentication, identification schemes. Security in operating systems, applications and network. Electronic commerce: anonymous cash and micropayment. Electronic commerce security: SSL and SET. Firewall.
วศคพ๔๘๖ การประมวลผลภาพ ๓ (๓ – ๐ – ๖) ลักษณะเชิงทฤษฎีและเชิงปฏิบัติของเทคโนโลยีการจัดเส้นทางและการสลับเส้นทางขั้นสูง รวมถึงการกำหนดเลขที่อยู่โพรโทคอลอินเทอร์เน็ตขั้นสูง การจัดเส้นทางขั้นสูง การจัดเส้นทางแบบแพร่สัญญาณเฉพาะกลุ่ม ไอพีรุ่น 6 แนวคิดต้นไม้แบบทอดข้ามขั้นสูง การจัดเส้นทางระหว่างเครือข่ายเฉพาะที่เสมือน เทคโนโลยีส่วนซ้ำสำรอง เกตเวย์ การเข้าถึงลูกข่ายแบบไร้สาย แนวคิดเรื่องเสียงบนไอพี และ ความปลอดภัยในเครือข่ายสลับเส้นทาง การฝึกปฏิบัติในห้องปฏิบัติการ
EGCO486 Image Processing 3(3-0-6) Theoretical and practical aspects of advanced routing and switching technologies, including Advanced IP Addressing, Advanced Routing, Multicast Routing, IPv6, Advanced Spanning Tree Concepts, Inter-VLAN Routing, Gateway Redundancy Technologies, Wireless Client Access, Voice over IP Concepts, and Security in a Switched Network. Laboratory work.
วศฟฟ๓๒๐ หลักการระบบสื่อสาร ๓ (๓ – ๐ – ๖) วิวัฒนาการของระบบสื่อสาร ข่าวสาร  สัญญาณรบกวนและการแทรกสอดในระบบสื่อสารอนุกรม

* รายวิชาเปิดใหม่

0, 0, 245, 64, 1, 56, 245, 96

EGEE320 Principles of Communication Systems 3(3-0-6) ฟูเรียร์และการแปลงฟูเรียร์ หลักการการกล้ำ การวิเคราะห์สัญญาณ  การกล้ำแอมพลิจูดและชนิดของช่องสัญญาณสื่อสาร  เครื่องรับชนิดซุปเปอร์เฮทเทอโรดายน์  การกล้ำเชิงเฟสและความถี่  ระบบกล้ำพัลส์  ระบบรหัส  การแพร่กระจายคลื่นวิทยุ  การสื่อสารผ่านดาวเทียม   การสื่อสารด้วยใยแก้วนำแสง การสื่อสาร    เคลื่อนที่
วศฟฟ๓๒๑ โครงข่ายสื่อสารและสายส่ง ๓ (๓ – ๐ – ๖) Revolution of communications , message , noise and interference in communication systems , Fourier series and Fourier transform , principle of modulation , signal analysis , amplitude modulation, type of communication channels , superheterodyne receiver , phase and frequency modulation , pulse modulation systems, coding systems , radiowave propagation , satellite communication , optical communication , mobile communications
EGEE321 Communication Network and Transmission 3(3-0-6) ทฤษฎีโครงข่าย การวิเคราะห์และการออกแบบวงจรเทียบเคียง แบบหนึ่งคู่ขั้วและสองคู่ขั้ว วงจรเรโซแนนซ์อนุกรมและขนาน วงจรเรโซแนนซ์แบบหลายความถี่ วงจรกรองคลื่น การแปลงอิมพีแดนซ์และการเข้าคู่โครงข่าย ทฤษฏีสายส่งตามแนวทางโครงข่ายและสายส่งสัญญาณโทรศัพท์  การใช้งานของสายส่งสัญญาณสำหรับการเข้าคู่อิมพีแดนซ์ EGEE 213, EGEE 353
วศฟฟ๓๒๒ การสื่อสารดิจิตอล ๓ (๓ – ๐ – ๖) Network theorems; analysis and design of one-port and two-port equivalent circuit, series and parallel resonance, multiple resonance, wave filters;  impedance transformation and matching networks; network approach to theory of transmission  line; telephone lines; utilization of transmission lines for impedance matching
EGEE322 Digital Communication 3(3-0-6) ทฤษฎีการชักตัวอย่าง กระบวนการสุ่มและสัญญาณสุ่ม สัญญาณสุ่มผ่านต่ำ ระบบดิจิตอล
วศฟฟ ๓๖๑ การวัดและเครื่องมือวัดทางไฟฟ้า ๓ (๓ – ๐ – ๖) เบสแบนด์  การควอนไตเซชัน การเข้ารหัสแหล่ง ระบบดิจิตอลแบนด์พาส การเข้ารหัสช่องสัญญาณ การส่งและการเข้าจังหวะในระบบสื่อสารดิจิตอล การแก้ไขผิดพลาดการเข้ารหัส
EGEE 361 Electrical Measurement and Instrumentation 3(3-0-6) Sampling theorems, random process and random signals, low-pass random signal, baseband digital system, quantization, source coding, bandpass digital system, channel coding, transmission and synchronization in digital communications systems, error correcting codes. EGEE 213
หมวดวิชาเลือกเสรี
วศคพ ๓๔๒ เทคโนโลยีสารสนเทศในชีวิตประจำวัน ๓ (๓ – ๐ – ๖) เทคโนโลยีระบบสารสนเทศขั้นแนะนำ  ทฤษฎี  หลักการ  แนวคิด  นโยบาย  บทบาทการประยุกต์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผลกระทบและแนวโน้มของเทคโนโลยีสารสนเทศในชีวิตประจำวัน  กฎหมายเทคโนโลยี  จริยธรรม  และความมั่นคงของสารสนเทศ  พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ขั้นแนะนำ    การค้นหาข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต  และการสร้างเว็บเพจ
EGCO 342 Information Technology in Daily Life 3(3-0-6) Introduction to technology of information system, theory, principles, concept, policy, roles, application  and  related organization, effect and trends in daily  life,  technology law, ethics and security of  information,  introduction  to electronic  commerce,  internet  search , web page construction.
การฝึกงาน
วศคพ๓๙๐ การฝึกงานทางวิศวกรรม ๐ (๐ – ๓๕ – ๑๐) การฝึกปฏิบัติงานในโรงงานอุตสาหกรรมหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับระบบคอมพิวเตอร์ หรือที่มีการใช้คอมพิวเตอร์ในงานควบคุมหรืองานประมวลผล เป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๒๔๐ ชั่วโมง ทั้งนี้นักศึกษาจะต้องทำรายงานเสนอต่อภาควิชา รวมถึงรายงานผลการปฏิบัติงานจากโรงงานหรือหน่วยงานที่ฝึกปฏิบัติงาน ซึ่งการประเมินผลจะให้เกรดออกมาเป็นพอใจ (“S”) หรือไม่พอใจ (“U”)
EGCO390 Engineering Training 0(0-35-10) Practical training in an industrial factory or an organization with computer-related systems, computer control systems, or systems using computer processing. The training, with the minimum period of ๒๔๐ hours, takes place in the summer semester. Students must present a paper to the department, including the report of the training outcome from the employer. The training evaluation will be graded as Satisfactory  (“S”) or Unsatifactory (“U”).

การสอบวัดคุณสมบัติ

การประกันคุณภาพหลักสูตร

หลักสูตรได้กำหนดระบบและวิธีการประกันคุณภาพ หลักสูตรในแต่ละประเด็น ดังนี้
๑ ประเด็นการบริหารหลักสูตร
-มีระบบกลไกในระดับคณะและภาควิชาในการดูแลรับผิดชอบการบริหารจัดการและควบคุมการดำเนินการจัดการศึกษาให้เป็นไปตามหลักสูตรอย่างเป็นระบบ โดยมีการกำหนดแผนงานและมีการจัดงบประมาณเพื่อพัฒนางานด้านการศึกษาอย่างพอเพียงที่จะเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด
-ดำเนินการประกันคุณภาพหลักสูตร ให้มีประสิทธิภาพและสอดคล้องตามนโยบายและมาตรฐานคุณภาพของมหาวิทยาลัยมหิดล
-ดำเนินการประกันคุณภาพหลักสูตรตามตัวบ่งชี้คุณภาพของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน)
-มีการประเมินและทบทวนเพื่อปรับปรุงให้หลักสูตรมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องใน ทุก ๕ ปีเพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและสอดรับกับความต้องการของสังคมหรือผู้ใช้บัณฑิต
๒ ประเด็นทรัพยากรประกอบการเรียนการสอน
-จัดทรัพยากรและระบบสารสนเทศ เพื่อสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนและการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
-จัดให้มีสื่อวัสดุ อุปกรณ์การศึกษา และพัฒนาแหล่งเรียนรู้ ให้หลากหลายและเพียงพอสำหรับการจัดการเรียนการสอนของหลักสูตร
-จัดปัจจัยสนับสนุนเพื่อสร้างโอกาสในการพัฒนาศักยภาพนักศึกษา
-สร้างสภาพแวดล้อม และบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้และส่งเสริมให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ การสร้างนวัตกรรม และการเกื้อกูลซึ่งกันและกันเพื่อการจัดการศึกษาที่มีประสิทธิภาพ
๓ ประเด็นการสนับสนุนและการให้คำแนะนำนักศึกษา
-จัดให้มีระบบอาจารย์ที่ปรึกษาในระดับภาควิชา เพื่อทำหน้าที่แนะนำและช่วยเหลือนักศึกษาทางด้านการเรียนการสอน และ/หรือ การให้คำแนะนำในด้านอื่น ๆ ที่นักศึกษาอาจมีปัญหา
-จัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา ทั้งด้านวิชาการ และจริยธรรมคุณธรรม ซึ่งการสนับสนุนกิจกรรมต่าง ๆ ของนักศึกษา มีทั้งในระดับภาควิชาคณะและมหาวิทยาลัย
๔ ประเด็นความต้องการของตลาดแรงงาน สังคม และ/หรือ ความพึงพอใจของผู้ใช้
บัณฑิต

-มีการประเมินผลความสำเร็จของการจัดหลักสูตร ว่าสามารถผลิตบัณฑิตที่มีคุณลักษณะตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตร และมีความสามารถเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานและ/ หรือสามารถศึกษาต่อในขั้นสูงต่อไปได้
-มีระบบการติดตาม ประเมินผลคุณภาพบัณฑิต ทั้งในส่วนของตัวบัณฑิต และผู้ใช้บัณฑิตเพื่อดูระดับความพึงพอใจของนายจ้าง / ผู้ประกอบการ / ผู้ใช้บัณฑิต

ใส่ความเห็น